Return to Video

แผลเป็นเกิดขึ้นได้อย่างไร - ซาร์ตัก ซินฮา (Sarthak Sinha)

  • 0:07 - 0:12
    จำตอนที่คุณตกจากจักรยาน
    หรือเอาหัวไปชนของแหลม ๆ ได้หรือไม่
  • 0:12 - 0:15
    การบาดเจ็บในวัยเด็ก
    เป็นสิ่งที่พวกเรามักอยากจะลืม
  • 0:15 - 0:20
    แต่ร่างการของเรามักจะเก็บความทรงจำนั้นไว้
    ในรูปแบบของแผลเป็น
  • 0:20 - 0:25
    อะไรคือของที่ระลึกที่เราไม่ต้องการเหล่านี้
    และทำไมพวกเราถึงเก็บมันเอาไว้เป็นเวลานาน
  • 0:25 - 0:29
    หลังจากการไปห้องฉุกเฉินโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ
  • 0:29 - 0:32
    บริเวณที่เราเห็นแผลเป็นมากที่สุด
    คือบนผิวของเรา
  • 0:32 - 0:36
    รอยที่ดูแตกต่างจากผิวปกติรอบ ๆ เล็กน้อย
  • 0:36 - 0:39
    บ่อยครั้งที่เราถือว่ามันเป็น
    สิ่งโชคร้ายที่ทำให้เสียโฉม
  • 0:39 - 0:42
    แต่ในบางเวลา การขูดขีดผิวหนังโดยเจตนา
    ก็ถูกนำมาใช้
  • 0:42 - 0:47
    ทั้งในวัฒนธรรมดั้งเดิมหรือสมัยใหม่
    เป็นการทำเครื่องหมายตามพิธีกรรม
  • 0:47 - 0:49
    หรือแค่เพื่อความสวยงาม
  • 0:49 - 0:52
    แต่ความแตกต่างไม่ใช่แค่ความสวยงาม
  • 0:52 - 0:55
    เวลาที่เราดูผิวหนังที่มีสุขภาพดี
    ด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • 0:55 - 0:57
    เราเห็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ
  • 0:57 - 1:03
    ที่เชื่อมต่อกันด้วย เมทริกซ์ภายนอกเซลล์
    หรือ ECM
  • 1:03 - 1:06
    มันประกอบไปด้วยโปรตีน
    ที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง เช่น คอลลาเจน
  • 1:06 - 1:10
    ที่ถูกหลั่งออกมา
    โดยเซลล์ไฟโบรบลาสชนิดพิเศษ
  • 1:10 - 1:13
    การจัดการของ ECM ที่ดี
    จะช่วยในการส่งอาหาร
  • 1:13 - 1:17
    การสื่อสารระหว่างเซลล์
    การยึดเกาะกันของเซลล์
  • 1:17 - 1:21
    แต่เมื่อเกิดแผลลึกขึ้น
    การจัดการนี้ถูกขัดขวาง
  • 1:21 - 1:26
    ระหว่างขั้นตอนการรักษาบาดแผล
    คอลลาเจนจะไปสะสมที่บริเวณแผล
  • 1:26 - 1:30
    แต่แทนที่จะสานต่อกันแบบตะกร้า
    ในแบบที่พบได้ในเนื้อเยื่อปกติ
  • 1:30 - 1:34
    ECM ใหม่นั้นเรียงตัวไปในทิศทางเดียว
  • 1:34 - 1:40
    ซึ่งขัดขวางกระบวนการระหว่างเซลล์
    และลดความทนทานและความยืดหยุ่นลง
  • 1:40 - 1:41
    แย่ไปกว่านั้น
  • 1:41 - 1:45
    เนื้อเยื่อที่หายเป็นปกติ
    มีสัดส่วนของ ECM ที่สูงขึ้นกว่าเมื่อก่อน
  • 1:45 - 1:48
    มีการทำงานโดยรวมลดลง
  • 1:48 - 1:53
    ในผิวหนัง ปริมาณคอลลาเจนที่มาเกินไป
    ส่งผลกระทบต่อหน้าที่เดิมของมัน
  • 1:53 - 1:54
    เหมือนการผลิตเหงื่อ
  • 1:54 - 1:56
    ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
  • 1:56 - 1:58
    หรือแม้แต่สร้างขน
  • 1:58 - 2:03
    เนื้อเยื่อแผลเป็นนั้นบอบบาง และไวต่อ
    การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความรู้สึก
  • 2:03 - 2:08
    และควรที่จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชื้น
    เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา
  • 2:08 - 2:11
    การมีเนื้อเยื่อเส้นใยที่มากเกินไปในอวัยวะ
  • 2:11 - 2:15
    เรียกว่า พังผืด และถ้าคำนี้ฟังดูคุ้นเคย
  • 2:15 - 2:19
    มันเป็นเพราะว่าผิวหนังของเรา
    ไม่ใช่อวัยวะเดียวที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็น
  • 2:19 - 2:24
    ซิสติก ไฟโบรซิส เป็นโรคทางพันธุกรรม
    ที่ก่อให้เกิดแผลเป็นที่ตับอ่อน
  • 2:24 - 2:28
    ในขณะที่พัลโมนารี่ ไฟโบรซิส
    เป็นการเกิดแผลเป็นที่ปอด
  • 2:28 - 2:30
    ส่งผลให้หายใจไม่อิ่ม
  • 2:30 - 2:34
    แผลเป็นที่หัวใจ และการสะสมของ ECM
    ที่ทำให้หัวใจวาย
  • 2:34 - 2:38
    สามารถยับยั้งการเต้นของหัวใจ
    ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจต่อไป
  • 2:38 - 2:40
    สิ่งที่เหมือนกันของสภาวะเหล่านี้
  • 2:40 - 2:43
    คือถึงแม้ว่าการทำงานบางส่วนยังคงเดิม
  • 2:43 - 2:46
    แผลเป็นที่เกิดขึ้นหลังจากการเกิดบาดแผล
  • 2:46 - 2:50
    ก็ยังด้อยกว่าเนื้อเยื่อเดิมที่มันมาแทนที่
  • 2:50 - 2:51
    อย่างไรก็ตาม ความหวังยังมีอยู่
  • 2:51 - 2:55
    ขณะนี้นักวิจัยทางการแพทย์กำลังศึกษาว่า
    อะไรที่ทำให้เซลล์ไฟโบรบลาส
  • 2:55 - 2:58
    หลั่งคอลลาเจนออกมากมากเกินไป
  • 2:58 - 3:01
    และวิธีที่จะรวบรวมเซลล์อื่นของร่างกาย
  • 3:01 - 3:05
    เพื่อการฟื้นฟูและการสร้าง
    เนื้อเยื่อที่ถูกทำลายขึ้นมาใหม่
  • 3:05 - 3:09
    จากการศึกษาว่าจะควบคุมการฟื้นฟูของแผล
    และการเกิดขึ้นของแผลเป็นให้ดีขึ้นได้อย่างไร
  • 3:09 - 3:11
    เราจะสามารถใช้งบประมาณ
    หลายร้อยล้านเหรียญ
  • 3:11 - 3:14
    ที่ตอนนี้
    ใช้กับการจัดการผลพวงจากการเกิดแผล
  • 3:14 - 3:16
    ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • 3:16 - 3:19
    และช่วยให้ผู้คนนับล้าน
    มีชีวิตที่ดีขึ้นและมีสุขภาพดี
  • 3:19 - 3:22
    แต่ก่อนจะถึงตอนนั้น
    อย่างน้อยแผลเป็นของเรา
  • 3:22 - 3:26
    ก็สามารถช่วยให้เราจดจำที่จะหลีกเลี่ยง
    สิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้มันเกิดขึ้นได้
Title:
แผลเป็นเกิดขึ้นได้อย่างไร - ซาร์ตัก ซินฮา (Sarthak Sinha)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-do-scars-form-sarthak-sinha

มันยากที่จะผ่านช่วงวัยเด็กไปได้โดยปราศจากแผลเป็นสักสองสามที่ ทำไมสิ่งที่เหลือไว้เป็นความทรงจำจากการโดนบาดหรือชนที่เจ็บปวดนั้น ถึงดูแตกต่างจากผิวหนังส่วนที่เหลือของเรา และทำไมพวกมันถึงอยู่กับเราเป็นเวลานานหลังจากเหตุการณ์ที่ทำให้มันเกิดขึ้น ซาร์ตัก ซินฮา อธิบายว่าแผลเป็นเกิดขึ้นได้อย่างไร

บทเรียนโดย Sarthak Sinha, แอนิเมชั่น โดย Karrot Animation

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:42
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How do scars form? - Sarthak Sinha
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How do scars form? - Sarthak Sinha
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for How do scars form? - Sarthak Sinha
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for How do scars form? - Sarthak Sinha
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for How do scars form? - Sarthak Sinha
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How do scars form? - Sarthak Sinha
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for How do scars form? - Sarthak Sinha
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for How do scars form? - Sarthak Sinha
Show all

Thai subtitles

Revisions