อวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของคุณ ไม่ใช่ตับหรือสมอง มันคือผิวหนังของคุณ ที่ในผู้ใหญ่นั้น มีพื้นที่ผิวประมาณ 20 ตารางฟุต ถึงแม้ว่าผิวหนังในแต่ละพื้นที่นั้น มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว พื้นผิวนี้ทำหน้าที่คล้าย ๆ กัน เช่น ขับเหงื่อ รับรู้สึกถึงความร้อนและเย็น และสร้างขน แต่หลังจากโดนบาดลึก หรือเป็นแผล ผิวหนังที่เพิ่งหายนั้น จะดูแตกต่างจากผิวบริเวณรอบ ๆ และอาจไม่ได้ฟื้นฟูความสามารถทุกอย่าง กลับมาสักช่วงระยะหนึ่ง หรือตลอดไป เพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไมมันจึงเกิดขึ้น เราต้องมาดูที่โครงสร้างผิวหนังของมนุษย์ ชั้นนอกสุด เรียกว่า ผิวชั้นหนังกำพร้า (epidermis) ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยเซลล์แข็ง ที่เรียกว่า คีราติโนไซต์ (keratinocytes) และมันทำหน้าที่ป้องกัน เนื่องจากชั้นนอกที่มีการผลัด และสร้างขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา มันค่อนที่จะซ่อมแซมได้โดยง่าย แต่บางครั้งแผลลึกไปถึงชั้นหนังแท้ (dermis) ที่ประกอบไปด้วยหลอดเลือด ต่อมต่าง ๆ และปลายประสาท ที่ช่วยทำให้ผิวหนังทำหน้าที่ต่าง ๆ และเมื่อมันเกิดขึ้น มันกระตุ้นให้เกิด สี่ขั้นตอนที่ทับซ้อนกัน ของกระบวนการสร้างใหม่ ขั้นแรก การห้ามเลือดเป็นการตอบสนอง ของผิวต่อสองภัยคุกคามอย่างทันที คือ ตอนนี้คุณกำลังเสียเลือด และปราการกายภาพ ของชั้นผิวกำพร้าแท้ถูกทำลาย ขณะที่หลอดเลือดจะหดตัว เพื่อลดการเสียเลือด ในกระบวนการที่เรียกว่า หลอดเลือดหดตัว (vasoconstricion) ภัยคุกคามทั้งสองจะบรรเทาจาก การสร้างลิ่มเลือด โปรตีนชนิดพิเศษที่เรียกว่าไฟบริน สานเชื่อมโยงกันที่ด้านบนของผิว เป็นการป้องกันเลือดไม่ให้ไหลออก และไม่ให้แบคทีเรียหรือเชื้อโรคเข้ามา หลังจากนี้ไปประมาณสามชั่วโมง ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง ส่งสัญญาณให้เกิดขั้นตอนต่อไป การอักเสบ (inflammation) เมื่อควบคุมการเสียเลือด และชั้นผิวนั้นปลอดภัยแล้ว ร่างกายจะส่งเซลล์พิเศษ เพื่อสู้กับเชื้อโรคที่ผ่านเข้ามา ในบรรดาเซลล์ที่สำคัญที่สุดคือ เซลล์เม็ดเลือดขาว ที่เรียกว่า มาโครฟาร์จ (macrophages) ที่จะจัดการแบคทีเรีย และเนื้อเยื่อที่เสียหาย ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า ฟาโกไซโตซิส นอกเหนือไปจากการสร้างโกรธเฟคเตอร์ เพื่อช่วยในการฟื้นฟู และเพราะว่าทหารตัวน้อยเหล่านี้ต้องเดินทาง ผ่านเลือดเพื่อไปบริเวณที่มีบาดแผล หลอดเลือดที่เคยหดตัว ตอนนี้กลับมาขยาย ในกระบวนการที่เรียกว่า การขยายหลอดเลือด (vasodilation) หลังจากเกิดแผลได้สองถึงสามวัน ระยะการเพิ่มจำนวน (proliferative) เกิดขึ้น เมื่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ เริ่มเข้าไปที่แผล ในกระบวนการสะสมคอลลาเจน พวกมันสร้างเส้นใยโปรตีน ที่เรียกว่าคอลลาเจน ในบริเวณที่เป็นแผล เพื่อสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แทนที่ไฟบรินเดิม เมื่อเซลล์ชั้นหนังกำพร้าแบ่งตัว เพื่อที่จะสร้างผิวชั้นนอก ชั้นหนังแท้จะหดตัวเพื่อปิดแผล ในที่สุด ขั้นตอนที่สี่ของการเปลี่ยนแปลง แผลนั้นเกือบหายดีเมื่อคอลลาเจนที่ถูกสะสม ถูกจัดวางตัวใหม่และเปลี่ยน ไปเป็นรูปแบบเฉพาะ ด้วยกระบวนการนี้ ซึ่งอาจใช้เวลามากกว่าหนึ่งปี ความต้านทานต่อแรงดึงของผิวใหม่นั้นดีขึ้น และหลอดเลือด และการเชื่อมโยงต่าง ๆ นั้น แข็งแรงขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป เนื้อเยื่อใหม่นั้น อาจมีประสิทธิภาพการทำงานถึง 50-80% ของการทำงานของมันในภาวะปกติ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผลในครั้งนั้น และการทำงานของตัวมันเอง แต่เพราะว่าผิวไม่ฟื้นตัวเต็มที่ แผลเป็นกลายมาเป็นปัญหาสำคัญ สำหรับแพทย์ทั่วโลก และถึงแม้ว่านักวิจัย จะมีความพยายามอย่างมาก ในการทำความเข้าใจต่อกระบวนการฟื้นตัว ความลึกลับพื้นฐานมากมาย ก็ยังคงไม่ได้รับการเปิดเผย ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ไฟโบรบลาสต์นั้น มาถึงบริเวณแผลผ่านทางหลอดเลือด หรือมาจากเนื้อเยื่อผิวหนังที่อยู่ติดกับแผล และทำไมสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น เช่น กวาง สามารถรักษาแผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสมบูรณ์มากกว่ามนุษย์อย่างมาก ด้วยการค้นหาคำตอบต่อคำถามเหล่านี้ และคำถามอื่น ๆ สักวันหนึ่งเราออาจจะสามารถรักษาตัวเองได้ดี จนแผลเป็นนั้นกลายเป็นแค่ความทรงจำ