Return to Video

กล้ามเนื้อเติบโตได้เพราะอะไร - เจฟฟรีย์ ซีเกิล (Jeffrey Siegel)

  • 0:07 - 0:08
    กล้ามเนื้อ
  • 0:08 - 0:10
    เรามีกล้ามเนื้อมากกว่า 600 มัด
  • 0:10 - 0:14
    กล้ามเนื้อคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1/3
    ถึง 1/2 ของน้ำหนักตัวเรา
  • 0:14 - 0:16
    มันทำหน้าที่ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
    (connective tissue)
  • 0:16 - 0:20
    ในการช่วยยึดตัวเราไว้ พยุงร่างกายของเรา
    และช่วยให้เราเคลื่อนไหวได้
  • 0:20 - 0:23
    และไม่ว่าการเล่นเพาะกาย
    จะเป็นงานอดิเรกของคุณหรือไม่
  • 0:23 - 0:25
    กล้ามเนื้อต้องการความเอาใจใส่
    จากคุณอย่างต่อเนื่อง
  • 0:25 - 0:28
    เพราะการปฏิบัติต่อพวกมันในกิจวัตรประจำวัน
  • 0:28 - 0:31
    เป็นตัวกำหนด
    ว่าพวกมันจะหดหายหรือเติบโต
  • 0:31 - 0:34
    สมมติว่าคุณกำลังยืนตรงหน้าประตู
    พร้อมที่จะดึงเพื่อให้มันเปิดออก
  • 0:34 - 0:39
    สมองและกล้ามเนื้อของคุณจะทำงาน
    อย่างสอดคล้องกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
  • 0:39 - 0:43
    อย่างแรก สมองของคุณส่งสัญญาณ
    ไปยังเซลล์ประสาทสั่งการในแขนของคุณ
  • 0:43 - 0:46
    เมื่อพวกมันได้รับคำสั่งการนี้
    พวกมันจะส่งกระแสประสาท
  • 0:46 - 0:49
    ทำให้กล้ามเนื้อหดและคลายตัว
  • 0:49 - 0:53
    ซึ่งจะทำงานร่วมกับกระดูกแขนของคุณ
    และทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ต้องการ
  • 0:53 - 0:57
    ยิ่งมีอุปสรรคมากเท่าไหร่
    ก็ยิ่งทำให้สัญญานจากสมองแผ่ขยายมากขึ้น
  • 0:57 - 1:01
    และหน่วยสั่งจำนวนมากขึ้น
    ก็ถูกใช้เพื่อให้คุณทำงานได้สำเร็จ
  • 1:01 - 1:05
    แต่จะเป็นยังไง
    ถ้าประตูทำด้วยเหล็กหนาทึบ
  • 1:05 - 1:07
    ถึงจุดนี้ แขนของคุณอย่างเดียว
  • 1:07 - 1:10
    ไม่สามารถทำให้เกิดแรงดึงมากพอ
    ที่จะดึงประตูให้เปิดออกได้
  • 1:10 - 1:14
    ดังนั้นสมองของคุณจึงขอความช่วยเหลือ
    จากกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ
  • 1:14 - 1:18
    คุณวางเท้าให้มั่น แขม่วท้อง
    และเกร็งหลัง
  • 1:18 - 1:20
    เพื่อทำให้เกิดแรงมากพอ
    ที่จะกระชากให้มันเปิดออก
  • 1:20 - 1:25
    ระบบประสาทของคุณ
    ได้งัดเอาทรัพยากรที่คุณมีอยู่แล้ว
  • 1:25 - 1:26
    รวมถึงกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ
  • 1:26 - 1:28
    มาใช้งานให้เพียงพอกับความต้องการ
  • 1:28 - 1:29
    ในขณะที่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
  • 1:29 - 1:33
    เส้นใยกล้ามเนื้อของคุณจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
    อีกแบบหนึ่งในระดับเซลล์
  • 1:33 - 1:38
    เมื่อคุณทำให้พวกมันตึง พวกมันจะได้รับ
    ความเสียหายในระดับที่เล็กมาก ๆ
  • 1:38 - 1:40
    ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี
  • 1:40 - 1:46
    เหล่าเซลล์ที่เสียหายได้ตอบสนอง โดยปล่อย
    โมเลกุลการอักเสบที่เรียกว่า ไซโตไคน์
  • 1:46 - 1:50
    ที่จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
    ให้มาซ่อมแซมอาการบาดเจ็บ
  • 1:50 - 1:54
    นี่แหละคือช่วงเวลาที่มนตร์วิเศษ
    แห่งการสร้างกล้ามเนื้อได้บังเกิดขึ้น
  • 1:54 - 1:56
    ยิ่งเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อได้รับความเสียหาย
    มากเท่าไหร่
  • 1:56 - 1:59
    ก็ยิ่งจะทำให้ร่างกายของคุณ
    ต้องซ่อมแซมตัวเองมากเท่านั้น
  • 1:59 - 2:02
    ผลจากวัฏจักรการเสียหายและซ่อมแซมนี้เอง
  • 2:02 - 2:05
    ทำให้กล้ามเนื้อขยายใหญ่ขึ้น
    และแข็งแกร่งขึ้น
  • 2:05 - 2:08
    เพราะพวกมันปรับตัว
    ให้เข้ากับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น
  • 2:08 - 2:12
    เนื่องจากร่างกายเราได้ปรับให้เข้ากับ
    กิจวัตรประจำวันส่วนมากอยู่แล้ว
  • 2:12 - 2:15
    กิจวัตรเหล่านั้นจึงไม่ได้ทำให้กล้ามเนื้อ
    เกิดความตึงมากพอ
  • 2:15 - 2:17
    ที่จะกระตุ้นการเกิดใหม่ของกล้ามเนื้อ
  • 2:17 - 2:21
    ดังนั้น เพื่อสร้างกล้ามเนื้อใหม่
    กระบวนการที่เรียกว่า การโตเกิน (hypertrophy)
  • 2:21 - 2:25
    เซลล์ของเราจำเป็นต้องถูกใช้งาน
    มากกว่าตามปกติ
  • 2:25 - 2:30
    อันที่จริง ถ้าคุณไม่ใช้กล้ามเนื้อ
    ทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง
  • 2:30 - 2:31
    พวกมันจะหดเล็กลง
  • 2:31 - 2:34
    กระบวนการนี้เรียกว่า
    การฝ่อของกล้ามเนื้อ (muscular atrophy)
  • 2:34 - 2:38
    ในทางตรงกันข้าม การใช้งานกล้ามเนื้อ
    อย่างหนักจนมีความตึงอยู่ในระดับสูง
  • 2:38 - 2:40
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่กล้ามเนื้อ
    กำลังยืดยาวออกไป
  • 2:40 - 2:43
    หรือที่เรียกว่า การหดตัวแบบเอคเซนตริค
    (Eccentric Contraction)
  • 2:43 - 2:47
    จะช่วยสร้างสภาวะ
    ที่ดีต่อการเกิดใหม่ของกล้ามเนื้อ
  • 2:47 - 2:50
    อย่างไรก็ดี การเติบโตของกล้ามเนื้อต้อง
    อาศัยปัจจัยอื่นอีก นอกจากแค่การออกกำลัง
  • 2:50 - 2:53
    ถ้าหากขาดสารอาหาร ฮอร์โมน
    และการพักผ่อนที่เหมาะสม
  • 2:53 - 2:57
    ร่างกายของคุณก็จะไม่สามารถซ่อมแซม
    ใยกล้ามเนื้อส่วนที่สึกหรอได้เลย
  • 2:57 - 3:00
    โปรตีนในอาหารของเรา
    ช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อ
  • 3:00 - 3:02
    โดยการจัดเตรียมส่วนประกอบ
    ในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
  • 3:02 - 3:04
    ในรูปของกรดอะมิโน
  • 3:04 - 3:08
    การรับประทานโปรตีนที่พอเหมาะ
    ควบคู่กับฮอร์โมนที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
  • 3:08 - 3:11
    เช่น โกรทแฟกเตอร์ที่คล้ายอินซูลิน
    และเทสโทสเตอโรน
  • 3:11 - 3:16
    ช่วยเปลี่ยนให้ร่างกายอยู่ในสถานะ
    ที่เนื้อเยื่อได้รับการซ่อมแซมและเติบโต
  • 3:16 - 3:20
    กระบวนการซ่อมแซมที่สำคัญนี้
    ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในเวลาที่เราพักผ่อน
  • 3:20 - 3:22
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลากลางคืน
    ขณะที่เรากำลังนอนหลับ
  • 3:22 - 3:25
    เพศและอายุ
    ส่งผลต่อกลไกการซ่อมแซมนี้
  • 3:25 - 3:28
    ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมชายหนุ่ม
    ที่มีเทสโทสเตอโรนมากกว่า
  • 3:28 - 3:30
    จะได้เปรียบกว่าในการแข่งขันเพาะกาย
  • 3:30 - 3:35
    ปัจจัยทางพันธุกรรมยังมีบทบาทสำคัญ
    ในการสร้างกล้ามเนื้อของแต่ละบุคคลอีกด้วย
  • 3:35 - 3:38
    บางคนมีปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่รุนแรงกว่า
    ต่อความเสียหายของกล้ามเนื้อ
  • 3:38 - 3:42
    และสามารถซ่อมแซม
    และสร้างใยกล้ามเนื้อที่สึกหรอได้ดีกว่า
  • 3:42 - 3:45
    ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพการสร้างกล้ามเนื้อ
    ของพวกเขาให้มากขึ้นไปอีก
  • 3:45 - 3:48
    ร่างกายตอบสนอง
    ต่อความกดดันที่คุณให้กับมัน
  • 3:48 - 3:52
    ถ้าคุณฉีกกล้ามเนื้อ กินให้ถูกต้อง
    พักผ่อนให้เพียงพอ และทำซ้ำต่อไป
  • 3:52 - 3:57
    คุณจะสร้างสภาวะที่ทำให้กล้ามเนื้อของคุณ
    ใหญ่และแข็งแรงขึ้นเท่าที่มันจะเป็นไปได้
  • 3:57 - 4:00
    กล้ามเนื้อก็เหมือนกับชีวิตเรานี่แหละ
  • 4:00 - 4:04
    การเติบโตที่มีความหมาย
    จำเป็นต้องมีอุปสรรคและการบีบคั้น
Title:
กล้ามเนื้อเติบโตได้เพราะอะไร - เจฟฟรีย์ ซีเกิล (Jeffrey Siegel)
Speaker:
Jeffrey Siegel
Description:

ดูบทเรียนฉบับเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/what-makes-muscles-grow-jeffrey-siegel

เรามีกล้ามเนื้อมากกว่า 600 มัดในร่างกายที่ช่วยยึดตัวเราไว้ พยุงร่างกายของเรา และช่วยให้เราเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้กล้ามเนื้อของเราต้องการความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ เพราะวิธีการที่คุณดูแลมันในเป็นประจำจะกำหนดว่าพวกมันจะหดหายหรือเติบโต เจฟฟรีย์ ซีเกิลแสดงให้เห็นว่าการผสมผสานที่ดีระหว่างการนอนหลับ โภชนาการ และการออกกำลังกาย จะรักษาและช่วยให้กล้ามเนื้อของคุณมีขนาดใหญ่และแข็งแกร่งมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ได้อย่างไร

บทเรียนโดย เจฟฟรีย์ ซีเกิล แอนิเมชันโดย เบรทท์ อันเดอร์ฮิลล์

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:20
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for What makes muscles grow?
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for What makes muscles grow?
Chaiyasit Singphila edited Thai subtitles for What makes muscles grow?
Chaiyasit Singphila edited Thai subtitles for What makes muscles grow?
Chaiyasit Singphila edited Thai subtitles for What makes muscles grow?
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for What makes muscles grow?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What makes muscles grow?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for What makes muscles grow?
Show all

Thai subtitles

Revisions