Return to Video

วิธีที่แตกต่างในการแสดงจังหวะ

  • 0:07 - 0:10
    เรามักจะคิดถึงจังหวะในแง่ของ
    ส่วนประกอบของดนตรี
  • 0:10 - 0:13
    แต่ความจริงแล้ว มันสามารถ
    พบเจอได้ทั่วไปในโลกรอบตัวเรา
  • 0:13 - 0:15
    ตั้งแต่คลื่นในมหาสมุทร
    สู่การเต้นของหัวใจ
  • 0:15 - 0:19
    จังหวะโดยเนื้อแท้แล้ว คือสิ่งที่เกิดขึ้น
    ซ้ำไปซ้ำมาในช่วงเวลาหนึ่ง
  • 0:19 - 0:22
    แม้กระทั่งเสียงนาฬิกาเดิน
    ก็ยังถือว่าเป็นประเภทหนึ่งของจังหวะ
  • 0:22 - 0:23
    แต่สำหรับจังหวะของดนตรี
  • 0:23 - 0:27
    เสียงที่เคาะจังหวะเดียว
    ซ้ำไปมาอย่างสม่ำเสมอนั้นไม่เพียงพอ
  • 0:27 - 0:31
    เราต้องการอย่างน้อย
    1 เคาะที่มีเสียงต่างออกไป
  • 0:31 - 0:35
    ซึ่งสามารถเป็นการเคาะที่ลงไม่ตรงจังหวะ
    หรือการเคาะหนักแน่นที่ลงตรงจังหวะก็ได้
  • 0:35 - 0:38
    มันยังมีอีกหลายวิธี
    ที่จะทำให้การเคาะพวกนี้ชัดเจนขึ้น
  • 0:38 - 0:43
    ไม่ว่าจะด้วยการใช้กลองย่านเสียงสูง-ต่ำ
    หรือการเคาะแบบยาวและสั้น
  • 0:43 - 0:47
    ที่สุดท้ายแล้วเราได้ยินเป็น
    เสียงเคาะหลักนั้น ไม่มีกฎที่ตายตัว
  • 0:47 - 0:52
    แต่เหมือนกับแจกันรูบิน มันสามารถ
    กลับไปมาได้ขึ้นอยู่กับมุมมองของวัฒนธรรม
  • 0:52 - 0:56
    ในการจดบันทึกทั่วไป
    จังหวะจะถูกระบุไว้บนเส้นบรรทัดดนตรี
  • 0:56 - 0:58
    แต่มันยังมีวิธีอื่นอีก
  • 0:58 - 0:59
    จำนาฬิกาเดินได้ไหม?
  • 0:59 - 1:02
    เหมือนกับที่ใบหน้ากลมของมันสามารถ
    ติดตามเส้นการเคลื่อนของเวลาได้
  • 1:02 - 1:05
    การไหลของจังหวะก็สามารถ
    ติดตามได้ในวงกลมเช่นกัน
  • 1:05 - 1:09
    ความต่อเนื่องของวงล้อเป็น
    วิธีที่ง่ายกว่าในการรับรู้จังหวะ
  • 1:09 - 1:13
    เทียบกับแถบโน้ตเพลงที่จะต้องมี
    การเลื่อนซ้ายขวาตลอดทั้งหน้ากระดาษ
  • 1:13 - 1:16
    เราสามารถทำเครื่องหมายการเคาะ
    ที่จุดต่างๆ กันบนวงกลมได้
  • 1:16 - 1:20
    โดยใช้จุดสีฟ้าแทนการเคาะหลัก
    สีส้มสำหรับการเคาะที่ไม่ลงจังหวะ
  • 1:20 - 1:22
    และจุดสีขาวสำหรับการเคาะครั้งที่สอง
  • 1:22 - 1:30
    นี่คือพื้นฐานการเคาะ 2 จังหวะ
    ด้วยการเคาะหลักและการเคาะที่ไม่ลงจังหวะ
  • 1:30 - 1:38
    หรือการเคาะ 3 จังหวะด้วยการเคาะหลัก
    การเคาะที่ไม่ลงจังหวะ และการเคาะครั้งที่สอง
  • 1:38 - 1:42
    และระยะห่างของแต่ละการเคาะ
    สามารถแบ่งเป็นจังหวะย่อยๆ ได้อีก
  • 1:42 - 1:45
    โดยใช้การทวีคูณของ 2 หรือ 3
  • 1:45 - 1:47
    ด้วยการจัดวางรูปแบบของการคูณ
    โดยมีวงล้อเป็นศูนย์กลาง
  • 1:47 - 1:50
    เราลองมาสร้างจังหวะที่ซับซ้อนมากขึ้นกันดู
  • 1:50 - 1:54
    ตัวอย่างเช่น เราสามารถรวมพื้นฐานการเคาะ
    2 จังหวะกับการเคาะที่ไม่ลงจังหวะ
  • 1:54 - 1:57
    เพื่อที่จะได้ระบบการเคาะ 4 ครั้ง
  • 1:57 - 2:01
    นี่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของดนตรีที่โด่งดัง
    หลายประเภททั่วโลก
  • 2:01 - 2:04
    จากร็อค (Rock)
  • 2:04 - 2:07
    คันทรี่ย์ (Country)
  • 2:07 - 2:11
    และแจ๊ส (Jazz)
  • 2:11 - 2:13
    สู่เร็กเก้ (Reggae)
  • 2:13 - 2:15
    และคุมเบีย (Cumbia)
  • 2:15 - 2:22
    หรือเราสามารถรวมการเคาะพื้นฐาน
    2 จังหวะ กับการเคาะ 3 จังหวะได้
  • 2:22 - 2:26
    เมื่อรวมการเคาะหลักที่เกินมาเข้าด้วยกัน
    และหมุนวงล้อด้านใน
  • 2:26 - 2:32
    เราจะเหลือจังหวะ
    ที่ให้ความรู้สึก 3/4 อยู่ลึกๆ
  • 2:32 - 2:39
    นี่คือพื้นฐานดนตรีของนักบวชลัทธิลมวน
  • 2:39 - 2:42
    เช่นเดียวกับจังหวะลาตินอเมริกาอีกมาก
  • 2:42 - 2:49
    เช่น โฮโระ (Joropo)
  • 2:49 - 3:00
    หรือแม้แต่ชาโคน (Chaconne)
    ที่โด่งดังของบาร์ก (Bach)
  • 3:00 - 3:05
    ถ้าเราใช้แนวคิดแจกันรูบิน
    แล้วใช้การเคาะที่ไม่ลงจังหวะเป็นการเคาะหลัก
  • 3:05 - 3:07
    เราก็จะได้ความรู้สึกของ 6/ 8
  • 3:07 - 3:11
    เหมือนที่ใช้กันใน ชาร์คาเรร่า (Chacarera)
  • 3:11 - 3:14
    เคว็กกา (Quechua)
  • 3:14 - 3:20
    ดนตรีเปอร์เซียน และอื่นๆอีกมากมาย
  • 3:20 - 3:23
    ในระบบการเคาะ 8 จังหวะ
    เราจะมีวงกลม 3 ชั้น
  • 3:23 - 3:37
    แต่ละจังหวะจะถูกเล่นโดย
    เครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน
  • 3:37 - 3:39
    เราสามารถเพิ่มวงกลมชั้นนอกสุด
  • 3:39 - 3:42
    เพื่อเพิ่มองค์ประกอบของจังหวะ
  • 3:42 - 3:56
    เสริมการเคาะหลักและเพิ่มความละเอียด
  • 3:56 - 3:59
    ทีนี้ ลองลบทุกอย่างออก
    ยกเว้นจังหวะที่รวมกัน
  • 3:59 - 4:01
    และการเคาะพื้นฐาน 2 จังหวะด้านบน
  • 4:01 - 4:07
    การเรียบเรียงจังหวะแบบนี้จะเจอได้ใน
    คิวบัน ซิงคิว (Cuban cinquillo)
  • 4:07 - 4:12
    ในการเต้นบอมบา
    จากเปอร์โตริโก (Puerto Rican bomba)
  • 4:12 - 4:19
    และในดนตรีทางเหนือของโรมาเนีย
  • 4:19 - 4:22
    การหมุนวงกลมนอกสุด
    90 องศา ทวนเข็มนาฬิกา
  • 4:22 - 4:31
    จะได้รูปแบบที่มักจะเจอในดนตรีตะวันออกกลาง
  • 4:31 - 4:37
    โชโระของบราซิล (Brazilian choro)
  • 4:37 - 4:44
    และแทงโก้ของอาร์เจนตินา
  • 4:44 - 4:48
    จากตัวอย่างทั้งหมดนี้ จังหวะสำคัญ
    จะมาจากจังหวะพื้นฐาน 1/2
  • 4:48 - 4:52
    แต่เป็นในทางที่แตกต่างกัน
    ขึ้นอยู่กับการเรียบเรียงและวัฒนธรรม
  • 4:52 - 4:55
    กลายเป็นว่า 'วิธีวงล้อ'
    เป็นมากกว่าวิธีที่ดีกว่า
  • 4:55 - 4:58
    ในการมองจังหวะที่ซับซ้อน
  • 4:58 - 5:00
    ด้วยการปลดปล่อยเราจาก
    เผด็จการของเส้นบรรทัดดนตรี
  • 5:00 - 5:03
    เราสามารถมองเห็นจังหวะในรูปแบบเวลา
  • 5:03 - 5:07
    และการหมุนวงล้อแบบง่ายๆ
    สามารถพาเราเข้าสู่โลกของดนตรีทั่วโลกได้
Title:
วิธีที่แตกต่างในการแสดงจังหวะ
Speaker:
จอห์น วาร์นี่ย์
Description:

ในการบันทึกทั่วไป จังหวะจะถูกแสดงบนเส้นบรรทัดของดนตรี แต่มันยังมีวิธีอื่นที่ง่ายกว่านั้นในการรับรู้จังหวะ จอห์น วาร์นี่ย์อธิบายถึง 'วิธีวงล้อ' ของการตามหาจังหวะ และใช้มันในการพาเราเข้าสู่โลกของดนตรีทั่วโลก (กำกับโดย TED-Ed เล่าเรื่องโดย แอดดิสัน แอนเดอร์สัน)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:23
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for A different way to visualize rhythm
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for A different way to visualize rhythm
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for A different way to visualize rhythm
Thitirat Kongkeo edited Thai subtitles for A different way to visualize rhythm
Thitirat Kongkeo edited Thai subtitles for A different way to visualize rhythm
Thitirat Kongkeo edited Thai subtitles for A different way to visualize rhythm

Thai subtitles

Revisions