Problem connecting to Twitter. Please try again.
Problem connecting to Twitter. Please try again.
Problem connecting to Twitter. Please try again.
Problem connecting to Twitter. Please try again.
Problem connecting to Twitter. Please try again.

Return to Video

เหตุใดเบร็กซิท (Brexit) จึงเกิดขึ้น แล้วเราควรจะทำอะไรต่อไป

  • 0:00 - 0:04
    ผมเป็นคนอังกฤษครับ
  • 0:04 - 0:06
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:06 - 0:09
    (เสียงปรบมือ)
  • 0:09 - 0:13
    วลีที่ว่า "ผมเป็นคนอังกฤษ"
    ไม่เคยฟังดูน่าเวทนาเท่านี้มาก่อนเลย
  • 0:13 - 0:15
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:15 - 0:18
    ผมมาจากเกาะแห่งหนึ่ง
    ที่ซึ่งเราทั้งหลายอยากจะเชื่อว่า
  • 0:18 - 0:21
    มันมีความต่อเนื่องมานานเป็นพัน ๆ ปี
  • 0:21 - 0:24
    เรามักจะกำหนดความเปลี่ยนแปลง
    ทางประวัติศาสตร์ให้กับคนอื่น
  • 0:24 - 0:26
    แต่ทำสิ่งเดียวกันนี้
    กับพวกเราเองน้อยกว่ามาก
  • 0:27 - 0:30
    ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องน่าตกใจมากสำหรับผม
  • 0:30 - 0:33
    เมื่อผมตื่นขึ้นในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน
  • 0:33 - 0:36
    เพื่อพบว่าประเทศของผม
    โหวตให้ตัวเองออกจากสหภาพยุโรป
  • 0:37 - 0:38
    นายกรัฐมนตรีของประเทศผมลาออก
  • 0:38 - 0:41
    แล้วสกอตแลนด์
    ก็กำลังคิดจะลงประชามติอีกครั้ง
  • 0:41 - 0:46
    ซึ่งอาจนำไปสู่จุดจบของสหราชอาณาจักรนี้
  • 0:47 - 0:50
    ดังนั้น นี่จึงเป็นสิ่งที่น่าตกใจมากสำหรับผม
  • 0:50 - 0:52
    และเป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างยิ่ง
    สำหรับคนมากมาย
  • 0:53 - 0:57
    แต่มันก็ยังเป็นบางอย่าง
    ที่ในอีกสองสามวันต่อมา
  • 0:57 - 0:59
    ได้สร้างความเสียหายทางการเมืองอย่างมาก
  • 0:59 - 1:01
    ในประเทศของผม
  • 1:01 - 1:03
    มีการเรียกร้องให้ลงประชามติเป็นครั้งที่สอง
  • 1:03 - 1:06
    แทบจะเหมือนในเกมกีฬา
  • 1:06 - 1:08
    ที่เราอาจขอให้ฝ่ายตรงข้ามมาแข่งกันใหม่
  • 1:09 - 1:11
    ทุกคนเอาแต่โทษคนอื่น ๆ
  • 1:11 - 1:13
    ประชาชนโทษนายกรัฐมนตรี
  • 1:13 - 1:15
    ที่เรียกร้องให้มีการลงประชามติตั้งแต่แรก
  • 1:15 - 1:19
    พวกเขาโทษผู้นำฝ่ายค้านที่ไม่สู้ให้มากพอ
  • 1:19 - 1:20
    คนหนุ่มสาวต่อว่าคนแก่
  • 1:20 - 1:23
    คนมีการศึกษา
    โทษผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า
  • 1:23 - 1:27
    ความเสียหายอย่างรุนแรงนั้น
    แย่เสียยิ่งกว่าเดิม
  • 1:27 - 1:29
    ด้วยปัจจัยน่าเศร้าที่สุดของมันซึ่งก็คือ
  • 1:29 - 1:33
    ระดับความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ
    และการเหยียดเชื้อชาติทั่วไปในอังกฤษ
  • 1:33 - 1:35
    อยู่ในระดับที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน
  • 1:35 - 1:36
    ในชีวิตของผม
  • 1:38 - 1:42
    ผู้คนตอนนี้พากันพูดว่า "อังกฤษ" ของเรา
    จะกลายเป็น "อังกุด" ไหมเนี่ย
  • 1:42 - 1:44
    หรืออย่างที่เพื่อนผมคนหนึ่งพูดไว้ว่า
  • 1:44 - 1:48
    นี่เรากำลังจะกลายเป็น
    คณะตลกโบราณแห่งยุค 1950
  • 1:49 - 1:51
    ที่ลอยเท้งเต้ง
    อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกหรือเปล่า
  • 1:51 - 1:53
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:54 - 1:56
    แต่คำถามของผมจริง ๆ แล้วก็คือ
  • 1:56 - 2:01
    พวกเราควรจะตกใจกันขนาดนั้น
    ในแบบที่เราไม่เคยเป็นมาก่อนหรือเปล่า
  • 2:01 - 2:04
    มันเป็นอะไรบางอย่าง
    ที่เกิดได้เพียงชั่วข้ามคืนอย่างนั้นหรือ
  • 2:04 - 2:08
    หรือปัจจัยโครงสร้างที่ลึกกว่า
    นำเราให้มาถึงจุดนี้
  • 2:08 - 2:13
    ฉะนั้น ผมจึงขอถอยกลับออกมา
    แล้วถามคำถามง่าย ๆ สองข้อ
  • 2:13 - 2:16
    หนึ่ง เบร็กซิท (Brexit) เป็นตัวแทนของอะไร
  • 2:16 - 2:17
    ไม่ใช่แค่สำหรับประเทศผมเท่านั้น
  • 2:17 - 2:20
    แต่สำหรับพวกเราทุกคนทั่วโลก
  • 2:20 - 2:23
    และสอง เราจะทำอะไรได้บ้างไหม
  • 2:23 - 2:26
    เราควรจะตอบสนองต่อสิ่งนี้อย่างไร
  • 2:26 - 2:28
    เอาล่ะ ประการแรก เบร็กซิท เป็นตัวแทนของอะไร
  • 2:29 - 2:31
    ความเข้าใจหลังเกิดปัญหาเป็นสิ่งที่น่าทึ่ง
  • 2:32 - 2:36
    เบร็กซิท สอนเราหลายอย่างเกี่ยวกับสังคมของเรา
  • 2:36 - 2:38
    และสังคมทั่วโลก
  • 2:39 - 2:43
    มันเน้นให้เราเห็นว่า
    มันน่าอับอายจริง ๆ ที่เราไม่ได้ตระหนักสักนิด
  • 2:43 - 2:44
    ว่าสังคมของเราแตกแยกกันมากขนาดไหน
  • 2:45 - 2:51
    ผลการโหวตแตกแยกไปตามกลุ่มอายุ
    การศึกษา ชนชั้น และภูมิภาค
  • 2:51 - 2:54
    คนหนุ่มสาวจำนวนมากไม่ได้ออกมาลงคะแนน
  • 2:54 - 2:56
    แต่คนเหล่านั้นกลับต้องการให้อยู่ต่อ
  • 2:56 - 3:00
    คนแก่ก็อยากจะออกจากสหภาพยุโรปกัน
  • 3:00 - 3:04
    ตามภูมิภาคแล้ว ลอนดอนกับสกอตแลนด์
    เป็นส่วนที่ลงคะแนน
  • 3:04 - 3:06
    ให้อยู่ต่อในสหภาพยุโรปมากที่สุด
  • 3:06 - 3:10
    ขณะที่ส่วนอื่น ๆ ของประเทศ
    ยังมีการแบ่งออกเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน
  • 3:11 - 3:15
    ความแตกแยกนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องรับรู้
    และจริงจังกับมัน
  • 3:15 - 3:18
    แต่ที่ลึกซึ้งกว่านั้น
    การโหวตได้สอนบางสิ่งกับเรา
  • 3:18 - 3:21
    เกี่ยวกับธรรมชาติของการเมืองในปัจจุบัน
  • 3:21 - 3:25
    การเมืองเดี๋ยวนี้ไม่ได้มีแค่
    ฝ่ายขวากับฝ่ายซ้ายกันแล้ว
  • 3:25 - 3:28
    มันไม่ใช่แค่เรื่องภาษีกับการใช้จ่ายอีกต่อไป
  • 3:28 - 3:30
    แต่เป็นเรื่องของโลกาภิวัตน์
  • 3:30 - 3:34
    ความเหลื่อมล้ำทางการเมืองในปัจจุบัน
    อยู่ระหว่างคนที่โอบอุ้มโลกาภิวัตน์
  • 3:34 - 3:37
    และคนที่หวั่นเกรงมัน
  • 3:38 - 3:41
    (เสียงปรบมือ)
  • 3:44 - 3:46
    ถ้าเราดูว่า ทำไมคนเหล่านั้นถึงอยากออก
  • 3:46 - 3:49
    เราเรียกพวกเขาว่า "ฝ่ายอยากออก"
    ให้ตรงข้ามกับ "ฝ่ายอยากอยู่"
  • 3:49 - 3:51
    เราจะเห็นสองปัจจัยในผลสำรวจความคิดเห็น
  • 3:51 - 3:53
    ที่มีความสำคัญอย่างแท้จริง
  • 3:53 - 3:56
    สิ่งแรกคือการอพยพ
    และสิ่งที่สองคืออำนาจอธิปไตย
  • 3:56 - 4:01
    และมันแสดงถึงความปรารถนาของผู้คน
    ที่ต้องการอำนาจของพวกเขากลับคืนมา
  • 4:01 - 4:05
    และความรู้สึกที่ว่านักการเมือง
    ไม่ได้เป็นตัวแทนของพวกเขา
  • 4:07 - 4:12
    แต่แนวคิดนั้นแสดงถึงความกลัว
    และความบาดหมาง
  • 4:12 - 4:17
    มันเป็นตัวแทนของการถอยหลัง
    กลับไปเป็นชาตินิยมและการครองดินแดน
  • 4:17 - 4:19
    ในแบบที่พวกเราหลายคนอาจปฏิเสธ
  • 4:20 - 4:23
    สิ่งที่ผมอยากเสนอก็คือ
    ภาพดังกล่าวมันซับซ้อนยิ่งกว่านั้น
  • 4:23 - 4:24
    บรรดานักเสรีนิยมสากล
  • 4:24 - 4:28
    เช่นตัวผม และผมก็รวมตัวเอง
    เอาไว้ในภาพนั้นอย่างมั่นใจ
  • 4:28 - 4:30
    ต้องวาดภาพตัวเราเอาไว้ในภาพนั้น
  • 4:30 - 4:34
    เพื่อที่จะเข้าใจว่าเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
  • 4:35 - 4:38
    เมื่อเราดูรูปแบบผลการโหวต
    ทั่วทั้งสหราชอาณาจักร
  • 4:38 - 4:41
    เราสามารถเห็นการแบ่งแยกได้อย่างชัดเจน
  • 4:41 - 4:44
    พื้นที่สีฟ้าแสดงถึงการโหวตให้อยู่
  • 4:44 - 4:46
    และพื้นที่สีแดงแสดงการโหวตให้ออก
  • 4:46 - 4:47
    เมื่อผมมองดู
  • 4:47 - 4:51
    สิ่งที่โดยส่วนตัวแล้วทำให้ผมอึ้ง
    ก็คือผมได้ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในชีวิตผม
  • 4:51 - 4:54
    อาศัยอยู่ในพื้นที่สีแดงหลายแห่ง
  • 4:54 - 4:59
    ผมเข้าใจได้ทันที เมื่อดูพื้นที่หลัก
    50 อันดับแรกในสหราชอาณาจักร
  • 4:59 - 5:01
    ที่มีคนโหวตให้ออกกันมากที่สุด
  • 5:01 - 5:07
    เป็นพื้นที่ที่ผมเคยใช้ชีวิตรวมแล้วทั้งหมดสี่วัน
  • 5:08 - 5:09
    สถานที่บางแห่งเหล่านั้น
  • 5:09 - 5:13
    ผมไม่รู้จักชื่อเขตด้วยซ้ำ
  • 5:13 - 5:15
    สำหรับผมมันเป็นสิ่งที่น่าตกใจมาก
  • 5:15 - 5:17
    และมันบ่งบอกว่าผู้คนเช่นเดียวกับผม
  • 5:17 - 5:21
    ที่คิดว่าตัวเองเป็นคนรู้กว้าง เปิดเผย
    และใจกว้าง
  • 5:21 - 5:23
    อาจไม่รู้จักประเทศและสังคมของเราเอง
  • 5:23 - 5:26
    ได้ใกล้เคียงเท่ากับที่เราอยากจะเชื่อ
  • 5:26 - 5:29
    (เสียงปรบมือ)
  • 5:36 - 5:40
    และความท้าทายที่ตามมาก็คือ
    เราต้องหาวิธีใหม่
  • 5:40 - 5:43
    ในการบอกเล่าเรื่องโลกาภิวัตน์
    ให้กับคนเหล่านั้นรู้
  • 5:43 - 5:47
    เพื่อที่จะรับรู้ว่าสำหรับคนเหล่านั้น
    ที่อาจไม่เคยเรียนมหาวิทยาลัย
  • 5:48 - 5:50
    ที่อาจไม่ได้เติบโตมากับอินเทอร์เน็ต
  • 5:50 - 5:52
    ที่ไม่เคยมีโอกาสได้เดินทางท่องเที่ยว
  • 5:52 - 5:56
    พวกเขาอาจไม่คล้อยตาม
    ในเรื่องที่เราคิดว่าน่าสนใจ
  • 5:56 - 5:58
    ในฟองสบู่เสรีส่วนใหญ่ของพวกเรา
  • 5:59 - 6:01
    (เสียงปรบมือ)
  • 6:04 - 6:07
    นั่นหมายถึงเราต้องเอื้อมออกไป
    ให้กว้างกว่านี้และทำความเข้าใจ
  • 6:08 - 6:14
    ในการโหวตให้ออก เสียงส่วนน้อยได้กระพือ
    แนวคิดการเมืองเรื่องความกลัวและความเกลียดชัง
  • 6:14 - 6:16
    แต่งเรื่องโกหกและสร้างความหวาดระแวงไปทั่ว
  • 6:16 - 6:19
    อย่างเช่นความคิดที่ว่าการโหวตออกจากยุโรป
  • 6:19 - 6:23
    อาจลดจำนวนผู้อพยพและผู้ขอลี้ภัย
    ที่เข้ามายังยุโรปได้
  • 6:23 - 6:26
    ทั้ง ๆ ที่การโหวตให้ออกนั้น
    ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการย้ายถิ่นฐาน
  • 6:26 - 6:28
    จากภายนอกสหภาพยุโรป
  • 6:29 - 6:33
    แต่จากเสียงส่วนใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ
    ของกลุ่มผู้โหวตให้ออก
  • 6:33 - 6:36
    ความกังวลของพวกเขาคือผิดหวัง
    ต่อแนวทางการเมืองที่เป็นอยู่
  • 6:36 - 6:39
    นี่เป็นการโหวตคัดค้านสำหรับใครหลาย ๆ คน
  • 6:39 - 6:41
    เป็นการแสดงความรู้สึกว่า
    ไม่มีใครเป็นตัวแทนของพวกเขาเลย
  • 6:41 - 6:44
    ว่าพวกเขาไม่อาจหาพรรคการเมือง
    ที่เป็นกระบอกเสียงแทนพวกเขาได้
  • 6:44 - 6:48
    ดังนั้นพวกเขาจึงปฏิเสธ
    แนวทางการเมืองที่เป็นอยู่
  • 6:49 - 6:54
    สิ่งนี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ทั่วทั้งยุโรป
    และส่วนมากในโลกเสรีประชาธิปไตย
  • 6:55 - 6:59
    เราได้เห็นมันในเหตุการณ์ความนิยม
    ต่อโดนัลด์ทรัมพ์ในสหรัฐ ฯ ที่เพิ่มสูงขึ้น
  • 6:59 - 7:03
    ในความนิยมที่เพิ่มขึ้นของลัทธิชาตินิยม
    ของวิคเตอร์ ออร์แบนในฮังการี
  • 7:04 - 7:08
    ในความนิยมที่เพิ่มขึ้น
    ในตัวของ มารี เลอ แปน ในฝรั่งเศส
  • 7:08 - 7:12
    อสุรกายแห่ง เบร็กซิท มีอยู่ทุกที่ในสังคมเรา
  • 7:13 - 7:16
    ดังนั้นคำถามที่ผมคิดว่าเราต้องถามกัน
    ก็คือคำถามที่สองของผม
  • 7:16 - 7:19
    ซึ่งก็คือ พวกเราควรจะร่วมกัน
    ตอบสนองอย่างไรต่อสิ่งนี้
  • 7:19 - 7:25
    สำหรับเราทุกคนที่ใส่ใจในเรื่อง
    การสร้างสังคมเสรีที่เปิดกว้างและใจกว้าง
  • 7:25 - 7:28
    เราต้องการทัศนวิสัยใหม่อย่างเร่งด่วน
  • 7:28 - 7:32
    ทัศนวิสัยแห่งโลกาภิวัตน์ที่ใจกว้างและ
    มีความเป็นองค์รวมสากลมากกว่าเดิม
  • 7:32 - 7:35
    ที่จะพาผู้คนไปกับเรามากกว่าทิ้งไว้เบื้องหลัง
  • 7:37 - 7:39
    ทัศนวิสัยแห่งโลกาภิวัตน์นั้น
  • 7:39 - 7:43
    คือทัศนวิสัยที่ต้องเริ่มด้วยการเข้าใจ
    ถึงผลประโยชน์เชิงบวกของโลกาภิวัตน์
  • 7:43 - 7:46
    ความเห็นที่ตรงกันในบรรดานักเศรษฐศาสตร์
  • 7:46 - 7:49
    ก็คือการค้าเสรี การเคลื่อนย้ายเงินทุน
  • 7:49 - 7:51
    การเคลื่อนย้ายของประชาชนข้ามพรมแดน
  • 7:51 - 7:54
    จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนโดยรวม
  • 7:54 - 7:56
    ความเห็นที่ตรงกันของบรรดานักวิชาการ
    ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • 7:56 - 7:59
    คือโลกาภิวัตน์นั้น
    จะนำไปสู่การพึ่งพากันและกัน
  • 7:59 - 8:02
    ซึ่งจะนำมาซึ่งการร่วมมือกันและสันติภาพ
  • 8:02 - 8:06
    แต่โลกาภิวัตน์ยังมีผล
    ในเรื่องการจัดสรรปันส่วนใหม่
  • 8:06 - 8:09
    มันสร้างผู้ชนะและผู้แพ้
  • 8:09 - 8:11
    ยกตัวอย่างเช่น การอพยพ
  • 8:11 - 8:15
    เรารู้ว่าการอพยพเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม
  • 8:15 - 8:17
    ภายใต้สถานการณ์ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด
  • 8:18 - 8:21
    แต่เรายังต้องระวังให้มาก
  • 8:21 - 8:24
    ว่ามันจะมีผลต่าง ๆ ตามมา
  • 8:24 - 8:28
    ที่สำคัญก็คือ การอพยพของแรงงานไร้ฝีมือ
  • 8:28 - 8:32
    อาจนำไปสู่การลดค่าแรง
    ของคนยากจนที่สุดในสังคมเรา
  • 8:32 - 8:34
    และยังสร้างแรงกดดันในเรื่องราคาที่อยู่อาศัย
  • 8:34 - 8:37
    นั่นไม่ได้ลดความสำคัญต่อข้อเท็จจริงที่ว่า
    มันส่งผลดีลงไปแต่อย่างใด
  • 8:37 - 8:40
    แต่หมายความว่า เราจะต้องแบ่งผลประโยชน์
    ให้กับคนจำนวนมากขึ้น
  • 8:40 - 8:41
    และยอมรับในตัวพวกเขา
  • 8:43 - 8:48
    ปี ค.ศ. 2002 อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ
    นายโคฟี อันนัน
  • 8:48 - 8:51
    ได้กล่าวในปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยเยล
  • 8:51 - 8:55
    และหัวข้อในการปาฐกถานั้นก็เกี่ยวข้องกับ
    โลกาภิวัตน์ในแบบครอบคลุม
  • 8:55 - 8:58
    นั่นเป็นปาฐกถาที่เขาได้บัญญัติคำดังกล่าว
  • 8:58 - 9:01
    และเขาได้กล่าวเอาไว้ แล้วผมก็ถอดความได้ว่า
  • 9:01 - 9:06
    "เรือนกระจกแห่งโลกาภิวัตน์
    ควรจะเปิดกว้างสำหรับทุกคน
  • 9:06 - 9:09
    หากต้องการคงไว้ซึ่งความมั่นคง
  • 9:09 - 9:13
    ความดื้อรั้นและความโง่เขลา
  • 9:13 - 9:19
    คือโฉมหน้าที่น่าชังของการกีดกัน
    และเป็นปฏิปักษ์ต่อโลกาภิวัตน์
  • 9:19 - 9:24
    แนวคิดเรื่องโลกาภิวัตน์แบบครอบคลุม
    ได้รับการฟื้นฟูขึ้นในช่วงสั้น ๆ ในปี ค.ศ. 2008
  • 9:24 - 9:27
    ในการประชุมเพื่อความก้าวหน้าธรรมาภิบาล
  • 9:27 - 9:30
    ที่มีผู้นำจากประเทศยุโรปมากมายเข้าร่วมประชุม
  • 9:31 - 9:35
    แต่ท่ามกลางข้อจำกัดและวิกฤติการเงิน
    ในปี ค.ศ. 2008
  • 9:35 - 9:38
    แนวคิดนี้จึงหายไปจนแทบไม่เหลือร่องรอย
  • 9:38 - 9:43
    โลกาภิวัตน์ถูกใช้เพื่อสนับสนุนวาระเสรีนิยมใหม่
  • 9:43 - 9:46
    มันถูกทำให้เข้าใจว่า
    มันเป็นส่วนหนึ่งของวาระชนชั้นนำ
  • 9:46 - 9:48
    แทนที่จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคน
  • 9:48 - 9:52
    และมันจะต้องถูกนำกลับมาใหม่
    ให้มีพื้นฐานที่ครอบคลุมมากกว่าเดิม
  • 9:52 - 9:53
    มากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
  • 9:54 - 9:57
    ฉะนั้นคำถามก็คือ
    เราจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้อย่างไร
  • 9:57 - 10:02
    เราจะสร้างสมดุลได้อย่างไร
    ระหว่างความกลัวและความบาดหมาง
  • 10:02 - 10:06
    กับการปฎิเสธอย่างรุนแรง
    ที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน
  • 10:06 - 10:09
    ที่จะยอมจำนนให้กับความกลัว
    ต่อชาวต่างชาติและลัทธิชาตินิยม
  • 10:09 - 10:12
    นั่นเป็นคำถามสำหรับเราทุกคน
  • 10:12 - 10:13
    และในฐานะนักสังคมศาสตร์ ผมคิดว่า
  • 10:13 - 10:16
    สังคมศาสตร์นั้นได้เสนอจุดเริ่มต้นเอาไว้ให้
  • 10:17 - 10:22
    การปฏิรูปของเรานั้นควรที่จะเกี่ยวข้องกับ
    ทั้งแนวคิดและการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุ
  • 10:22 - 10:26
    และผมอยากจะให้แนวคิดทั้งสี่กับคุณ
    เป็นจุดเริ่มต้น
  • 10:26 - 10:30
    แนวคิดแรกเกี่ยวข้องกับ
    แนวคิดการศึกษาของพลเมือง
  • 10:30 - 10:32
    สิ่งที่เห็นได้ชัดจาก เบร็กซิท ก็คือ
  • 10:32 - 10:36
    ช่องว่างระหว่างความเข้าใจของประชาชน
    กับความเป็นจริง
  • 10:36 - 10:40
    มีการชี้ให้เราเห็นว่าเราได้เคลื่อนเข้าสู่
    สังคมหลังข้อเท็จจริง
  • 10:40 - 10:43
    ที่ซึ่งหลักฐานและความจริงนั้น
    ไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญอีกต่อไป
  • 10:43 - 10:47
    และคำโกหกก็มีฐานะเท่า ๆ กัน
    กับความชัดเจนของหลักฐาน
  • 10:47 - 10:48
    แล้วพวกเราจะ --
  • 10:48 - 10:51
    (เสียงปรบมือ)
  • 10:51 - 10:56
    สร้างความเชื่อถือให้ความจริงกับหลักฐาน
    ขึ้นใหม่ในโลกเสรีประชาธิปไตยได้อย่างไร
  • 10:56 - 10:58
    มันต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษา
  • 10:58 - 11:01
    แต่มันต้องเริ่มจากการยอมรับว่า
    มันมีช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่ใหญ่มาก
  • 11:02 - 11:07
    ในปี ค.ศ. 2014 สำนักประชาพิจารณ์
    Ipsos MORI
  • 11:07 - 11:10
    ได้ตีพิมพ์ผลสำรวจทัศนคติ
    ต่อการอพยพย้ายถิ่น
  • 11:10 - 11:14
    และมันแสดงให้เห็นว่า
    เมื่อจำนวนผู้อพยพเพิ่มสูงขึ้น
  • 11:14 - 11:17
    ความกังวลของประชาชน
    ต่อการอพยพย้ายถิ่นก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
  • 11:17 - 11:20
    แม้ว่ามันไม่ได้จะแก้ข้อสงสัย
    ให้เราได้อย่างชัดเจน
  • 11:20 - 11:23
    เพราะความกังวลนี้ก็คงมากพอ ๆ กัน แต่มัน
    คงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของจำนวนมากนัก
  • 11:23 - 11:25
    แต่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางการเมือง
    และสื่อที่เกี่ยวข้องกับมันมากกว่า
  • 11:26 - 11:30
    ทว่าผลสำรวจเดียวกันนี้ยังเปิดเผยถึง
  • 11:30 - 11:32
    การได้รับข้อมูลอย่างไม่ถูกต้องของประชาชน
  • 11:32 - 11:35
    และความเข้าใจผิด
    ในเรื่องธรรมชาติของการอพยพ
  • 11:36 - 11:39
    ตัวอย่างเช่น
    ความเห็นเหล่านี้ในสหราชอาณาจักร
  • 11:39 - 11:41
    ประชาชนเชื่อว่าระดับการขอลี้ภัย
  • 11:42 - 11:45
    คิดเป็นสัดส่วนที่มากของการอพยพ
    มากกว่าความเป็นจริง
  • 11:45 - 11:48
    แต่พวกเขายังเชื่ออีกว่า
    ระดับผู้อพยพที่มีการศึกษานั้น
  • 11:48 - 11:52
    คิดเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่า
    ระดับที่แท้จริงของผู้อพยพมาก
  • 11:52 - 11:53
    มากกว่าที่พวกเขาเป็นจริงๆ
  • 11:53 - 11:56
    ฉะนั้นเราต้องพูดถึงเรื่องข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนี้
  • 11:56 - 12:00
    ช่องว่างระหว่างแนวคิดกับความเป็นจริง
    ในแง่มุมสำคัญของโลกาภิวัตน์
  • 12:00 - 12:03
    และเราจะปล่อยให้มันเป็นความรับผิด
    ของโรงเรียนแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้
  • 12:03 - 12:06
    แม้ว่ามันสำคัญที่จะเริ่มให้การศึกษาเรื่องนี้
    ตั้งแต่เด็ก ๆ
  • 12:06 - 12:09
    มันจะต้องมาจากความร่วมมือของพลเมือง
    ในแบบระยะยาว
  • 12:09 - 12:13
    และการมีส่วนร่วมของประชาชน
    ที่เราทุกคนสนับสนุนในฐานะกลุ่มสังคม
  • 12:14 - 12:17
    ประการที่สองที่ผมคิดคือโอกาส
  • 12:17 - 12:21
    คือแนวคิดที่จะสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
    ของกลุ่มสังคมที่หลากหลาย
  • 12:21 - 12:24
    (เสียงปรบมือ)
  • 12:26 - 12:29
    สิ่งหนึ่งที่โดดเด่นมากสำหรับผม
  • 12:29 - 12:32
    เมื่อพิจารณาแนวคิดเกี่ยวกับการอพยพ
    ในสหราชอาณาจักร
  • 12:32 - 12:34
    ที่ตลกก็คือภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศผม
  • 12:34 - 12:36
    ซึ่งเป็นภูมิภาค
    ที่เปิดกว้างต่อผู้อพยพมากที่สุด
  • 12:36 - 12:39
    มีจำนวนผู้อพยพที่สูงที่สุด
  • 12:39 - 12:43
    เช่น ลอนดอนและทางตะวันออกเฉียงใต้
    มีจำนวนผู้อพยพสูงสุด
  • 12:44 - 12:47
    และยังเป็นพื้นที่
    ที่เปิดกว้างมากที่สุดอีกด้วย
  • 12:47 - 12:50
    พื้นที่ที่มีระดับการอพยพที่ต่ำสุดต่างหาก
  • 12:50 - 12:55
    ที่จริง ๆ แล้วเป็นการไม่รับฟังและ
    ใจแคบอย่างที่สุดต่อผู้อพยพ
  • 12:55 - 12:58
    ดังนั้นเราต้องสนับสนุน
    โครงการแลกเปลี่ยนต่าง ๆ
  • 12:58 - 13:01
    เพื่อให้แน่ใจว่าคนรุ่นเก่า
    ที่อาจจะไม่สามารถเดินทางไปไหนได้
  • 13:01 - 13:03
    ได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต
  • 13:03 - 13:06
    เราต้องสนับสนุน
    ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
  • 13:06 - 13:08
    ในเรื่องการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น
    การมีส่วนร่วมที่มากขึ้น
  • 13:08 - 13:11
    การมีปฏิสัมพันธ์ที่มากขึ้น
    กับผู้คนที่เราไม่รู้จัก
  • 13:11 - 13:14
    และผู้ที่มีมุมมองในแบบที่เราอาจไม่
    จำเป็นต้องเห็นพ้องต้องกับพวกเขา
  • 13:15 - 13:17
    ประการที่สามที่ผมคิดมีความสำคัญมาก
  • 13:17 - 13:19
    และมันเป็นพื้นฐานหลักจริง ๆ
  • 13:19 - 13:21
    ซึ่งก็คือ เราจะต้องทำให้มั่นใจ
    ว่าทุกคนจะได้ส่วนแบ่ง
  • 13:21 - 13:24
    จากผลประโยชน์ของโลกาภิวัตน์
  • 13:25 - 13:29
    ภาพภายหลัง เบร็กซิท จากนิตยสาร
    ไฟแนนเชียล ไทม์ส นี้ น่าทึ่งจริง ๆ
  • 13:29 - 13:33
    มันแสดงให้เห็นว่า
    คนที่โหวตออกจากสหภาพยุโรปนั้น
  • 13:33 - 13:36
    แท้จริงแล้วเป็นคนที่จะได้ประโยชน์
    เป็นชิ้นเป็นอันที่สุด
  • 13:36 - 13:38
    จากการค้าขายกับสหภาพยุโรป
  • 13:39 - 13:42
    แต่ปัญหาก็คือ คนเหล่านั้นในพื้นที่เหล่านั้น
  • 13:42 - 13:44
    ไม่ได้รับรู้ว่าพวกเขาเองเป็นผู้ได้ประโยชน์
  • 13:44 - 13:47
    พวกเขาไม่เชื่อว่าพวกเขาจะได้เข้าถึง
  • 13:47 - 13:53
    ประโยชน์สำคัญจากการเพิ่มขึ้น
    ทางการค้าและการโยกย้ายทั่วโลก
  • 13:54 - 13:58
    ผมพยายามหาคำตอบ
    ในการแก้ไขเรื่องผู้ลี้ภัย
  • 13:58 - 14:00
    และแนวคิดหนึ่งที่ผมให้เวลากับมันมาก
    ในการนำเสนอมัน
  • 14:00 - 14:03
    ต่อประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก
  • 14:03 - 14:07
    ก็คือ เพื่อที่จะส่งเสริม
    การหลอมรวมตัวกันของผู้ลี้ภัย
  • 14:07 - 14:09
    เราจะคอยแต่เก็บเกี่ยวผลประโยชน์
    จากประชากรผู้ลี้ภัยไม่ได้
  • 14:09 - 14:14
    เราควรตระหนักถึงความกังวล
    ของชุมชนเจ้าบ้านในท้องที่นั้น ๆ ด้วย
  • 14:15 - 14:17
    แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว
  • 14:17 - 14:20
    ข้อกำหนดนโยบายหนึ่งก็คือเราต้องจัดหา
  • 14:20 - 14:23
    สวัสดิการการศึกษาและสุขภาพ
    ที่มีสัดส่วนที่ดีกว่านี้
  • 14:24 - 14:25
    การเข้าถึงบริการทางสังคม
  • 14:25 - 14:28
    ในพื้นที่เหล่านั้นที่มีการอพยพย้ายถิ่นสูง
  • 14:28 - 14:30
    เพื่อตระหนักถึงกังวล
    ของประชากรท้องถิ่นนั้น ๆ
  • 14:30 - 14:33
    แต่ในขณะที่เราส่งเสริมสิ่งนี้
    ให้กับประเทศที่กำลังพัฒนา
  • 14:33 - 14:35
    เราไม่ได้นำบทเรียนเหล่านั้น
    ติดตัวกลับบ้านมาด้วย
  • 14:35 - 14:38
    และไม่ได้หลอมรวมพวกมัน
    เข้ากับกลุ่มสังคมของเราเอง
  • 14:39 - 14:42
    ยิ่งกว่านั้น ถ้าหากเราต้องการให้มั่นใจได้ว่า
  • 14:42 - 14:45
    ผู้คนจะได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
    อย่างจริงจังกันจริง ๆ
  • 14:45 - 14:49
    ธุรกิจและบริษัทเรา
    ต้องการแบบอย่างของโลกาภิวัตน์
  • 14:49 - 14:52
    ที่รับรู้ว่าพวกเขาด้วยนั่นแหละ
    ที่จะต้องรับผู้คนไปด้วยกัน
  • 14:53 - 14:56
    แนวคิดประการที่สี่
    และเป็นแนวคิดสุดท้ายที่ผมอยากจะผลักดัน
  • 14:57 - 14:59
    คือแนวคิดที่ว่า เราต้องการการเมือง
    ที่มีความรับผิดชอบมากกว่านี้
  • 15:00 - 15:03
    มีหลักฐานทางสังคมศาสตร์อยู่น้อยมาก
  • 15:03 - 15:06
    ที่เปรียบเทียบทัศนคติที่มีต่อโลกาภิวัตน์
  • 15:06 - 15:09
    แต่จากผลสำรวจที่มีอยู่
  • 15:09 - 15:13
    เราเห็นได้ว่ามีความแตกต่างมากมาย
    ระหว่างประเทศต่าง ๆ
  • 15:13 - 15:16
    และช่วงเวลาในประเทศเหล่านั้น
  • 15:16 - 15:17
    สำหรับแนวคิดและการเปิดกว้าง
  • 15:17 - 15:21
    ต่อปัญหาอย่างการอพยพและ
    การโยกย้ายในแง่มุมหนึ่ง
  • 15:21 - 15:23
    และการค้าเสรีในอีกแง่มุนหนึ่ง
  • 15:23 - 15:28
    แต่สมมติฐานหนึ่งที่ผมคิดว่า
    มันเกิดขึ้นจากการดูข้อมูลคร่าว ๆ
  • 15:28 - 15:34
    ก็คือแนวคิดที่แบ่งสังคมออกเป็นขั้ว
    มีความเปิดกว้างต่อโลกาภิวัตน์น้อยกว่ามาก
  • 15:34 - 15:37
    เป็นสภาพสังคมที่เหมือนกับสวีเดนในอดีต
  • 15:37 - 15:39
    เหมือนกับแคนาดาในทุกวันนี้
  • 15:39 - 15:40
    ที่ซึ่งมีความคิดทางการเมืองเป็นกลาง
  • 15:40 - 15:42
    ที่ซึ่งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายมาทำงานร่วมกัน
  • 15:43 - 15:47
    ที่เราส่งเสริมทัศนคติที่สนับสนุนโลกาภิวัตน์
  • 15:47 - 15:50
    และสิ่งที่เราเห็นทั่วโลกในตอนนี้
    ก็คือการแบ่งขั้วอันแสนเศร้า
  • 15:50 - 15:53
    ความล้มเหลวในการเจรจา
    ท่ามกลางการเมืองที่สุดโต่ง
  • 15:53 - 15:56
    และช่องว่างในเรื่อง
    พื้นฐานกลางของความเสรี
  • 15:56 - 16:00
    ที่สามารถสนับสนุนการสื่อสาร
    และความเข้าใจร่วมกัน
  • 16:00 - 16:02
    เราอาจยังไม่บรรลุผลนั้นในวันนี้
  • 16:02 - 16:06
    แต่อย่างน้อยที่สุด
    เราก็ได้เรียกร้องกับนักการเมืองและสื่อ
  • 16:06 - 16:09
    เพื่อทิ้งภาษาแห่งความกลัว
    และเปิดใจให้กว้างต่อกันและกัน
  • 16:09 - 16:12
    (เสียงปรบมือ)
  • 16:18 - 16:21
    ความคิดเหล่านี้ยังไม่สมบูรณ์อย่างเต็มที่
  • 16:21 - 16:25
    ส่วนหนึ่งก็เพราะมันต้องเป็นโครงการ
    ที่ได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วม
  • 16:26 - 16:28
    ผมยังคงเป็นคนอังกฤษ
  • 16:29 - 16:31
    ผมยังคงเป็นคนยุโรป
  • 16:32 - 16:35
    ผมยังคงเป็นพลเมืองโลก
  • 16:35 - 16:37
    สำหรับพวกเราผู้ที่เชื่อว่า
  • 16:37 - 16:41
    ตัวตนของพวกเรานั้น
    ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน
  • 16:41 - 16:44
    พวกเราต้องทำงานร่วมกัน
  • 16:44 - 16:48
    เพื่อให้แน่ใจว่า
    โลกาภิวัตน์จะนำพาเราไปด้วยกัน
  • 16:48 - 16:50
    และไม่ปล่อยผู้คนทิ้งไว้ให้อยู่เบื้องหลัง
  • 16:50 - 16:56
    เมื่อนั้นแหละ เราจึงจะเชื่อมประชาธิปไตย
    กับโลกาภิวัตน์ได้อย่างแท้จริง
  • 16:56 - 16:57
    ขอบคุณครับ
  • 16:57 - 17:09
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เหตุใดเบร็กซิท (Brexit) จึงเกิดขึ้น แล้วเราควรจะทำอะไรต่อไป
Speaker:
อเล็กซานเดอร์ เบ็ตส์ (Alexander Betts)
Description:

อเล็กซานเดอร์ เบ็ตส์ นักสังคมศาสตร์ กล่าวว่า น่าอับอายจริง ๆ ที่เราไม่ได้ตระหนักมาก่อนว่าสังคมของเราแตกแยกร้าวลึกขนาดไหน ระหว่างผู้ที่หวั่นเกรงโลกาภิวัตน์ กับผู้ที่โอบรับมันเข้ามาในอ้อมกอด ตอนนี้พวกเราจะจัดการกับปัญหาอย่างไรในเรื่องความกลัวเช่นเดียวกับความผิดหวังที่กำลังแผ่ขยายไปพร้อมกับการก่อตัวทางการเมือง ในขณะที่มีการปฏิเสธที่จะยอมอ่อนข้อให้กับความเกลียดกลัวคนต่างชาติและลัทธิชาตินิยม ร่วมคิดไปพร้อมกับ เบ็ตส์ ผู้อภิปรายถึงสี่ย่างก้าวภายหลังเบร็กซิท (Brexit) ไปสู่โลกที่มีความกลมเกลียวกันมากขึ้น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:22
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Retired user edited Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Retired user edited Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions