Return to Video

จากยอดห่วงโซ่อาหารสู่เบื้องล่าง: ฟื้นคืนโลกของเรา - จอร์จ มอนไบออต (George Monbiot)

  • 0:07 - 0:09
    เราทุกคนรู้จักไดโนเสาร์
  • 0:09 - 0:11
    ที่เคยครองโลกใบนี้
  • 0:11 - 0:13
    แต่หลังไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้ว
  • 0:13 - 0:15
    มีสัตว์ขนาดใหญ่หรือเมกะเฟานา
    (megafauna)
  • 0:15 - 0:18
    อาศัยอยู่ทุกทวีป
  • 0:18 - 0:22
    ในทวีปอเมริกา
    สลอธบกที่มีขนาดเท่าช้าง
  • 0:22 - 0:24
    โค่นต้นไม้ด้วยกรงเล็บของมัน
  • 0:24 - 0:27
    เสือเขี้ยวดาบขนาดเท่าหมีสีน้ำตาล
  • 0:27 - 0:28
    ออกล่าเป็นฝูง
  • 0:28 - 0:30
    แต่พวกมันก็ไม่อาจเทียบได้กับหมีหน้าสั้น
  • 0:30 - 0:33
    ที่เมื่อยืนสองขาแล้วจะมีความสูงสิบสามฟุต
  • 0:33 - 0:35
    และน่าจะสามารถไล่ตะเพิดเสือเขี้ยวดาบ
  • 0:35 - 0:37
    ให้ห่างจากเหยื่อของมัน
  • 0:37 - 0:40
    อีกยังมีตัวนิ่มที่มีขนาดเท่ากับรถคันย่อม ๆ
  • 0:40 - 0:41
    บีเวอร์ยาวแปดฟุต
  • 0:41 - 0:44
    และนกที่ปีกกว้าง 26 ฟุต
  • 0:44 - 0:47
    แทบทุกมุมโลก เมกะเฟานา
  • 0:47 - 0:50
    ถูกทำให้สูญพันธุ์
    ส่วนใหญ่เป็นเพราะการล่าโดยมนุษย์
  • 0:50 - 0:54
    แต่ยังมีบางสายพันธุ์ที่ยังมีชีวิตและ
    อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาและเอเชีย
  • 0:54 - 0:59
    ในสถานที่อื่น ๆ เรายังเห็นมรดกที่
    สัตว์เหล่านี้ทิ้งไว้
  • 0:59 - 1:01
    ต้นไม้ส่วนใหญ่งอกใหม่ได้
  • 1:01 - 1:03
    เมื่อลำต้นถูกโค่น
  • 1:03 - 1:05
    เพื่อเป็นการตอบสนอง
    ต่อเปลือกไม้ที่สูญเสียไปมาก
  • 1:05 - 1:08
    และเพื่อให้รอดจากการถูกผ่า บิด
    หรือเหยียบย่ำ
  • 1:08 - 1:12
    ส่วนหนึ่งก็เพราะพวกมันมีวิวัฒนาการ
    เพื่อให้รอดจากเงื้อมมือของช้าง
  • 1:12 - 1:15
    พรองฮอร์นอเมริกันวิ่งได้เร็วมาก
  • 1:15 - 1:18
    เพราะมันวิวัฒนาการมาเพื่อหนีชีตาห์อเมริกัน
  • 1:18 - 1:21
    สัตว์ที่รอดชีวิต
    อาศัยในระบบนิเวศโบราณ
  • 1:21 - 1:25
    พวกมันเคยปรับตัวให้พ้นภัย
    จากสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
  • 1:25 - 1:28
    ทุกวันนี้ มันอาจเป็นไปได้
    ที่เราอาจปลุกผีเหล่านั้นให้ฟื้นคืนชีพ
  • 1:28 - 1:31
    นำสัตว์ที่สูญพันธุ์เหล่านี้กับมาโดยใช้ยีน
  • 1:31 - 1:33
    เช่น นักวิทยาศาสตร์ได้วิจัย
  • 1:33 - 1:37
    การโคลนช้างแมมมอธจากซากแช่แข็ง
  • 1:37 - 1:38
    แต่ถึงแม้ว่ามันจะเป็นไปไม่ได้
  • 1:38 - 1:41
    เราก็ยังสามารถฟื้นระบบนิเวศหลาย ๆ แห่ง
  • 1:41 - 1:43
    ที่สูญหายไปแล้วได้
  • 1:43 - 1:47
    อย่างไรน่ะหรือ
    ก็ด้วยการใช้ไร่นาที่ถูกทิ้งร้างไงล่ะ
  • 1:47 - 1:49
    เมื่อตลาดอาหารโยงใยทั่วโลก
  • 1:49 - 1:52
    พื้นที่แห้งแล้งไม่สามารถถูกใช้งาน
    ได้ดีเท่ากับที่อื่น ๆ
  • 1:52 - 1:54
    ชาวนาในที่แล้งไม่อาจต่อกร
  • 1:54 - 1:57
    กับคนที่ปลูกพืชไร่บนพื้นที่ที่ดินดีกว่าได้
  • 1:57 - 2:01
    ด้วยเหตุนี้ ไร่นาจึงเริ่มหดหายในหลายพื้นที่
  • 2:01 - 2:04
    และต้นไม้ก็เริ่มหวนคืนกลับมา
  • 2:04 - 2:07
    การประมาณการณ์หนึ่งกล่าวว่า
    พื้นที่สองในสามของสหรัฐอเมริกา
  • 2:07 - 2:10
    ที่เคยเป็นป่าและถูกถางเพื่อทำไร่
  • 2:10 - 2:12
    จะกลับมาเป็นป่าอีกครั้ง
  • 2:12 - 2:14
    อีกการประมาณการณ์หนึ่งกล่าวว่า
    ภายในปี ค.ศ. 2030
  • 2:14 - 2:16
    พื้นที่ในยุโรปขนาดเท่ากับประเทศโปแลนด์
  • 2:16 - 2:18
    จะถูกชาวนาทิ้งให้รกร้าง
  • 2:18 - 2:21
    ฉะนั้น ถึงแม้ว่าเราจะใช้ดีเอ็นเอฟื้นคืนชีพ
  • 2:21 - 2:23
    สลอธบกและตัวนิ่มยักษ์ไม่ได้
  • 2:23 - 2:26
    แต่เราสามารถนำหมี หมาป่า สิงโตภูเขา
  • 2:26 - 2:27
    แมวลิงซ์ กวางมูส และควายไบสัน
  • 2:27 - 2:29
    กลับสู่ที่ที่มันเคยอาศัยได้
  • 2:29 - 2:32
    สัตว์บางสายพันธุ์เหล่านี้สามารถเปลี่ยน
    สภาพแวดล้อมรอบ ๆ พวกมัน
  • 2:32 - 2:36
    ซึ่งเป็นการสร้างสภาวะ
    ที่ทำให้สายพันธุ์อื่นเติบโตได้
  • 2:36 - 2:37
    เมื่อหมาป่าถูกนำกลับมา
  • 2:37 - 2:40
    สู่อุทยานแห่งชาติเยลโล่ว์สโตน
    ในปี ค.ศ. 1995
  • 2:40 - 2:42
    พวกมันพลิกโฉมระบบนิเวศอย่างรวดเร็ว
  • 2:42 - 2:45
    ที่ใดที่หมาป่าลดประชากรกวาง
    ที่หนาแน่นเกินไป
  • 2:45 - 2:47
    พืชพรรณก็เริ่มฟื้นฟูกลับมา
  • 2:47 - 2:51
    ต้นไม้บางต้นสูงขึ้นห้าเท่าในเวลาแค่หกปี
  • 2:51 - 2:55
    เมื่อป่าฟื้นคืนกลับมา
    นกร้องเพลงก็กลับมาเช่นกัน
  • 2:55 - 2:58
    บีเวอร์ที่กินต้นไม้ก็เพิ่มจำนวนขึ้นในแม่น้ำ
  • 2:58 - 3:00
    และเขื่อนที่มันสร้างก็เป็นบ้าน
  • 3:00 - 3:04
    ให้กับตัวนาก หนูมัสก์แรท เป็ด กบ และปลา
  • 3:04 - 3:07
    หมาป่ายังฆ่าไคโยตี ซึ่งทำให้กระต่าย
  • 3:07 - 3:08
    และหนูเพิ่มจำนวนขึ้น
  • 3:08 - 3:11
    เป็นอาหารแก่เหยี่ยว วีเซิล
  • 3:11 - 3:13
    จิ้งจอก และแบดเจอร์
  • 3:13 - 3:16
    ส่วนอินทรีหัวล้านและกากินซาก
  • 3:16 - 3:18
    ที่หมาป่าเหลือทิ้งไว้เป็นอาหาร
  • 3:18 - 3:20
    เช่นเดียวกับหมี ที่กินเบอร์รี่
  • 3:20 - 3:22
    จากพุ่มไม้ที่หวนกลับมา
  • 3:22 - 3:24
    จำนวนควายไบสันก็เพิ่มขึ้น
  • 3:24 - 3:26
    เมื่อพืชที่เป็นอาหารของพวกมัน
    ถูกทำให้ฟื้นคืนกลับมา
  • 3:26 - 3:30
    หมาป่าพลิกโฉมแทบทุกสิ่ง
  • 3:30 - 3:32
    นี่คือตัวอย่างของลำดับการบริโภค
  • 3:32 - 3:34
    หรือการเปลี่ยนแปลงที่ยอดโซ่อาหาร
  • 3:34 - 3:37
    ที่ส่งผลกระทบตกทอดลงมา
    ถึงส่วนล่างของห่วงโซ่อาหาร
  • 3:37 - 3:38
    และส่งผลต่อทุกระดับ
  • 3:38 - 3:41
    การค้นพบลำดับการบริโภคที่แผ่ขยายออกไป
  • 3:41 - 3:44
    อาจเป็นหนึ่งในการค้นพบทางวิทยาศาสตร์
    ที่น่าตื่นเต้นที่สุด
  • 3:44 - 3:46
    ในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
  • 3:46 - 3:48
    เพราะมันทำให้เรารู้ว่า
    ระบบนิเวศที่สูญเสีย
  • 3:48 - 3:51
    สิ่งมีชีวิตใหญ่
    เพียงแค่หนึ่งหรือสองสายพันธุ์
  • 3:51 - 3:53
    อาจมีลักษณะที่ต่างไปโดยสิ้นเชิง
  • 3:53 - 3:55
    จากระบบนิเวศที่ยังมีพวกมันอยู่
  • 3:55 - 3:57
    ทั่วโลกจึงมีกระแสใหม่
  • 3:57 - 3:59
    เพื่อเร่งการฟื้นฟูธรรมชาติ
  • 3:59 - 4:02
    ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า
    การคืนสัตว์สู่ป่า
  • 4:02 - 4:05
    อันหมายถึงการแก้ไขความเสียหาย
    ที่เราสร้างเอาไว้
  • 4:05 - 4:07
    ด้วยการคืนสายพันธุ์
    ที่ถูกขับออกจากพื้นที่
  • 4:07 - 4:09
    แล้วถอยหลังออกมา
  • 4:09 - 4:12
    ไม่ใช่การพยายาม
    สร้างระบบนิเวศในอุดมคติ
  • 4:12 - 4:15
    หรือสร้างท้องทุ่ง ป่าฝน หรือแนวปะการัง
  • 4:15 - 4:18
    การคืนสัตว์สู่ป่าคือการคืนสายพันธุ์
  • 4:18 - 4:20
    ที่ขับเคลื่อนกระบวนการพลวัต
  • 4:20 - 4:22
    แล้วปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ
  • 4:22 - 4:25
    แต่ที่สำคัญคือต้องไม่ใช้การคืนสัตว์สู่ป่า
  • 4:25 - 4:28
    เป็นข้ออ้างในการขับไล่ผู้คนออกจากพื้นที่
  • 4:28 - 4:30
    และมันควรจะเกิดก็ต่อเมื่อคนในพื้นที่
  • 4:30 - 4:33
    เห็นชอบและเต็มใจเท่านั้น
  • 4:33 - 4:35
    ลองจินตนาการว่าคุณกำลังยืน
    อยู่บนหน้าผาในอังกฤษ
  • 4:35 - 4:38
    ดูวาฬสเปิร์มไล่ฝูงปลาแฮร์ริง
  • 4:38 - 4:40
    อย่างที่มันเคยทำในบริเวณ
    ที่ไม่ไกลจากฝั่ง
  • 4:40 - 4:42
    จนถึงศตวรรษที่ 18
  • 4:42 - 4:44
    ด้วยการสร้างพื้นที่คุ้มครองทางทะเล
  • 4:44 - 4:45
    ซึ่งห้ามการทำประมงเชิงพาณิชย์
  • 4:45 - 4:47
    ภาพแบบนี้ก็หวนคืนกลับมาอีกครั้ง
  • 4:47 - 4:49
    จินตนาการถึงทุ่งเซเรนเกติในยุโรป
  • 4:49 - 4:51
    ที่เต็มไปด้วยสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่
  • 4:51 - 4:55
    ทั้งฮิปโป แรด ช้าง ไฮยีนา และสิงโต
  • 4:55 - 4:57
    นอกจากสัตว์และพืชที่ถูกฟื้นฟูกลับมาแล้ว
  • 4:57 - 5:00
    การคืนสัตว์สู่ป่านำอีกสิ่งหนึ่งกลับมาด้วย
  • 5:00 - 5:03
    นั่นก็คือสายพันธุ์หายากนามว่า ความหวัง
  • 5:03 - 5:05
    มันบอกให้เรารู้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศ
  • 5:05 - 5:08
    ไม่จำเป็นต้องดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน
  • 5:08 - 5:12
    ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบสงัดอาจตามมา
    ด้วยฤดูร้อนอันโลดโผนก็เป็นได้
Title:
จากยอดห่วงโซ่อาหารสู่เบื้องล่าง: ฟื้นคืนโลกของเรา - จอร์จ มอนไบออต (George Monbiot)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/from-the-top-of-the-food-chain-down-rewilding-our-world-george-monbiot

โลกของเราเคยเต็มไปด้วยเมกะเฟานา สัตว์นักล่าตัวยักษ์ในตำแหน่งที่อยู่สูงสุดบนห่วงโซ่อาหารผู้มีบทบาทในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ เมื่อเมกะเฟนาหายไป มันส่งผลกระทบต่อ "ลำดับการบริโภค" ที่ซึ่งทุกส่วนในระบบนิเวศมีปฏิสัมพันธ์ต่อการสูญเสียนั้น เราจะอยู่อย่างสมดุลได้อย่างไร จอร์จ มอนไบออตแนะนำวิธีฟื้นคืนธรรมชาติ: นำหมาป่า สิงโต และสัตว์นักล่าทั้งหลายกลับสู่ยอดห่วงโซ่ -- พร้อมด้วยผลลัพธ์ที่น่าประหลาดใจ

บทเรียนเโดย George Monbiot, แอนิเมชัน Avi Ofer

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:28

Thai subtitles

Revisions