Return to Video

ชนชั้นแรงงานที่ถูกลืมของอเมริกา

  • 0:01 - 0:04
    ผมจำได้ครั้งเริ่มแรกที่ผมเข้าไปใน
    ร้านอาหารชั้นดี
  • 0:04 - 0:05
    ร้านอาหารที่ดีจริง ๆ
  • 0:05 - 0:07
    งานเลี้ยงรับพนักงานใหม่
    บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย
  • 0:08 - 0:10
    ผมจำได้ว่า ก่อนเวลาอาหาร
    สาวเสริฟเดินไปรอบ ๆ
  • 0:10 - 0:12
    และถามว่า เราต้องการดื่มไวน์หรือไม่
  • 0:12 - 0:14
    ผมจึงบอกไปว่า "แน่นอนครับ ผมจะดื่มไวน์ขาว"
  • 0:15 - 0:17
    เธอก็ตอบกลับมาทันทีทันใดว่า
  • 0:17 - 0:19
    "คุณต้องการโซวินยองบลังค์ หรือ
    ชาร์ดอนเน่ย์คะ"
  • 0:20 - 0:22
    และผมก็จำได้ว่า นิ่งคิดอยู่ว่า
  • 0:22 - 0:24
    "เอาเถอะ หยุดพูดภาษาฝรั่งเศสหรู ๆ นั่นเถอะ
  • 0:25 - 0:26
    แล้วก็เอาแค่ไวน์ขาวมาให้ผมก็พอ"
  • 0:27 - 0:29
    แต่ผมก็ใช้พลังความคิดอนุมานของผม
  • 0:29 - 0:31
    และนึกออกว่าชาร์ดอนเนย์ และโซวินยองบลังค์
  • 0:31 - 0:33
    เป็นชนิดของไวน์ขาวที่ต่างกัน
  • 0:33 - 0:36
    ผมจึงบอกเธอไปว่า ผมอยากจะได้ชาร์ดอนเนย์
  • 0:36 - 0:39
    เพราะพูดกันตามตรงแล้ว
    มันออกเสียงได้ง่ายที่สุด
  • 0:40 - 0:42
    ครับ ผมมีประสบการณ์แบบนั้นมากมาย
  • 0:42 - 0:45
    ในช่วงระหว่างสองปีแรก
    ในฐานะนักศึกษากฎหมายที่เยล
  • 0:45 - 0:49
    เพราะว่า แม้สภาพภายนอกทั้งหมดจะไม่บ่งบอก
    ผมเองนั้นเป็นคนนอกวัฒนธรรม
  • 0:49 - 0:51
    ผมไม่ได้มาจากคนชั้นสูง
  • 0:51 - 0:55
    ผมไม่ได้มาจากภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    หรือจากซานฟรานซิสโก
  • 0:55 - 0:57
    ผมมาจากเมืองเหล็ก ทางตอนใต้ของรัฐโอไฮโอ
  • 0:57 - 1:00
    และเป็นเมืองที่ดิ้นรนเป็นอย่างยิ่ง
    ในเรื่องมากมาย
  • 1:00 - 1:03
    เรื่องที่เป็นตัวชี้บอกถึงการดิ้นรน
    ที่กว้างใหญ่กว่า
  • 1:03 - 1:04
    ของชนชั้นแรงงานของอเมริกา
  • 1:05 - 1:06
    เฮโรอีนได้เข้ามาแล้ว
  • 1:06 - 1:08
    ฆ่าคนไปมากมาย คนที่ผมรู้จัก
  • 1:09 - 1:13
    ความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในบ้าน
    และการหย่าร้างได้ทำให้ครอบครัวขาดวิ่น
  • 1:13 - 1:18
    และมีความรู้สึกในแง่ร้ายที่ไม่เหมือนใคร ๆ
    อยู่มาก ๆ ก็เคลื่อนเข้ามา
  • 1:18 - 1:20
    ลองคิดถึงอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น
    ในชุมชนเหล่านี้
  • 1:20 - 1:22
    และยอมรับว่าสำหรับคนเหล่านี้จำนวนมาก
  • 1:22 - 1:24
    ปัญหาที่พวกเขากำลังเห็นอยู่นั้น
  • 1:24 - 1:28
    จริง ๆ แล้ว เป็นเหตุให้อัตราการตายเพิ่มขึ้น
    ในชุมชนของพวกเขาเอง
  • 1:28 - 1:30
    ดังนั้น จึงมีความรู้สึกจริงจังอย่างมาก
    ของการดิ้นรน
  • 1:31 - 1:34
    ผมมีที่นั่งอยู่แถวหน้าสุด
    ในเรื่องการดิ้นรนนั้น
  • 1:34 - 1:38
    ครอบครัวผมเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ดิ้นรน
    มาเป็นเวลานานมากแล้ว
  • 1:39 - 1:43
    ผนมาจากครอบครัวที่ไม่ได้มีเงินมากมายนัก
  • 1:43 - 1:46
    การติดยาเสพติดที่ระบาดอยู่
    ภายในชุมชนของผมนั้น
  • 1:46 - 1:49
    ยังระบาดเข้ามาในครอบครัวผม
    จนกระทั่งถึง น่าเศร้าครับ แม่ของผมเอง
  • 1:50 - 1:54
    มีปัญหามากมาย ที่ผมเห็นในครอบครัวของผมเอง
  • 1:54 - 1:57
    ปัญหาซึ่งบางครั้งมีสาเหตุมาจากการขาดเงิน
  • 1:57 - 2:01
    ปัญหาซึ่งบางครั้งมีสาเหตุมาจาก
    การเข้าไม่ถึงแหล่งทรัพยากร และทุนทางสังคม
  • 2:01 - 2:03
    ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตของผมอย่างแท้จริง
  • 2:04 - 2:07
    หากคุณได้มองเห็นชีวิตของผม ตอนอายุ 14 ปี
  • 2:07 - 2:10
    และพูดว่า"แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับเด็กคนนี้นะ"
  • 2:10 - 2:13
    คุณก็น่าจะสรุปว่า ผมก็จะต้องดิ้นรนต่อสู้
  • 2:13 - 2:16
    กับสิ่งนักวิชาการเรียกว่า
    การเลื่อนฐานะขึ้นไป
  • 2:17 - 2:20
    การเลื่อนฐานะขึ้นไป จึงเป็นคำนามธรรม
  • 2:20 - 2:22
    แต่มันกระทบไปที่บางอย่างที่เป็นแก่นแท้จริง
  • 2:22 - 2:24
    ที่หัวใจของอเมริกันดรีม
  • 2:24 - 2:25
    มันเป็นความรู้สึกเช่นนั้น
  • 2:25 - 2:27
    และมันวัดว่า เด็ก ๆ อย่างผม
  • 2:27 - 2:30
    ซึ่งเติบโตมาในชุมชนที่ยากจน
    กำลังจะมีชีวิตที่ดีขึ้น
  • 2:30 - 2:35
    ไม่ว่าพวกเขาจะมีโอกาสดำรงชีวิตอยู่
    ที่ดีขึ้นในเชิงวัตถุ
  • 2:36 - 2:39
    หรือไม่ว่าพวกเขาจะยังอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม
    ที่เขาดำรงชีวิตมา
  • 2:39 - 2:41
    สิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้คือ โชคไม่ดีครับ
  • 2:42 - 2:45
    การไต่เต้าทางชนชั้น ให้ไปเป็นชนชั้นสูง
    เท่ากับที่เราอยากจะให้มันเป็น
  • 2:45 - 2:49
    และที่น่าสนใจ มันเป็นการกระจาย
    เชิงภูมิศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง
  • 2:50 - 2:52
    ครับ ลองดูรัฐยูท่าห์ เป็นตัวอย่าง
  • 2:53 - 2:56
    ในรัฐยูท่าห์เด็กยากจนนั้น จริง ๆ ก็ไปได้ดี
  • 2:56 - 3:01
    น่าจะเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีชีวิตอยู่
    ได้รับส่วนแบ่งเป็นส่วนหนึ่ง ในอเมริกันดรีม
  • 3:01 - 3:02
    แต่ถ้าคุณคิดถึงแหล่งที่ผมอาศัยอยู่
  • 3:02 - 3:06
    ทางตอนใต้ ในแอพพาลาเชีย ตอนใต้ของรัฐโอไฮโอ
  • 3:06 - 3:11
    ไม่น่าจะเป็นไปได้อย่างยิ่ง
    ที่เด็ก ๆ พวกนั้นจะเป็นชนชั้นสูงได้
  • 3:11 - 3:13
    อเมริกันดรีม ในส่วนนั้นของประเทศ
  • 3:13 - 3:15
    ในความเข้าใจที่แท้จริงแล้ว เป็นแค่ความฝัน
  • 3:16 - 3:17
    ทำไมสิ่งนั่นจึงกำลังเกิดขึ้น
  • 3:18 - 3:21
    ครับ เหตุผลหนึ่งเห็นชัดเจน คือ เศรษฐกิจ
    หรือโครงสร้าง
  • 3:21 - 3:22
    ดังนั้น คุณคิดถึงพื้นที่เหล่านี้
  • 3:23 - 3:25
    พวกเขาถูกรุมเร้าไปด้วย
    แนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ยํ่าแย่
  • 3:25 - 3:28
    ถูกสร้างขึ้นล้อมรอบอุตสาหกรรม
    เช่น ถ่านหินและเหล็กกล้า
  • 3:28 - 3:30
    ทำให้ยากยิ่งขึ้นที่ชาวบ้านจะก้าวหน้าได้
  • 3:30 - 3:32
    นั่นแน่นอน เป็นปัญหาหนึ่ง
  • 3:32 - 3:35
    ยังมีปัญหาสมองไหลอีกด้วย
    เมื่อคนที่มีพรสวรรค์แท้จริงนั้น
  • 3:35 - 3:38
    เพราะว่าเขาไม่สามารถได้ทำงานทักษะสูง ๆ
    ที่บ้านเกิด
  • 3:38 - 3:39
    ลงท้ายก็ต้องย้ายไปที่อื่น
  • 3:39 - 3:42
    พวกเขาจึงไม่ได้สร้างธุรกิจ
    หรือองค์กรการกุศล ที่บ้านเกิด
  • 3:42 - 3:45
    ลงท้ายก็ไปที่อื่น และเอาพรสวรรค์ของเขา
    ไปด้วย
  • 3:45 - 3:48
    มีโรงเรียนที่ล้มเหลวในชุมชนเหล่านี้
    เป็นจำนวนมาก
  • 3:48 - 3:50
    ล้มเหลวที่จะช่วยเด็กพัฒนาการศึกษาให้ดีขึ้น
  • 3:50 - 3:53
    ซึ่งแท้จริง จะทำให้โอกาสที่ดี ๆ เป็นไปได้
    สำหรับเด็ก ๆ ต่อไปในชีวิต
  • 3:53 - 3:55
    สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดนั้นสำคัญ
  • 3:55 - 3:57
    ผมไม่ได้หมายถึงการละเลยความสำคัญ
    ของอุปสรรคโครงสร้าง
  • 3:57 - 4:00
    แต่เมื่อมองย้อนไปในชีวิตผม
    และชุมชนของผม
  • 4:00 - 4:03
    มีอย่างอื่นเกิดขึ้นพร้อมกันไปด้วย
    อย่างอื่นที่สำคัญ
  • 4:04 - 4:07
    ยากที่จะรู้ว่ามากน้อยเพียงใด
    แต่มันก็เป็นความจริง
  • 4:08 - 4:12
    สำหรับผู้ที่มาเริ่มทำ จึงมีความรู้สึกถึง
    ความสิ้นหวังแท้จริงอย่างมาก
  • 4:12 - 4:14
    ในชุมชนที่ผมเติบโตขึ้นมา
  • 4:14 - 4:17
    รู้สึกได้ว่า เด็ก ๆ รู้ว่าทางเลือกของเขา
    ไม่มีความสำคัญอะไร
  • 4:17 - 4:19
    ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วก็ตาม
    จะทำงานหนักเท่าใดแล้วก็ตาม
  • 4:19 - 4:22
    ไม่ว่าจะพยายามอย่างหนัก
    เพื่อไปข้างหน้าเท่าใด
  • 4:22 - 4:23
    จะไม่มีอะไรดีเกิดขึ้น
  • 4:24 - 4:27
    นั่นจึงเป็นความรู้สึกถึงความยากลำบาก
    ที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมนั้น
  • 4:27 - 4:30
    เป็นความเชื่อที่ฝังอยู่
    ซึ่งยากที่จะก้าวผ่านพ้นไปได้
  • 4:30 - 4:35
    และบางครั้งมันก็นำไปยังสถานที่
    ซึ่งชวนให้สมรู้ร่วมคิดกันทำผิดอย่างยิ่ง
  • 4:35 - 4:39
    ค่รับ เราลองมาดูปัญหาการเมือง
    ซึ่งกำลังร้อนแรงอยู่
  • 4:39 - 4:41
    คือ การยืนยันสิทธิประโยชน์
  • 4:41 - 4:44
    ครับ มันขึ้นอยู่กับการเมืองของคุณ
    คุณอาจคิดว่า การยืนยันสิทธิประโยชน์
  • 4:44 - 4:47
    เป็นวิธีที่ฉลาดหรือไม่ฉลาดก็ได้
    ที่จะสนับสนุนความหลากหลาย ในสถานที่ทำงาน
  • 4:47 - 4:49
    หรือในชั้นเรียน
  • 4:49 - 4:51
    แต่หากว่าคุณเติบโตมาในพื้นที่เช่นนี้
  • 4:51 - 4:55
    คุณก็จะเห็นการยืนยันสิทธิประโยขน์
    เป็นเครื่องมือที่จะกีดกันคน เช่น ตัวคุณ
  • 4:55 - 4:58
    นั่นเป็นจริงได้ เฉพาะอย่างยิ่ง
    ถ้าคุณเป็นคนผิวขาวชนชั้นกรรมกรคนหนึ่ง
  • 4:58 - 5:01
    คุณเห็นมัน เหมือนเป็นบางอย่าง
    ที่ไม่ได้เป็นเพียงนโยบายที่ดีหรือเลว
  • 5:01 - 5:04
    คุณเห็นมันเป็นบางอย่าง
    ที่สมคบคิดกันอย่างแข็งขัน
  • 5:04 - 5:06
    ที่ซึ่งคนพร้อมด้วยอำนาจทางการเมือง
    และทางการเงิน
  • 5:06 - 5:08
    กำลังทำงานเพื่อต่อต้านคุณอยู่
  • 5:08 - 5:13
    และก็มีวิธีการมากมาย ที่คุณเห็น
    แผนการสมคบคิดนั้นต่อต้านคุณอยู่ --
  • 5:14 - 5:16
    รับรู้ได้ เป็นจริง มันมีอยู่ตรงนั้น
  • 5:16 - 5:18
    มันทำให้ความคาดหมายผิดแผกไป
  • 5:19 - 5:22
    ดังนั้น หากคุณคิดว่าคุณจะทำอะไร
    เมื่อเติบใหญ่ขึ้นมาในโลกที่ว่านั้น
  • 5:22 - 5:24
    คุณก็สามารถตอบได้ ในสองแบบ
  • 5:24 - 5:26
    แบบหนึ่ง คุณพูดได้ว่า
    "ฉันจะไม่ทำงานหนักหรอก
  • 5:26 - 5:29
    เพราะไม่ว่าจะทำงานหนักขนาดไหน
    ก็จะไม่สำคัญอย่างใดเลย"
  • 5:29 - 5:31
    อีกแบบหนึ่งซึ่งคุณอาจจะทำ คือ
  • 5:31 - 5:34
    พูดว่า "ครับ ผมจะไม่ไปตาม
    ตัวบ่งบอกถึงความสำเร็จแบบเดิม ๆ
  • 5:34 - 5:36
    เช่น การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย หรือ
    งานที่มีเกียรติ
  • 5:36 - 5:39
    เพราะคนที่ใส่ใจกับสิ่งเหล่านั้น
    ไม่เหมือนกับผม
  • 5:39 - 5:41
    เขาจะไม่ให้ผมเข้าไปในนั้นได้เลย"
  • 5:41 - 5:43
    เมื่อผมได้เข้าเรียนที่เยล
    สมาชิกครอบครัวคนหนึ่งถามว่า
  • 5:44 - 5:47
    ผมแสร้งทำเป็นนักเสรีนิยมหรือเปล่า
    เพื่อให้คณะกรรมการคัดสรรรับเข้าเรียน
  • 5:47 - 5:49
    ร้ายแรงนะครับ
  • 5:49 - 5:53
    และชัดเจน มันไม่จริงที่ว่า
    มีช่องตัวเลือกเสรีนิยมให้เลือก
  • 5:53 - 5:54
    ในใบสมัคร
  • 5:54 - 5:58
    แต่มันบอกถึง ความไม่มั่นคงแท้จริงอย่างยิ่ง
    ในสถานที่เหล่านี้ว่า
  • 5:58 - 6:00
    คุณต้องเสแสร้งเป็นคนอื่น ที่ไม่ใช่ตัวคุณเอง
  • 6:00 - 6:02
    เพื่อจะผ่านพ้นอุปสรรคสังคมต่าง ๆ เหล่านี้
  • 6:03 - 6:05
    มันเป็นปัญหาที่มีนัยสำคัญมาก
  • 6:06 - 6:08
    แม้ว่าคุณไม่ยอมแพ้ต่อความสิ้นหวังนั้น
  • 6:08 - 6:10
    แม้ว่าคุณคิดว่า ตัวอย่างเช่น
  • 6:10 - 6:14
    คำตอบที่คุณเลือกนั้นสำคัญ
    และคุณก็ต้องการเลือกคำตอบที่ดี
  • 6:14 - 6:16
    คุณต้องการให้ดียิ่งขึ้น สำหรับตัวคุณเอง
    และครอบตรัวคุณ
  • 6:16 - 6:20
    บางครั้งมันก็ลำบากที่จะ
    แค่เพียงรู้ว่า ตัวเลือกเหล่านั้นคืออะไรแน่
  • 6:20 - 6:22
    เมื่อคุณโตขึ้นมาในชุมชนแบบเดียวกับผม
  • 6:22 - 6:23
    ตัวอย่างเข่น ผมไม่ทราบว่า
  • 6:23 - 6:26
    ต้องเข้าเรียนในโรงเรียนกฎหมาย
    เพื่อเป็นนักกฎหมาย
  • 6:26 - 6:30
    ผมไม่ทราบว่า มหวิทยาลัยของคนชั้นสูงนั้น
    ตามที่งานวิจัยบอกเราเสมอมา
  • 6:30 - 6:32
    ค่าใช้จ่ายกว่า สำหรับเด็ก ๆ รายได้ตํ่า
  • 6:32 - 6:35
    เพราะมหาวิทยาลัยเหล่านี้
    มีกองทุนการกุศลที่ใหญ่กว่า
  • 6:35 - 6:37
    สามารถให้การช่วยเหลือด้านการเงินได้มากกว่า
  • 6:37 - 6:38
    จำได้ว่าผมเรียนรู้เรื่องนี้
  • 6:38 - 6:41
    เมื่อผมได้รับจดหมายช่วยทางการเงิน
    จากมหาวิทยาลัยเยลกับตัวเอง
  • 6:41 - 6:44
    หลายหมื่นดอลลาร์เป็นเงินช่วยเหลือ
    ให้กับความจำเป็นพื้นฐาน
  • 6:44 - 6:46
    ซึ่งเป็นข้อสัญญาที่ผมไม่เคยได้ยินมาก่อน
  • 6:46 - 6:49
    แต่ผมหันไปหาคุณป้า
    เมื่อได้รับจดหมาย และบอกเธอว่า
  • 6:49 - 6:52
    "ป้ารู้มั๊ย ผมคิดว่านี่หมายถึงว่า
    เป็นครั้งแรกในชีวิตผม
  • 6:52 - 6:54
    ที่ความยากจนจ่ายให้เราได้อย่างดีจริง ๆ
  • 6:55 - 6:58
    ครับ ผมไม่ได้เข้าถึงข้อมูลนั้น
  • 6:58 - 7:02
    เพราะว่า เครือข่ายสังคมรอบตัวผม
    ไม่ได้เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวนั้น
  • 7:02 - 7:06
    ผมได้เรียนรู้จากชุมชนของผมเรื่อง
    จะยิงปืนอย่างไร จะยิงให้ดีทำอย่างไร
  • 7:06 - 7:08
    ผมได้เรียนรู้วิธีทำขนมบิสกิต
    ที่อร่อยเหลือหลาย
  • 7:08 - 7:11
    อ๋อ กลเม็ดนั้นหรือ ก็คือเนยสดแข็ง
    ไม่ใช่เนยที่ร้อน
  • 7:12 - 7:14
    แต่ไม่ได้เรียนรู้ วิธีจะก้าวไปข้างหน้า
  • 7:14 - 7:17
    ไม่ได้เรียนรู้ว่า ทำอย่างไรจึงจะมี
    การตัดสินใจที่ดี
  • 7:17 - 7:18
    เกี่ยวกับการศึกษาและโอกาสดี ๆ
  • 7:18 - 7:21
    ซึ่งคุณจำเป็นต้องตัดสินใจ
  • 7:21 - 7:24
    เพื่อจริงๆ จะได้มีโอกาส
    ในเศรษฐศาสตร์ความรู้ของศตวรรษที่ 21 นี้
  • 7:24 - 7:29
    นักเศรษฐศาสตร์เรียก คุณค่าที่เราได้รับ
    จากเครือข่ายไม่เป็นทางการของเรานี้
  • 7:29 - 7:32
    จากเพื่อนฝูงและเพื่อนร่วมงานและ
    ครอบครัวของเรานี้ว่า "ทุนทางสังคม"
  • 7:32 - 7:36
    ทุนทางสังคมของผมในอดีต
    ไม่ได้สร้างมาเพื่ออเมริกาในศตวรรษที่ 21
  • 7:36 - 7:37
    และมันก็แสดงให้เห็นแล้ว
  • 7:38 - 7:41
    มีอย่างอื่นอีกที่สำคัญอย่างยิ่ง
    กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
  • 7:41 - 7:43
    ซึ่งชุมชนของเราไม่ชอบที่จะพูดถึง
  • 7:44 - 7:45
    แต่มันเป็นความจริงอย่างยิ่ง
  • 7:45 - 7:47
    พวกเด็กชนชั้นแรงงานน่าจะเป็นไปได้มาก
  • 7:47 - 7:50
    ที่จะเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า
    ประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก
  • 7:50 - 7:54
    ซึ่งเป็นคำที่สละสลวยสำหรับความเจ็บชํ้า
    ของวัยเด็ก ได้แก่
  • 7:54 - 7:58
    ถูกตี หรือถูกตะคอกใส่
    ถูกให้ต้องอับอายโดยพ่อหรือแม่อย่างซํ้าซาก
  • 7:58 - 8:00
    เห็นบางคนตบตีพ่อแม่ของคุณ
  • 8:00 - 8:04
    เห็นบางคนเสพยา
    หรือติดเหล้าจนทำให้เกิดปัญหา
  • 8:04 - 8:06
    เหล่านี้เป็นตัวอย่าง
    ของความเจ็บชํ้าในวัยเด็ก
  • 8:06 - 8:08
    และมันเป็นเรื่องธรรมดาสามัญมากในครอบครัวผม
  • 8:09 - 8:12
    ที่สำคัญ มันไม่ได้เป็นแค่เรื่องธรรมดาสามัญ
    ในครอบครัวผมในปัจจุบันเท่านั้น
  • 8:12 - 8:14
    มันเป็นมาหลายรุ่นแล้วด้วย
  • 8:14 - 8:16
    ดังนั้นในรุ่นปู่ย่าตายายของผม
  • 8:17 - 8:19
    ครั้งแรกสุดที่พวกเขามีลูก
  • 8:19 - 8:22
    พวกเขาก็คาดหมายว่าจะเลี้ยงดูลูก ๆ ในแบบที่
  • 8:22 - 8:24
    ดีเป็นพิเศษ
  • 8:24 - 8:25
    พวกเขาเป็นชนชั้นกลาง
  • 8:25 - 8:27
    สามารถหาค่าจ้างแรงงานที่ดีได้
    ในโรงงานเหล็กกล้า
  • 8:27 - 8:29
    แต่ลงท้ายสิ่งที่เกิดขึ้น คือ
  • 8:29 - 8:32
    ทำให้ลูก ๆ ของพวกเขา
    เกิดความเจ็บช้ำในวัยเด็กมากมาย
  • 8:32 - 8:35
    ได้กลับมาเป็น หลายชั่วอายุคนแล้ว
  • 8:35 - 8:39
    ตอนคุณแม่ผมอายุ 12 ปี ก็เห็นคุณยาย
    จุดไฟเผาคุณตา
  • 8:40 - 8:43
    ความผิดของคุณตาคือ ดื่มเหล้าเมากลับมาบ้าน
  • 8:43 - 8:44
    หลังจากที่เธอบอกเขาไปว่า
  • 8:44 - 8:46
    "ถ้าเมากลับมาบ้านอีก ฉันก็จะฆ่าแก"
  • 8:47 - 8:48
    และเธอก็พยายามทำอย่างนั้น
  • 8:49 - 8:53
    ลองคิดดูซิครับว่า มันจะกระทบจิตใจของเด็ก
    อย่างไรบ้าง
  • 8:54 - 8:56
    และเราก็คิดถึงสิ่งเหล่านี้ว่า
    เป็นกรณีที่หาได้ยากอย่างยิ่ง
  • 8:56 - 9:00
    แต่งานศึกษาวิจัยโดยกองทุนเด็กรัฐวิสคอนซิน
    พบว่า
  • 9:00 - 9:06
    40 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กครอบครัวรายได้ตํ่า
    เผชิญกับความเจ็บชํ้าวัยเด็กเป็นทวีคูณ
  • 9:07 - 9:10
    เมื่อเปรียบเทียบกับเพียง 29 เปอร์เซ็นต์
    ของเด็กจากรายได้สูงขึ้นมา
  • 9:10 - 9:13
    และมาคิดถึงว่า นั่นหมายความว่าอะไร
  • 9:13 - 9:15
    ถ้าคุณเป็นเด็กจากครอบครัวรายได้ตํ่า
  • 9:15 - 9:19
    ครึ่งหนึ่งของพวกคุณเผชิญกับ
    ความเจ็บชํ้าในวัยเด็กมากมายหลายกรณี
  • 9:19 - 9:21
    เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาโดดเดี่ยว
  • 9:21 - 9:23
    เรื่องนี้เป็นปัญหาที่มีนัยสำคัญมาก
  • 9:24 - 9:27
    เรารู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ
    ที่มีประสบการณ์กับชีวิตแบบนั้น
  • 9:28 - 9:31
    พวกเขาก็น่าจะติดยา น่าจะต้องเข้าคุกมากกว่า
  • 9:31 - 9:34
    น่าจะต้องออกจากโรงเรียนมัธยมยิ่งกว่า
  • 9:34 - 9:35
    และที่สำคัญที่สุด
  • 9:35 - 9:37
    พวกเขาน่าจะทำกับลูกๆของเขา
  • 9:37 - 9:39
    อย่างที่พ่อแม่ได้ทำกับพวกเขามา
  • 9:40 - 9:43
    ความเจ็บชํ้าหรือความยุ่งเหยิงภายในบ้านนี้
  • 9:43 - 9:46
    เป็นรางวัลทางวัฒนธรรมที่เลวร้ายที่สุด
    ที่เราให้กับลูกๆของเรา
  • 9:46 - 9:49
    และมันเป็นรางวัลที่ยังคงมีให้กันอยู่
  • 9:50 - 9:52
    เมื่อคุณรวมทั้งหมดนั้นเข้าด้วยกัน คือ
  • 9:52 - 9:55
    การสิ้นหวัง ความหมดอาลัยตายอยาก
  • 9:55 - 9:57
    ความชิงชังเหยียดหยามกับอนาคต
  • 9:57 - 9:58
    ความเจ็บชํ้าในวัยเด็ก
  • 9:59 - 10:01
    ทุนทางสังคมที่ตํ่า
  • 10:01 - 10:04
    คุณจึงเริ่มจะเข้าใจได้ว่า ทำไมผม
  • 10:04 - 10:05
    ขณะอายุ 14 ปี
  • 10:05 - 10:08
    ก็พร้อมที่จะกลายมาเป็นเพียงสถิติใหม่
  • 10:08 - 10:10
    เด็กอีกคนที่
    เอาชนะสิ่งที่เป็นไปได้ยากนั้นไม่ได้
  • 10:11 - 10:13
    แต่บางสิ่งบางอย่างที่คาดไม่ถึง
    ได้เกิดขึ้นแล้ว
  • 10:13 - 10:15
    ผมเอาชนะสิ่งที่เป็นไปได้ยากนั้นได้
  • 10:15 - 10:17
    โอกาสต่าง ๆ เกิดขึ้นกับผม
  • 10:17 - 10:21
    ผมจบมัธยมศึกษา จบมหาวิทยาลัย
    ผมเข้าไปเรียนกฎหมาย
  • 10:21 - 10:23
    และผมได้ทำงานที่ดีมากทำ ในขณะนี้
  • 10:23 - 10:25
    อะไรเกิดขึ้นหรือครับ
  • 10:25 - 10:28
    ครับ สิ่งหนึ่งที่ได้เกิดขึ้นก็คือ
    คุณตาคุณยายของผม
  • 10:28 - 10:30
    คุณตาคุณยายคนเดียวกันกับ
    ที่ได้จุดไฟเผาคนบางคนนั่นแหละ
  • 10:30 - 10:33
    ได้พัฒนาตัวเองขึ้นมาจริง ๆ ตอนที่ผมเกิดมา
  • 10:33 - 10:36
    ท่านได้ให้บ้านที่มั่นคงกับผม
  • 10:36 - 10:38
    ครอบครัวที่มีเสถียรภาพ
  • 10:38 - 10:39
    ท่านทำให้แน่ใจว่า
  • 10:39 - 10:42
    เมื่อพ่อแม่ผมทำไม่ได้
    ในสิ่งที่เด็ก ๆ จำเป็นต้องได้รับ
  • 10:42 - 10:44
    ท่านก็ก้าวเข้ามาและเติมเต็มบทบาทนั้น
  • 10:45 - 10:48
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณยาย
    ได้ทำสองสิ่งที่สำคัญยิ่ง
  • 10:48 - 10:51
    สิ่งหนึ่งคือ ให้บ้านที่สงบสุข
    ที่ให้ผมได้จดจ่ออยู่กับการทำการบ้าน
  • 10:51 - 10:54
    และกับสิ่งที่เด็ก ๆ ควรจะให้ความสนใจ
  • 10:54 - 10:56
    แต่ท่านยังเป็นผู้หญิงทีเฉลียวฉลาด
    อย่างเหลือเชื่อ
  • 10:56 - 10:58
    แม้ว่าไม่เคยได้ศึกษาระดับมัธยมมาก่อน
  • 10:59 - 11:01
    ท่านรู้เห็นถึงแนวคิดที่ชุมชนของผม
    มีไว้สำหรับผม
  • 11:01 - 11:03
    ที่ว่า ทางเลือกของผมนั้นไม่สำคัญหรอก
  • 11:03 - 11:05
    ว่าผมจะต้องถูกโกงถูกเอาเปรัยบ
  • 11:05 - 11:06
    ครั้งหนึ่งท่านบอกผมว่า
  • 11:06 - 11:10
    "เจดี อย่าเป็นอย่างพวกขี้แพ้พวกนั้น
    ที่คิดว่าตัวถูกเอารัดเอาเปรียบ
  • 11:10 - 11:13
    แกสามารถทำอะไรก็ได้ที่แกอยากจะทำ"
  • 11:13 - 11:16
    แต่เธอก็ยังรู้อีกด้วยว่า
    ชีวิตนั้นไม่ยุติธรรมหรอก
  • 11:16 - 11:18
    มันยากที่จะทำให้เกิดความสมดุลย์
  • 11:18 - 11:20
    ในการที่จะบอกเด็กว่าชีวิตไม่ยุติธรรม
  • 11:20 - 11:25
    แต่ยังให้รู้จักและเสริมแรงพวกเขา
    ในความเป็นจริงที่ว่า การเลือกนั้นสำคัญ
  • 11:25 - 11:27
    แต่คุณยายก็สามารถทำให้เกิดความสมดุลย์ได้
  • 11:29 - 11:32
    อีกเรื่องหนึ่งซึ่งช่วยได้จริง ๆ คือ
    หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา
  • 11:32 - 11:36
    ครับ สำหรับคุณ นาวิกโยธินคือเครื่องแบบทหาร
    แน่นอนครับ มันก็ใช่
  • 11:36 - 11:39
    แต่สำหรับผมแล้ว นาวิกโยธินสหรัฐ
    เป็นหลักสูตรเร่งรัด
  • 11:39 - 11:40
    ในการเรียนรู้ด้านบุคคลิกภาพ
  • 11:40 - 11:42
    มันสอนผมให้รู้วิธีการปูเตียง
    วิธีซักเสื้อผ้า
  • 11:42 - 11:45
    ตื่นนอนในตอนเช้า จัดการเรื่องการเงินอย่างไร
  • 11:45 - 11:47
    สิ่งเหล่านี้ชุมชนของผมไม่ได้สอนผมมา
  • 11:47 - 11:50
    ผมจำได้ว่า เมื่อตอนไปซื้อรถคันแรกนั้น
  • 11:50 - 11:54
    เขาเสนออัตราดอกเบี้ยให้ผมตํ่ามาก
    ที่ 21.9 เปอร์เซ็นต์
  • 11:54 - 11:57
    และผมก็พร้อมที่จะลงลายมือชื่อ
    ตรงช่องที่ให้ลงลายมือ
  • 11:58 - 12:00
    แต่ผมก็ไม่ตกลงตามที่เขาเสนอ
  • 12:00 - 12:02
    แต่เพราะว่า ผมนำมันไปให้ผู้บังคับบัญชาผมดู
  • 12:02 - 12:04
    เขาบอกผมว่า "เลิกโง่เสียทีเถอะ
  • 12:04 - 12:06
    ไปที่สหกรออมทรัพย์ท้องถิ่น
    ไปรับข้อเสนอที่ดีกว่านี้
  • 12:06 - 12:08
    และผมก็ทำอย่างนั้น
  • 12:08 - 12:09
    ถ้าไม่มีนาวิกโยธิน
  • 12:09 - 12:11
    ผมจะไม่รู้วิธีการเข้าถึงความรู้นั้นเลย
  • 12:11 - 12:14
    พูดตรง ๆ ผมอาจจะพบกับความวิบัติ
    ด้านการเงิน
  • 12:15 - 12:18
    สิ่งสุดท้ายที่ผมอยากจะพูด คือ
    ผมมีความโชคดีอย่างมาก
  • 12:18 - 12:19
    ในเรื่องผู้ให้คำปรึกษาและผู้คน
  • 12:19 - 12:22
    ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตผม
  • 12:22 - 12:25
    จากนาวิกโยธิน จากรัฐโอไฮโอ จากเยล
  • 12:25 - 12:26
    จากที่อื่น ๆ
  • 12:26 - 12:28
    แท้จริงคนทั้งหลายได้ก้าวเข้ามา
  • 12:28 - 12:30
    และให้มั่นใจได้ว่า พวกเขาเข้ามาเติมเต็ม
    ช่องว่างทุนสังคมนั้น
  • 12:31 - 12:33
    ซึ่งเห็นได้ชัดเจนมากว่า ผมมีช่องว่างนั้น
  • 12:33 - 12:35
    และสิ่งนั้นมาจากความโชคดี
  • 12:36 - 12:39
    แต่เด็ก ๆ จำนวนมากไม่ได้โชคดีอย่างนั้น
  • 12:39 - 12:43
    และผมคิดว่า สิ่งนั้นเป็นคำถามที่สำคัญ
    อย่างแท้จริงสำหรับพวกเราทุกคน
  • 12:43 - 12:45
    ว่าเราจะเปลี่ยนแปลงมันได้อย่างไร
  • 12:46 - 12:50
    เราจำเป็นต้องถามคำถามว่า ทำอย่างไร
    จึงจะให้พวกเด็กจากครอบครัวรายได้ต่า
  • 12:50 - 12:53
    ที่มาจากครอบครัวแตกแยก
    ได้เข้าถึงบ้านที่มีแต่ความรัก
  • 12:53 - 12:54

    เราจำเป็นต้องตั้งคำถามว่า
  • 12:54 - 12:57
    เราจะสอนพ่อแม่ที่มีรายได้ตํ่าอย่างไร
  • 12:57 - 12:59
    ให้พวกเขาปฏิสัมพันธ์กับลูกๆของเขาอย่างไร
  • 12:59 - 13:00
    กับคู่ครองของเขาอย่างไร
  • 13:00 - 13:05
    เราจำเป็นต้องตั้งคำถามว่า
    เราจะให้ทุนทางสังคม
  • 13:05 - 13:08
    ให้การปรึกษากับเด็กๆจากครอบครัวรายได้ตํ่า
    ซึ่งไม่มีทุนทางสังคมได้อย่างไร
  • 13:08 - 13:11
    เราจำเป็นต้องคิดถึงว่า เราจะสอนเด็กๆ
    จากชนชั้นแรงงาน
  • 13:11 - 13:14
    ไม่เพียงแต่ทักษะที่ยาก ๆ
  • 13:14 - 13:16
    อย่างเช่น ทักษะการอ่าน ทักษะเลขคณิต
  • 13:16 - 13:17
    แต่ยังมีทักษะที่ละเมียดละไม
  • 13:17 - 13:20
    อย่างเช่นการแก้ปัญหาขัดแย้ง
    และการจัดการด้านการเงิน
  • 13:21 - 13:25
    ครับ ผมไม่มีคำตอบทั้งหมดนั้น
  • 13:25 - 13:28
    ผมไม่รู้วิธีแก้ทั้งหมด สำหรับปัญหานี้
  • 13:28 - 13:30
    แต่ผมรู้เรื่องนี้ครับ
  • 13:31 - 13:32
    ว่าในตอนใต้ของโอไฮโอ ในปัจจุบันนี้
  • 13:32 - 13:36
    มีเด็กซึ่งกำลังรอคอยคุณพ่อของเขาอยู่
    อย่างใจจดใจจ่อ
  • 13:36 - 13:39
    สงสัยว่าเมื่อพ่อผ่านเข้าประดูมานั้น
  • 13:39 - 13:41
    พ่อจะเดินเข้ามาอย่างสงบ
    หรือเมาเหล้าเดินโซเซเข้ามา
  • 13:42 - 13:43
    มีเด็ก
  • 13:45 - 13:47
    ที่แม่ของเขาแทงเข็มฉีดยาเข้าไปที่แขน
  • 13:47 - 13:48
    และก็สลบแน่นิ่งไป
  • 13:48 - 13:51
    และเขาก็ไม่รู้ว่า ทำไมแม่ไม่ทำอาหารเย็น
    ให้เขากิน
  • 13:51 - 13:53
    และเขาก็เข้านอนไปด้วยความหิวในคืนนั้น
  • 13:54 - 13:58
    มีเด็กที่ไม่มีความหวังอย่างใดในอนาคต
  • 13:58 - 14:02
    แต่ต้องการอย่างมาก
    ที่จะมีชีวิตอยู่ที่ดีกว่านี้
  • 14:02 - 14:04
    เพียงต้องการใครสักคน
    เพื่อแสดงให้เขาเห็นทางไป
  • 14:05 - 14:07
    ผมไม่มีคำตอบทั้งหมดนั้น
  • 14:07 - 14:11
    แต่ผมรู้ว่าหากสังคมของเรา
    ไม่เริ่มตั้งคำถามที่ดีกว่านี้
  • 14:12 - 14:14
    ว่าทำไมผมจึงโชคดีนัก
  • 14:14 - 14:17
    และทำอย่างไรจึงจะนำโชคดีอย่างนั้น
    ไปให้แก่ชุมชนของเรา
  • 14:17 - 14:18
    และเด็กๆของประเทศของเรา
  • 14:18 - 14:22
    เราก็จะยังคงมีกับปัญหาที่มีนัยสำคัญมาก
  • 14:22 - 14:23
    ขอบคุณครับ
  • 14:23 - 14:25
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ชนชั้นแรงงานที่ถูกลืมของอเมริกา
Speaker:
เจ ดี แวนส์
Description:

เจ ดี แวนส์ เติบโตขึ้นในเมืองยากจนเล็ก ๆ ในแถบอุตสาหกรรมรัสท์เบลท์ ทางตอนใต้ของรัฐโอไฮโอ ที่นั่นเขานั่งอยู่แถวหน้าของความเจ็บป่วยมากมายทางสังคม ที่กำลังระบาดอยู่ในอเมริกาได้แก่ การระบาดของยาเสพติดเฮโรอีน การสอบตกต้องออกจากโรงเรียน ครอบครัวถูกฉีกขาด จากการหย่าร้างและบางครั้งจากความรุนแรง ในการพูดที่พินิจพิเคราะห์นี้ ซึ่งจะสะท้อนไปถ้วนทั่วเมืองทั้งหลายของชนชั้นแรงงานของประเทศ ผู้พูดให้รายละเอียดว่าความสูญเสียความรู้สึกเรื่องอเมริกันดรีมนั้น เป็นอย่างไร และได้ยกคำถามที่สำคัญๆซึ่งทุกคนตั้งแต่ผู้นำชุมชน ไปจนถึงผู้กำหนดนโยบาย จำเป็นต้องถาม ได้แก่ คำถามที่ว่า เราจะสามารถช่วยเด็ก ๆ จากเมืองที่ถูกลืม ให้พันจากความสิ้นหวังและให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
14:42

Thai subtitles

Revisions