Return to Video

เหตุใดเบร็กซิท (Brexit) จึงเกิดขึ้น แล้วเราควรจะทำอะไรต่อไป

  • 0:00 - 0:04
    ผมเป็นคนอังกฤษครับ
  • 0:04 - 0:06
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:06 - 0:09
    (เสียงปรบมือ)
  • 0:09 - 0:13
    วลีที่ว่า "ผมเป็นคนอังกฤษ"
    ไม่เคยฟังดูน่าเวทนาเท่านี้มาก่อนเลย
  • 0:13 - 0:15
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:15 - 0:18
    ผมมาจากเกาะแห่งหนึ่ง
    ที่ซึ่งเราทั้งหลายอยากจะเชื่อว่า
  • 0:18 - 0:21
    มันมีความต่อเนื่องมานานเป็นพัน ๆ ปี
  • 0:21 - 0:24
    เรามักจะกำหนดความเปลี่ยนแปลง
    ทางประวัติศาสตร์ให้กับคนอื่น
  • 0:24 - 0:26
    แต่ทำสิ่งเดียวกันนี้
    กับพวกเราเองน้อยกว่ามาก
  • 0:27 - 0:30
    ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องน่าตกใจมากสำหรับผม
  • 0:30 - 0:33
    เมื่อผมตื่นขึ้นในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน
  • 0:33 - 0:36
    เพื่อพบว่าประเทศของผม
    โหวตให้ตัวเองออกจากสหภาพยุโรป
  • 0:37 - 0:38
    นายกรัฐมนตรีของประเทศผมลาออก
  • 0:38 - 0:41
    แล้วสกอตแลนด์
    ก็กำลังคิดจะลงประชามติอีกครั้ง
  • 0:41 - 0:46
    ซึ่งอาจนำไปสู่จุดจบของสหราชอาณาจักรนี้
  • 0:47 - 0:50
    ดังนั้น นี่จึงเป็นสิ่งที่น่าตกใจมากสำหรับผม
  • 0:50 - 0:52
    และเป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างยิ่ง
    สำหรับคนมากมาย
  • 0:53 - 0:57
    แต่มันก็ยังเป็นบางอย่าง
    ที่ในอีกสองสามวันต่อมา
  • 0:57 - 0:59
    ได้สร้างความเสียหายทางการเมืองอย่างมาก
  • 0:59 - 1:01
    ในประเทศของผม
  • 1:01 - 1:03
    มีการเรียกร้องให้ลงประชามติเป็นครั้งที่สอง
  • 1:03 - 1:06
    แทบจะเหมือนในเกมกีฬา
  • 1:06 - 1:08
    ที่เราอาจขอให้ฝ่ายตรงข้ามมาแข่งกันใหม่
  • 1:09 - 1:11
    ทุกคนเอาแต่โทษคนอื่น ๆ
  • 1:11 - 1:13
    ประชาชนโทษนายกรัฐมนตรี
  • 1:13 - 1:15
    ที่เรียกร้องให้มีการลงประชามติตั้งแต่แรก
  • 1:15 - 1:19
    พวกเขาโทษผู้นำฝ่ายค้านที่ไม่สู้ให้มากพอ
  • 1:19 - 1:20
    คนหนุ่มสาวต่อว่าคนแก่
  • 1:20 - 1:23
    คนมีการศึกษา
    โทษผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า
  • 1:23 - 1:27
    ความเสียหายอย่างรุนแรงนั้น
    แย่เสียยิ่งกว่าเดิม
  • 1:27 - 1:29
    ด้วยปัจจัยน่าเศร้าที่สุดของมันซึ่งก็คือ
  • 1:29 - 1:33
    ระดับความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ
    และการเหยียดเชื้อชาติทั่วไปในอังกฤษ
  • 1:33 - 1:35
    อยู่ในระดับที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน
  • 1:35 - 1:36
    ในชีวิตของผม
  • 1:38 - 1:42
    ผู้คนตอนนี้พากันพูดว่า "อังกฤษ" ของเรา
    จะกลายเป็น "อังกุด" ไหมเนี่ย
  • 1:42 - 1:44
    หรืออย่างที่เพื่อนผมคนหนึ่งพูดไว้ว่า
  • 1:44 - 1:48
    นี่เรากำลังจะกลายเป็น
    คณะตลกโบราณแห่งยุค 1950
  • 1:49 - 1:51
    ที่ลอยเท้งเต้ง
    อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกหรือเปล่า
  • 1:51 - 1:53
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:54 - 1:56
    แต่คำถามของผมจริง ๆ แล้วก็คือ
  • 1:56 - 2:01
    พวกเราควรจะตกใจกันขนาดนั้น
    ในแบบที่เราไม่เคยเป็นมาก่อนหรือเปล่า
  • 2:01 - 2:04
    มันเป็นอะไรบางอย่าง
    ที่เกิดได้เพียงชั่วข้ามคืนอย่างนั้นหรือ
  • 2:04 - 2:08
    หรือปัจจัยโครงสร้างที่ลึกกว่า
    นำเราให้มาถึงจุดนี้
  • 2:08 - 2:13
    ฉะนั้น ผมจึงขอถอยกลับออกมา
    แล้วถามคำถามง่าย ๆ สองข้อ
  • 2:13 - 2:16
    หนึ่ง เบร็กซิท (Brexit) เป็นตัวแทนของอะไร
  • 2:16 - 2:17
    ไม่ใช่แค่สำหรับประเทศผมเท่านั้น
  • 2:17 - 2:20
    แต่สำหรับพวกเราทุกคนทั่วโลก
  • 2:20 - 2:23
    และสอง เราจะทำอะไรได้บ้างไหม
  • 2:23 - 2:26
    เราควรจะตอบสนองต่อสิ่งนี้อย่างไร
  • 2:26 - 2:28
    เอาล่ะ ประการแรก เบร็กซิท เป็นตัวแทนของอะไร
  • 2:29 - 2:31
    ความเข้าใจหลังเกิดปัญหาเป็นสิ่งที่น่าทึ่ง
  • 2:32 - 2:36
    เบร็กซิท สอนเราหลายอย่างเกี่ยวกับสังคมของเรา
  • 2:36 - 2:38
    และสังคมทั่วโลก
  • 2:39 - 2:43
    มันเน้นให้เราเห็นว่า
    มันน่าอับอายจริง ๆ ที่เราไม่ได้ตระหนักสักนิด
  • 2:43 - 2:44
    ว่าสังคมของเราแตกแยกกันมากขนาดไหน
  • 2:45 - 2:51
    ผลการโหวตแตกแยกไปตามกลุ่มอายุ
    การศึกษา ชนชั้น และภูมิภาค
  • 2:51 - 2:54
    คนหนุ่มสาวจำนวนมากไม่ได้ออกมาลงคะแนน
  • 2:54 - 2:56
    แต่คนเหล่านั้นกลับต้องการให้อยู่ต่อ
  • 2:56 - 3:00
    คนแก่ก็อยากจะออกจากสหภาพยุโรปกัน
  • 3:00 - 3:04
    ตามภูมิภาคแล้ว ลอนดอนกับสกอตแลนด์
    เป็นส่วนที่ลงคะแนน
  • 3:04 - 3:06
    ให้อยู่ต่อในสหภาพยุโรปมากที่สุด
  • 3:06 - 3:10
    ขณะที่ส่วนอื่น ๆ ของประเทศ
    ยังมีการแบ่งออกเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน
  • 3:11 - 3:15
    ความแตกแยกนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องรับรู้
    และจริงจังกับมัน
  • 3:15 - 3:18
    แต่ที่ลึกซึ้งกว่านั้น
    การโหวตได้สอนบางสิ่งกับเรา
  • 3:18 - 3:21
    เกี่ยวกับธรรมชาติของการเมืองในปัจจุบัน
  • 3:21 - 3:25
    การเมืองเดี๋ยวนี้ไม่ได้มีแค่
    ฝ่ายขวากับฝ่ายซ้ายกันแล้ว
  • 3:25 - 3:28
    มันไม่ใช่แค่เรื่องภาษีกับการใช้จ่ายอีกต่อไป
  • 3:28 - 3:30
    แต่เป็นเรื่องของโลกาภิวัตน์
  • 3:30 - 3:34
    ความเหลื่อมล้ำทางการเมืองในปัจจุบัน
    อยู่ระหว่างคนที่โอบอุ้มโลกาภิวัตน์
  • 3:34 - 3:37
    และคนที่หวั่นเกรงมัน
  • 3:38 - 3:41
    (เสียงปรบมือ)
  • 3:44 - 3:46
    ถ้าเราดูว่า ทำไมคนเหล่านั้นถึงอยากออก
  • 3:46 - 3:49
    เราเรียกพวกเขาว่า "ฝ่ายอยากออก"
    ให้ตรงข้ามกับ "ฝ่ายอยากอยู่"
  • 3:49 - 3:51
    เราจะเห็นสองปัจจัยในผลสำรวจความคิดเห็น
  • 3:51 - 3:53
    ที่มีความสำคัญอย่างแท้จริง
  • 3:53 - 3:56
    สิ่งแรกคือการอพยพ
    และสิ่งที่สองคืออำนาจอธิปไตย
  • 3:56 - 4:01
    และมันแสดงถึงความปรารถนาของผู้คน
    ที่ต้องการอำนาจของพวกเขากลับคืนมา
  • 4:01 - 4:05
    และความรู้สึกที่ว่านักการเมือง
    ไม่ได้เป็นตัวแทนของพวกเขา
  • 4:07 - 4:12
    แต่แนวคิดนั้นแสดงถึงความกลัว
    และความบาดหมาง
  • 4:12 - 4:17
    มันเป็นตัวแทนของการถอยหลัง
    กลับไปเป็นชาตินิยมและการครองดินแดน
  • 4:17 - 4:19
    ในแบบที่พวกเราหลายคนอาจปฏิเสธ
  • 4:20 - 4:23
    สิ่งที่ผมอยากเสนอก็คือ
    ภาพดังกล่าวมันซับซ้อนยิ่งกว่านั้น
  • 4:23 - 4:24
    บรรดานักเสรีนิยมสากล
  • 4:24 - 4:28
    เช่นตัวผม และผมก็รวมตัวเอง
    เอาไว้ในภาพนั้นอย่างมั่นใจ
  • 4:28 - 4:30
    ต้องวาดภาพตัวเราเอาไว้ในภาพนั้น
  • 4:30 - 4:34
    เพื่อที่จะเข้าใจว่าเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
  • 4:35 - 4:38
    เมื่อเราดูรูปแบบผลการโหวต
    ทั่วทั้งสหราชอาณาจักร
  • 4:38 - 4:41
    เราสามารถเห็นการแบ่งแยกได้อย่างชัดเจน
  • 4:41 - 4:44
    พื้นที่สีฟ้าแสดงถึงการโหวตให้อยู่
  • 4:44 - 4:46
    และพื้นที่สีแดงแสดงการโหวตให้ออก
  • 4:46 - 4:47
    เมื่อผมมองดู
  • 4:47 - 4:51
    สิ่งที่โดยส่วนตัวแล้วทำให้ผมอึ้ง
    ก็คือผมได้ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในชีวิตผม
  • 4:51 - 4:54
    อาศัยอยู่ในพื้นที่สีแดงหลายแห่ง
  • 4:54 - 4:59
    ผมเข้าใจได้ทันที เมื่อดูพื้นที่หลัก
    50 อันดับแรกในสหราชอาณาจักร
  • 4:59 - 5:01
    ที่มีคนโหวตให้ออกกันมากที่สุด
  • 5:01 - 5:07
    เป็นพื้นที่ที่ผมเคยใช้ชีวิตรวมแล้วทั้งหมดสี่วัน
  • 5:08 - 5:09
    สถานที่บางแห่งเหล่านั้น
  • 5:09 - 5:13
    ผมไม่รู้จักชื่อเขตด้วยซ้ำ
  • 5:13 - 5:15
    สำหรับผมมันเป็นสิ่งที่น่าตกใจมาก
  • 5:15 - 5:17
    และมันบ่งบอกว่าผู้คนเช่นเดียวกับผม
  • 5:17 - 5:21
    ที่คิดว่าตัวเองเป็นคนรู้กว้าง เปิดเผย
    และใจกว้าง
  • 5:21 - 5:23
    อาจไม่รู้จักประเทศและสังคมของเราเอง
  • 5:23 - 5:26
    ได้ใกล้เคียงเท่ากับที่เราอยากจะเชื่อ
  • 5:26 - 5:29
    (เสียงปรบมือ)
  • 5:36 - 5:40
    และความท้าทายที่ตามมาก็คือ
    เราต้องหาวิธีใหม่
  • 5:40 - 5:43
    ในการบอกเล่าเรื่องโลกาภิวัตน์
    ให้กับคนเหล่านั้นรู้
  • 5:43 - 5:47
    เพื่อที่จะรับรู้ว่าสำหรับคนเหล่านั้น
    ที่อาจไม่เคยเรียนมหาวิทยาลัย
  • 5:48 - 5:50
    ที่อาจไม่ได้เติบโตมากับอินเทอร์เน็ต
  • 5:50 - 5:52
    ที่ไม่เคยมีโอกาสได้เดินทางท่องเที่ยว
  • 5:52 - 5:56
    พวกเขาอาจไม่คล้อยตาม
    ในเรื่องที่เราคิดว่าน่าสนใจ
  • 5:56 - 5:58
    ในฟองสบู่เสรีส่วนใหญ่ของพวกเรา
  • 5:59 - 6:01
    (เสียงปรบมือ)
  • 6:04 - 6:07
    นั่นหมายถึงเราต้องเอื้อมออกไป
    ให้กว้างกว่านี้และทำความเข้าใจ
  • 6:08 - 6:14
    ในการโหวตให้ออก เสียงส่วนน้อยได้กระพือ
    แนวคิดการเมืองเรื่องความกลัวและความเกลียดชัง
  • 6:14 - 6:16
    แต่งเรื่องโกหกและสร้างความหวาดระแวงไปทั่ว
  • 6:16 - 6:19
    อย่างเช่นความคิดที่ว่าการโหวตออกจากยุโรป
  • 6:19 - 6:23
    อาจลดจำนวนผู้อพยพและผู้ขอลี้ภัย
    ที่เข้ามายังยุโรปได้
  • 6:23 - 6:26
    ทั้ง ๆ ที่การโหวตให้ออกนั้น
    ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการย้ายถิ่นฐาน
  • 6:26 - 6:28
    จากภายนอกสหภาพยุโรป
  • 6:29 - 6:33
    แต่จากเสียงส่วนใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ
    ของกลุ่มผู้โหวตให้ออก
  • 6:33 - 6:36
    ความกังวลของพวกเขาคือผิดหวัง
    ต่อแนวทางการเมืองที่เป็นอยู่
  • 6:36 - 6:39
    นี่เป็นการโหวตคัดค้านสำหรับใครหลาย ๆ คน
  • 6:39 - 6:41
    เป็นการแสดงความรู้สึกว่า
    ไม่มีใครเป็นตัวแทนของพวกเขาเลย
  • 6:41 - 6:44
    ว่าพวกเขาไม่อาจหาพรรคการเมือง
    ที่เป็นกระบอกเสียงแทนพวกเขาได้
  • 6:44 - 6:48
    ดังนั้นพวกเขาจึงปฏิเสธ
    แนวทางการเมืองที่เป็นอยู่
  • 6:49 - 6:54
    สิ่งนี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ทั่วทั้งยุโรป
    และส่วนมากในโลกเสรีประชาธิปไตย
  • 6:55 - 6:59
    เราได้เห็นมันในเหตุการณ์ความนิยม
    ต่อโดนัลด์ทรัมพ์ในสหรัฐ ฯ ที่เพิ่มสูงขึ้น
  • 6:59 - 7:03
    ในความนิยมที่เพิ่มขึ้นของลัทธิชาตินิยม
    ของวิคเตอร์ ออร์แบนในฮังการี
  • 7:04 - 7:08
    ในความนิยมที่เพิ่มขึ้น
    ในตัวของ มารี เลอ แปน ในฝรั่งเศส
  • 7:08 - 7:12
    อสุรกายแห่ง เบร็กซิท มีอยู่ทุกที่ในสังคมเรา
  • 7:13 - 7:16
    ดังนั้นคำถามที่ผมคิดว่าเราต้องถามกัน
    ก็คือคำถามที่สองของผม
  • 7:16 - 7:19
    ซึ่งก็คือ พวกเราควรจะร่วมกัน
    ตอบสนองอย่างไรต่อสิ่งนี้
  • 7:19 - 7:25
    สำหรับเราทุกคนที่ใส่ใจในเรื่อง
    การสร้างสังคมเสรีที่เปิดกว้างและใจกว้าง
  • 7:25 - 7:28
    เราต้องการทัศนวิสัยใหม่อย่างเร่งด่วน
  • 7:28 - 7:32
    ทัศนวิสัยแห่งโลกาภิวัตน์ที่ใจกว้างและ
    มีความเป็นองค์รวมสากลมากกว่าเดิม
  • 7:32 - 7:35
    ที่จะพาผู้คนไปกับเรามากกว่าทิ้งไว้เบื้องหลัง
  • 7:37 - 7:39
    ทัศนวิสัยแห่งโลกาภิวัตน์นั้น
  • 7:39 - 7:43
    คือทัศนวิสัยที่ต้องเริ่มด้วยการเข้าใจ
    ถึงผลประโยชน์เชิงบวกของโลกาภิวัตน์
  • 7:43 - 7:46
    ความเห็นที่ตรงกันในบรรดานักเศรษฐศาสตร์
  • 7:46 - 7:49
    ก็คือการค้าเสรี การเคลื่อนย้ายเงินทุน
  • 7:49 - 7:51
    การเคลื่อนย้ายของประชาชนข้ามพรมแดน
  • 7:51 - 7:54
    จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนโดยรวม
  • 7:54 - 7:56
    ความเห็นที่ตรงกันของบรรดานักวิชาการ
    ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • 7:56 - 7:59
    คือโลกาภิวัตน์นั้น
    จะนำไปสู่การพึ่งพากันและกัน
  • 7:59 - 8:02
    ซึ่งจะนำมาซึ่งการร่วมมือกันและสันติภาพ
  • 8:02 - 8:06
    แต่โลกาภิวัตน์ยังมีผล
    ในเรื่องการจัดสรรปันส่วนใหม่
  • 8:06 - 8:09
    มันสร้างผู้ชนะและผู้แพ้
  • 8:09 - 8:11
    ยกตัวอย่างเช่น การอพยพ
  • 8:11 - 8:15
    เรารู้ว่าการอพยพเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม
  • 8:15 - 8:17
    ภายใต้สถานการณ์ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด
  • 8:18 - 8:21
    แต่เรายังต้องระวังให้มาก
  • 8:21 - 8:24
    ว่ามันจะมีผลต่าง ๆ ตามมา
  • 8:24 - 8:28
    ที่สำคัญก็คือ การอพยพของแรงงานไร้ฝีมือ
  • 8:28 - 8:32
    อาจนำไปสู่การลดค่าแรง
    ของคนยากจนที่สุดในสังคมเรา
  • 8:32 - 8:34
    และยังสร้างแรงกดดันในเรื่องราคาที่อยู่อาศัย
  • 8:34 - 8:37
    นั่นไม่ได้ลดความสำคัญต่อข้อเท็จจริงที่ว่า
    มันส่งผลดีลงไปแต่อย่างใด
  • 8:37 - 8:40
    แต่หมายความว่า เราจะต้องแบ่งผลประโยชน์
    ให้กับคนจำนวนมากขึ้น
  • 8:40 - 8:41
    และยอมรับในตัวพวกเขา
  • 8:43 - 8:48
    ปี ค.ศ. 2002 อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ
    นายโคฟี อันนัน
  • 8:48 - 8:51
    ได้กล่าวในปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยเยล
  • 8:51 - 8:55
    และหัวข้อในการปาฐกถานั้นก็เกี่ยวข้องกับ
    โลกาภิวัตน์ในแบบครอบคลุม
  • 8:55 - 8:58
    นั่นเป็นปาฐกถาที่เขาได้บัญญัติคำดังกล่าว
  • 8:58 - 9:01
    และเขาได้กล่าวเอาไว้ แล้วผมก็ถอดความได้ว่า
  • 9:01 - 9:06
    "เรือนกระจกแห่งโลกาภิวัตน์
    ควรจะเปิดกว้างสำหรับทุกคน
  • 9:06 - 9:09
    หากต้องการคงไว้ซึ่งความมั่นคง
  • 9:09 - 9:13
    ความดื้อรั้นและความโง่เขลา
  • 9:13 - 9:19
    คือโฉมหน้าที่น่าชังของการกีดกัน
    และเป็นปฏิปักษ์ต่อโลกาภิวัตน์
  • 9:19 - 9:24
    แนวคิดเรื่องโลกาภิวัตน์แบบครอบคลุม
    ได้รับการฟื้นฟูขึ้นในช่วงสั้น ๆ ในปี ค.ศ. 2008
  • 9:24 - 9:27
    ในการประชุมเพื่อความก้าวหน้าธรรมาภิบาล
  • 9:27 - 9:30
    ที่มีผู้นำจากประเทศยุโรปมากมายเข้าร่วมประชุม
  • 9:31 - 9:35
    แต่ท่ามกลางข้อจำกัดและวิกฤติการเงิน
    ในปี ค.ศ. 2008
  • 9:35 - 9:38
    แนวคิดนี้จึงหายไปจนแทบไม่เหลือร่องรอย
  • 9:38 - 9:43
    โลกาภิวัตน์ถูกใช้เพื่อสนับสนุนวาระเสรีนิยมใหม่
  • 9:43 - 9:46
    มันถูกทำให้เข้าใจว่า
    มันเป็นส่วนหนึ่งของวาระชนชั้นนำ
  • 9:46 - 9:48
    แทนที่จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคน
  • 9:48 - 9:52
    และมันจะต้องถูกนำกลับมาใหม่
    ให้มีพื้นฐานที่ครอบคลุมมากกว่าเดิม
  • 9:52 - 9:53
    มากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
  • 9:54 - 9:57
    ฉะนั้นคำถามก็คือ
    เราจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้อย่างไร
  • 9:57 - 10:02
    เราจะสร้างสมดุลได้อย่างไร
    ระหว่างความกลัวและความบาดหมาง
  • 10:02 - 10:06
    กับการปฎิเสธอย่างรุนแรง
    ที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน
  • 10:06 - 10:09
    ที่จะยอมจำนนให้กับความกลัว
    ต่อชาวต่างชาติและลัทธิชาตินิยม
  • 10:09 - 10:12
    นั่นเป็นคำถามสำหรับเราทุกคน
  • 10:12 - 10:13
    และในฐานะนักสังคมศาสตร์ ผมคิดว่า
  • 10:13 - 10:16
    สังคมศาสตร์นั้นได้เสนอจุดเริ่มต้นเอาไว้ให้
  • 10:17 - 10:22
    การปฏิรูปของเรานั้นควรที่จะเกี่ยวข้องกับ
    ทั้งแนวคิดและการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุ
  • 10:22 - 10:26
    และผมอยากจะให้แนวคิดทั้งสี่กับคุณ
    เป็นจุดเริ่มต้น
  • 10:26 - 10:30
    แนวคิดแรกเกี่ยวข้องกับ
    แนวคิดการศึกษาของพลเมือง
  • 10:30 - 10:32
    สิ่งที่เห็นได้ชัดจาก เบร็กซิท ก็คือ
  • 10:32 - 10:36
    ช่องว่างระหว่างความเข้าใจของประชาชน
    กับความเป็นจริง
  • 10:36 - 10:40
    มีการชี้ให้เราเห็นว่าเราได้เคลื่อนเข้าสู่
    สังคมหลังข้อเท็จจริง
  • 10:40 - 10:43
    ที่ซึ่งหลักฐานและความจริงนั้น
    ไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญอีกต่อไป
  • 10:43 - 10:47
    และคำโกหกก็มีฐานะเท่า ๆ กัน
    กับความชัดเจนของหลักฐาน
  • 10:47 - 10:48
    แล้วพวกเราจะ --
  • 10:48 - 10:51
    (เสียงปรบมือ)
  • 10:51 - 10:56
    สร้างความเชื่อถือให้ความจริงกับหลักฐาน
    ขึ้นใหม่ในโลกเสรีประชาธิปไตยได้อย่างไร
  • 10:56 - 10:58
    มันต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษา
  • 10:58 - 11:01
    แต่มันต้องเริ่มจากการยอมรับว่า
    มันมีช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่ใหญ่มาก
  • 11:02 - 11:07
    ในปี ค.ศ. 2014 สำนักประชาพิจารณ์
    Ipsos MORI
  • 11:07 - 11:10
    ได้ตีพิมพ์ผลสำรวจทัศนคติ
    ต่อการอพยพย้ายถิ่น
  • 11:10 - 11:14
    และมันแสดงให้เห็นว่า
    เมื่อจำนวนผู้อพยพเพิ่มสูงขึ้น
  • 11:14 - 11:17
    ความกังวลของประชาชน
    ต่อการอพยพย้ายถิ่นก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
  • 11:17 - 11:20
    แม้ว่ามันไม่ได้จะแก้ข้อสงสัย
    ให้เราได้อย่างชัดเจน
  • 11:20 - 11:23
    เพราะความกังวลนี้ก็คงมากพอ ๆ กัน แต่มัน
    คงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของจำนวนมากนัก
  • 11:23 - 11:25
    แต่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางการเมือง
    และสื่อที่เกี่ยวข้องกับมันมากกว่า
  • 11:26 - 11:30
    ทว่าผลสำรวจเดียวกันนี้ยังเปิดเผยถึง
  • 11:30 - 11:32
    การได้รับข้อมูลอย่างไม่ถูกต้องของประชาชน
  • 11:32 - 11:35
    และความเข้าใจผิด
    ในเรื่องธรรมชาติของการอพยพ
  • 11:36 - 11:39
    ตัวอย่างเช่น
    ความเห็นเหล่านี้ในสหราชอาณาจักร
  • 11:39 - 11:41
    ประชาชนเชื่อว่าระดับการขอลี้ภัย
  • 11:42 - 11:45
    คิดเป็นสัดส่วนที่มากของการอพยพ
    มากกว่าความเป็นจริง
  • 11:45 - 11:48
    แต่พวกเขายังเชื่ออีกว่า
    ระดับผู้อพยพที่มีการศึกษานั้น
  • 11:48 - 11:52
    คิดเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่า
    ระดับที่แท้จริงของผู้อพยพมาก
  • 11:52 - 11:53
    มากกว่าที่พวกเขาเป็นจริงๆ
  • 11:53 - 11:56
    ฉะนั้นเราต้องพูดถึงเรื่องข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนี้
  • 11:56 - 12:00
    ช่องว่างระหว่างแนวคิดกับความเป็นจริง
    ในแง่มุมสำคัญของโลกาภิวัตน์
  • 12:00 - 12:03
    และเราจะปล่อยให้มันเป็นความรับผิด
    ของโรงเรียนแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้
  • 12:03 - 12:06
    แม้ว่ามันสำคัญที่จะเริ่มให้การศึกษาเรื่องนี้
    ตั้งแต่เด็ก ๆ
  • 12:06 - 12:09
    มันจะต้องมาจากความร่วมมือของพลเมือง
    ในแบบระยะยาว
  • 12:09 - 12:13
    และการมีส่วนร่วมของประชาชน
    ที่เราทุกคนสนับสนุนในฐานะกลุ่มสังคม
  • 12:14 - 12:17
    ประการที่สองที่ผมคิดคือโอกาส
  • 12:17 - 12:21
    คือแนวคิดที่จะสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
    ของกลุ่มสังคมที่หลากหลาย
  • 12:21 - 12:24
    (เสียงปรบมือ)
  • 12:26 - 12:29
    สิ่งหนึ่งที่โดดเด่นมากสำหรับผม
  • 12:29 - 12:32
    เมื่อพิจารณาแนวคิดเกี่ยวกับการอพยพ
    ในสหราชอาณาจักร
  • 12:32 - 12:34
    ที่ตลกก็คือภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศผม
  • 12:34 - 12:36
    ซึ่งเป็นภูมิภาค
    ที่เปิดกว้างต่อผู้อพยพมากที่สุด
  • 12:36 - 12:39
    มีจำนวนผู้อพยพที่สูงที่สุด
  • 12:39 - 12:43
    เช่น ลอนดอนและทางตะวันออกเฉียงใต้
    มีจำนวนผู้อพยพสูงสุด
  • 12:44 - 12:47
    และยังเป็นพื้นที่
    ที่เปิดกว้างมากที่สุดอีกด้วย
  • 12:47 - 12:50
    พื้นที่ที่มีระดับการอพยพที่ต่ำสุดต่างหาก
  • 12:50 - 12:55
    ที่จริง ๆ แล้วเป็นการไม่รับฟังและ
    ใจแคบอย่างที่สุดต่อผู้อพยพ
  • 12:55 - 12:58
    ดังนั้นเราต้องสนับสนุน
    โครงการแลกเปลี่ยนต่าง ๆ
  • 12:58 - 13:01
    เพื่อให้แน่ใจว่าคนรุ่นเก่า
    ที่อาจจะไม่สามารถเดินทางไปไหนได้
  • 13:01 - 13:03
    ได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต
  • 13:03 - 13:06
    เราต้องสนับสนุน
    ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
  • 13:06 - 13:08
    ในเรื่องการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น
    การมีส่วนร่วมที่มากขึ้น
  • 13:08 - 13:11
    การมีปฏิสัมพันธ์ที่มากขึ้น
    กับผู้คนที่เราไม่รู้จัก
  • 13:11 - 13:14
    และผู้ที่มีมุมมองในแบบที่เราอาจไม่
    จำเป็นต้องเห็นพ้องต้องกับพวกเขา
  • 13:15 - 13:17
    ประการที่สามที่ผมคิดมีความสำคัญมาก
  • 13:17 - 13:19
    และมันเป็นพื้นฐานหลักจริง ๆ
  • 13:19 - 13:21
    ซึ่งก็คือ เราจะต้องทำให้มั่นใจ
    ว่าทุกคนจะได้ส่วนแบ่ง
  • 13:21 - 13:24
    จากผลประโยชน์ของโลกาภิวัตน์
  • 13:25 - 13:29
    ภาพภายหลัง เบร็กซิท จากนิตยสาร
    ไฟแนนเชียล ไทม์ส นี้ น่าทึ่งจริง ๆ
  • 13:29 - 13:33
    มันแสดงให้เห็นว่า
    คนที่โหวตออกจากสหภาพยุโรปนั้น
  • 13:33 - 13:36
    แท้จริงแล้วเป็นคนที่จะได้ประโยชน์
    เป็นชิ้นเป็นอันที่สุด
  • 13:36 - 13:38
    จากการค้าขายกับสหภาพยุโรป
  • 13:39 - 13:42
    แต่ปัญหาก็คือ คนเหล่านั้นในพื้นที่เหล่านั้น
  • 13:42 - 13:44
    ไม่ได้รับรู้ว่าพวกเขาเองเป็นผู้ได้ประโยชน์
  • 13:44 - 13:47
    พวกเขาไม่เชื่อว่าพวกเขาจะได้เข้าถึง
  • 13:47 - 13:53
    ประโยชน์สำคัญจากการเพิ่มขึ้น
    ทางการค้าและการโยกย้ายทั่วโลก
  • 13:54 - 13:58
    ผมพยายามหาคำตอบ
    ในการแก้ไขเรื่องผู้ลี้ภัย
  • 13:58 - 14:00
    และแนวคิดหนึ่งที่ผมให้เวลากับมันมาก
    ในการนำเสนอมัน
  • 14:00 - 14:03
    ต่อประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก
  • 14:03 - 14:07
    ก็คือ เพื่อที่จะส่งเสริม
    การหลอมรวมตัวกันของผู้ลี้ภัย
  • 14:07 - 14:09
    เราจะคอยแต่เก็บเกี่ยวผลประโยชน์
    จากประชากรผู้ลี้ภัยไม่ได้
  • 14:09 - 14:14
    เราควรตระหนักถึงความกังวล
    ของชุมชนเจ้าบ้านในท้องที่นั้น ๆ ด้วย
  • 14:15 - 14:17
    แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว
  • 14:17 - 14:20
    ข้อกำหนดนโยบายหนึ่งก็คือเราต้องจัดหา
  • 14:20 - 14:23
    สวัสดิการการศึกษาและสุขภาพ
    ที่มีสัดส่วนที่ดีกว่านี้
  • 14:24 - 14:25
    การเข้าถึงบริการทางสังคม
  • 14:25 - 14:28
    ในพื้นที่เหล่านั้นที่มีการอพยพย้ายถิ่นสูง
  • 14:28 - 14:30
    เพื่อตระหนักถึงกังวล
    ของประชากรท้องถิ่นนั้น ๆ
  • 14:30 - 14:33
    แต่ในขณะที่เราส่งเสริมสิ่งนี้
    ให้กับประเทศที่กำลังพัฒนา
  • 14:33 - 14:35
    เราไม่ได้นำบทเรียนเหล่านั้น
    ติดตัวกลับบ้านมาด้วย
  • 14:35 - 14:38
    และไม่ได้หลอมรวมพวกมัน
    เข้ากับกลุ่มสังคมของเราเอง
  • 14:39 - 14:42
    ยิ่งกว่านั้น ถ้าหากเราต้องการให้มั่นใจได้ว่า
  • 14:42 - 14:45
    ผู้คนจะได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
    อย่างจริงจังกันจริง ๆ
  • 14:45 - 14:49
    ธุรกิจและบริษัทเรา
    ต้องการแบบอย่างของโลกาภิวัตน์
  • 14:49 - 14:52
    ที่รับรู้ว่าพวกเขาด้วยนั่นแหละ
    ที่จะต้องรับผู้คนไปด้วยกัน
  • 14:53 - 14:56
    แนวคิดประการที่สี่
    และเป็นแนวคิดสุดท้ายที่ผมอยากจะผลักดัน
  • 14:57 - 14:59
    คือแนวคิดที่ว่า เราต้องการการเมือง
    ที่มีความรับผิดชอบมากกว่านี้
  • 15:00 - 15:03
    มีหลักฐานทางสังคมศาสตร์อยู่น้อยมาก
  • 15:03 - 15:06
    ที่เปรียบเทียบทัศนคติที่มีต่อโลกาภิวัตน์
  • 15:06 - 15:09
    แต่จากผลสำรวจที่มีอยู่
  • 15:09 - 15:13
    เราเห็นได้ว่ามีความแตกต่างมากมาย
    ระหว่างประเทศต่าง ๆ
  • 15:13 - 15:16
    และช่วงเวลาในประเทศเหล่านั้น
  • 15:16 - 15:17
    สำหรับแนวคิดและการเปิดกว้าง
  • 15:17 - 15:21
    ต่อปัญหาอย่างการอพยพและ
    การโยกย้ายในแง่มุมหนึ่ง
  • 15:21 - 15:23
    และการค้าเสรีในอีกแง่มุนหนึ่ง
  • 15:23 - 15:28
    แต่สมมติฐานหนึ่งที่ผมคิดว่า
    มันเกิดขึ้นจากการดูข้อมูลคร่าว ๆ
  • 15:28 - 15:34
    ก็คือแนวคิดที่แบ่งสังคมออกเป็นขั้ว
    มีความเปิดกว้างต่อโลกาภิวัตน์น้อยกว่ามาก
  • 15:34 - 15:37
    เป็นสภาพสังคมที่เหมือนกับสวีเดนในอดีต
  • 15:37 - 15:39
    เหมือนกับแคนาดาในทุกวันนี้
  • 15:39 - 15:40
    ที่ซึ่งมีความคิดทางการเมืองเป็นกลาง
  • 15:40 - 15:42
    ที่ซึ่งฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายมาทำงานร่วมกัน
  • 15:43 - 15:47
    ที่เราส่งเสริมทัศนคติที่สนับสนุนโลกาภิวัตน์
  • 15:47 - 15:50
    และสิ่งที่เราเห็นทั่วโลกในตอนนี้
    ก็คือการแบ่งขั้วอันแสนเศร้า
  • 15:50 - 15:53
    ความล้มเหลวในการเจรจา
    ท่ามกลางการเมืองที่สุดโต่ง
  • 15:53 - 15:56
    และช่องว่างในเรื่อง
    พื้นฐานกลางของความเสรี
  • 15:56 - 16:00
    ที่สามารถสนับสนุนการสื่อสาร
    และความเข้าใจร่วมกัน
  • 16:00 - 16:02
    เราอาจยังไม่บรรลุผลนั้นในวันนี้
  • 16:02 - 16:06
    แต่อย่างน้อยที่สุด
    เราก็ได้เรียกร้องกับนักการเมืองและสื่อ
  • 16:06 - 16:09
    เพื่อทิ้งภาษาแห่งความกลัว
    และเปิดใจให้กว้างต่อกันและกัน
  • 16:09 - 16:12
    (เสียงปรบมือ)
  • 16:18 - 16:21
    ความคิดเหล่านี้ยังไม่สมบูรณ์อย่างเต็มที่
  • 16:21 - 16:25
    ส่วนหนึ่งก็เพราะมันต้องเป็นโครงการ
    ที่ได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วม
  • 16:26 - 16:28
    ผมยังคงเป็นคนอังกฤษ
  • 16:29 - 16:31
    ผมยังคงเป็นคนยุโรป
  • 16:32 - 16:35
    ผมยังคงเป็นพลเมืองโลก
  • 16:35 - 16:37
    สำหรับพวกเราผู้ที่เชื่อว่า
  • 16:37 - 16:41
    ตัวตนของพวกเรานั้น
    ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน
  • 16:41 - 16:44
    พวกเราต้องทำงานร่วมกัน
  • 16:44 - 16:48
    เพื่อให้แน่ใจว่า
    โลกาภิวัตน์จะนำพาเราไปด้วยกัน
  • 16:48 - 16:50
    และไม่ปล่อยผู้คนทิ้งไว้ให้อยู่เบื้องหลัง
  • 16:50 - 16:56
    เมื่อนั้นแหละ เราจึงจะเชื่อมประชาธิปไตย
    กับโลกาภิวัตน์ได้อย่างแท้จริง
  • 16:56 - 16:57
    ขอบคุณครับ
  • 16:57 - 17:09
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เหตุใดเบร็กซิท (Brexit) จึงเกิดขึ้น แล้วเราควรจะทำอะไรต่อไป
Speaker:
อเล็กซานเดอร์ เบ็ตส์ (Alexander Betts)
Description:

อเล็กซานเดอร์ เบ็ตส์ นักสังคมศาสตร์ กล่าวว่า น่าอับอายจริง ๆ ที่เราไม่ได้ตระหนักมาก่อนว่าสังคมของเราแตกแยกร้าวลึกขนาดไหน ระหว่างผู้ที่หวั่นเกรงโลกาภิวัตน์ กับผู้ที่โอบรับมันเข้ามาในอ้อมกอด ตอนนี้พวกเราจะจัดการกับปัญหาอย่างไรในเรื่องความกลัวเช่นเดียวกับความผิดหวังที่กำลังแผ่ขยายไปพร้อมกับการก่อตัวทางการเมือง ในขณะที่มีการปฏิเสธที่จะยอมอ่อนข้อให้กับความเกลียดกลัวคนต่างชาติและลัทธิชาตินิยม ร่วมคิดไปพร้อมกับ เบ็ตส์ ผู้อภิปรายถึงสี่ย่างก้าวภายหลังเบร็กซิท (Brexit) ไปสู่โลกที่มีความกลมเกลียวกันมากขึ้น

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:22
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Retired user edited Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Retired user edited Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why Brexit happened -- and what to do next
Show all

Thai subtitles

Revisions Compare revisions