Return to Video

สมองของคุณสามารถซ่อมแซมตัวเองได้หรือไม่ - เรลิทซ่า เปโตรว่า (Ralitsa Petrova)

  • 0:07 - 0:09
    ลองจินตนาการว่า
    สมองสามารถรีบูทได้
  • 0:09 - 0:14
    ปรับปรุงเซลล์ที่ลีบฝ่อและเสียหาย
    ด้วยเซลล์ใหม่ที่ดีกว่าเดิม
  • 0:14 - 0:17
    นั่นอาจฟังดูเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์
  • 0:17 - 0:21
    แต่มันอาจเป็นเรื่องจริงที่น่าจะเป็นไปได้
    ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังค้นคว้าวิจัยในขณะนี้
  • 0:21 - 0:24
    ในอนาคตวันหนึ่ง สมองของเรา
    จะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้หรือไม่
  • 0:24 - 0:28
    เป็นที่รู้กันดีว่า เซลล์ของเอ็มบริโอ
    ในสมองที่กำลังพัฒนาของทารก
  • 0:28 - 0:30
    สร้างเซลล์ประสาทใหม่ ๆ
  • 0:30 - 0:34
    หน่วยย่อยขนาดเล็กจิ๋ว
    ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเนื้อเยื่อสมอง
  • 0:34 - 0:39
    เซลล์ประสาทที่ถูกสร้างขึ้นใหม่เหล่านี้
    จะย้ายไปสู่ตำแหน่งเฉพาะของสมองที่กำลังพัฒนา
  • 0:39 - 0:43
    จัดเรียงตัวพวกมันเอง
    เป็นโครงสร้างต่าง ๆ กัน
  • 0:43 - 0:44
    แต่ไม่จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้
  • 0:44 - 0:50
    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การผลิตเซลล์หยุดลงทันที
    หลังการเจริญเติบโตช่วงระยะแรกเริ่ม
  • 0:50 - 0:53
    ซึ่งทำให้พวกเขาสรุปว่า
    โรคทางระบบประสาทต่าง ๆ
  • 0:53 - 0:55
    เช่น อัลไซเมอร์ และ พาร์กินสัน
  • 0:55 - 1:00
    และกรณีที่สมองถูกทำลาย เช่น
    โรคหลอดเลือดในสมอง ล้วนไม่สามารถรักษาได้
  • 1:00 - 1:02
    แต่ชุดข้อมูลจากการค้นพบล่าสุด
  • 1:02 - 1:07
    ได้เผยว่าแท้จริงแล้ว สมองของผู้ใหญ่
    มีการสร้างเซลล์ใหม่ ๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • 1:07 - 1:09
    ในตำแหน่งเฉพาะของสมองอย่างน้อยสามแห่ง
  • 1:09 - 1:13
    กระบวนการนี้ที่เรียกว่า
    การสร้างเซลล์ประสาทใหม่ (neurogenesis)
  • 1:13 - 1:16
    เกี่ยวข้องกับเซลล์สมอง
    ที่เรียกว่า เซลล์ประสาทต้นกำเนิด
  • 1:16 - 1:19
    และ เซลล์ประสาทระยะเริ่มพัฒนา
    (progenitor cells)
  • 1:19 - 1:22
    ซึ่งสามารถผลิตเซลล์ประสาทใหม่
    หรือแทนที่เซลล์เก่าได้
  • 1:22 - 1:25
    บริเวณทั้งสามที่มีการสร้างเซลล์ประสาทใหม่
    ที่ได้ถูกค้นพบ
  • 1:25 - 1:29
    ได้แก่ เดนเทต ไจรัส (Dentate Gyrus)
    ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ
  • 1:29 - 1:35
    บริเวณด้านล่างของโพรงสมองส่วนหน้า
    ซึ่งเชื่อมเซลล์ประสาทไปสู่ส่วนรับกลิ่น
  • 1:35 - 1:37
    สำหรับการสื่อสารระหว่างจมูกและสมอง
  • 1:37 - 1:40
    และบริเวณสเตรตัม (Striatum)
    ซึ่งช่วยกำกับการเคลื่อนไหว
  • 1:40 - 1:43
    นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจทั้งหมด
    ถึงบทบาทที่แท้จริง
  • 1:43 - 1:47
    ของการสร้างเซลล์ประสาทใหม่
    ในบริเวณที่กล่าวมาข้างต้น
  • 1:47 - 1:52
    และยังไม่เข้าใจว่าทำไมพวกมันจึงมีคุณสมบัตินี้
    ที่ไม่มีในบริเวณอื่น ๆ
  • 1:52 - 1:57
    แต่การมีอยู่ของกลไกการเจริญ
    ของเซลล์ประสาทใหม่ในสมองของผู้ใหญ่
  • 1:57 - 1:59
    เปิดโอกาสให้กับความเป็นไปได้ที่น่าอัศจรรย์
  • 1:59 - 2:04
    เราจะสามารถใช้วิธีการนั้น
    เพื่อทำให้สมองรักษาแผลด้วยตัวของมันเอง
  • 2:04 - 2:08
    คล้ายกับที่ผิวหนังถูกสร้างขึ้นมาใหม่
    เพื่อสมานแผล
  • 2:08 - 2:11
    หรือกระดูกที่แตกหัก
    ที่สามารถต่อประสานกันเอง ได้หรือไม่
  • 2:11 - 2:14
    และเรากำลังอยู่ในจุดนี้
  • 2:14 - 2:19
    โปรตีนบางชนิด และโมเลกุลเล็ก ๆ อย่างอื่น ๆ
    ที่เลียนแบบจากโปรตีนเหล่านั้น
  • 2:19 - 2:20
    สามารถถูกให้ไปที่สมอง
  • 2:20 - 2:23
    เพื่อทำให้เซลล์ประสาทต้นกำเนิด
    และเซลล์ประสาทระยะเริ่มพัฒนา
  • 2:23 - 2:26
    การสร้างเซลล์ประสาทใหม่
    ที่อยู่ในบริเวณทั้งสามของสมอง
  • 2:26 - 2:29
    วิธีนี้ยังคงต้องการการแก้ไขปรับปรุง
  • 2:29 - 2:31
    เพื่อที่เซลล์จะได้เพิ่มจำนวน
    ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • 2:31 - 2:33
    และมีเซลล์ที่รอดชีวิตมากขึ้น
  • 2:33 - 2:36
    แต่การวิจัยแสดงว่า เซลล์ประสาท
    ระยะเริ่มพัฒนา จากบริเวณเหล่านี้
  • 2:36 - 2:40
    สามารถเคลื่อนไปสู่บริเวณที่ได้รับความเสียหายได้
  • 2:40 - 2:43
    และให้กำเนิดเซลล์ประสาทใหม่
    ในบริเวณเหล่านั้น
  • 2:43 - 2:45
    และอีกหนึ่งวิธีการที่มีความเป็นไปได้สูง
  • 2:45 - 2:49
    ก็คือการปลูกถ่ายเซลล์ประสาทต้นกำเนิดของมนุษย์
    ที่สมบูรณ์แข็งแรง
  • 2:49 - 2:52
    ซึ่งถูกเพาะเลี้ยงในห้องทดลอง
    ให้กับเนื้อเยื่อสมองส่วนที่เสียหาย
  • 2:52 - 2:54
    คล้ายกับที่เราสามารถทำได้กับผิวหนัง
  • 2:54 - 2:56
    ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์กำลังทำการทดลอง
  • 2:56 - 3:02
    เพื่อให้รู้ว่าเซลล์จากผู้ให้ที่ถูกนำมาปลูกถ่าย
    สามารถแบ่งตัว เจริญพัฒนา
  • 3:02 - 3:05
    และให้กำเนิดเซลล์ประสาทใหม่
    ในบริเวณสมองส่วนที่เสียหายได้สำเร็จหรือไม่
  • 3:05 - 3:08
    นอกจากนี้พวกเขายังค้นพบว่า
  • 3:08 - 3:10
    เราอาจจะสามารถสอนเซลล์ชนิดอื่น ๆ ในสมอง
  • 3:10 - 3:14
    เช่น แอสโตรไซท์ (astrocyte)
    หรือโอลิโกเดนโดรไซท์ (oligodendrocyte)
  • 3:14 - 3:18
    ให้พวกมันมีพฤติกรรมคล้ายเซลล์ประสาทต้นกำเนิด
    และสร้างเซลล์ประสาทได้
  • 3:18 - 3:23
    ดังนั้น ในอีกสองสามทศวรรษจากนี้
    สมองของเราจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้หรือไม่
  • 3:23 - 3:25
    เรายังไม่สามารถบอกได้แน่ชัด
  • 3:25 - 3:29
    แต่นั่นได้กลายมาเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลัก
    ของ "เวชศาสตร์การฟื้นฟูสภาวะเสื่อม"
  • 3:29 - 3:33
    สมองของมนุษยมีเซลลล์ประสาท
    ถึง 100 พันล้านเซลล์
  • 3:33 - 3:37
    และเรายังพยายามทำความเข้าใจ
    เบื้องหลังแผงวงจรชีวภาพขนาดใหญ่นี้
  • 3:37 - 3:45
    แต่ทุกวันนี้ การวิจัยเรื่องการสร้างเซลล์ประสาท
    ก็พาเราให้เข้าไปใกล้กับปุ่มรีบูทเข้าไปทุกที
Title:
สมองของคุณสามารถซ่อมแซมตัวเองได้หรือไม่ - เรลิทซ่า เปโตรว่า (Ralitsa Petrova)
Speaker:
Ralitsa Petrova
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/could-your-brain-repair-itself-ralitsa-petrova

ลองจินตนาการว่าสมองสามารถรีบูทได้ ปรับปรุงเซลล์ที่เสียหายด้วยเซลล์ใหม่ที่ดีกว่าเดิม นั่นอาจฟังดูเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ -- แต่มันอาจเป็นเรื่องจริงที่น่าจะเป็นไปได้ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังค้นคว้าวิจัยในขณะนี้
เรลิทซ่า เปโตรว่า ให้รายละเอียดของวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ และอธิบายว่าเราจะใช้มันเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เช่น อัลไซเมอร์ และพาร์กินสันได้อย่างไร

บทเรียนโดย Ralitsa Petrova, แอนิเมชันโดย Artrake Studio

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:00
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Could your brain repair itself?
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Could your brain repair itself?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Could your brain repair itself?
Waritsara Jitmun edited Thai subtitles for Could your brain repair itself?
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for Could your brain repair itself?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Could your brain repair itself?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Could your brain repair itself?
Waritsara Jitmun edited Thai subtitles for Could your brain repair itself?
Show all

Thai subtitles

Revisions