Return to Video

แผลรักษาตัวเองได้อย่างไร - ซาร์ตัก ซินฮา (Sarthak Sinha)

  • 0:07 - 0:11
    อวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของคุณ
    ไม่ใช่ตับหรือสมอง
  • 0:11 - 0:16
    มันคือผิวหนังของคุณ ที่ในผู้ใหญ่นั้น
    มีพื้นที่ผิวประมาณ 20 ตารางฟุต
  • 0:16 - 0:19
    ถึงแม้ว่าผิวหนังในแต่ละพื้นที่นั้น
    มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
  • 0:19 - 0:22
    แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว
    พื้นผิวนี้ทำหน้าที่คล้าย ๆ กัน
  • 0:22 - 0:26
    เช่น ขับเหงื่อ รับรู้สึกถึงความร้อนและเย็น
    และสร้างขน
  • 0:26 - 0:28
    แต่หลังจากโดนบาดลึก หรือเป็นแผล
  • 0:28 - 0:32
    ผิวหนังที่เพิ่งหายนั้น
    จะดูแตกต่างจากผิวบริเวณรอบ ๆ
  • 0:32 - 0:36
    และอาจไม่ได้ฟื้นฟูความสามารถทุกอย่าง
    กลับมาสักช่วงระยะหนึ่ง หรือตลอดไป
  • 0:36 - 0:41
    เพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไมมันจึงเกิดขึ้น
    เราต้องมาดูที่โครงสร้างผิวหนังของมนุษย์
  • 0:41 - 0:43
    ชั้นนอกสุด เรียกว่า ผิวชั้นหนังกำพร้า
    (epidermis)
  • 0:43 - 0:47
    ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยเซลล์แข็ง
    ที่เรียกว่า คีราติโนไซต์ (keratinocytes)
  • 0:47 - 0:49
    และมันทำหน้าที่ป้องกัน
  • 0:49 - 0:52
    เนื่องจากชั้นนอกที่มีการผลัด
    และสร้างขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา
  • 0:52 - 0:54
    มันค่อนที่จะซ่อมแซมได้โดยง่าย
  • 0:54 - 0:57
    แต่บางครั้งแผลลึกไปถึงชั้นหนังแท้ (dermis)
  • 0:57 - 1:01
    ที่ประกอบไปด้วยหลอดเลือด ต่อมต่าง ๆ
    และปลายประสาท
  • 1:01 - 1:04
    ที่ช่วยทำให้ผิวหนังทำหน้าที่ต่าง ๆ
  • 1:04 - 1:07
    และเมื่อมันเกิดขึ้น มันกระตุ้นให้เกิด
    สี่ขั้นตอนที่ทับซ้อนกัน
  • 1:07 - 1:10
    ของกระบวนการสร้างใหม่
  • 1:10 - 1:15
    ขั้นแรก การห้ามเลือดเป็นการตอบสนอง
    ของผิวต่อสองภัยคุกคามอย่างทันที
  • 1:15 - 1:16
    คือ ตอนนี้คุณกำลังเสียเลือด
  • 1:16 - 1:20
    และปราการกายภาพ
    ของชั้นผิวกำพร้าแท้ถูกทำลาย
  • 1:20 - 1:23
    ขณะที่หลอดเลือดจะหดตัว
    เพื่อลดการเสียเลือด
  • 1:23 - 1:25
    ในกระบวนการที่เรียกว่า หลอดเลือดหดตัว (vasoconstricion)
  • 1:25 - 1:29
    ภัยคุกคามทั้งสองจะบรรเทาจาก
    การสร้างลิ่มเลือด
  • 1:29 - 1:33
    โปรตีนชนิดพิเศษที่เรียกว่าไฟบริน
    สานเชื่อมโยงกันที่ด้านบนของผิว
  • 1:33 - 1:38
    เป็นการป้องกันเลือดไม่ให้ไหลออก
    และไม่ให้แบคทีเรียหรือเชื้อโรคเข้ามา
  • 1:38 - 1:42
    หลังจากนี้ไปประมาณสามชั่วโมง
    ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง
  • 1:42 - 1:45
    ส่งสัญญาณให้เกิดขั้นตอนต่อไป
    การอักเสบ (inflammation)
  • 1:45 - 1:48
    เมื่อควบคุมการเสียเลือด
    และชั้นผิวนั้นปลอดภัยแล้ว
  • 1:48 - 1:52
    ร่างกายจะส่งเซลล์พิเศษ
    เพื่อสู้กับเชื้อโรคที่ผ่านเข้ามา
  • 1:52 - 1:55
    ในบรรดาเซลล์ที่สำคัญที่สุดคือ
    เซลล์เม็ดเลือดขาว
  • 1:55 - 1:57
    ที่เรียกว่า มาโครฟาร์จ (macrophages)
  • 1:57 - 2:02
    ที่จะจัดการแบคทีเรีย และเนื้อเยื่อที่เสียหาย
    ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า ฟาโกไซโตซิส
  • 2:02 - 2:06
    นอกเหนือไปจากการสร้างโกรธเฟคเตอร์
    เพื่อช่วยในการฟื้นฟู
  • 2:06 - 2:08
    และเพราะว่าทหารตัวน้อยเหล่านี้ต้องเดินทาง
  • 2:08 - 2:10
    ผ่านเลือดเพื่อไปบริเวณที่มีบาดแผล
  • 2:10 - 2:14
    หลอดเลือดที่เคยหดตัว ตอนนี้กลับมาขยาย
  • 2:14 - 2:16
    ในกระบวนการที่เรียกว่า การขยายหลอดเลือด (vasodilation)
  • 2:16 - 2:18
    หลังจากเกิดแผลได้สองถึงสามวัน
  • 2:18 - 2:23
    ระยะการเพิ่มจำนวน (proliferative) เกิดขึ้น
    เมื่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ เริ่มเข้าไปที่แผล
  • 2:23 - 2:26
    ในกระบวนการสะสมคอลลาเจน
  • 2:26 - 2:30
    พวกมันสร้างเส้นใยโปรตีน
    ที่เรียกว่าคอลลาเจน ในบริเวณที่เป็นแผล
  • 2:30 - 2:34
    เพื่อสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แทนที่ไฟบรินเดิม
  • 2:34 - 2:38
    เมื่อเซลล์ชั้นหนังกำพร้าแบ่งตัว
    เพื่อที่จะสร้างผิวชั้นนอก
  • 2:38 - 2:41
    ชั้นหนังแท้จะหดตัวเพื่อปิดแผล
  • 2:41 - 2:43
    ในที่สุด ขั้นตอนที่สี่ของการเปลี่ยนแปลง
  • 2:43 - 2:48
    แผลนั้นเกือบหายดีเมื่อคอลลาเจนที่ถูกสะสม
    ถูกจัดวางตัวใหม่และเปลี่ยน
  • 2:48 - 2:49
    ไปเป็นรูปแบบเฉพาะ
  • 2:49 - 2:52
    ด้วยกระบวนการนี้
    ซึ่งอาจใช้เวลามากกว่าหนึ่งปี
  • 2:52 - 2:55
    ความต้านทานต่อแรงดึงของผิวใหม่นั้นดีขึ้น
  • 2:55 - 2:59
    และหลอดเลือด และการเชื่อมโยงต่าง ๆ นั้น
    แข็งแรงขึ้น
  • 2:59 - 3:02
    เมื่อเวลาผ่านไป เนื้อเยื่อใหม่นั้น
    อาจมีประสิทธิภาพการทำงานถึง 50-80%
  • 3:02 - 3:05
    ของการทำงานของมันในภาวะปกติ
  • 3:05 - 3:09
    ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผลในครั้งนั้น
    และการทำงานของตัวมันเอง
  • 3:09 - 3:11
    แต่เพราะว่าผิวไม่ฟื้นตัวเต็มที่
  • 3:11 - 3:16
    แผลเป็นกลายมาเป็นปัญหาสำคัญ
    สำหรับแพทย์ทั่วโลก
  • 3:16 - 3:19
    และถึงแม้ว่านักวิจัย
    จะมีความพยายามอย่างมาก
  • 3:19 - 3:21
    ในการทำความเข้าใจต่อกระบวนการฟื้นตัว
  • 3:21 - 3:24
    ความลึกลับพื้นฐานมากมาย
    ก็ยังคงไม่ได้รับการเปิดเผย
  • 3:24 - 3:27
    ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ไฟโบรบลาสต์นั้น
    มาถึงบริเวณแผลผ่านทางหลอดเลือด
  • 3:27 - 3:30
    หรือมาจากเนื้อเยื่อผิวหนังที่อยู่ติดกับแผล
  • 3:30 - 3:33
    และทำไมสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น
    เช่น กวาง
  • 3:33 - 3:37
    สามารถรักษาแผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    และสมบูรณ์มากกว่ามนุษย์อย่างมาก
  • 3:37 - 3:40
    ด้วยการค้นหาคำตอบต่อคำถามเหล่านี้
    และคำถามอื่น ๆ
  • 3:40 - 3:45
    สักวันหนึ่งเราออาจจะสามารถรักษาตัวเองได้ดี
    จนแผลเป็นนั้นกลายเป็นแค่ความทรงจำ
Title:
แผลรักษาตัวเองได้อย่างไร - ซาร์ตัก ซินฮา (Sarthak Sinha)
Speaker:
Sarthak Sinha
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/how-a-wound-heals-itself-sarthak-sinha

ผิวหนังของเราเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของเรา ในผู้ใหญ่มีพื้นที่ผิวประมาณ 20 ตารางฟุต เวลาที่เราโดนบาดหรือเป็นแผล ผิวหนังของเราจะเริ่มซ่อมแซมตัวเองด้วยกระบวนการที่ซับซ้อนและมีการประสานงานกันที่ดี ซาร์ตัก ซินฮา พาเราผ่านเข้าไปสู่ผิวหนังชั้นกำพร้า และสู่ชั้ยผิวหนังแท้ เพื่อที่จะศึกษาการตอบสนองที่เกิดขึ้นใหม่นี้

บทเรียนโดย Sarthak Sinha, แอนิเมชั่นโดย Karrot Animation

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:01
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How a wound heals itself
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for How a wound heals itself
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for How a wound heals itself
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for How a wound heals itself
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for How a wound heals itself
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for How a wound heals itself
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How a wound heals itself
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How a wound heals itself
Show all

Thai subtitles

Revisions