0:00:06.802,0:00:08.087 กล้ามเนื้อ 0:00:08.087,0:00:10.404 เรามีกล้ามเนื้อมากกว่า 600 มัด 0:00:10.404,0:00:14.348 กล้ามเนื้อคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1/3[br]ถึง 1/2 ของน้ำหนักตัวเรา 0:00:14.348,0:00:16.016 มันทำหน้าที่ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน[br](connective tissue) 0:00:16.016,0:00:20.261 ในการช่วยยึดตัวเราไว้ พยุงร่างกายของเรา [br]และช่วยให้เราเคลื่อนไหวได้ 0:00:20.261,0:00:22.852 และไม่ว่าการเล่นเพาะกาย[br]จะเป็นงานอดิเรกของคุณหรือไม่ 0:00:22.852,0:00:25.265 กล้ามเนื้อต้องการความเอาใจใส่[br]จากคุณอย่างต่อเนื่อง 0:00:25.265,0:00:27.579 เพราะการปฏิบัติต่อพวกมันในกิจวัตรประจำวัน 0:00:27.579,0:00:31.048 เป็นตัวกำหนด[br]ว่าพวกมันจะหดหายหรือเติบโต 0:00:31.048,0:00:34.158 สมมติว่าคุณกำลังยืนตรงหน้าประตู[br]พร้อมที่จะดึงเพื่อให้มันเปิดออก 0:00:34.158,0:00:39.077 สมองและกล้ามเนื้อของคุณจะทำงาน[br]อย่างสอดคล้องกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 0:00:39.077,0:00:43.121 อย่างแรก สมองของคุณส่งสัญญาณ[br]ไปยังเซลล์ประสาทสั่งการในแขนของคุณ 0:00:43.121,0:00:45.937 เมื่อพวกมันได้รับคำสั่งการนี้[br]พวกมันจะส่งกระแสประสาท 0:00:45.937,0:00:49.051 ทำให้กล้ามเนื้อหดและคลายตัว 0:00:49.051,0:00:53.414 ซึ่งจะทำงานร่วมกับกระดูกแขนของคุณ[br]และทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ต้องการ 0:00:53.414,0:00:57.460 ยิ่งมีอุปสรรคมากเท่าไหร่[br]ก็ยิ่งทำให้สัญญานจากสมองแผ่ขยายมากขึ้น 0:00:57.460,0:01:01.445 และหน่วยสั่งจำนวนมากขึ้น[br]ก็ถูกใช้เพื่อให้คุณทำงานได้สำเร็จ 0:01:01.445,0:01:04.818 แต่จะเป็นยังไง[br]ถ้าประตูทำด้วยเหล็กหนาทึบ 0:01:04.818,0:01:06.773 ถึงจุดนี้ แขนของคุณอย่างเดียว 0:01:06.773,0:01:10.394 ไม่สามารถทำให้เกิดแรงดึงมากพอ[br]ที่จะดึงประตูให้เปิดออกได้ 0:01:10.394,0:01:13.868 ดังนั้นสมองของคุณจึงขอความช่วยเหลือ[br]จากกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ 0:01:13.868,0:01:17.795 คุณวางเท้าให้มั่น แขม่วท้อง [br]และเกร็งหลัง 0:01:17.795,0:01:20.439 เพื่อทำให้เกิดแรงมากพอ[br]ที่จะกระชากให้มันเปิดออก 0:01:20.439,0:01:24.749 ระบบประสาทของคุณ[br]ได้งัดเอาทรัพยากรที่คุณมีอยู่แล้ว 0:01:24.749,0:01:26.387 รวมถึงกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ 0:01:26.387,0:01:27.634 มาใช้งานให้เพียงพอกับความต้องการ 0:01:27.634,0:01:28.973 ในขณะที่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น 0:01:28.973,0:01:32.945 เส้นใยกล้ามเนื้อของคุณจะเกิดการเปลี่ยนแปลง[br]อีกแบบหนึ่งในระดับเซลล์ 0:01:32.945,0:01:37.538 เมื่อคุณทำให้พวกมันตึง พวกมันจะได้รับ[br]ความเสียหายในระดับที่เล็กมาก ๆ 0:01:37.538,0:01:40.333 ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี 0:01:40.333,0:01:45.808 เหล่าเซลล์ที่เสียหายได้ตอบสนอง โดยปล่อย[br]โมเลกุลการอักเสบที่เรียกว่า ไซโตไคน์ 0:01:45.808,0:01:50.112 ที่จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน[br]ให้มาซ่อมแซมอาการบาดเจ็บ 0:01:50.112,0:01:53.524 นี่แหละคือช่วงเวลาที่มนตร์วิเศษ[br]แห่งการสร้างกล้ามเนื้อได้บังเกิดขึ้น 0:01:53.524,0:01:55.895 ยิ่งเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อได้รับความเสียหาย[br]มากเท่าไหร่ 0:01:55.895,0:01:59.114 ก็ยิ่งจะทำให้ร่างกายของคุณ[br]ต้องซ่อมแซมตัวเองมากเท่านั้น 0:01:59.114,0:02:01.644 ผลจากวัฏจักรการเสียหายและซ่อมแซมนี้เอง 0:02:01.644,0:02:04.829 ทำให้กล้ามเนื้อขยายใหญ่ขึ้น[br]และแข็งแกร่งขึ้น 0:02:04.829,0:02:08.299 เพราะพวกมันปรับตัว[br]ให้เข้ากับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น 0:02:08.299,0:02:11.983 เนื่องจากร่างกายเราได้ปรับให้เข้ากับ[br]กิจวัตรประจำวันส่วนมากอยู่แล้ว 0:02:11.983,0:02:14.682 กิจวัตรเหล่านั้นจึงไม่ได้ทำให้กล้ามเนื้อ[br]เกิดความตึงมากพอ 0:02:14.682,0:02:17.213 ที่จะกระตุ้นการเกิดใหม่ของกล้ามเนื้อ 0:02:17.213,0:02:20.565 ดังนั้น เพื่อสร้างกล้ามเนื้อใหม่ [br]กระบวนการที่เรียกว่า การโตเกิน (hypertrophy) 0:02:20.565,0:02:25.247 เซลล์ของเราจำเป็นต้องถูกใช้งาน[br]มากกว่าตามปกติ 0:02:25.247,0:02:29.615 อันที่จริง ถ้าคุณไม่ใช้กล้ามเนื้อ[br]ทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง 0:02:29.615,0:02:31.252 พวกมันจะหดเล็กลง 0:02:31.252,0:02:34.325 กระบวนการนี้เรียกว่า [br]การฝ่อของกล้ามเนื้อ (muscular atrophy) 0:02:34.325,0:02:37.700 ในทางตรงกันข้าม การใช้งานกล้ามเนื้อ[br]อย่างหนักจนมีความตึงอยู่ในระดับสูง 0:02:37.700,0:02:40.483 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่กล้ามเนื้อ[br]กำลังยืดยาวออกไป 0:02:40.483,0:02:42.861 หรือที่เรียกว่า การหดตัวแบบเอคเซนตริค[br](Eccentric Contraction) 0:02:42.861,0:02:46.526 จะช่วยสร้างสภาวะ[br]ที่ดีต่อการเกิดใหม่ของกล้ามเนื้อ 0:02:46.526,0:02:50.304 อย่างไรก็ดี การเติบโตของกล้ามเนื้อต้อง[br]อาศัยปัจจัยอื่นอีก นอกจากแค่การออกกำลัง 0:02:50.304,0:02:53.038 ถ้าหากขาดสารอาหาร ฮอร์โมน[br]และการพักผ่อนที่เหมาะสม 0:02:53.038,0:02:56.635 ร่างกายของคุณก็จะไม่สามารถซ่อมแซม[br]ใยกล้ามเนื้อส่วนที่สึกหรอได้เลย 0:02:56.635,0:02:59.574 โปรตีนในอาหารของเรา[br]ช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อ 0:02:59.574,0:03:02.465 โดยการจัดเตรียมส่วนประกอบ[br]ในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ 0:03:02.465,0:03:04.389 ในรูปของกรดอะมิโน 0:03:04.389,0:03:08.020 การรับประทานโปรตีนที่พอเหมาะ[br]ควบคู่กับฮอร์โมนที่มีอยู่ตามธรรมชาติ 0:03:08.020,0:03:11.097 เช่น โกรทแฟกเตอร์ที่คล้ายอินซูลิน[br]และเทสโทสเตอโรน 0:03:11.097,0:03:16.134 ช่วยเปลี่ยนให้ร่างกายอยู่ในสถานะ[br]ที่เนื้อเยื่อได้รับการซ่อมแซมและเติบโต 0:03:16.134,0:03:19.896 กระบวนการซ่อมแซมที่สำคัญนี้[br]ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในเวลาที่เราพักผ่อน 0:03:19.896,0:03:22.110 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลากลางคืน[br]ขณะที่เรากำลังนอนหลับ 0:03:22.110,0:03:25.255 เพศและอายุ[br]ส่งผลต่อกลไกการซ่อมแซมนี้ 0:03:25.255,0:03:27.731 ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมชายหนุ่ม[br]ที่มีเทสโทสเตอโรนมากกว่า 0:03:27.731,0:03:30.482 จะได้เปรียบกว่าในการแข่งขันเพาะกาย 0:03:30.482,0:03:34.631 ปัจจัยทางพันธุกรรมยังมีบทบาทสำคัญ[br]ในการสร้างกล้ามเนื้อของแต่ละบุคคลอีกด้วย 0:03:34.631,0:03:38.479 บางคนมีปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่รุนแรงกว่า[br]ต่อความเสียหายของกล้ามเนื้อ 0:03:38.479,0:03:42.015 และสามารถซ่อมแซม[br]และสร้างใยกล้ามเนื้อที่สึกหรอได้ดีกว่า 0:03:42.015,0:03:44.901 ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพการสร้างกล้ามเนื้อ[br]ของพวกเขาให้มากขึ้นไปอีก 0:03:44.901,0:03:47.596 ร่างกายตอบสนอง[br]ต่อความกดดันที่คุณให้กับมัน 0:03:47.596,0:03:52.370 ถ้าคุณฉีกกล้ามเนื้อ กินให้ถูกต้อง [br]พักผ่อนให้เพียงพอ และทำซ้ำต่อไป 0:03:52.370,0:03:57.185 คุณจะสร้างสภาวะที่ทำให้กล้ามเนื้อของคุณ[br]ใหญ่และแข็งแรงขึ้นเท่าที่มันจะเป็นไปได้ 0:03:57.375,0:03:59.566 กล้ามเนื้อก็เหมือนกับชีวิตเรานี่แหละ 0:03:59.602,0:04:03.562 การเติบโตที่มีความหมาย[br]จำเป็นต้องมีอุปสรรคและการบีบคั้น