0:00:09.301,0:00:12.791 มันจู่โจมโดยไม่มีการเตือน [br]ตอนไหนก็ได้ 0:00:12.791,0:00:16.144 คุณอาจจะกำลังเดินผ่านพรมนิ่มๆ[br]และเอื้อมไปจับลูกบิดประตู 0:00:16.144,0:00:18.746 ทันใดนั้นเอง...แปล๊บ! 0:00:18.746,0:00:20.831 จะเข้าใจไฟฟ้าสถิต 0:00:20.831,0:00:24.049 เราต้องรู้ธรรมชาติของสสารก่อนสักหน่อย 0:00:24.049,0:00:25.846 สสารทุกอย่างประกอบด้วยอะตอม 0:00:25.846,0:00:28.897 ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ 3 ชนิด 0:00:28.897,0:00:31.085 อิเล็กตรอนประจุลบ 0:00:31.085,0:00:33.433 โปรตอนประจุบวก 0:00:33.433,0:00:35.589 และนิวตรอนที่เป็นกลาง 0:00:35.589,0:00:39.694 ตามปกติแล้วอิเล็กตรอนและโปรตอน[br]ในอะตอมจะสมดุลกัน 0:00:39.694,0:00:44.261 นี่เป็นเหตุผลที่สสารทั้งหลายที่คุณเจอ[br]ส่วนใหญ่มีประจุไฟฟ้าเป็นกลาง 0:00:44.261,0:00:48.092 แต่อิเล็กตรอนมีขนาดเล็กจิ๋ว[br]และมีมวลสารน้อยมากจนแทบไม่มี 0:00:48.092,0:00:51.425 และการถูหรือการเสียดสีอาจทำให้[br]อิเล็กตรอนที่เกาะอยู่หลวมๆ 0:00:51.425,0:00:55.059 ได้รับพลังงานมากพอที่จะหลุด[br]ออกจากอะตอมและไปเกาะที่อื่น 0:00:55.059,0:00:57.598 เคลื่อนย้ายจากพื้นผิวที่แตกต่างกัน 0:00:57.598,0:00:58.791 เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น 0:00:58.791,0:01:02.384 วัตถุชนิดแรกจะมีโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอน 0:01:02.384,0:01:05.213 และมีประจุฟฟ้ากลายเป็นบวก 0:01:05.213,0:01:09.386 ในขณะที่วัตถุอีกชนิดที่มีอิเล็กตรอน[br]สะสมอยู่จะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ 0:01:09.386,0:01:12.285 สภาพแบบนี้เรียกว่า[br]ความไม่สมดุลของประจุไฟฟ้า 0:01:12.285,0:01:15.239 หรือการแยกประจุสุทธิ 0:01:15.239,0:01:17.611 แต่ธรรมชาติมักโน้มเอียงไปทางสมดุล 0:01:17.611,0:01:22.915 ดังนั้นเมื่อสสารที่มีประจุเพิ่มขึ้น[br]สัมผัสกับสสารชนิดอื่น 0:01:22.915,0:01:26.123 อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ได้จะฉวยโอกาส 0:01:26.123,0:01:28.119 ไปในที่ซึ่งมันเป็นที่ต้องการมากที่สุด 0:01:28.119,0:01:30.564 ไม่ว่าจะเป็นการกระโดด[br]ออกจากวัตถุที่มีประจุลบ 0:01:30.564,0:01:33.734 หรือกระโดดเข้าไปหาวัตถุที่มีประจุบวก 0:01:33.734,0:01:37.654 เพื่อพยายามให้ได้สมดุล[br]ประจุเป็นกลางกลับคืนมา 0:01:37.654,0:01:41.734 และการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว[br]ของอิเล็กตรอนนี้เรียกว่า ไฟฟ้าสถิต 0:01:41.734,0:01:45.082 เป็นสิ่งเรารู้จักกันว่า ไฟฟ้าช็อต 0:01:45.082,0:01:48.314 กระบวนการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับวัตถุทุกชนิด 0:01:48.314,0:01:51.220 มิฉะนั้นแล้วคุณคงถูกไฟฟ้าช็อตตลอดเวลา 0:01:51.220,0:01:53.392 ตัวนำไฟฟ้า เช่น โลหะ และน้ำเกลือ 0:01:53.392,0:01:56.507 มีแนวโน้มที่จะมีอิเล็กตรอนเกาะ[br]อยู่ภายนอกหลวมๆ 0:01:56.507,0:01:59.781 ซึ่งทำให้เกิดการไหลระหว่างโมเลกุลได้ง่าย 0:01:59.781,0:02:03.798 ในขณะที่ฉนวน เช่น พลาสติก ยาง และแก้ว 0:02:03.798,0:02:08.780 มีอิเล็กตรอนที่เกาะแน่นและไม่กระโดด[br]ไปหาอะตอมอื่นง่ายๆ 0:02:08.780,0:02:11.186 ไฟฟ้าสถิตมักจะเกิดขึ้น 0:02:11.186,0:02:14.947 เมื่อหนึ่งในวัตถุที่เกี่ยวข้องเป็นฉนวน 0:02:14.947,0:02:16.499 เมื่อคุณเดินผ่านพรม 0:02:16.499,0:02:19.675 อิเล็กตรอนจากตัวคุณจะหลุดลงไปอยู่บนพรม 0:02:19.675,0:02:24.364 ในขณะที่ขนสัตว์ซึ่งเป็นฉนวนของพรม[br]จะต้านทานการสูญเสียอิเล็กตรอนของตัวมันเอง 0:02:24.364,0:02:28.452 แม้ว่าร่างกายของคุณและพรม[br]จะยังมีประจุไฟฟ้าเป็นกลาง 0:02:28.452,0:02:31.461 แต่ตอนนี้เกิดขั้วประจุระหว่างทั้งสอง 0:02:31.461,0:02:33.522 และเมื่อคุณเอื้อมมือไปจับลูกบิดประตู 0:02:33.522,0:02:34.456 แปล๊บ! 0:02:34.456,0:02:37.925 อิเล็กตรอนที่เกาะหลวมๆบนลูกบิดประตูโลหะ[br]ก็กระโดดเข้าหามือคุณ 0:02:37.925,0:02:40.879 เพื่อทดแทนอิเล็กตรอนที่ร่างกายคุณเสียไป 0:02:40.879,0:02:44.098 ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นในห้องนอนคุณละก็[br]มันน่ารำคาญนิดหน่อย 0:02:44.098,0:02:46.212 แต่ถ้าอยู่กลางแจ้ง 0:02:46.212,0:02:50.751 ไฟฟ้าสถิตอาจเป็นพลังทำลายล้าง[br]อันน่ากลัวของธรรมชาติ 0:02:50.751,0:02:54.532 ในสภาพปัจจัยแวดล้อมบางอย่าง[br]การแยกประจุจะเกิดขึ้นในเมฆ 0:02:54.532,0:02:56.977 เราไม่ทราบชัดว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร 0:02:56.977,0:02:59.741 มันอาจเกี่ยวกับการหมุนวนของหยดน้ำเล็กๆ 0:02:59.741,0:03:02.342 หรืออนุภาคน้ำแข็งภายในตัวมัน 0:03:02.342,0:03:05.169 อย่างไรก็ตาม ความไม่สมดุลของประจุ[br]จะถูกทำให้เป็นกลาง 0:03:05.169,0:03:07.931 ด้วยการปล่อยไปยังสิ่งอื่น 0:03:07.931,0:03:09.083 เช่น อาคาร 0:03:09.083,0:03:10.210 โลก 0:03:10.210,0:03:14.292 หรือเมฆก้อนอื่นเป็นสายฟ้าขนาดยักษ์[br]ที่เรารู้จักกันในนาม ฟ้าแลบ 0:03:14.292,0:03:17.853 และเช่นเดียวกับที่นิ้วของคุณอาจจะถูกช็อต[br]ที่เดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก 0:03:17.853,0:03:22.523 คุณควรจะเชื่อว่าฟ้าผ่าสามารถผ่าที่เดิม[br]ได้มากกว่าหนึ่งครั้ง