Return to Video

มีทางตายที่ดีกว่านี้ และสถาปัตยกรรมช่วยคุณได้

  • 0:01 - 0:05
    ฉันอยากจะเล่าเรื่อง
    ความตายกับสถาปัตยกรรม
  • 0:05 - 0:09
    100 ปีก่อน ผู้คนตายด้วยโรคติดเชื้อ
    เช่น โรคปอดบวม
  • 0:09 - 0:13
    ซึ่งถ้าเมื่อติดเชื้อไปแล้ว
    สามารถฆ่าเราตายได้อย่างรวดเร็ว
  • 0:13 - 0:17
    เรามักจะเสียชีวิตที่บ้าน ในเตียงเราเอง
    โดยมีครอบครัวคอยดูแล
  • 0:17 - 0:18
    แม้ว่าจะเป็นทางเลือกที่จำยอม
  • 0:18 - 0:21
    เพราะผู้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึง
    บริการทางการแพทย์ได้
  • 0:22 - 0:24
    และแล้วในศตวรรษที่ 20
    หลายสิ่งหลายอย่างได้เปลี่ยนไป
  • 0:24 - 0:26
    เราได้คิดค้นยาใหม่ ๆ อย่างเพนนิซิลิน
  • 0:26 - 0:29
    เราจึงสามารถรักษาโรคติดเชื้อเหล่านั้นได้
  • 0:29 - 0:32
    เทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่
    อย่างเครื่องเอ็กซเรย์ก็ได้ถูกคิดค้นขึ้น
  • 0:32 - 0:35
    และด้วยเหตุที่มันมีขนาดใหญ่และราคาแพง
  • 0:35 - 0:38
    เราจึงจำเป็นต้องใช้ตึกขนาดใหญ่
    เพื่อใช้ติดตั้งพวกมัน
  • 0:38 - 0:40
    ตึกเหล่านั้นกลายมาเป็นโรงพยาบาลสมัยใหม่
  • 0:40 - 0:41
    หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2
  • 0:41 - 0:44
    หลายๆ ประเทศเริ่มมี
    ระบบดูแลสุขภาพแบบถ้วนหน้า
  • 0:44 - 0:47
    ทำให้ทุกคนที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
    สามารถเข้าถึงได้
  • 0:47 - 0:51
    ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ช่วงชีวิตคนที่เฉลี่ย 45 ปี
    ตอนเริ่มต้นศตวรรษนี้
  • 0:51 - 0:53
    เพิ่มเกือบเป็น 2 เท่าในปัจจุบัน
  • 0:53 - 0:57
    ศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงเวลาแห่งการมองโลกในแง่ดีว่า
    วิทยาศาสตร์ให้อะไรกับเราได้บ้าง
  • 0:57 - 1:01
    แต่ท่ามกลางจุดเน้นทั้งหลายว่าด้วยชีวิต
    ความตายกลับถูกหลงลืมไป
  • 1:01 - 1:03
    แม้ว่าการมองความตายของ พวกเรา
    ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
  • 1:04 - 1:05
    เอาล่ะ ฉันเป็นสถาปนิกค่ะ
  • 1:05 - 1:08
    และเป็นเวลาปีครึ่งแล้ว
    ที่ฉันได้เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
  • 1:08 - 1:11
    และมองว่า มันมีความหมายอย่างไรต่อสถาปัตยกรรม
    ที่เกี่ยวข้องกับความตายและการรอความตาย
  • 1:11 - 1:14
    คนเราตอนนี้มีแนวโน้มตายด้วย
    โรคมะเร็งกับโรคหัวใจ
  • 1:14 - 1:18
    และนั่นหมายความว่าพวกเราส่วนใหญ่ต้อง
    ใช้เวลาอันยาวนานกับความเจ็บป่วยเรื้อรัง
  • 1:18 - 1:20
    ในช่วงสุดท้ายของชีวิตเรา
  • 1:20 - 1:21
    ในช่วงเวลานั้น
  • 1:21 - 1:27
    เราต้องใช้เวลาอันยาวนานในโรงพยาบาล
    สถานพักฟื้น หรือบ้านพักดูแล
  • 1:27 - 1:29
    ตอนนี้ เราต่างเคยเข้าไปในโรงพยาบาลสมัยใหม่
  • 1:29 - 1:32
    คุณจะพบเห็นแสงจากหลอดไฟ
    และทางเดินที่ทอดยาวไม่สิ้นสุด
  • 1:32 - 1:35
    และแถวนั่งของเก้าอี้ที่นั่งไม่สบายเลย
  • 1:35 - 1:39
    สถาปัตยกรรมของโรงพยาบาลขึ้นชื่อในทางไม่ดี
  • 1:39 - 1:42
    แต่เรื่องที่น่าประหลาดใจคือ
    ไม่ใช่ทุกโรงพยาบาลจะเป็นแบบนั้น
  • 1:42 - 1:46
    นี่คือ ลอสปิเดลี เดลิ อินนอเช็นติ
    ที่สร้างในปี 1419 โดย บรูเนเลสกิ
  • 1:46 - 1:50
    หนึ่งในสถาปนิกที่มีชื่อเสียงและได้รับ
    การยอมรับมากที่สุดในเวลานั้น
  • 1:50 - 1:54
    และตอนที่ฉันมองอาคารนี้แล้วลองคิด
    เปรียบเทียบกับโรงพยาบาลทุกวันนี้
  • 1:54 - 1:57
    สิ่งที่ทำให้ฉันทึ่งคือ ความมุ่งมั่นฝันใฝ่ของอาคารนี้
  • 1:57 - 1:58
    มันเป็นอาคารที่ยิ่งใหญ่จริงๆ
  • 1:58 - 2:00
    มันมีที่เปิดโล่งตรงกลางนี้
  • 2:00 - 2:03
    ทำให้ทุกห้องได้รับแสงแดดและอากาศบริสุทธิ์
  • 2:03 - 2:05
    ห้องก็ใหญ่และมีเพดานสูง
  • 2:05 - 2:08
    ทำให้คนไข้รู้สึกสะดวกสบายใจ
    ที่จะเข้ารักษาตัว
  • 2:08 - 2:09
    และมันก็สวยงามมากด้วย
  • 2:09 - 2:13
    ไม่รู้ยังไงนะคะ เราได้ลืมไปแล้วว่าสิ่งเหล่านี้
    เกิดขึ้นได้กับโรงพยาบาล
  • 2:13 - 2:17
    ทีนี้ ถ้าเราต้องการมีอาคารที่ดีกว่าสำหรับรอการตาย
    เราก็จะต้องพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 2:17 - 2:20
    แต่เพราะเรารู้สึกว่า การพูดเรื่องความตาย
    ทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ
  • 2:20 - 2:21
    เราจึงไม่พูดถึงเรื่องนี้
  • 2:21 - 2:24
    และเราไม่เคยตั้งคำถามว่า
    เราในฐานะสังคมหนึ่งมองความตายอย่างไร
  • 2:24 - 2:28
    ทว่า ในงานวิจัยของฉัน
    สิ่งที่ทำให้ฉันประหลาดใจมากที่สุด
  • 2:28 - 2:30
    คือ ความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติเหล่านั้น
  • 2:30 - 2:33
    นี่คือที่เผาศพแห่งแรกในอังกฤษ
  • 2:33 - 2:36
    ที่ถูกสร้างขึ้นที่โวกกิ้งในทศวรรษ 1870
  • 2:36 - 2:39
    และตอนที่ที่นี่ถูกสร้างขึ้นช่วงแรกๆ
    มีการประท้วงเกิดขึ้นในหมู่บ้านรอบๆ
  • 2:39 - 2:44
    สังคมตอนนั้นไม่ยอมรับเรื่องการเผาศพ
    และ 99.8 % ของคนจะถูกฝัง
  • 2:44 - 2:48
    และแล้วอีก 100 ปีต่อมา
    3 ใน 4 ของเรานำศพไปเผาแทน
  • 2:48 - 2:50
    ผู้คนต่างยอมรับเปิดใจกับการเปลี่ยนแปลง
  • 2:50 - 2:53
    ถ้าพวกเขามีโอกาส
    ได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 2:53 - 2:56
    ดังนั้น บทสนทนานี้ที่ว่าด้วยเรื่อง
    ความตายกับสถาปัตยกรรม
  • 2:56 - 2:59
    คือ สิ่งที่ฉันต้องการจะเริ่มมันขึ้น
    ในการจัดนิทรรศการครั้งแรกของฉัน
  • 2:59 - 3:02
    ในเวนิซ ในเดือนมิถุนายน
    ชื่อของงานชิ้นนี้ คือ "มรณกรรมในเวนิซ"
  • 3:02 - 3:05
    มันถูกออกแบบให้ดูน่าเล่น
  • 3:05 - 3:08
    เพื่อให้คนอยากเข้าชมและมีส่วนร่วม
  • 3:08 - 3:11
    นี่เป็นหนึ่งในนิทรรศการของเรา
    เป็นแผนที่ในลอนดอนแบบโต้ตอบได้ (interactive)
  • 3:11 - 3:14
    แสดงให้เห็นว่ามีสิ่งปลูกสร้างในมหานคร
    มากมายเพียงไร
  • 3:14 - 3:16
    ที่เกี่ยวข้องกับความตายและการรอความตาย
  • 3:16 - 3:18
    และในขณะที่คุณโบกมือไปมาหน้าแผนที่
  • 3:18 - 3:23
    ชื่อของโครงการ หมู่บ้าน อาคาร
    หรือสุสาน ก็ปรากฏขึ้น
  • 3:23 - 3:25
    งานอีกชิ้นจากนิทรรศการของเราคือชุดโปสการ์ด
  • 3:25 - 3:27
    ที่ผู้คนสามารถหยิบกลับบ้านไปได้เลย
  • 3:27 - 3:30
    โปสการ์ดเหล่านี้แสดงถึงรูปบ้าน โรงพยาบาล
  • 3:30 - 3:32
    สุสานและที่เก็บศพในหลายแห่ง
  • 3:32 - 3:35
    รูปภาพในโปสการ์ดบอกเล่าเรืองราว
    ของสถานที่ต่าง ๆ
  • 3:35 - 3:37
    ที่เราเดินผ่านบนสองฝั่งของความตาย
  • 3:37 - 3:40
    เราต้องการแสดงให้เห็นว่า
    ที่ที่พวกเราตาย
  • 3:40 - 3:43
    เป็นส่วนสำคัญของการที่เราจะตายอย่างไร
  • 3:43 - 3:48
    ทีนี้ เรื่องที่แปลกที่สุด คือ ปฏิกิริยาที่
    ผู้มาเยี่ยมชมมีต่อกับงานนิทรรศการนี้
  • 3:48 - 3:50
    โดยเฉพาะสื่อโสตทัศน์ที่มีในงาน
  • 3:50 - 3:54
    เราเจอคนเต้น วิ่ง กระโดดโลดเต้น
  • 3:54 - 3:57
    ในตอนที่พวกเขาพยายามจะเล่นกับสื่อทั้งหลาย
    ในงานนิทรรศการด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป
  • 3:57 - 3:59
    และเมื่อถึงจุดหนึ่ง พวกเขาก็จะหยุด
  • 3:59 - 4:02
    และนึกได้ว่าพวกเขาอยู่
    ในงานนิทรรศการเกี่ยวกับความตาย
  • 4:02 - 4:05
    และนั่นอาจไม่ใช่สิ่งที่คุณควรจะแสดงออกมา
  • 4:05 - 4:07
    แต่ที่จริงเเล้ว ฉันกลับตั้งคำถามว่า
    มีทางเลือกเพียงทางเดียวอย่างนั้นหรือ
  • 4:07 - 4:10
    ที่คุณควรจะแสดงออกเกี่ยวกับความตาย
  • 4:10 - 4:14
    และถ้าหากว่าไม่ ฉันอยากจะถามคุณให้คิดว่า
    การตายที่ดีที่คุณคิดเป็นอย่างไร
  • 4:14 - 4:18
    และคุณคิดว่าสถาปัตยกรรม
    ที่สนับสนุนการตายที่ดี ควรจะเป็นอย่างไร
  • 4:18 - 4:22
    มันน่าจะดูเหมือนแบบนี้น้อยลงสักนิด
    และดูเหมือนแบบนี้มากขึ้นสักหน่อยใช่ไหม
  • 4:22 - 4:25
    ขอบคุณค่ะ
  • 4:25 - 4:27
    (เสียงปรบมือ)
Title:
มีทางตายที่ดีกว่านี้ และสถาปัตยกรรมช่วยคุณได้
Speaker:
อลิสัน คิลลิ่ง (Alison Killing)
Description:

ในทอล์คที่สั้นและชวนคิดนี้ สถาปนิก อลิสัน คิลลิ่ง มองไปยังอาคารต่างๆ ที่ความตายและการรอความตายเกิดขึ้น เช่น ฌาปนสถาน โรงพยาบาล บ้าน วิถีทางที่เราตายกำลังเปลี่ยนไป และวิถีทางที่เราสร้างสิ่งปลูกสร้างสำหรับคนที่กำลังจะตายก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปด้วย นี่เป็นมุมมองที่น่าทึ่งอย่างน่าประหลาดใจ ที่มีต่อไปด้านที่ถูกซ่อนไว้ของเมืองของเราและชีวิตของเรา

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
04:39

Thai subtitles

Revisions Compare revisions