Return to Video

วิทยาศาสตร์ของไฟฟ้าสถิต - Anuradha Bhagwat

  • 0:09 - 0:13
    มันจู่โจมโดยไม่มีการเตือน
    ตอนไหนก็ได้
  • 0:13 - 0:16
    คุณอาจจะกำลังเดินผ่านพรมนิ่มๆ
    และเอื้อมไปจับลูกบิดประตู
  • 0:16 - 0:19
    ทันใดนั้นเอง...แปล๊บ!
  • 0:19 - 0:21
    จะเข้าใจไฟฟ้าสถิต
  • 0:21 - 0:24
    เราต้องรู้ธรรมชาติของสสารก่อนสักหน่อย
  • 0:24 - 0:26
    สสารทุกอย่างประกอบด้วยอะตอม
  • 0:26 - 0:29
    ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ 3 ชนิด
  • 0:29 - 0:31
    อิเล็กตรอนประจุลบ
  • 0:31 - 0:33
    โปรตอนประจุบวก
  • 0:33 - 0:36
    และนิวตรอนที่เป็นกลาง
  • 0:36 - 0:40
    ตามปกติแล้วอิเล็กตรอนและโปรตอน
    ในอะตอมจะสมดุลกัน
  • 0:40 - 0:44
    นี่เป็นเหตุผลที่สสารทั้งหลายที่คุณเจอ
    ส่วนใหญ่มีประจุไฟฟ้าเป็นกลาง
  • 0:44 - 0:48
    แต่อิเล็กตรอนมีขนาดเล็กจิ๋ว
    และมีมวลสารน้อยมากจนแทบไม่มี
  • 0:48 - 0:51
    และการถูหรือการเสียดสีอาจทำให้
    อิเล็กตรอนที่เกาะอยู่หลวมๆ
  • 0:51 - 0:55
    ได้รับพลังงานมากพอที่จะหลุด
    ออกจากอะตอมและไปเกาะที่อื่น
  • 0:55 - 0:58
    เคลื่อนย้ายจากพื้นผิวที่แตกต่างกัน
  • 0:58 - 0:59
    เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น
  • 0:59 - 1:02
    วัตถุชนิดแรกจะมีโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอน
  • 1:02 - 1:05
    และมีประจุฟฟ้ากลายเป็นบวก
  • 1:05 - 1:09
    ในขณะที่วัตถุอีกชนิดที่มีอิเล็กตรอน
    สะสมอยู่จะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ
  • 1:09 - 1:12
    สภาพแบบนี้เรียกว่า
    ความไม่สมดุลของประจุไฟฟ้า
  • 1:12 - 1:15
    หรือการแยกประจุสุทธิ
  • 1:15 - 1:18
    แต่ธรรมชาติมักโน้มเอียงไปทางสมดุล
  • 1:18 - 1:23
    ดังนั้นเมื่อสสารที่มีประจุเพิ่มขึ้น
    สัมผัสกับสสารชนิดอื่น
  • 1:23 - 1:26
    อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ได้จะฉวยโอกาส
  • 1:26 - 1:28
    ไปในที่ซึ่งมันเป็นที่ต้องการมากที่สุด
  • 1:28 - 1:31
    ไม่ว่าจะเป็นการกระโดด
    ออกจากวัตถุที่มีประจุลบ
  • 1:31 - 1:34
    หรือกระโดดเข้าไปหาวัตถุที่มีประจุบวก
  • 1:34 - 1:38
    เพื่อพยายามให้ได้สมดุล
    ประจุเป็นกลางกลับคืนมา
  • 1:38 - 1:42
    และการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
    ของอิเล็กตรอนนี้เรียกว่า ไฟฟ้าสถิต
  • 1:42 - 1:45
    เป็นสิ่งเรารู้จักกันว่า ไฟฟ้าช็อต
  • 1:45 - 1:48
    กระบวนการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับวัตถุทุกชนิด
  • 1:48 - 1:51
    มิฉะนั้นแล้วคุณคงถูกไฟฟ้าช็อตตลอดเวลา
  • 1:51 - 1:53
    ตัวนำไฟฟ้า เช่น โลหะ และน้ำเกลือ
  • 1:53 - 1:57
    มีแนวโน้มที่จะมีอิเล็กตรอนเกาะ
    อยู่ภายนอกหลวมๆ
  • 1:57 - 2:00
    ซึ่งทำให้เกิดการไหลระหว่างโมเลกุลได้ง่าย
  • 2:00 - 2:04
    ในขณะที่ฉนวน เช่น พลาสติก ยาง และแก้ว
  • 2:04 - 2:09
    มีอิเล็กตรอนที่เกาะแน่นและไม่กระโดด
    ไปหาอะตอมอื่นง่ายๆ
  • 2:09 - 2:11
    ไฟฟ้าสถิตมักจะเกิดขึ้น
  • 2:11 - 2:15
    เมื่อหนึ่งในวัตถุที่เกี่ยวข้องเป็นฉนวน
  • 2:15 - 2:16
    เมื่อคุณเดินผ่านพรม
  • 2:16 - 2:20
    อิเล็กตรอนจากตัวคุณจะหลุดลงไปอยู่บนพรม
  • 2:20 - 2:24
    ในขณะที่ขนสัตว์ซึ่งเป็นฉนวนของพรม
    จะต้านทานการสูญเสียอิเล็กตรอนของตัวมันเอง
  • 2:24 - 2:28
    แม้ว่าร่างกายของคุณและพรม
    จะยังมีประจุไฟฟ้าเป็นกลาง
  • 2:28 - 2:31
    แต่ตอนนี้เกิดขั้วประจุระหว่างทั้งสอง
  • 2:31 - 2:34
    และเมื่อคุณเอื้อมมือไปจับลูกบิดประตู
  • 2:34 - 2:34
    แปล๊บ!
  • 2:34 - 2:38
    อิเล็กตรอนที่เกาะหลวมๆบนลูกบิดประตูโลหะ
    ก็กระโดดเข้าหามือคุณ
  • 2:38 - 2:41
    เพื่อทดแทนอิเล็กตรอนที่ร่างกายคุณเสียไป
  • 2:41 - 2:44
    ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นในห้องนอนคุณละก็
    มันน่ารำคาญนิดหน่อย
  • 2:44 - 2:46
    แต่ถ้าอยู่กลางแจ้ง
  • 2:46 - 2:51
    ไฟฟ้าสถิตอาจเป็นพลังทำลายล้าง
    อันน่ากลัวของธรรมชาติ
  • 2:51 - 2:55
    ในสภาพปัจจัยแวดล้อมบางอย่าง
    การแยกประจุจะเกิดขึ้นในเมฆ
  • 2:55 - 2:57
    เราไม่ทราบชัดว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร
  • 2:57 - 3:00
    มันอาจเกี่ยวกับการหมุนวนของหยดน้ำเล็กๆ
  • 3:00 - 3:02
    หรืออนุภาคน้ำแข็งภายในตัวมัน
  • 3:02 - 3:05
    อย่างไรก็ตาม ความไม่สมดุลของประจุ
    จะถูกทำให้เป็นกลาง
  • 3:05 - 3:08
    ด้วยการปล่อยไปยังสิ่งอื่น
  • 3:08 - 3:09
    เช่น อาคาร
  • 3:09 - 3:10
    โลก
  • 3:10 - 3:14
    หรือเมฆก้อนอื่นเป็นสายฟ้าขนาดยักษ์
    ที่เรารู้จักกันในนาม ฟ้าแลบ
  • 3:14 - 3:18
    และเช่นเดียวกับที่นิ้วของคุณอาจจะถูกช็อต
    ที่เดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก
  • 3:18 - 3:23
    คุณควรจะเชื่อว่าฟ้าผ่าสามารถผ่าที่เดิม
    ได้มากกว่าหนึ่งครั้ง
Title:
วิทยาศาสตร์ของไฟฟ้าสถิต - Anuradha Bhagwat
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/the-science-of-static-electricity-anuradha-bhagwat

เราทุกคนต่างมีประสบการณ์แบบนี้ คุณกำลังเดินผ่านพรมนิ่มๆ คุณเอื้อมมือไปจับลูกบิดประตูแล้ว ... แปล๊บ อะไรทำให้เกิดการแปล๊บที่เป็นลักษณะเฉพาะของไฟฟ้าสถิต อนุรัตถา ภควัต ให้ความกระจ่างเรื่องปรากฏการณ์นี้ด้วยการศึกษาธรรมชาติของสสาร

บทเรียนโดย Anuradha Bhagwat, อนิเมชั่นโดย Artrake Studio.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:39

Thai subtitles

Revisions