Return to Video

แบตเตอรี่ทำงานอย่างไร - อดัม จาคอบสัน (Adam Jacobson )

  • 0:07 - 0:09
    คุณคงจะเข้าใจความรู้สึก
  • 0:09 - 0:13
    เวลาโทรศัพท์ของคุณส่งเสียง
    คร่ำครวญครั้งสุดท้าย "ปี๊ป"
  • 0:13 - 0:15
    แล้วตัดสายคุณทิ้งไป
    โดยที่คุณยังพูดไม่จบ
  • 0:15 - 0:19
    ตอนนั้น คุณอาจจะอยาก
    เขวี้ยงแบตเตอรี่ทิ้ง
  • 0:19 - 0:21
    มากกว่าจะชื่นชมมัน
  • 0:21 - 0:25
    แต่แบตเตอรี่เป็นชัยชนะ
    ของวงการวิทยาศาสตร์
  • 0:25 - 0:28
    มันทำให้สมาร์ทโฟนและเทคโนโลยีอื่นๆ
    ทำงานต่อไปได้
  • 0:28 - 0:32
    โดยเราที่ไม่ต้องไปวุ่นวาย
    กับสายไฟยุ่งเหยิง
  • 0:32 - 0:36
    แต่แบตเตอรี่ที่ดีที่สุด
    ก็ยังเสื่อมสภาพลงทุกวัน
  • 0:36 - 0:40
    มันค่อยๆ สูญเสียประสิทธิภาพ
    และหมดอายุในที่สุด
  • 0:40 - 0:41
    แล้วทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้น
  • 0:41 - 0:46
    แบตเตอรี่สามารถเก็บประจุไฟฟ้า
    มากมายได้อย่างไร
  • 0:46 - 0:50
    ทุกอย่างเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษ 1780
    โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีสองคน
  • 0:50 - 0:54
    ลุยจิ กัลวานี และ อเลสซานโดร โวลตา
  • 0:54 - 0:55
    และกบตัวหนึ่ง
  • 0:55 - 0:59
    เล่ากันว่าขณะที่กัลวานีกำลังศึกษาขาของกบ
  • 0:59 - 1:02
    เขาเอาเครื่องมือโลหะ
    เขี่ยไปที่เส้นประสาทเส้นหนึ่ง
  • 1:02 - 1:05
    ทำให้กล้ามเนื้อที่ขากบกระตุก
  • 1:05 - 1:07
    กัลวานีเรียกมันว่า ไฟฟ้าจากสัตว์
  • 1:07 - 1:12
    โดยเชื่อว่าไฟฟ้าประเภทนั้น
    ถูกเก็บไว้ในสิ่งมีชีวิตทุกอย่าง
  • 1:12 - 1:14
    แต่โวลตาไม่เห็นด้วย
  • 1:14 - 1:18
    แย้งว่าโลหะต่างหากที่ทำให้ขากระตุก
  • 1:18 - 1:22
    ในที่สุดการโต้เถียงก็ตกลงกันได้
    ด้วยการทดลองสุดล้ำของโวลตา
  • 1:22 - 1:28
    เขาทดสอบความคิดของเขา
    ด้วยแท่งสังกะสีสลับกับทองแดง
  • 1:28 - 1:32
    คั่นด้วยกระดาษหรือผ้า
    ชุบด้วยน้ำเกลือ
  • 1:32 - 1:39
    สิ่งที่เกิดขึ้นในแท่งของโวลตาคือสิ่งที่
    นักเคมีเรียกว่า ออกซิเดชั่นและรีดัคชั่น
  • 1:39 - 1:43
    สังกะสีทำปฏิกริยาออกซิไดซ์
    ซึ่งก็คือ มันเสียอิเลคตรอน
  • 1:43 - 1:49
    ประจุในน้ำรับอิเลคตรอนมา
    ผ่านทางปฏิกริยารีดัคชั่น
  • 1:49 - 1:51
    แล้วกลายเป็นแกสไฮโดรเจนออกมา
  • 1:51 - 1:54
    โวลตาอาจจะช็อค
    ถ้าได้รู้เรื่องสุดท้ายนี่
  • 1:54 - 1:56
    เขาคิดว่าปฏิกริยาเกิดขึ้นในสังกะสี
  • 1:56 - 1:58
    ไม่ใช่ในสารละลาย
  • 1:58 - 2:01
    อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้
    เราให้เกียรติการค้นพบของโวลตา
  • 2:01 - 2:06
    ด้วยการตั้งชื่อหน่วยมาตรฐาน
    ของไฟฟ้าว่า "โวลต์"
  • 2:06 - 2:12
    วงจรออกซิเดชั่น-รีดัคชั่น สร้างกระแสการไหล
    ของอิเลคตรอนระหว่างสารสองชนิด
  • 2:12 - 2:15
    และถ้าคุณต่อหลอดไฟหรือเครื่องดูดฝุ่น
    ระหว่างสองสารนี้
  • 2:15 - 2:17
    คุณจะให้พลังงานกับมัน
  • 2:17 - 2:21
    ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 นักวิทยาศาสตร์
    ได้พัฒนารูปแบบของโวลตา
  • 2:21 - 2:27
    พวกเขาแทนที่สารละลายด้วยเซลล์แห้ง
    ที่บรรจุด้วยสารเคมีแบบเปียก
  • 2:27 - 2:28
    แต่หลักการยังคงเหมือนเดิม
  • 2:28 - 2:32
    โลหะทำปฏิกริยาออกซิไดซ์
    ปล่อยอิเลคตรอนออกทำงาน
  • 2:32 - 2:36
    และรับอิเลคตรอนกลับมา
    โดยการเกิดปฏิกริยารีดัคชั่น
  • 2:36 - 2:38
    แต่แบตเตอรี่มีปริมาณโลหะจำกัด
  • 2:38 - 2:42
    และเมื่อส่วนใหญ่ถูกออกซิไดซ์
    แบตเตอรี่ก็หมด
  • 2:42 - 2:47
    แบตเตอรี่ชาร์จได้จึงเป็น
    การแก้ปัญหาชั่วคราวสำหรับปัญหานี้
  • 2:47 - 2:51
    ด้วยการทำให้ปฏิกริยา
    ออกซิเดชั่น-รีดัคชั่นย้อนกลับได้
  • 2:51 - 2:54
    อิเลคตรอนสามารถไหลย้อน
    ในทิศทางตรงข้าม
  • 2:54 - 2:56
    ด้วยการชาร์จไฟ
  • 2:56 - 3:00
    การเสียบปลั๊กเพื่อดึงกระแสไฟฟ้า
    มาจากเต้าไฟที่ผนัง
  • 3:00 - 3:03
    ทำให้เกิดปฏิกริยา
    สร้างโลหะขึ้นใหม่
  • 3:03 - 3:08
    ทำให้มีอิเลคตรอนมากพอสำหรับออกซิเดชั่น
    เมื่อคุณต้องการมันในครั้งต่อไป
  • 3:08 - 3:10
    ทว่า แม้แต่แบตเตอรี่ชาร์จได้
    ก็ไม่คงทนตลอดกาล
  • 3:10 - 3:14
    เมื่อเวลาผ่านไป การเกิดซ้ำๆของปฏิกริยา
    ทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์
  • 3:14 - 3:20
    และความไม่สม่ำเสมอที่ผิวโลหะ
    ทำให้มันไม่สามารถออกซิไดซ์ได้อย่างสมบูรณ์
  • 3:20 - 3:23
    อิเลคตรอนจะไม่ไหลผ่านวงจรอีก
  • 3:23 - 3:25
    แบตเตอรี่ก็จะเสีย
  • 3:25 - 3:27
    แบตเตอรี่ชาร์จได้บางตัว
  • 3:27 - 3:31
    จะเสียหลังจากการชาร์จซ้ำ
    ไม่กี่ร้อยครั้ง
  • 3:31 - 3:37
    ในขณะที่แบตเตอรี่รุ่นใหม่จะไม่เสีย
    และใช้งานได้หลายพันครั้ง
  • 3:37 - 3:39
    แบตเตอรี่ในอนาคต
    อาจจะเป็นแผ่นบางๆ เบาๆ
  • 3:39 - 3:42
    และทำงานด้วยหลักการควอนตัมฟิสิกส์
  • 3:42 - 3:46
    ใช้ชาร์จซ้ำได้หลายแสนครั้ง
  • 3:46 - 3:49
    แต่จนกว่านักวิทยาศาสตร์จะหาทาง
    ใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนที่
  • 3:49 - 3:52
    เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ของคุณ
    เหมือนรถยนต์
  • 3:52 - 3:55
    หรือการติดแผ่นโซลาร์เซลล์
    บนอุปกรณ์ของคุณ
  • 3:55 - 3:57
    การเสียบปลั๊กสายชาร์จเข้าที่ผนัง
  • 3:57 - 4:00
    แทนที่จะใช้แบตเตอรี่จนหมด
  • 4:19 - 4:20
    เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้เกิด
    "เสียงปิ๊ป" แบตหมดอีก
Title:
แบตเตอรี่ทำงานอย่างไร - อดัม จาคอบสัน (Adam Jacobson )
Description:

ชมบทเรียนฉบับเต็มได้ที่ http://ed.ted.com/lessons/why-batteries-die-adam-jacobson

แบตเตอรี่คือชัยชนะของวิทยาศาสตร์ มันทำให้สมาร์ทโฟนและเทคโนโลยีอื่นๆทำงานต่อไปได้โดยที่เราไม่ต้องวุ่นวายกับสายไฟยุ่งเหยิง ทว่าแม้แต่แบตเตอรี่ที่ดีที่สุดก็ยังไฟอ่อนลงทุกวัน ค่อยๆสูญเสียประสิทธิภาพจนกระทั่งไฟหมดในที่สุด ทำไมถึงเป็นแบบนี้ แบตเตอรี่เก็บไฟจำนวนมากเอาไว้ได้อย่างไร อด้ม จาคอบสัน จะเล่าความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแบตเตอรี่

บทเรียนโดย อดัม จอคอบสัน แอนิเมชั่นโดย FOX Animation Domination High-Def

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:20
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How batteries work - Adam Jacobson
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How batteries work - Adam Jacobson
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How batteries work - Adam Jacobson
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How batteries work - Adam Jacobson
Rawee Ma accepted Thai subtitles for How batteries work - Adam Jacobson
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for How batteries work - Adam Jacobson
Thitiporn Ratanapojnard edited Thai subtitles for How batteries work - Adam Jacobson
Rawee Ma declined Thai subtitles for How batteries work - Adam Jacobson
Show all

Thai subtitles

Revisions