Return to Video

เกิดอะไรขึ้นเมื่อเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน - กฤษณะ สุธีร (Krishna Sudhir)

  • 0:07 - 0:10
    ในแต่ละปี ผู้คนประมาณ 7 ล้านคนทั่วโลก
  • 0:10 - 0:13
    เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • 0:13 - 0:15
    โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • 0:15 - 0:16
    ซึ่งทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • 0:16 - 0:18
    และโรคอื่น ๆ
    เช่น โรคเส้นเลือดสมองตีบแตก
  • 0:18 - 0:20
    นับว่าเป็นฆาตกรอันดับต้นๆของโลก
  • 0:20 - 0:23
    แล้วอะไรทำให้โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • 0:23 - 0:25
    เช่นเดียวกับกล้ามเนื้ออื่น ๆ
    กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจน
  • 0:25 - 0:29
    และในขณะที่เกิดโรค
    กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
  • 0:29 - 0:31
    การมีไขมันสะสม หรือ พลาค
  • 0:31 - 0:33
    เกินขึ้นบริเวณผนังเส้นเลือดแดงของหัวใจ
  • 0:33 - 0:37
    ซึ่งเป็นเส้นเลือดที่นำเลือดที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจ
  • 0:37 - 0:39
    พลาคมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเรามีอายุมากขึ้น
  • 0:39 - 0:41
    บางครั้งก็หนาเป็นก้อน
  • 0:41 - 0:42
    แข็งขึ้น
  • 0:42 - 0:43
    หรือเกิดการอักเสบ
  • 0:43 - 0:46
    และในที่สุด พลาคสามารถทำให้เกิดการอุดกั้น
  • 0:46 - 0:49
    ถ้าหากมีพลาคอันใดอันหนึ่งแตกหรือปริ
  • 0:49 - 0:52
    จะมีลิ่มเลือดมาก่อตัวรอบ ๆ มัน
    ในเวลาไม่กี่นาที
  • 0:52 - 0:56
    และเส้นเลือดที่เดิมมีการอุดกั้นอยู่บางส่วน
    ก็จะกลายเป็นถูกอุดตันโดยสมบูรณ์
  • 0:56 - 0:59
    กระแสเลือดจึงถูกตัดขาดจากกล้ามเนื้อหัวใจ
  • 0:59 - 1:03
    และกล้ามเนื้อที่ต้องการออกซิเจน
    ก็จะตายภายในไม่กี่นาที
  • 1:03 - 1:06
    มันคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • 1:06 - 1:07
    หรือโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • 1:07 - 1:11
    โรคนี้แย่ลงได้อย่างรวดเร็ว
    หากไม่ได้รับการรักษา
  • 1:11 - 1:15
    กล้ามเนื้อที่บาดเจ็บอาจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้
  • 1:15 - 1:17
    และเต้นผิดจังหวะไป
  • 1:17 - 1:18
    ในสถานการณ์ที่แย่ที่สุด
  • 1:18 - 1:21
    โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
    อาจทำให้เสียชีวิตทันที
  • 1:21 - 1:22
    แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร
  • 1:22 - 1:24
    ว่าใครกำลังมีอาการ
    ของโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • 1:24 - 1:27
    อาการที่พบได้บ่อยที่สุด
    คือเจ็บหน้าอก
  • 1:27 - 1:30
    เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดออกซิเจน
  • 1:30 - 1:33
    ผู้ป่วยจะอธิบายอาการปวด
    ว่ามีลักษณะเหมือนถูกบดขยี้หรือถูกบีบแน่น ๆ
  • 1:33 - 1:35
    อาการปวดสามารถร้าวไปบริเวณแขนซ้าย
  • 1:35 - 1:35
    กราม
  • 1:35 - 1:36
    หลัง
  • 1:36 - 1:37
    หรือท้อง
  • 1:37 - 1:42
    อาการอาจจะไม่เป็นไปในทันทีทันใด
    หรือดูดราม่าเหมือนในหนัง
  • 1:42 - 1:44
    บางคนมีอาการคลื่นไส้
  • 1:44 - 1:45
    หรือหายใจไม่สะดวก
  • 1:45 - 1:48
    อาการอาจจะไม่ชัดเจนในผู้หญิงและผู้สูงอายุ
  • 1:48 - 1:53
    สำหรับคนกลุ่มนี้ อาการอ่อนแรงและเหนื่อย
    อาจเป็นอาการหลัก
  • 1:53 - 1:55
    และที่น่าแปลกใจในหลาย ๆ คน
  • 1:55 - 1:56
    โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน
  • 1:56 - 1:59
    ซึ่งมีผลกับเส้นประสาทนำความเจ็บปวด
  • 1:59 - 2:01
    โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
    อาจไม่มีอาการเลย
  • 2:01 - 2:04
    หากคุณคิดว่า
    มีคนกำลังเป็นโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • 2:04 - 2:07
    สิ่งสำคัญที่สุด คือการตอบสนองให้เร็ว
  • 2:07 - 2:11
    ถ้าคุณสามารถติดต่อศูนย์แพทย์ฉุกเฉินได้
    ให้รีบโทรหา
  • 2:11 - 2:13
    พวกเขาจะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้เร็วที่สุด
  • 2:13 - 2:16
    การกินยาแอสไพริน ซึ่งต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด
  • 2:16 - 2:19
    และไนโตรกลีเซอริน ที่ช่วยเปิดหลอดเลือดแดง
  • 2:19 - 2:22
    สามารถช่วย
    ให้โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลันไม่แย่ลง
  • 2:22 - 2:25
    ในห้องฉุกเฉิน
    แพทย์ให้การวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • 2:25 - 2:28
    โดยใช้เครื่องอิเลคโทรคาดิโอแกรม
  • 2:28 - 2:30
    เพื่อตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • 2:30 - 2:33
    ตรวจเลือด
    เพื่อดูความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • 2:33 - 2:37
    ผู้ป่วยจะถูกนำตัวไปห้องสวนหัวใจที่ทันสมัย
  • 2:37 - 2:40
    เพื่อตรวจหาบริเวณที่เส้นเลือดอุดกั้น
  • 2:40 - 2:43
    อายุรแพทย์โรคหัวใจ
    สามารถเปิดหลอดเลือดบริเวณที่อุดตัน
  • 2:43 - 2:47
    โดยขยายหลอดเลือดบริเวณนั้นด้วยบอลลูน
    ด้วยวิธีการที่เรียกว่า การสวนเส้นเลือดหัวใจ
  • 2:47 - 2:51
    บ่อยครั้ง แพทย์จะใส่ขดลวด
    ที่ทำจากโลหะหรือโพลีเมอร์ด้วย
  • 2:51 - 2:53
    เพื่อช่วยถ่างขยายหลอดเลือดไว้
  • 2:53 - 2:58
    หากมีการอุดกั้นมาก อาจจำเป็นต้องผ่าตัด
    ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (บายพาส)
  • 2:58 - 3:02
    โดยใช้บางส่วนของเส้นเลือดดำหรือเส้นเลือดแดง
    จากส่วนอื่นของร่างกาย
  • 3:02 - 3:06
    ศัลยแพทย์หัวใจสามารถย้ายเส้นทางการไหลของเลือด
    อ้อมบริเวณที่มีการอุดตัน
  • 3:06 - 3:08
    วิธีการนี้ทำให้เกิดเส้นทางใหม่
    ในการไหลเวียนเลือด
  • 3:08 - 3:09
    ไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจ
  • 3:09 - 3:11
    ทำให้หัวใจกลับมาทำงานได้อีกครั้ง
  • 3:11 - 3:13
    วิธีการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลันก้าวหน้าขึ้น
  • 3:13 - 3:15
    แต่การป้องกันคือสิ่งจำเป็น
  • 3:15 - 3:19
    พันธุกรรมและวิธีการดำเนินชีวิตไลฟ์สไตล์
    ต่างก็มีผลกับความเสี่ยงในการเกิดโรคของคุณ
  • 3:19 - 3:22
    ข่าวดีก็คือ
    คุณสามารถเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ได้
  • 3:22 - 3:24
    ออกกำลังกาย
    อาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • 3:24 - 3:25
    และการลดน้ำหนัก
  • 3:25 - 3:27
    ทั้งหมดนี้ช่วยลดความเสี่ยง
    ในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • 3:27 - 3:29
    ไม่ว่าคุณจะเคยเป็นมาก่อนหรือไม่ก็ตาม
  • 3:29 - 3:32
    แพทย์แนะนำให้ออกกำลังกาย
    สามถึงสี่ครั้งต่อสัปดาห์
  • 3:32 - 3:35
    โดยออกกำลังกายแบบแอโรบิคและยกน้ำหนัก
  • 3:35 - 3:39
    อาหารที่ดีต่อหัวใจ
    มีน้ำตาลน้อยและไขมันอิ่มตัวน้อย
  • 3:39 - 3:41
    ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีความเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ
  • 3:41 - 3:43
    เช่นนั้นแล้ว คุณควรรับประทานอะไรดี
  • 3:43 - 3:44
    ใยอาหารเยอะ ๆ จากผัก
  • 3:44 - 3:47
    ไก่และปลา แทนเนื้อแดง
  • 3:47 - 3:50
    ธัญพืชและถั่ว เช่น วอลนัทและอัลมอนด์
  • 3:50 - 3:52
    ทั้งหมดนี้มีประโยชน์
  • 3:52 - 3:54
    อาหารที่ดีและการวางแผนการออกกำลังกาย
  • 3:54 - 3:57
    จะทำให้คุณมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ
  • 3:57 - 4:00
    ซึ่งจะช่วยลดโอกาส
    ในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลันได้ด้วย
  • 4:00 - 4:03
    และแน่นอน
    ยาก็ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • 4:03 - 4:06
    ตัวอย่างเช่น แพทย์มักจะจ่ายยาแอสไพริสในขนาดต่ำ
  • 4:06 - 4:10
    ให้ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • 4:10 - 4:13
    และผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรค
  • 4:13 - 4:15
    ยาที่ควบคุมความเสี่ยงต่าง ๆ
  • 4:15 - 4:18
    เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอล และเบาหวาน
  • 4:18 - 4:21
    สามารถลดโอกาสการเกิด
    โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลันได้เช่นกัน
  • 4:21 - 4:23
    โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
    อาจเป็นโรคที่พบได้บ่อย
  • 4:23 - 4:25
    แต่ก็ไม่ใช่โรคที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
  • 4:25 - 4:26
    รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • 4:26 - 4:28
    งดสูบบุหรี่
  • 4:28 - 4:29
    รักษาร่างกายให้แข็งแรง
  • 4:29 - 4:32
    นอนหลับให้มาก และหัวเราะเยอะ ๆ
  • 4:32 - 4:33
    ทั้งหมดนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่า
  • 4:33 - 4:36
    กล้ามเนื้อที่สำคัญที่สุดในร่างกายของคุณ
  • 4:36 - 4:40
    จะยังเต้นต่อไป
Title:
เกิดอะไรขึ้นเมื่อเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน - กฤษณะ สุธีร (Krishna Sudhir)
Speaker:
Krishna Sudhir
Description:

ดูบทเรียนฉบับเต็มได้ที่ http://ed.ted.com/lessons/what-happens-during-a-heart-attack-krishna-sudhir

ในแต่ละปี ผู้คนประมาณเจ็ดล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน โรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลันและโรคอื่น ๆ เช่นโรคเส้นเลือดสมองตีบแตก นับว่าป็นฆาตกรอันดับต้นๆของโลก
กฤษณะ สุธีร เจาะลึกสาเหตุหลักและวิธีการรักษาของโรคร้ายแรงโรคนี้

เนื้อเรื่องโดย กฤษณะ สุธีร แอนิเมชัน โดย แชดวิค ไวท์เฮด

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:54
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for What happens during a heart attack?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What happens during a heart attack?
Thitiporn Ratanapojnard accepted Thai subtitles for What happens during a heart attack?
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for What happens during a heart attack?
Kelwalin Dhanasarnsombut rejected Thai subtitles for What happens during a heart attack?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What happens during a heart attack?
Thitiporn Ratanapojnard accepted Thai subtitles for What happens during a heart attack?
Kelwalin Dhanasarnsombut rejected Thai subtitles for What happens during a heart attack?
Show all

Thai subtitles

Revisions