Return to Video

พลังงานนิวเคลียร์คือทางออกของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • 0:01 - 0:03
    เราอาจลืมกันไปได้ง่าย ๆ ว่าเมื่อคืนนี้
  • 0:04 - 0:08
    คนกว่าหนึ่งพันล้านคน
    เข้านอนโดยที่ไม่มีไฟฟ้าใช้
  • 0:08 - 0:09
    หนึ่งพันล้านคน
  • 0:10 - 0:15
    คนอีกกว่าสองพันห้าร้อยล้านคน
    ไม่มีเชื้อเพลิงสะอาดในการทำอาหาร
  • 0:16 - 0:17
    หรือสร้างความอบอุ่น
  • 0:18 - 0:21
    ปัญหาเหล่านั้นเป็นปัญหาของประเทศโลกที่สาม
  • 0:21 - 0:24
    และมันก็เป็นเรื่องง่ายสำหรับเรา
    ที่จะเพิกเฉย
  • 0:24 - 0:26
    ต่อคนเหล่านั้น
    ที่ดูเหมือนอยู่ห่างไกลจากเรา
  • 0:26 - 0:29
    แต่ถึงอย่างนั้น ในโลกของเรา
    ในโลกที่พัฒนาแล้วนั้น
  • 0:30 - 0:33
    เราก็จะเห็นความตึงเครียดจากเศรษฐกิจที่ซบเซา
  • 0:33 - 0:36
    ที่ส่งผลต่อชีวิตของผู้คนรอบตัวเรา
  • 0:36 - 0:39
    เราเห็นมันอย่างชัดเจน
    ในระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ
  • 0:40 - 0:43
    ที่ผู้เกี่ยวข้อง
    ต่างสูญเสียความหวังต่ออนาคต
  • 0:43 - 0:45
    และสิ้นหวังกับปัจจุบัน
  • 0:45 - 0:47
    เราเห็นสิ่งนี้จากการโหวตเบร็กซิท (Brexit)
  • 0:48 - 0:51
    เราเห็นสิ่งนี้จากการหาเสียง
    ของแซนเดอร์สและทรัมป์ในประเทศของผมเอง
  • 0:52 - 0:56
    ทว่า แม้แต่เป็นประเทศต่าง ๆ
    ที่เมื่อไม่นานมานี้
  • 0:57 - 0:58
    เพิ่งเลี้ยวเข้าสู่การเป็นประเทศโลกที่หนึ่ง
  • 0:58 - 1:00
    อย่างเช่น ประเทศจีน
  • 1:00 - 1:02
    เราจะเห็นอุปสรรค
    ที่ประธานาธิบดีสี (Xí) ต้องประสบ
  • 1:03 - 1:08
    เมื่อเขาเริ่มปลดผู้คนมากมายออกจาก
    ภาคอุตสาหกรรมถ่านหินและเหมืองแร่ของเขา
  • 1:08 - 1:10
    ผู้คนที่มองไม่เห็นอนาคตของตัวเอง
  • 1:11 - 1:14
    ในขณะที่เราในฐานะสังคมหนึ่ง
    ที่กำลังหาทางในการจัดการ
  • 1:14 - 1:16
    ปัญหาของโลกที่พัฒนาแล้ว
  • 1:16 - 1:18
    และปัญหาของโลกที่กำลังพัฒนา
  • 1:18 - 1:21
    เราจะต้องมองด้วยว่า
    เราจะก้าวไปข้างหน้าต่อไปอย่างไร
  • 1:21 - 1:25
    และจะจัดการกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจเหล่านั้นได้อย่างไร
  • 1:26 - 1:29
    เราได้หาทางแก้ปัญหานี้มานานกว่า 25 ปีแล้ว
    ตั้งแต่การประชุมที่กรุงริโอ ฯ
  • 1:29 - 1:31
    พิธีสารเกียวโต
  • 1:31 - 1:34
    ความคืบหน้าล่าสุดของเรา
    ก็คือความตกลงปารีส
  • 1:35 - 1:37
    และข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศ
    ที่เกิดขึ้นจากข้อตกลงนั้น
  • 1:37 - 1:40
    ที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
    กำลังทยอยให้สัตยาบัน
  • 1:40 - 1:42
    ผมคิดว่าเราสามารถตั้งความหวังได้เป็นอย่างดี
  • 1:42 - 1:45
    ว่าข้อตกลงเหล่านั้น
    ซึ่งเป็นข้อตกลงจากระดับพื้นฐานขึ้นมา
  • 1:45 - 1:48
    ที่ประเทศต่าง ๆ ประกาศว่า
    จะทำในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าทำได้นั้น
  • 1:48 - 1:52
    เที่ยงแท้และพร้อมสรรพ
    สำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยส่วนใหญ่
  • 1:53 - 1:55
    ที่โชคร้าย
  • 1:55 - 1:59
    ก็คือว่าในตอนนี้ เมื่อเรามอง
    ไปที่ผลการวิเคราะห์อิสระต่าง ๆ
  • 1:59 - 2:02
    ที่บอกว่าสนธิสัญญาเหล่านั้น
    อาจก่อให้เกิดอะไรขึ้นได้บ้าง
  • 2:03 - 2:06
    ความใหญ่โตรุนแรงของปัญหาตรงหน้าเรา
    ก็ปรากฏออกมาอย่างชัดเจน
  • 2:07 - 2:11
    นี่คือผลการประเมินขององค์การข้อมูลข่าวสาร
    ด้านพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา
  • 2:12 - 2:16
    ของสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากประเทศต่าง ๆ
    ทำตามข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศ
  • 2:16 - 2:18
    ที่ได้ทำไว้ในปารีส
  • 2:18 - 2:20
    ระหว่างตอนนี้และปี ค.ศ. 2040
  • 2:21 - 2:25
    โดยพื้นฐานแล้ว มันแสดงระดับการปล่อย
    ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทั่วโลก
  • 2:25 - 2:27
    ตลอดระยะเวลา 30 ปีข้างหน้า
  • 2:28 - 2:32
    มีสามสิ่งที่คุณควรจะต้องให้ความสนใจ
    และทำความเข้าใจ
  • 2:32 - 2:36
    อย่างแรก การปล่อย CO2
    ถูกคาดการณ์ว่าจะยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • 2:36 - 2:38
    ตลอดระยะเวลา 30 ปีต่อจากนี้
  • 2:39 - 2:42
    เพื่อที่จะควบคุมสภาพภูมิอากาศให้ได้นั้น
  • 2:42 - 2:45
    การปล่อย CO2
    ต้องลดลงไปอยู่ที่ศูนย์อย่างสมบูรณ์
  • 2:46 - 2:50
    เพราะว่าปริมาณการปล่อยก๊าซสะสมนั้น
    คือสิ่งที่ทำให้โลกร้อนขึ้น
  • 2:50 - 2:55
    มันน่าจะบอกให้คุณรู้ว่า
    เรากำลังพ่ายแพ้ให้กับเชื้อเพลิงฟอสซิล
  • 2:56 - 2:57
    สิ่งที่สองที่คุณควรให้ความสนใจ
  • 2:57 - 3:02
    ก็คือว่าปริมาณที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้น
    มาจากประเทศที่กำลังพัฒนา
  • 3:02 - 3:05
    จากจีน จากอินเดีย
    จากประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
  • 3:05 - 3:08
    ซึ่งรวมไปถึง แอฟริกาใต้
    อินโดนีเซีย และบราซิล
  • 3:09 - 3:12
    เมื่อประเทศเหล่านี้ทำให้ผู้คน
  • 3:12 - 3:15
    มีรูปแบบการใช้ชีวิตที่ต่ำลงมา
  • 3:15 - 3:19
    ที่แท้จริงแล้วพวกเราเองในโลกที่พัฒนาแล้ว
    ต่างก็ใช้กันอยู่โดยไม่ตระหนักอะไร
  • 3:20 - 3:23
    สิ่งสุดท้ายที่คุณควรจะต้องให้ความสนใจ
  • 3:23 - 3:25
    ก็คือว่าในแต่ละปี
  • 3:25 - 3:32
    คาร์บอนประมาณ 10 กิกะตัน
    ถูกเพิ่มเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
  • 3:33 - 3:36
    แล้วจากนั้นก็แพร่กระจาย
    ลงไปในมหาสมุทรและผืนดิน
  • 3:36 - 3:41
    นั่นเป็นการเพิ่มเติมจาก 550 กิกะตัน
    ที่มีอยู่แต่เดิมแล้วในปัจจุบัน
  • 3:42 - 3:44
    เมื่อครบ 30 ปี
  • 3:44 - 3:48
    เราจะเพิ่มคาร์บอนทั้งหมด
    850 กิกะตันเข้าไปในอากาศ
  • 3:49 - 3:51
    และท้ายที่สุดสิ่งนั้นอาจนำไป
  • 3:51 - 3:58
    สู่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ย
    บนพื้นผิวโลกประมาณ 2-4 องศาเซลเซียส
  • 3:58 - 4:01
    นำไปสู่การเป็นกรดของมหาสมุทร
  • 4:01 - 4:03
    และนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล
  • 4:04 - 4:07
    ทีนี้ นี่เป็นเพียงการคาดการณ์โดยมนุษย์
  • 4:08 - 4:10
    โดยการกระทำต่าง ๆ ของสังคม
  • 4:11 - 4:13
    และมันเป็นหน้าที่ของเรา
    ที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ยอมรับ
  • 4:14 - 4:18
    แต่ขนาดของปัญหานั้นคือสิ่งที่เรา
    ต้องทำความเข้าใจ
  • 4:19 - 4:21
    ประเทศต่าง ๆ ตัดสินใจเลือกใช้
    พลังงานไม่เหมือนกัน
  • 4:21 - 4:23
    มันขึ้นอยู่กับ
    ทรัพยากรธรรมชาติที่พวกเขามี
  • 4:23 - 4:25
    มันขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ
    ในประเทศของพวกเขา
  • 4:25 - 4:30
    มันขึ้นอยู่กับแนวทางการพัฒนาที่พวกเขา
    ปฏิบัติตามในฐานะสังคมหนึ่ง ๆ
  • 4:31 - 4:34
    มันขึ้นกับว่าพวกเขาอยู่ส่วนไหนบนพื้นโลก
  • 4:34 - 4:37
    พวกเขาอยู่ในบริเวณที่กลางคืนยาวนาน
  • 4:37 - 4:39
    หรือว่าพวกเขาอยู่ในเขตละติจูดกลางกันแน่
  • 4:39 - 4:43
    หลายต่อหลายสิ่งล้วนส่งผล
    ต่อการตัดสินใจของประเทศต่าง ๆ
  • 4:43 - 4:45
    และพวกเขาต่างก็ตัดสินใจไม่เหมือนกัน
  • 4:47 - 4:50
    สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนมากกว่าสิ่งอื่นใด
    ที่เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจ
  • 4:50 - 4:52
    ก็คือการตัดสินใจของประเทศจีน
  • 4:53 - 4:55
    ประเทศจีนได้ตัดสินใจ
  • 4:55 - 4:58
    และเลือกที่จะพึ่งพาถ่านหินเป็นหลัก
  • 4:58 - 5:00
    สหรัฐอเมริกามีพลังงานทางเลือก
  • 5:00 - 5:02
    พวกเขาสามารถพึ่งพาก๊าซธรรมชาติได้
  • 5:02 - 5:06
    ซึ่งเป็นผลมาจากการคิดค้นเทคโนโลยีต่าง ๆ
    ในการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากชั้นหินดินดาน
  • 5:06 - 5:08
    ซึ่งเราเองก็มีอยู่ที่นี่
  • 5:08 - 5:09
    การคิดค้นเหล่านั้นก่อให้เกิดทางเลือก
  • 5:11 - 5:13
    ประเทศสมาชิกโออีซีดีในยุโรปเอง
    ต่างก็มีทางเลือก
  • 5:14 - 5:17
    เยอรมันมีพลังงานหมุนเวียนชนิดต่าง ๆ
    ที่สามารถใช้เป็นทางเลือกได้
  • 5:17 - 5:20
    เพราะว่าพลังงานเหล่านั้นมีมากพอ
    ที่พวกเขาจะนำมาใช้ได้
  • 5:20 - 5:25
    ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรเอง
    ต่างก็กำลังให้ความสนใจกับพลังงานนิวเคลียร์
  • 5:26 - 5:30
    ยุโรปตะวันออก ยังคงอาศัย
    ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินอยู่มาก
  • 5:30 - 5:33
    รวมถึงก๊าซธรรมชาติที่มาจากรัสเซีย
  • 5:33 - 5:35
    และแหล่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย
  • 5:36 - 5:38
    ประเทศจีนมีทางเลือกน้อยกว่ามาก
  • 5:38 - 5:40
    และอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากมากกว่า
  • 5:42 - 5:45
    ถ้าคุณมองไปที่ประเทศจีน
    แล้วคุณถามกับตัวเองว่า
  • 5:45 - 5:47
    ทำไมถ่านหินถึงสำคัญกับพวกเขานัก
  • 5:47 - 5:49
    คุณต้องนึกถึงสิ่งที่ประเทศจีนได้ทำไว้
  • 5:50 - 5:53
    ประเทศจีนนำผู้คนไปหาพลังงาน
    ไม่ใช่กระจายพลังงานไปสู่ผู้คน
  • 5:53 - 5:56
    พวกเขาไม่มีการผลิตไฟฟ้าในชนบท
  • 5:56 - 5:58
    พวกเขาเป็นชุมชนเมือง
  • 5:58 - 6:02
    พวกเขาสร้างชุมชนเมือง
    ด้วยการใช้แรงงานและไฟฟ้าราคาถูก
  • 6:02 - 6:04
    เพื่อสร้างอุตสาหกรรมการส่งออก
  • 6:04 - 6:07
    ที่สามารถใช้เป็นรากฐานสนับสนุน
    การเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้
  • 6:08 - 6:10
    ถ้าเรามองไปยังเส้นทางของประเทศจีน
  • 6:10 - 6:14
    เราทุกคนต่างรู้ดีว่าความเฟื่องฟู
    ของประเทศจีนนั้นได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • 6:15 - 6:19
    ในปี ค.ศ. 1980 ประชากรจีนร้อยละ 80
  • 6:19 - 6:22
    มีชีวิตอยู่ในระดับที่ย่ำแย่ยิ่งกว่า
    ความยากจนขีดสุด
  • 6:22 - 6:26
    โดยมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า
    1.90 ดอลลาร์ต่อคนต่อวัน
  • 6:27 - 6:32
    ภายในปี ค.ศ. 2000 ประชากรจีน
    เพียงแค่ร้อยละ 20
  • 6:32 - 6:35
    มีชีวิตอยู่ในระดับต่ำกว่า
    ความยากจนขั้นรุนแรงนั้น
  • 6:35 - 6:37
    ซึ่งเป็นความสำเร็จที่เยี่ยมยอด
  • 6:38 - 6:40
    แม้จะต้องยอมรับว่ามีผล
    ต่อเสรีภาพของพลเมืองบ้างก็ตาม
  • 6:40 - 6:43
    ซึ่งเป็นเรื่องยาก
    ที่จะยอมรับในโลกตะวันตก
  • 6:45 - 6:47
    แต่ผลจากความมั่งคั่งทั้งหมดนั้น
  • 6:47 - 6:51
    ส่งผลให้ผู้คนได้รับโภชนาการ
    ที่ดีขึ้นอย่างล้นหลาม
  • 6:51 - 6:54
    ส่งผลให้สามารถติดตั้งท่อน้ำในที่ต่าง ๆ ได้
  • 6:54 - 6:57
    ส่งผลให้มีการกระจายของ
    ท่อระบายน้ำไปตามจุดต่าง ๆ
  • 6:57 - 7:00
    ส่งผลให้อัตราการเกิดโรคอุจจาระร่วง
    ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว
  • 7:01 - 7:03
    โดยแลกมากับมลพิษทางอากาศ
    ภายนอกอาคาร
  • 7:04 - 7:06
    แต่ในปี ค.ศ. 1980 หรือแม้กระทั่งทุกวันนี้
  • 7:06 - 7:10
    ฆาตกรเบอร์หนึ่งในประเทศจีน
    กลับเป็นมลพิษทางอากาศภายในอาคาร
  • 7:11 - 7:16
    เพราะว่าผู้คนไม่สามารถเข้าถึงเชื้อเพลิง
    สะอาดในการทำอาหารและสร้างความอบอุ่นได้
  • 7:16 - 7:18
    จริง ๆ แล้ว ในปี ค.ศ. 2040
  • 7:20 - 7:25
    มีประมาณการว่าประชากร
    กว่า 200 ล้านคนในประเทศจีน
  • 7:25 - 7:28
    จะไม่สามารถเข้าถึงเชื้อเพลิงสะอาด
    ในการทำอาหารได้
  • 7:29 - 7:31
    พวกเขามีเส้นทางความก้าวหน้าที่ไม่เหมือนใคร
  • 7:33 - 7:38
    อินเดียเองก็จำเป็นที่จะต้องตอบสนอง
    ต่อความต้องการของประชากรในประเทศ
  • 7:38 - 7:40
    และพวกเขาจะทำเช่นนั้นโดยการใช้ถ่านหิน
  • 7:40 - 7:46
    เมื่อเรามองไปที่การคาดการณ์ด้านผลกระทบ
    ต่อสิ่งแวดล้อมของการเผาถ่านหินในอินเดีย
  • 7:47 - 7:51
    อินเดียจะผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน
    เป็นปริมาณเกือบสี่เท่า
  • 7:52 - 7:54
    ของไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน
  • 7:55 - 7:58
    นั่นไม่ใช่เพราะว่าพวกเขา
    ไม่รู้ว่ามีทางเลือกอื่น ๆ
  • 7:58 - 8:02
    แต่เพราะว่าประเทศที่ร่ำรวยนั้น
    สามารถทำอะไรก็ได้ที่พวกเขาอยากทำ
  • 8:02 - 8:04
    ในขณะที่ประเทศยากจน
    ทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ
  • 8:06 - 8:10
    ถ้าอย่างนั้น เราสามารถทำอะไรได้บ้างล่ะ
    เพื่อให้หยุดการปล่อยก๊าซจากถ่านหินได้ทัน
  • 8:11 - 8:16
    เราสามารถทำอะไรเพื่อเปลี่ยน
    ผลการคาดการณ์ตรงหน้าของเราได้บ้าง
  • 8:16 - 8:20
    เพราะว่าผลการคาดการณ์นั้นคือสิ่งที่เรา
    เปลี่ยนแปลงได้ หากเรามีความมุ่งมั่นที่จะทำ
  • 8:21 - 8:25
    เหนือสิ่งอื่นใด เราจะต้องคิดถึง
    ขนาดของปัญหาก่อน
  • 8:25 - 8:27
    ตั้งแต่ตอนนี้จนถึงปี ค.ศ. 2040
  • 8:27 - 8:33
    โรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ
    800 ถึง 1,600 แห่งจะถูกสร้างขึ้นทั่วโลก
  • 8:34 - 8:39
    ในสัปดาห์นี้ โรงไฟฟ้าถ่านหิน
    ขนาด 1 กิกะวัตต์ ตั้งแต่หนึ่งถึงสามแห่ง
  • 8:39 - 8:41
    กำลังเปิดทำการขึ้นทั่วโลก
  • 8:42 - 8:46
    สิ่งนั้นกำลังเกิดขึ้น
    ไม่ว่าเราจะต้องการอะไรก็ตาม
  • 8:46 - 8:48
    เพราะว่าผู้คนที่ปกครองประเทศเหล่านั้น
  • 8:48 - 8:51
    หลังจากที่ได้ประเมินผลประโยชน์
    ของประชากรของพวกเขาแล้ว
  • 8:51 - 8:54
    ได้ตัดสินใจที่จะใช้ผลประโยชน์ดังกล่าว
    มาเป็นเหตุผลในการทำเช่นนั้น
  • 8:55 - 8:59
    และสิ่งนี้จะยังคงเกิดขึ้นต่อไป
    เว้นเสียแต่ว่าพวกเขามีทางเลือกที่ดีกว่า
  • 9:00 - 9:03
    และโรงไฟฟ้าแบบนั้นทุก ๆ 100 แห่ง
  • 9:03 - 9:07
    จะใช้งบประมาณทางสภาพภูมิอากาศของโลก
  • 9:07 - 9:08
    ตั้งแต่หนึ่งถึงสามเปอร์เซ็นต์
  • 9:09 - 9:13
    ดังนั้น ในทุก ๆ วันที่คุณเดินทางกลับบ้าน
    และคิดว่าคุณควรจะลงมือทำอะไรสักอย่าง
  • 9:13 - 9:14
    เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน
  • 9:15 - 9:17
    ในตอนจบของสัปดาห์นั้น ให้คุณจำไว้ว่า
  • 9:17 - 9:21
    ใครสักคนได้เปิดทำการโรงไฟฟ้าถ่านหิน
    ขึ้นอีกแห่งหนึ่งซึ่งจะถูกใช้การไปอีก 50 ปี
  • 9:21 - 9:24
    และปล้นความสามารถ
    ในการเปลี่ยนแปลงของคุณไป
  • 9:26 - 9:30
    สิ่งที่เราต่างลืมกันไปก็คือสิ่งหนึ่งที่
    วินอด โคสลา (Vinod Khosla) เคยพูดเอาไว้
  • 9:30 - 9:33
    เขาเป็นชายเชื้อสายอินเดีย
    ที่เป็นนักร่วมลงทุนสัญชาติอเมริกัน
  • 9:33 - 9:36
    และเขากล่าวไว้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 2000
  • 9:36 - 9:40
    ว่าถ้าหากคุณต้องการที่จะกำจัดเชื้อเพลิงฟอสซิล
    ออกไปจากประเทศจีนและอินเดีย
  • 9:40 - 9:44
    คุณจะต้องสร้างเทคโนโลยีที่สอบผ่าน
    "มาตรฐานจีนเดีย (Chindia test)"
  • 9:45 - 9:47
    "จีนเดีย" คือคำประสม
    ที่เกิดจากการรวมกันของสองคำนั้น
  • 9:48 - 9:50
    ประการแรก คือ มันต้องใช้การได้
  • 9:50 - 9:54
    หมายความว่า โดยหลักการแล้ว พวกเขา
    จะต้องนำมันไปใช้ในประเทศของพวกเขาได้
  • 9:54 - 9:57
    และหมายความว่า มันจะต้องเป็นที่ยอมรับ
    ในหมู่ประชากรภายในประเทศ
  • 9:58 - 10:05
    ประการที่สอง มันจะต้องเป็นเทคโนโลยี
    ที่รองรับการเพิ่มขยายได้
  • 10:05 - 10:08
    ที่สามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์ในแบบเดียวกัน
  • 10:08 - 10:11
    โดยใช้เวลาเท่ากับเชื้อเพลิงฟอสซิล
  • 10:11 - 10:15
    เพื่อที่พวกเขาจะได้สามารถใช้ชีวิต
    ในแบบที่พูดไปแล้วว่า เราต่างใช้กันอยู่
  • 10:16 - 10:18
    และประการที่สาม มันจะต้องคุ้มค่า
  • 10:18 - 10:21
    โดยปราศจากการอุดหนุนทางการเงิน
    และการสั่งการ
  • 10:21 - 10:24
    มันจะต้องยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง
  • 10:24 - 10:28
    ประเทศเหล่านั้นจะไม่สามารถรักษามันไว้
    เพื่อคนจำนวนมากขนาดนั้นได้
  • 10:28 - 10:31
    ถ้าหากว่า เมื่อถึงเวลาจริงแล้ว
    พวกเขาจะต้องคอยร้องขอเงิน
  • 10:31 - 10:35
    หรือพบเจอกับคำพูดของประเทศอื่น ๆ บางประเทศ
    ที่พูดว่า "เราจะไม่ทำการค้ากับคุณ"
  • 10:35 - 10:39
    เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
  • 10:40 - 10:42
    ถ้าเรามองไปที่ "มาตรฐานจีนเดีย"
  • 10:42 - 10:47
    เราจะเห็นได้ชัดว่าเรายังไม่สามารถคิดค้น
    พลังงานทดแทนที่ผ่านมาตรฐานนั้นได้
  • 10:47 - 10:50
    นั่นคือสิ่งที่การประเมิน
    ผลกระทบสิ่งแวดล้อมบอกกับเรา
  • 10:51 - 10:54
    ประเทศจีนผลิตไฟฟ้า
    800 กิกะวัตต์จากถ่านหิน
  • 10:55 - 10:57
    400 กิกะวัตต์จากพลังน้ำ
  • 10:58 - 11:00
    200 กิกะวัตต์โดยประมาณจากนิวเคลียร์
  • 11:01 - 11:05
    และด้วยหลักการการผลิตพลังงาน
    ในปริมาณที่เท่ากัน เพื่อสลับใช้ในบางครั้ง
  • 11:05 - 11:07
    ผลิตอีก 100 กิกะวัตต์โดยประมาณ
    จากพลังงานหมุนเวียน
  • 11:08 - 11:09
    800 กิกะวัตต์จากถ่านหิน
  • 11:10 - 11:13
    พวกเขาทำแบบนั้นอยู่
    โดยที่รู้ถึงผลที่ตามมาดีกว่าประเทศใด ๆ
  • 11:13 - 11:16
    และรู้ถึงความจำเป็นนั้นมากกว่าประเทศไหน ๆ
  • 11:16 - 11:19
    แต่นั่นคือสิ่งที่พวกเขา
    กำลังมุ่งไปหาในปี ค.ศ. 2040
  • 11:19 - 11:21
    เว้นเสียแต่ว่า
    เราจะหยิบยื่นทางเลือกที่ดีกว่าให้
  • 11:22 - 11:24
    เพื่อให้ทางเลือกที่ดีกว่ากับพวกเขา
  • 11:24 - 11:26
    ทางเลือกนั้นจะต้องผ่านมาตรฐานจีนเดีย
  • 11:26 - 11:29
    ถ้าคุณมองไปที่พลังงานทางเลือก
    ทั้งหมดที่มีอยู่บนโลก
  • 11:29 - 11:31
    มีเพียงแค่สองอย่างเท่านั้น
    ที่เกือบผ่านมาตรฐานดังกล่าว
  • 11:32 - 11:36
    อย่างแรกก็คือนิวเคลียร์แบบใหม่
    ที่ผมจะพูดต่อจากนี้
  • 11:36 - 11:39
    มันคือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุ่นใหม่
    ที่กำลังอยู่ในขั้นพิจารณา
  • 11:39 - 11:41
    ทั่วโลก
  • 11:41 - 11:43
    และผู้ที่พัฒนาโรงไฟฟ้าเหล่านี้
    ต่างกล่าวกันว่า
  • 11:43 - 11:47
    พวกเขาสามารถทำให้โรงไฟฟ้าเหล่านี้
    เข้าสู่ขั้นทดลองใช้ได้ภายในปี ค.ศ. 2025
  • 11:47 - 11:51
    และเข้าสู่ขั้นการจริงภายในปี ค.ศ. 2030
    หากพวกคุณยอมให้เราทำ
  • 11:51 - 11:54
    พลังงานทางเลือกอย่างที่สอง
    ที่อาจมาได้ทันเวลา
  • 11:55 - 11:58
    ก็คือพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้การได้จริง
    ที่หนุนด้วยก๊าซธรรมชาติ
  • 11:58 - 12:00
    ที่เราสามารถใช้ได้ในปัจจุบันนี้
  • 12:00 - 12:03
    เทียบกับที่หนุนด้วยแบตเตอรี่
    ที่ยังคงอยู่ในช่วงของการพัฒนา
  • 12:05 - 12:07
    แล้วอะไรกันล่ะ
    ที่รั้งการพัฒนานิวเคลียร์รุ่นใหม่เอาไว้
  • 12:08 - 12:11
    กฎระเบียบอันคร่ำครึ
    และทัศนคติในแบบเก่า ๆ
  • 12:12 - 12:16
    เรายังไม่ได้ใช้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ล่าสุด
    ในเรื่องของรังสีวิทยาด้านสุขภาพ
  • 12:16 - 12:19
    ในการคิดว่าเราจะสื่อสารกับสาธารณะ
  • 12:19 - 12:21
    และควบคุมการทดสอบเตาปฏิกรณ์
    นิวเคลียร์ใหม่ได้อย่างไร
  • 12:22 - 12:26
    เรามีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ
    ที่เราจำเป็นต้องใช้
  • 12:26 - 12:30
    ในการพัฒนาปรับปรุง
    วิธีการควบคุมอุตสาหกรรมนิวเคลียร์
  • 12:31 - 12:33
    สิ่งที่สองก็คือว่า เรามีทัศนคติ
  • 12:33 - 12:36
    ที่ใช้เวลา 25 ปี
    และเงิน 2 ถึง 5 พันล้านดอลล่าร์
  • 12:36 - 12:38
    ในการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
  • 12:38 - 12:42
    นั่นมาจากทัศนคติโบราณแบบทหาร
  • 12:42 - 12:45
    ที่มองไปยังแหล่งกำเนิด
    ของการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์
  • 12:45 - 12:48
    ธุรกิจนิวเคลียร์ใหม่ ๆ เหล่านี้กำลังบอกว่า
  • 12:48 - 12:50
    พวกเขาสามารถผลิตไฟฟ้า
    ในราคา 5 เซนต์ต่อหนึ่งกิโลวัตต์-ชั่วโมง
  • 12:51 - 12:54
    พวกเขาสามารถผลิตไฟฟ้าได้
    100 กิกะวัตต์ต่อหนึ่งปี
  • 12:55 - 12:57
    พวกเขาสามารถเริ่มรุ่นทดลอง
    ได้ภายในปี ค.ศ. 2025
  • 12:57 - 13:00
    และพวกเขาสามารถนำมาใช้จริง
    ได้ภายในปี ค.ศ. 2030
  • 13:01 - 13:03
    ขอแค่เราให้โอกาสกับพวกเขา
  • 13:04 - 13:07
    ในตอนนี้ โดยรวมแล้ว
    เรากำลังนั่งรอปาฏิหาริย์
  • 13:08 - 13:09
    แต่สิ่งที่เราต้องการคือทางเลือก
  • 13:10 - 13:13
    ถ้าพวกเขาไม่สามารถทำให้มันปลอดภัยได้
    ถ้าพวกเขาไม่สามารถทำให้มันถูกได้
  • 13:13 - 13:15
    มันก็ไม่ควรถูกใช้
  • 13:15 - 13:19
    แต่สิ่งที่ผมอยากให้คุณทำนั้นไม่ใช่
    การส่งต่อความคิดสักอย่างหนึ่งไปเรื่อย ๆ
  • 13:19 - 13:20
    แต่ให้คุณเขียนไปหาเหล่าผู้นำของคุณ
  • 13:20 - 13:23
    เขียนไปหาประธานองค์กรนอกภาครัฐต่าง ๆ
    ที่คุณสนับสนุนอยู่
  • 13:23 - 13:26
    และบอกพวกเขาว่า
    ให้มอบทางเลือกให้กับคุณ
  • 13:26 - 13:27
    ไม่ใช่อดีต
  • 13:27 - 13:29
    ขอบคุณมากครับ
  • 13:29 - 13:33
    (เสียงปรบมือ)
Title:
พลังงานนิวเคลียร์คือทางออกของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Speaker:
โจ แลสซิเทอร์ (Joe Lassiter)
Description:

โจ แลสซิเทอร์ (Joe Lassiter) เป็นนักคิดในเชิงลึก และนักพูดที่มีความตรงไปตรงมาที่ให้ความสนใจกับการพัฒนาแหล่งพลังงานที่ไว้ใจได้ สะอาด ปลอดภัย ปราศจากคาร์บอน และเป็นพลังงานประหยัด การวิเคราะห์ของเขาในเรื่องของสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับพลังงานของโลกเปรียบเสมือนแว่นขยายอันทรงพลังที่ใช้ส่องผ่านเข้าไปยังประเด็นที่ละเอียดอ่อนและคาราคาซังมานานในเรื่องของพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งรวมไปถึงการออกแบบโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แบบใหม่ที่สามารถแข่งกับเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ในเชิงเศรษฐกิจ แลสซิเทอร์กล่าวว่า เรามีศักยภาพมากพอที่จะทำให้นิวเคลียร์มีความปลอดภัยมากขึ้นและมีราคาที่ถูกลงกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต และตอนนี้เราจะต้องทำการตัดสินใจเพื่อเลือกเส้นทางเดินนั้น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:46
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for We need nuclear power to solve climate change
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for We need nuclear power to solve climate change
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for We need nuclear power to solve climate change
Purich Worawarachai edited Thai subtitles for We need nuclear power to solve climate change
Purich Worawarachai edited Thai subtitles for We need nuclear power to solve climate change
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for We need nuclear power to solve climate change
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for We need nuclear power to solve climate change
Purich Worawarachai edited Thai subtitles for We need nuclear power to solve climate change
Show all

Thai subtitles

Revisions