Return to Video

อะเฟเชีย: โรคทีทำให้คุณพูดไม่ออก - ซูซาน เวิร์ธแมน-จัสท์ (Susan Wortman-Jutt)

  • 0:07 - 0:12
    ภาษาเป็นส่วนสำคัญของชีวิตเรา
    ที่เรามักมองข้ามความสำคัญของมันไป
  • 0:12 - 0:15
    ด้วยการใช้ภาษา พวกเราสามารถที่จะสื่อสาร
    ความคิดและความรู้สึกของเรา
  • 0:15 - 0:17
    หลงเข้าไปในนิยาย
  • 0:17 - 0:19
    ส่งข้อความ
  • 0:19 - 0:21
    และทักทายเพื่อน ๆ
  • 0:21 - 0:25
    มันยากที่จะจินตนาการ ถึงการที่เรา
    ไม่สามารถเปลี่ยนความคิดให้กลายเป็นคำได้
  • 0:25 - 0:29
    แต่ถ้าหากเครือข่ายภาษา
    อันละเอียดอ่อนในสมองของคุณ
  • 0:29 - 0:34
    ถูกรบกวนด้วยโรคหลอดเลือดในสมอง,
    ความเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บที่สมอง
  • 0:34 - 0:37
    คุณจะพบว่าตนเองนั้นจะอยู่ใน
    ภาวะพูดไม่ออกอย่างแท้จริง
  • 0:37 - 0:44
    โรคนี้ถูกเรียกว่า อะเฟเชีย ซึ่งสามารถทำให้เกิด
    การเสื่อมสภาพในทุกแง่มุมของการสื่อสาร
  • 0:44 - 0:47
    คนที่เป็นโรคอะเฟเชียนั้น
    ยังคงมีเชาวน์ปัญญาเหมือนเดิม
  • 0:47 - 0:49
    พวกเขารู้ว่า พวกเขาต้องการจะพูดอะไร
  • 0:49 - 0:52
    แต่ก็ไม่สามารถเลือกหาคำเหล่านั้น
    และพูดออกมาได้อย่างถูกต้องเสมอไป
  • 0:52 - 0:57
    พวกเขาอาจจะใช้วิธีการแทนที่คำ
    อย่างไม่ตั้งใจ ซึ่งเรียกว่า การใช้คำไม่ถูก
  • 0:57 - 1:00
    ซึ่งก็คือ การสับเปลี่ยนคำที่เกี่ยวข้องกัน
    อย่างเช่น พูดว่า "หมา" แทนที่จะพูดว่า "แมว"
  • 1:00 - 1:06
    หรือคำที่เสียงใกล้เคียงกัน เช่น
    "เฮาส์" (บ้าน) แทนที่ "ฮอสส์" (ม้า)
  • 1:06 - 1:09
    บางครั้ง คำพูดของพวกเขา
    อาจจะไม่สามารถเข้าใจได้
  • 1:09 - 1:14
    โรคอะเฟเชียมีอยู่หลายขนิด
    ที่ถูกจัดกลุ่มได้เป็นสองประเภท
  • 1:14 - 1:16
    อะเฟเชียแบบพูดได้อย่างคล่องแคล่ว
    หรือที่เกี่ยวกับการรับรู้ผิดปกติ
  • 1:16 - 1:20
    และ อะเฟเชียแบบพูดไม่คล่องแคล่ว
    หรือมีการแสดงออกผิดปกติ
  • 1:20 - 1:24
    คนที่เป็นอะเฟเชียแบบพูดอย่างคล่องแคล่ว
    อาจใช้น้ำเสียงปกติ
  • 1:24 - 1:26
    หากแต่กลับใช้คำที่ไม่มีความหมาย
  • 1:26 - 1:30
    พวกเขามีปัญหา
    ในการทำความเข้าใจคำพูดของผู้อื่น
  • 1:30 - 1:34
    และบ่อยครั้ง พวกเขาไม่สามารถ
    รู้ถึงข้อผิดพลาดในการพูดของตนเอง
  • 1:34 - 1:36
    ในทางตรงกันข้าม
    คนที่เป็นอะเฟเชียแบบพูดไม่คล่องแคล่ว
  • 1:36 - 1:38
    จะมีการเข้าใจความหมายที่ดี
  • 1:38 - 1:43
    แต่จะลังเลอยู่นานกว่าจะพูดแต่ละคำ
    และมักใช้ไวยากรณ์ผิด
  • 1:43 - 1:47
    พวกเราล้วนแล้วแต่มีอาการติดอยู่ที่ริมผีปาก
    บ้างเป็นบางครั้ง
  • 1:47 - 1:48
    เมื่อพวกเรานึกคำไม่ออก
  • 1:48 - 1:53
    แต่โรคอะเฟเชียทำให้การเรียกชื่อ
    สิ่งของในชีวิตประจำวันกลายเป็นเรื่องยาก
  • 1:53 - 1:57
    แม้แต่การอ่าน และการเขียนก็เป็น
    เรื่องยาก และน่าหงุดหงิดใจ
  • 1:57 - 1:59
    แล้วการสูญหายไปของภาษานี้
    เกิดขึ้นได้อย่างไร
  • 1:59 - 2:02
    สมองของมนุษย์มีสองซีก
  • 2:02 - 2:06
    ในคนส่วนใหญ่ สมองซึกซ้าย
    ควบคุมด้านภาษา
  • 2:06 - 2:08
    พวกเรารู้เรื่องนี้เป็นเพราะ ในปี ค.ศ. 1861
  • 2:08 - 2:11
    นายแพทย์ พอล โบรคาได้ทำการศึกษาคนไข้
  • 2:11 - 2:16
    ที่สูญเสียความสามารถในการใช้ภาษาทั้งหมด
    เว้นแต่ คำ ๆ เดียวคือ "แทน" (tan)
  • 2:16 - 2:18
    ระหว่างการศึกษาโดยการชันสูตร
    สมองของผู้ป่วย
  • 2:18 - 2:21
    โบรคาได้ค้นพบบาดแผลขนาดใหญ่
    ในซีกซ้ายของสมอง
  • 2:21 - 2:24
    ซึ่งตอนนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ บริเวณ โบรคา
    (Broca's area)
  • 2:24 - 2:28
    นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเชื่อว่า บริเวณโบรคา
    เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการเรียกชื่อสิ่งของ
  • 2:28 - 2:31
    และประสานงานกับกล้ามเนื้อ
    ที่เกี่ยวข้องกับการพูด
  • 2:31 - 2:36
    หลังบริเวณโบรคา คือ บริเวณเวอร์นิกี
    (Wernicke's area) ซึ่งอยู่ใกล้กับสมองส่วนการได้ยิน
  • 2:36 - 2:39
    ซึ่งเป็นบริเวณที่สมอง
    เชื่อมโยงความหมายกับเสียงพูดเข้าด้วยกัน
  • 2:39 - 2:43
    บริเวณเวอร์นิกีที่ได้รับความเสียหาย จะบั่นทอน
    ความสามารถของสมองในการเข้าใจภาษา
  • 2:43 - 2:48
    อะเฟเชียเกิดจากความเสียหายในหนึ่ง
    หรือทั้งสองบริเวณที่เกี่ยวกับภาษาโดยเฉพาะ
  • 2:48 - 2:51
    โชคดีที่มีบริเวณอื่น ๆ ในสมอง
  • 2:51 - 2:53
    ที่สนับสนุนศูนย์กลางด้านภาษาเหล่านี้
  • 2:53 - 2:55
    และสามารถช่วยเหลือในการสื่อสารได้
  • 2:55 - 2:59
    แม้แต่บริเวณของสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหว
    ก็ถูกเชื่อมต่อกับภาษา
  • 2:59 - 3:04
    จากการศึกษาโดยใช้ FMRI พบว่าเมื่อเราได้ยิน
    คำที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น "วิ่ง" หรือ "เต้น"
  • 3:04 - 3:08
    ส่วนของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับ
    การเคลื่อนไหวจะมีการตอบสนอง
  • 3:08 - 3:11
    ราวกับว่าร่างกายกำลังวิ่งหรือเต้นอยู่จริง ๆ
  • 3:11 - 3:14
    สมองอีกซีกหนึ่งของเรา
    ก็มีส่วนในเรื่องของภาษาด้วยเช่นกัน
  • 3:14 - 3:17
    โดยทำหน้าที่เพิ่มจังหวะ
    และการใช้เสียงสูงต่ำในการพูดของเรา
  • 3:17 - 3:21
    ตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษาเหล่านี้
    บางครั้งก็ช่วยเหลือคนที่เป็นโรคอะเฟเชีย
  • 3:21 - 3:23
    เมื่อมีปัญหาในการสื่อสาร
  • 3:23 - 3:26
    แล้วโรคอะเฟเชียพบได้มากแค่ไหน
  • 3:26 - 3:29
    เพียงแค่ในสหรัฐอเมริกาแห่งเดียว
    มีคนประมาณ 1 ล้านคนที่เป็นโรคนี้
  • 3:29 - 3:33
    และมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 80,000 คน ต่อปี
  • 3:33 - 3:36
    ประมาณหนึ่งในสามของผู้รอดชีวิตจาก
    โรคหลอดเลือดสมองมีอาการอะเฟเชีย
  • 3:36 - 3:38
    ทำให้โรคนี้ถูกพบได้มากกว่า
    ผู้ป่วยโรคพาคินสัน
  • 3:38 - 3:40
    หรือคิดเป็นสองเท่าของผู้ป่วยเส้นเลือดตีบ
  • 3:40 - 3:42
    แต่ทว่ามันยังเป็นที่รู้จักในวงแคบกว่า
  • 3:42 - 3:48
    มีรูปแบบหนึ่งที่หายากของอะเฟเชีย ที่เรียกว่า
    ภาวะเสียการสื่อความแบบปฐมภูมิ หรือ PPA
  • 3:48 - 3:51
    ซึ่งไม่ได้เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง
    หรือการได้รับบาดเจ็บที่สมอง
  • 3:51 - 3:53
    แต่เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคสมองเสื่อม
  • 3:53 - 3:56
    ซึ่งการสูญเสียภาษาเป็น
    อาการอันดับแรกของโรคนี้
  • 3:56 - 4:01
    เป้าหมายในการรักษา PPA คือการประคับประคอง
    ด้านภาษาให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • 4:01 - 4:05
    ก่อนที่อาการอื่น ๆ ของโรคสมองเสื่อม
    จะเกิดขึ้นในท้ายที่สุด
  • 4:05 - 4:08
    อย่างไรก็ดี เมื่อโรคอะเฟเชียพัฒนามาจาก
    โรคหลอดเลือดสมอง หรือการบาดเจ็บที่สมอง
  • 4:08 - 4:12
    การปรับปรุงด้านภาษาอาจทำได้
    โดยการบำบัดเกี่ยวกับการพูด
  • 4:12 - 4:16
    สมองของเรามีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเอง
    ที่เรียกกันว่า ความยืดหยุ่นของสมอง
  • 4:16 - 4:18
    ที่ทำให้ส่วนที่อยู่รอบ ๆ บริเวณที่บาดเจ็บของสมอง
  • 4:18 - 4:22
    เข้ามาควบคุมบางหน้าที่แทน
    ในระหว่างกระบวนการฟื้นฟู
  • 4:22 - 4:26
    นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลอง
    โดยใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่
  • 4:26 - 4:31
    ที่พวกเขาเชื่อว่าอาจจะช่วยส่งเสริม
    ความยืดหยุ่นของสมองในคนที่เป็นอะเฟเชีย
  • 4:31 - 4:35
    ในระหว่างนั้น คนที่เป็นโรคอะเฟเชีย
    จำนวนมากก็ยังคงรู้สึกแปลกแยก
  • 4:35 - 4:40
    เกรงว่าคนอื่น ๆ จะไม่เข้าใจพวกเขา
    หรือจะไม่ยอมเสียเวลาให้พวกเขาได้พูด
  • 4:40 - 4:44
    ด้วยการให้เวลาและความยืดหยุ่นในการสื่อสาร
    ในรูปแบบใดก็ตามที่พวกเขาสามารถทำได้
  • 4:44 - 4:47
    คุณสามารถช่วยเปิดประตูภาษา
    ของพวกเขาได้อีกครั้ง
  • 4:47 - 4:50
    ให้พวกเขาก้าวขึ้นไป
    เหนือกว่าขีดจำกัดของโรคอะเฟเชีย
Title:
อะเฟเชีย: โรคทีทำให้คุณพูดไม่ออก - ซูซาน เวิร์ธแมน-จัสท์ (Susan Wortman-Jutt)
Description:

ดูบทเรียนเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/aphasia-the-disorder-that-makes-you-lose-your-words-susan-wortman-jut

ภาษา เป็นส่วนสำคัญในชีวิตของพวกเราที่พวกเรามักมองข้ามความสำคัญของมันไป แต่ถ้าหากเครือข่ายภาษาอันละเอียดอ่อนในสมองของคุณถูกรบวนด้วยโรคหลอดเลือดในสมอง, ความเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บที่สมอง คุณจะพบว่าตนเองนั้นจะอยู่ในภาวะพูดไม่ออกอย่างแท้จริง ซูซาน เวิร์ธแมน-จัสท์ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโรคที่เรียกว่า อะเฟเชีย ซึ่งสามารถทำให้เกิดการเสื่อมสภาพในทุกแง่มุมของการสื่อสาร

บทเรียนโดย Susan Wortman-Jutt, แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:11

Thai subtitles

Revisions