Return to Video

ดาวอังคารอาจจะกุมความลับของต้นกำเนิดชีวิต

  • 0:01 - 0:02
    คุณรู้ไหม ว่าในบางครั้ง
  • 0:02 - 0:05
    สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นกลับเดินทางมา
    ในภาชนะที่เล็กที่สุด
  • 0:05 - 0:09
    และดิฉันจะพยายามทำให้คุณเชื่อ
    ภายในระยะเวลา 15 นาทีที่ดิฉันมี
  • 0:09 - 0:13
    ว่าจุลินทรีย์นั้น สามารถตอบคำถามเรา
    ได้มากมาย อย่างเช่น
  • 0:14 - 0:15
    "เราอยู่อย่างโดดเดี่ยวหรือเปล่า"
  • 0:15 - 0:20
    และพวกมันเองก็ไม่ได้บอกเรามากขึ้นเพียงแค่
    ในเรื่องของสิ่งมีชีวิตในระบบสุริยะนี้
  • 0:20 - 0:22
    แต่ยังอาจรวมไปถึงชีวิตนอกระบบสุริยะด้วย
  • 0:22 - 0:27
    และนี่คือสาเหตุว่าทำไมดิฉันถึงได้ติดตาม
    พวกมันไปยังสถานที่ต่าง ๆ บนโลกที่แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่อาศัย
  • 0:27 - 0:30
    ในสภาพแวดล้อมสุดโต่งที่ที่สภาวะแวดล้อมนั้น
  • 0:30 - 0:32
    คอยกดดันพวกมันทุกรูปแบบ
    ให้ดิ้นรนเอาชีวิตรอด
  • 0:32 - 0:36
    ที่จริงแล้ว บางทีดิฉันเองก็โดนไปด้วย
    เวลาที่พยายามติดตามพวกมันจนใกล้เกินไป
  • 0:36 - 0:38
    แต่ทีนี้ประเด็นมีอยู่ว่า
  • 0:38 - 0:43
    พวกเราเป็นเพียงอารยธรรมก้าวหน้า
    หนึ่งเดียวในระบบสุริยะแห่งนี้
  • 0:43 - 0:47
    แต่นั้นไม่ได้หมายความว่า
    ในดาวแถบนี้ไม่มีจุลินทรีย์อยู่เลย
  • 0:47 - 0:51
    อันที่จริงแล้ว ดาวเคราะห์และ
    ดวงจันทร์ทุกดวงที่พวกคุณเห็นตรงนี้
  • 0:51 - 0:55
    สามารถเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตได้
    และพวกเราเองต่างก็รู้กันดีในเรื่องนั้น
  • 0:55 - 0:57
    และความเป็นไปได้นั้นก็สูงมาก
  • 0:57 - 1:02
    และถ้าวันหนึ่งเราสามารถค้นพบสิ่งมีชีวิต
    บนดวงจันทร์และดาวเคราะห์เหล่านั้นได้
  • 1:02 - 1:05
    เมื่อนั้น เราจะสามารถ
    ตอบคำถามต่าง ๆ ได้ อย่างเช่น
  • 1:05 - 1:07
    เราอยู่อย่างเดียวดายในระบบสุริยะนี้หรือไม่
  • 1:07 - 1:09
    เรามาจากที่ไหน
  • 1:09 - 1:12
    เรามีญาติอยู่บนดวงดาวใกล้เคียงไหม
  • 1:12 - 1:16
    นอกระบบสุริยะของเรา
    มีสิ่งมีชีวิตอยู่หรือไม่?
  • 1:16 - 1:20
    และพวกเราสามารถตั้งคำถามทั้งหมดนี้ได้
    เพราะว่าการปฏิวัติทางความคิดได้เกิดขึ้น
  • 1:20 - 1:25
    ในแง่ของความเข้าใจของเราที่มีต่อ
    ลักษณะของดาวเคราะห์ที่อยู่อาศัยได้
  • 1:25 - 1:28
    และจากนิยามในทุกวันนี้ ดาวเคราะห์
    ที่สามารถอยู่อาศัยได้ ก็คือดาวเคราะห์
  • 1:28 - 1:32
    ที่มีพื้นที่ที่น้ำสามารถอยู่ได้อย่างเสถียร
    (มีครบทุก สถานะ พร้อม ๆ กันในสภาพเดียวกัน)
  • 1:32 - 1:36
    แต่สำหรับดิฉันแล้ว นี่เป็นนิยามใน
    แนวนอนของความสามารถในการอยู่อาศัย
  • 1:36 - 1:38
    เพราะมันเป็นเรื่องของระยะทางจากดาวฤกษ์
  • 1:38 - 1:41
    แต่มันยังมีอีกมิติหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า
    ความสามารถในการอยู่อาศัย
  • 1:41 - 1:43
    และนี่คือมิติในแนวตั้ง
  • 1:44 - 1:48
    ให้คุณมองว่ามันคือ
  • 1:48 - 1:54
    สภาพใต้พื้นผิวของดาวเคราะห์สักดวงหนึ่ง
    ที่อยู่ห่างมาก ๆ จากดวงอาทิตย์
  • 1:54 - 1:57
    แต่คุณก็ยังมีน้ำ พลังงาน สารอาหาร
  • 1:57 - 1:59
    ซึ่งบางส่วนก็อาจเป็นอาหาร
  • 1:59 - 2:01
    และที่คุ้มกัน
  • 2:01 - 2:03
    และเมื่อเรามามองที่โลกของเรา
  • 2:03 - 2:08
    ในทะเลลึกที่แสงแดดไม่สามารถเข้าถึงได้
  • 2:08 - 2:10
    คุณจะเห็นชีวิตที่เติบโตอยู่
  • 2:10 - 2:14
    และพวกมันก็อาศัยเพียงแค่
    กระบวนการทางเคมีในการดำรงชีวิต
  • 2:14 - 2:19
    ดังนั้น เมื่อคุณคิดอย่างนั้นแล้ว
    กำแพงทางความคิดทั้งหมดก็จะพังทลายลง
  • 2:19 - 2:22
    อันที่จริงแล้ว คุณจะมองไม่เห็นขอบเขตเลย
  • 2:22 - 2:24
    และถ้าคุณได้ติดตามหัวข่าวต่าง ๆ
    เมื่อไม่นานมานี้
  • 2:24 - 2:27
    คุณจะเห็นว่า เราได้ค้นพบ
    มหาสมุทรใต้พื้นผิวดาวแล้ว
  • 2:27 - 2:31
    บนดวงจันทร์ยูโรปา แกนีมีด เอนเซลาดัส ไททัน
  • 2:31 - 2:34
    และตอนนี้เราก็กำลังค้นหาไกเซอร์
    และน้ำพุร้อนบนดวงจันทร์เอนเซลาดัสอยู่
  • 2:34 - 2:38
    ระบบสุริยะของเรานั้นกำลัง
    กลายเป็นเหมือนสปายักษ์
  • 2:38 - 2:42
    สำหรับใครที่เคยไปสปาคงทราบว่า
    จุลินทรีย์ชอบสปาขนาดไหน ใช่ไหมคะ
  • 2:42 - 2:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:44 - 2:47
    ดังนั้น เมื่อคิดถึงจุดนั้นแล้ว
    เราลองมานึกถึงดาวอังคารกันบ้าง
  • 2:47 - 2:50
    ในทุกวันนี้ ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดสามารถ
    อยู่อาศัยบนพื้นผิวของดาวอังคารได้เลย
  • 2:50 - 2:54
    แต่ว่าพวกมันอาจ
    ซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นผิวนั้นก็เป็นได้
  • 2:54 - 2:59
    สรุปว่า พวกเราต่างมีความเข้าใจมากขึ้น
    เกี่ยวกับความสามารถในการอยู่อาศัย
  • 2:59 - 3:02
    แต่พวกเราเองก็ยังเข้าใจ
    มากขึ้นด้วย
  • 3:02 - 3:06
    ว่าสิ่งที่ทำให้ชีวิตบนโลก
    มีความโดดเด่นนั้นคืออะไร
  • 3:06 - 3:09
    ทีนี้ เราอาจมีสิ่งที่เราต่างเรียกว่า
    โมเลกุลอินทรีย์
  • 3:09 - 3:10
    ซึ่งเป็นเหมือนกับก้อนอิฐของชีวิต
  • 3:10 - 3:12
    เราอาจมีฟอสซิล
  • 3:12 - 3:15
    เราอาจมีแร่ธาตุ แร่ชีวภาพ
  • 3:15 - 3:19
    ที่เกิดมาจากปฏิกิริยาระหว่าง
    แบคทีเรียกับก้อนหินต่าง ๆ
  • 3:19 - 3:22
    และแน่นอน เราอาจมีแก๊สต่าง ๆ
    ที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ
  • 3:22 - 3:24
    และเมื่อเรามองไปที่สาหร่าย
    สีเขียวเล็ก ๆ เหล่านั้น
  • 3:24 - 3:26
    ที่ด้านขวาของจอตรงนี้
  • 3:26 - 3:29
    พวกมันคือลูกหลานโดยตรงของ
    สิ่งมีชีวิตที่สร้างออกซิเจน
  • 3:29 - 3:32
    เมื่อหนึ่งพันล้านปีที่แล้ว
    ให้กับชั้นบรรยากาศโลก
  • 3:32 - 3:34
    เมื่อพวกมันทำเช่นนั้น ก็เท่ากับว่าพวกมัน
    วางยาพิษชีวิตที่เหลืออีก 90 เปอร์เซ็นต์
  • 3:34 - 3:36
    ที่อยู่บนพื้นผิวโลก
  • 3:36 - 3:39
    แต่พวกมันเองก็เป็นสาเหตุ
    ที่ทำให้คุณมีอากาศหายใจอยู่ทุกวันนี้
  • 3:41 - 3:46
    แต่ต่อให้เราเข้าใจสิ่งเหล่านี้
    มากขึ้นแค่ไหนก็ตาม
  • 3:46 - 3:49
    เราก็ยังไม่อาจหาคำตอบให้กับ
    คำถาม ๆ หนึ่งได้
  • 3:49 - 3:51
    และคำถามนั้นก็คือ "เรามาจากไหน"
  • 3:51 - 3:53
    แล้วคุณรู้ไหมว่า มันกำลังแย่ลงเรื่อย ๆ
  • 3:53 - 3:56
    เพราะว่าเราไม่สามารถหา
    หลักฐานทางกายภาพได้เลย
  • 3:56 - 3:58
    ที่บอกว่าเรามาจากที่ไหน
    บนดาวเคราะห์ดวงนี้
  • 3:58 - 4:04
    และเหตุผลก็คือว่าอะไรก็ตามที่
    มีอายุมากกว่า 4 พันล้านปีได้หายไปแล้ว
  • 4:04 - 4:06
    บันทึกทั้งหมด ได้หายไปแล้ว
  • 4:06 - 4:10
    ลบหายไปโดยการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
    และการกัดกร่อนจากน้ำและลม
  • 4:10 - 4:13
    นี่คือสิ่งที่ฉันเรียกว่า
    ขอบฟ้าทางชีววิทยาของโลก
  • 4:13 - 4:17
    เมื่อเลยขอบฟ้านี้ไป เราต่างไม่รู้เลยว่า
    เรามาจากที่ไหนกันแน่
  • 4:17 - 4:20
    แล้วทุกอย่างได้สูญหายไปแล้วหรอ?
    ก็ อาจจะไม่ทั้งหมด
  • 4:20 - 4:23
    และพวกเราก็อาจพบหลักฐานที่บ่งบอกถึง
    จุดกำเนิดที่แท้จริงของเรา
  • 4:23 - 4:26
    ในที่ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เลย
    และที่นั่นก็คือดาวอังคาร
  • 4:28 - 4:29
    แล้วทำไมมันถึงเป็นไปได้ล่ะ
  • 4:29 - 4:32
    จริง ๆ แล้ว เห็นได้ชัดว่า
    ในช่วงแรกเริ่มของระบบสุริยะนั้น
  • 4:32 - 4:37
    ทั้งดาวอังคารและโลกต่างถูกถล่มด้วย
    อุกกาบาตและดาวหางยักษ์จำนวนมาก
  • 4:37 - 4:40
    และการพุ่งชนเหล่านั้นก็ก่อให้เกิด
    เศษกระจัดกระจายไปทั่วทุกที่
  • 4:40 - 4:44
    แล้วโลกและดาวอังคาร ต่างก็ผลัดกันโยนหิน
    ใส่อีกฝ่ายอยู่เป็นเวลานานมาก
  • 4:44 - 4:46
    ชิ้นส่วนของหินมากมายก็ตกลงมายังโลก
  • 4:46 - 4:48
    ชิ้นส่วนของโลกก็ตกลงไปบนดาวอังคาร
  • 4:48 - 4:53
    เห็นได้ชัดว่า ดาวเคราะห์ทั้ง 2 ดวงนี้
    อาจก่อกำเนิดขึ้นมาจากวัตถุดิบเดียวกัน
  • 4:53 - 4:57
    ฉะนั้น ไม่แน่ว่า อาจมีผู้เฒ่าคนหนึ่ง
    กำลังนั่งรอเราอยู่บนนั้นก็เป็นได้
  • 4:59 - 5:06
    แต่นั่นก็ยังหมายความว่าพวกเราสามารถไปยัง
    ดาวอังคารเพื่อตามหาจุดกำเนิดของเราได้ด้วย
  • 5:06 - 5:08
    ดาวอังคารอาจกุมกุญแจสู่ความลับไว้ให้เรา
  • 5:08 - 5:11
    นี่คือเหตุผลว่าทำไมดาวอังคาร
    จึงมีความพิเศษกับเรามาก
  • 5:11 - 5:13
    แต่การที่สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้
  • 5:13 - 5:19
    ดาวอังคารจะต้องเคยเป็นที่ที่อยู่อาศัยได้
    ในตอนที่สภาพแวดล้อมต่าง ๆ นั้นลงตัวแล้ว
  • 5:19 - 5:20
    ว่าแต่ดาวอังคารเคยอยู่อาศัยได้หรือเปล่าล่ะ
  • 5:20 - 5:24
    เรามีภารกิจมากมาย
    ที่บอกกับเราเหมือน ๆ กันในทุกวันนี้
  • 5:24 - 5:28
    ในช่วงเวลาที่ชีวิตก่อกำเนิดขึ้นบนโลก
  • 5:28 - 5:33
    ดางอังคารเองก็มีมหาสมุทร
    มีภูเขาไฟ มีทะเลสาบ
  • 5:33 - 5:36
    และก็ยังมีดินดอนสามเหลี่ยมมากมายเหมือนกับ
    ในรูปอันสวยงามที่คุณเห็นอยู่ตรงนี้
  • 5:36 - 5:39
    รูปนี้ถูกส่งมาโดยยานสำรวจ Curiosity
    เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้
  • 5:39 - 5:43
    มันแสดงให้เห็นถึงเศษที่เหลืออยู่ของ
    ดินดอนแห่งหนึ่ง และรูปนี้ก็บอกกับเรา
  • 5:43 - 5:45
    ว่าน้ำนั้นเคยมีอยู่มากมาย
  • 5:45 - 5:48
    และอยู่บนพื้นผิวดาวดวงนี้มาเป็นเวลานาน
  • 5:48 - 5:50
    นี่เป็นข่าวดีสำหรับสิ่งมีชีวิต
  • 5:50 - 5:53
    กระบวนการทางชีวเคมีนั้น
    ใช้เวลานานมากกว่าจะก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง
  • 5:53 - 5:55
    ฉะนั้น นี่คือข่าวที่ดีมาก ๆ เลยทีเดียว
  • 5:55 - 5:58
    ว่าแต่นั่นหมายความว่าถ้าเราไปที่ดาวอังคาร
    เราจะพบสิ่งมีชีวิตได้อย่างง่ายดายหรือไม่
  • 5:58 - 6:00
    ไม่จำเป็นเสมอไป
  • 6:00 - 6:02
    นี่คือสิ่งที่เคยเกิดขึ้น
  • 6:02 - 6:05
    ตอนที่สิ่งมีชีวิตต่างผุดขึ้นมา
    บนพื้นผิวโลก
  • 6:05 - 6:07
    ทุกอย่างบนดาวอังคาร
    นั้นกลับกลับตาลปัตร
  • 6:07 - 6:09
    จากหน้ามือเป็นหลังมือ
  • 6:09 - 6:12
    ชั้นบรรยากาศนั้นถูกทำลายด้วยลมสุริยะ
  • 6:12 - 6:15
    ดาวอังคารสูญเสียสนามแม่เหล็ก
  • 6:15 - 6:19
    จากนั้นรังสีคอสมิกและยูวีก็
    ถล่มลงบนพื้นผิวดาวอย่างหนักหน่วง
  • 6:19 - 6:23
    และน้ำก็หลุดลอยไปสู่อวกาศ
    หรือไม่ก็ลงสู่ใต้ดิน
  • 6:23 - 6:27
    ดังนั้น ถ้าเราอยากที่จะเข้าใจ
  • 6:27 - 6:31
    ถ้าเราอยากที่จะค้นพบร่องรอยของสิ่งมีชีวิต
  • 6:31 - 6:34
    บนพื้นผิวของดาวอังคาร
    หากว่าพวกมันมีอยู่ที่นั่นจริง ๆ
  • 6:34 - 6:37
    เราจะต้องเข้าใจก่อนว่าผลกระทบของ
    เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์
  • 6:37 - 6:40
    ต่อการเก็บรักษาบันทึกของมันคืออะไร
  • 6:40 - 6:45
    มีเพียงตอนนั้นเท่านั้น ที่เราจะสามารถ
    รู้ได้ว่าร่องรอยเหล่านั้นซ่อนอยู่ที่ไหน
  • 6:45 - 6:49
    และมีเพียงตอนนั้นเท่านั้น ที่เราจะสามารถ
    ส่งยานสำรวจของเราไปได้ถูกที่
  • 6:49 - 6:52
    ซึ่งเป็นที่ที่เราสามารถเก็บตัวอย่างหิน
    ที่อาจกำลังบอกอะไรเราบางอย่าง
  • 6:52 - 6:55
    ที่สำคัญมากเกี่ยวกับตัวเราได้
  • 6:55 - 6:59
    หรือไม่ ก็อาจบอกเราว่า
    ณ ที่ใดที่หนึ่งข้างนอกนั้น
  • 6:59 - 7:02
    ชีวิตก็ได้ก่อกำเนิดขึ้นบน
    ดาวเคราะห์ดวงอื่นเช่นเดียวกัน
  • 7:02 - 7:04
    และการที่จะทำแบบนั้นได้ก็ไม่ยากเลย
  • 7:04 - 7:08
    คุณเพียงแค่ต้องย้อนเวลากลับไป
    ยัง 3.5 พันล้านปีที่แล้ว
  • 7:08 - 7:10
    ไปยังอดีตของดาวเคราะห์ดวงนี้
  • 7:10 - 7:13
    พวกเราแค่ต้องการเครื่องเดินทางข้ามเวลา
  • 7:13 - 7:15
    ง่าย ใช่ไหมละ
  • 7:15 - 7:17
    ที่จริงแล้ว มันก็ง่าย
  • 7:17 - 7:19
    มองไปรอบ ๆ ตัวคุณสิ
    โลกของคุณนั่นแหละ
  • 7:19 - 7:21
    นี่แหละคือเครื่องเดินทางข้ามเวลาของเรา
  • 7:21 - 7:25
    นักธรณีวิทยาต่างกำลังใช้มันเพื่อย้อนกลับ
    ไปสู่อดีตของดาวเคราะห์ของเรา
  • 7:25 - 7:27
    ในขณะที่ดิฉันใช้มันในทางที่ต่างออกไปหน่อย
  • 7:27 - 7:30
    ฉันใช้โลกใบนี้เพื่อไปดู
    สภาพแวดล้อมสุดโต่งต่าง ๆ
  • 7:30 - 7:33
    ที่ที่สภาวะต่าง ๆ นั้น
    ใกล้เคียงกับดาวอังคาร
  • 7:33 - 7:35
    ในช่วงที่สภาพอากาศได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
  • 7:35 - 7:38
    และที่นั่น ดิฉันก็พยายาม
    ทำความเข้าใจสิ่งที่เคยเกิดขึ้น
  • 7:38 - 7:39
    อะไรคือลักษณะเด่นของสิ่งมีชีวิต
  • 7:39 - 7:42
    มีอะไรที่หลงเหลืออยู่บ้าง
    เราจะหามันได้อย่างไร
  • 7:42 - 7:45
    และในตอนนี้ ฉันจะพาคุณไปกับฉัน
  • 7:45 - 7:48
    เดินทางข้ามเวลาด้วยเครื่องข้ามเวลานั้น
  • 7:48 - 7:53
    และตอนนี้ สิ่งที่คุณเห็นอยู่ตรงนี้ก็คือ
    เทือกเขาแอนดีสที่ระดับความสูง 4,500 เมตร
  • 7:53 - 8:00
    แต่ที่จริงแล้ว เราอยู่ห่างจากช่วงเวลาที่โลก
    และดาวอังคารก่อตัวขึ้นไม่ถึง 1 พันล้านปี
  • 8:00 - 8:03
    โลกและดาวอังคารในตอนนั้น
    มีหน้าตาแทบจะไม่ต่างจากรูปนี้
  • 8:03 - 8:07
    ภูเขาไฟ กระจายอยู่ทุกแห่ง
    ทะเลสาบที่ระเหยอยู่ กระจายอยู่ทุกที่
  • 8:07 - 8:10
    แร่ธาตุต่าง ๆ น้ำพุร้อนมากมาย
  • 8:10 - 8:14
    และคุณเห็นเนินพวกนั้น
    ตรงชายฝั่งทะเลสาบนั่นไหม
  • 8:14 - 8:17
    เนินพวกนั้นถูกสร้างขึ้น
    โดยลูกหลานของสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรก ๆ
  • 8:17 - 8:20
    ที่ต่างกลายเป็นฟอสซิลชิ้นแรก ๆ
    ของโลกให้กับเรา
  • 8:20 - 8:25
    แต่ถ้าเราอยากจะเข้าใจว่า มีอะไรขึ้น
    กันแน่ เราจะต้องย้อนกลับไปอีกสักหน่อย
  • 8:25 - 8:26
    และอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับสถานที่พวกนั้น
  • 8:26 - 8:30
    ก็คือว่าพวกมันมีลักษณะเหมือนกับดาวอังคาร
    เมื่อ 3,500 ล้านปีก่อนเป๊ะ ๆ เลย
  • 8:30 - 8:34
    สภาพอากาศกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก
    ส่วนน้ำและน้ำแข็งก็กำลังค่อย ๆ หายไป
  • 8:34 - 8:38
    แต่เราต้องกลับไปยังช่วงเวลาที่
    ทุกอย่างบนดาวอังคารได้เปลี่ยนไปแล้ว
  • 8:38 - 8:40
    และการที่จะทำแบบนั้นได้
    เราจะต้องขึ้นไปสูงกว่านี้
  • 8:40 - 8:42
    ทำไมน่ะหรอ
  • 8:42 - 8:43
    เพราะว่าเมื่อคุณขึ้นไปสูงขึ้น
  • 8:43 - 8:46
    ชั้นบรรยากาศจะเบาบางลง
    สภาพต่าง ๆ จะเริ่มเสถียรน้อยลง
  • 8:46 - 8:52
    อุณหภูมิจะลดลง
    และรังสียูวีก็จะเข้มข้นมากขึ้นด้วย
  • 8:52 - 8:52
    โดยพื้นฐานแล้ว
  • 8:52 - 8:57
    เราจะได้เห็นสภาพแวดล้อมของดาวอังคาร
    ในตอนที่ทุกสิ่งได้เปลี่ยนไปแล้ว
  • 8:58 - 9:05
    ทว่า ฉันไม่ได้บอกนะว่าการเดินทางด้วย
    เครื่องข้ามเวลานั้นจะเป็นเรื่องสบาย ๆ
  • 9:05 - 9:07
    คุณจะไม่ได้นั่งไปบนเครื่องข้ามเวลานั้น
  • 9:07 - 9:10
    คุณจะต้องลากอุปกรณ์น้ำหนักรวมกันกว่า
    1000 ปอนด์ (453 กก.) ขึ้นไปบนยอด
  • 9:10 - 9:14
    ของภูเขาไฟสูง 20,000 ฟุต
    ที่อยู่ในเทือกเขาแอนดีส
  • 9:14 - 9:17
    นั่นคือประมาณ 6,000 เมตร
  • 9:17 - 9:20
    และคุณก็ยังต้องนอน
    บนพื้นเอียง 42 องศาอีกด้วย
  • 9:20 - 9:24
    และตั้งความหวังอย่างมากว่า
    จะไม่มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในคืนนั้น
  • 9:24 - 9:28
    แต่เมื่อเราไปถึงยอดแล้ว
    เราก็ได้พบกับทะเลสาบที่เราตามหา
  • 9:28 - 9:33
    ที่ความสูงระดับนี้ ทะเลสาบแห่งนี้
    กำลังเผชิญกับสภาวะแบบเดียวกับ
  • 9:33 - 9:36
    สภาวะบนดาวอังคาร
    เมื่อ 3,500 ล้านปีก่อนโดยสิ้นเชิง
  • 9:36 - 9:39
    และทีนี้ เราจะต้องเปลี่ยน
    การเดินทางของเรา
  • 9:39 - 9:42
    เพื่อเข้าไปแหวกว่ายอยู่ในทะเลสาบนั้น
  • 9:42 - 9:46
    และการที่จะทำแบบนั้นได้
    เราก็จะต้องถอดอุปกรณ์ปืนเขาของเรา
  • 9:46 - 9:50
    และสวมชุดดำน้ำ แล้วจึงเริ่มลุยได้
  • 9:50 - 9:54
    แต่วินาทีที่เราก้าวขาลงไปในทะเลสาบแห่งนั้น
    ทันทีที่เราเข้าไปในทะเลสาบ
  • 9:54 - 9:56
    พวกเราก็กำลังเดินทางย้อนกลับไปยัง
  • 9:56 - 10:00
    อดีตของดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งเมื่อ
    3500 ล้านปีก่อน
  • 10:00 - 10:04
    และจากนั้นพวกเราก็จะได้คำตอบ
    ที่พวกเราต่างมาเพื่อตามหา
  • 10:05 - 10:08
    สิ่งมีชีวิตต่างกระจายอยู่ทั่วทุกที่
    ทั่วทุกที่อย่างแท้จริง
  • 10:08 - 10:11
    ทุกสิ่งที่คุณเห็นในรูปนี้ คือ
    สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ยังมีชีวิตอยู่
  • 10:11 - 10:14
    ไม่ได้หมายถึงนักประดาน้ำหรอกนะคะ
    แต่หมายถึงสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดน่ะ
  • 10:16 - 10:19
    แต่รูปนี้นั้นตบตาเราอย่างมาก
  • 10:19 - 10:22
    สิ่งมีชีวิตมากมายต่างอาศัย
    อยู่ในทะเลสาบเหล่านั้นก็จริง
  • 10:22 - 10:26
    แต่ก็เหมือนกับหลาย ๆ ที่บนโลกในตอนนี้
    เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
  • 10:26 - 10:28
    ความหลากหลายทางชีวภาพนั้นถูกทำลายไปมาก
  • 10:29 - 10:32
    ในตัวอย่างที่เรานำกลับมา
  • 10:32 - 10:38
    แบคทีเรีย 36 เปอร์เซ็นในทะเลสาบเหล่านั้น
    ประกอบไปด้วย 3 สายพันธุ์
  • 10:38 - 10:41
    และทั้ง 3 สายพันธุ์นั้น คือ
    สายพันธุ์มีชีวิตรอดตลอดการกลับมา
  • 10:41 - 10:44
    นี่เป็นทะเลสาบอีกแห่งหนึ่ง
    ที่อยู่ถัดจากทะเลสาบแห่งแรกไป
  • 10:44 - 10:48
    สีแดงที่คุณเห็นอยู่นี่
    ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากแร่ธาตุ
  • 10:48 - 10:51
    จริง ๆ แล้วมันเกิดขึ้นมาจากสาหร่าย
    ขนาดเล็กมากที่อยู่บริเวณนั้น
  • 10:51 - 10:56
    ในบริเวณนี้ รังสียูวีนั้นรุนแรงมาก
  • 10:56 - 10:59
    ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตามบนโลกใบนี้
    ค่าดัชนียูวี 11 ถือว่าเข้มข้นที่สุดแล้ว
  • 10:59 - 11:03
    แต่ในช่วงที่มีพายุรังสียูวีโถมกระหน่ำ
    ที่นั่น ค่าดัชนียูวีนั้นกลับพุ่งไปถึง 43
  • 11:04 - 11:08
    ค่า SPF 30 จะไม่มีประโยชน์
    อะไรเลยเมื่ออยู่ที่นั่น
  • 11:08 - 11:11
    และน้ำก็ในทะเลสาบเหล่านั้นก็ใส
  • 11:11 - 11:15
    มากจนกระทั่งสาหร่ายเหล่านั้น
    ไม่มีที่ให้หลบซ่อนเลย
  • 11:15 - 11:17
    ฉะนั้น พวกมันจึงพัฒนาวิธีกันแดดของตัวเอง
  • 11:17 - 11:19
    และนั่นก็คือสีแดงที่พวกคุณเห็นอยู่
  • 11:19 - 11:21
    แต่ว่าพวกมันก็ปรับตัวได้อยู่เพียงเท่านั้น
  • 11:21 - 11:24
    และเมื่อน้ำทั้งหมดได้หายไปจากพื้นผิวแล้ว
  • 11:24 - 11:26
    จุลินทรีย์เหล่านั้นก็เหลือทางออก
    เพียงแค่ทางเดียวซึ่งก็คือ
  • 11:26 - 11:28
    พวกมันลงไปใต้ดิน
  • 11:28 - 11:31
    และจุลินทรีย์เหล่านั้น พวกก้อนหิน
    ที่คุณเห็นอยู่ในสไลด์นี้
  • 11:31 - 11:34
    จริง ๆ แล้วพวกมันกำลังอาศัย
    อยู่ในก้อนหินพวกนี้เอง
  • 11:34 - 11:38
    และพวกมันก็ใช้ความโปร่งแสง
    ของหินเหล่านั้นเป็นที่กำบัง
  • 11:38 - 11:39
    เพื่อให้ได้รับรังสียูวีส่วนที่ดี
  • 11:39 - 11:43
    และละทิ้งส่วนที่จะทำร้าย DNA ของพวกมัน
  • 11:43 - 11:45
    และนี่คือสาเหตุว่าทำไม
    พวกเราถึงนำยานสำรวจ
  • 11:45 - 11:49
    มาเตรียมความพร้อมเพื่อให้ค้นหาสิ่งมีชีวิต
    บนดาวอังคารในพื้นที่เหล่านี้ได้
  • 11:49 - 11:53
    เพราะว่าถ้าสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บนดาวอังคาร
    เมื่อ 3500 ล้านปีก่อนจริง ๆ
  • 11:53 - 11:57
    พวกมันก็จะต้องใช้กลยุทธ์เดียวกัน
    เพื่อปกป้องตัวมันเอง
  • 11:58 - 12:00
    ตอนนี้ เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน
  • 12:00 - 12:04
    ว่าการเดินทางไปยังสภาพแวดล้อม
    สุดโต่งต่าง ๆ นั้นกำลังช่วยอะไรเรามากมาย
  • 12:04 - 12:08
    ในการสำรวจดาวอังคาร
    และในการเตรียมภารกิจต่าง ๆ
  • 12:08 - 12:12
    จนถึงตอนนี้ มันได้ช่วยเราให้เข้าใจ
    สภาพทางธรณีวิทยาของดาวอังคาร
  • 12:12 - 12:16
    มันได้ช่วยให้เราเข้าใจสภาพอากาศของ
    ดาวอังคารในอดีตและการเปลี่ยนแปลงของมัน
  • 12:16 - 12:19
    แต่ก็ยังรวมไปถึงความสามารถ
    ในการอยู่อาศัยของมันด้วย
  • 12:19 - 12:25
    ยานสำรวจล่าสุดของเราที่อยู่บนดาวอังคาร
    ได้ค้นพบร่องรอยของสารอินทรีย์
  • 12:25 - 12:28
    ใช่แล้ว บนดาวอังคารนั้น
    มีสารอินทรีย์ต่าง ๆ อยู่
  • 12:28 - 12:32
    และมันก็ยังค้นพบร่องรอยของแก๊สมีเทน
  • 12:32 - 12:34
    แต่พวกเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า
    แก๊สมีเทนที่ว่านี้
  • 12:34 - 12:38
    เกิดมาจากปฏิกิริยาทางธรณีวิทยา
    หรือชีววิทยากันแน่
  • 12:38 - 12:43
    อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เรารู้ก็คือว่า
    เนื่องจากการค้นพบนั้น
  • 12:43 - 12:46
    สมมุติฐานที่ว่าสิ่งมีชีวิต
    ยังคงมีอยู่บนดาวอังคาร
  • 12:46 - 12:48
    ก็ยังคงใช้การได้อยู่
  • 12:48 - 12:54
    จนถึงตอนนี้ ฉันคิดว่าฉันได้ทำให้คุณเชื่อ
    แล้วว่าดาวอังคารนั้นพิเศษต่อเรามากจริง ๆ
  • 12:54 - 12:57
    แต่มันอาจไม่ถูกเสียทีเดียวที่จะคิดว่า
    ดาวอังคารเป็นสถานที่แห่งเดียว
  • 12:57 - 13:02
    ในระบบสุริยะแห่งนี้ที่เหมาะสำหรับ
    การค้นหาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กต่าง ๆ
  • 13:02 - 13:06
    และเหตุผลก็คือว่าทั้งดาวอังคารและโลกนั้น
  • 13:06 - 13:09
    อาจมีแหล่งกำเนิดของสายใยแห่งชีวิตร่วมกัน
  • 13:09 - 13:13
    แต่ถ้าคุณไปไกลกว่าดาวอังคารแล้ว
    มันก็ไม่ได้ง่ายแบบนั้น
  • 13:13 - 13:16
    หลักการทางกลศาสตร์ท้องฟ้าทำให้
  • 13:16 - 13:18
    การแลกเปลี่ยนวัตถุระหว่างดวงดาว
    เกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก
  • 13:18 - 13:22
    และสมมติว่าเราค้นพบชีวิต
    บนดาวเคราะห์เหล่านั้น
  • 13:22 - 13:24
    มันก็จะแตกต่างจากเรา
  • 13:24 - 13:26
    มันจะเป็นชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง
  • 13:26 - 13:29
    แต่ในท้ายที่สุดแล้ว
    ทั้งหมดอาจมีแค่เรา
  • 13:29 - 13:31
    ทั้งหมดอาจมีแค่เราและดาวอังคาร
  • 13:31 - 13:34
    หรือมันอาจมีสายใยแห่งชีวิตอื่น ๆ อีก
    มากมายในระบบสุริยะแห่งนี้
  • 13:34 - 13:38
    ดิฉันยังไม่ทราบคำตอบดี
    แต่ดิฉันบอกคุณได้เลยว่า
  • 13:38 - 13:43
    ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร
    ไม่ว่าจำนวนนั้นจะออกมาเป็นเท่าไร
  • 13:43 - 13:45
    มันจะเป็นเกณฑ์ให้เรา
  • 13:45 - 13:49
    ที่เราจะนำไปใช้วัด
    ความเป็นไปได้ของการมีสิ่งมีชีวิต
  • 13:49 - 13:52
    รวมถึงความหนาแน่นและความหลากหลาย
    ของพวกมันนอกระบบสุริยะของเรา
  • 13:52 - 13:55
    และสิ่งนี้ก็สามารถบรรลุได้
    ในรุ่นของเรา
  • 13:55 - 13:59
    สิ่งนี้สามารถเป็นมรดกตกทอดต่อไป
    เพียงแค่เรากล้าที่จะออกสำรวจ
  • 14:00 - 14:02
    ทีนี้ สรุปว่า
  • 14:02 - 14:06
    หากมีใครซักคนบอกคุณว่าการค้นหาจุลินทรีย์
    นอกโลกนั้นไม่เห็นจะเจ๋งตรงไหน
  • 14:06 - 14:09
    เพราะว่าคุณไม่สามารถแลกเปลี่ยนความนึกคิด
    ในเชิงปรัชญากับพวกมันได้
  • 14:09 - 14:15
    งั้นฉันขอบอกวิธีที่คุณสามารถใช้ได้
    เพื่อบอกว่าพวกเขาผิดอย่างไรและผิดตรงไหน
  • 14:16 - 14:19
    ก็คือ สารอินทรีย์จะบอกกับคุณ
  • 14:19 - 14:24
    ในเรื่องสิ่งแวดล้อม ในเรื่องความซับซ้อน
    และในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ
  • 14:24 - 14:30
    ดีเอ็นเอหรือสารที่นำพาข้อมูลใด ๆ ก็ตาม
    จะบอกคุณในเรื่องการปรับตัว
  • 14:30 - 14:35
    ในเรื่องวิวัฒนาการ ในเรื่องการเอาชีวิตรอด
    ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของดาวเคราะห์
  • 14:35 - 14:38
    และในเรื่องการขนย้ายข้อมูล
  • 14:38 - 14:41
    ทั้งหมดนั้น พวกมันกำลังบอกเราว่า
  • 14:41 - 14:45
    อะไรคือสิ่งที่ทำให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก
    ก่อกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก
  • 14:45 - 14:48
    และทำไมสิ่งที่ก่อกำเนิด
    ชีวิตเหล่านั้น
  • 14:48 - 14:52
    ในบางครั้ง ก็กลายมา
    เป็นอารยธรรมในท้ายที่สุด
  • 14:52 - 14:55
    หรือในบางครั้งกลับต้องเจอกับทางตัน
  • 14:55 - 14:59
    ลองมองมาที่ระบบสุริยะของเรา
    และมองไปที่โลกดูสิ
  • 14:59 - 15:02
    บนโลกนั้น มีสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่าง ๆ
    ที่มีความฉลาดมากมาย
  • 15:02 - 15:05
    แต่มีเพียงแค่สายพันธุ์เดียวเท่านั้นที่
    สามารถคิดค้นเทคโนโลยีได้สำเร็จ
  • 15:05 - 15:08
    ที่นี่ ในการเดินทาง
    ไปในระบบสุริยะของเรา
  • 15:08 - 15:11
    มันมีข้อความที่ทรงพลังมาก ๆ ข้อความหนึ่ง
  • 15:11 - 15:16
    ที่บอกว่าเราควรค้นหาชีวิตต่างดาว
    ทั้งที่มีขนาดเล็กและใหญ่อย่างไร
  • 15:16 - 15:20
    ดังนั้น ใช่แล้ว จุลินทรีย์ต่างกำลังพูดอยู่
    ส่วนพวกเราเองก็กำลังฟังมัน
  • 15:20 - 15:21
    และพวกมันก็กำลังพาเราไป
  • 15:21 - 15:24
    ยังดาวเคราะห์แต่ละดวง
    และดวงจันทร์แต่ละดวง
  • 15:24 - 15:27
    เพื่อไปหาพี่ใหญ่ของพวกมัน
    ที่อยู่ข้างนอกนั้น
  • 15:27 - 15:29
    และพวกมันก็กำลังบอกเราในเรื่องความหลากหลาย
  • 15:29 - 15:32
    พวกมันกำลังบอกเราถึง
    ความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิต
  • 15:32 - 15:36
    และพวกมันก็กำลังบอกเราว่า
    ชีวิตของพวกเราอยู่รอดมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
  • 15:36 - 15:39
    จนก่อให้เกิดอารยธรรม
  • 15:39 - 15:44
    ความฉลาด เทคโนโลยี
    และแน่นอน ปรัชญา
  • 15:44 - 15:46
    ขอบคุณค่ะ
  • 15:46 - 15:49
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ดาวอังคารอาจจะกุมความลับของต้นกำเนิดชีวิต
Speaker:
นาตาลี คาโบล (Nathalie Cabrol)
Description:

ในขณะที่เราชอบจินตนาการถึงคนตัวเล็ก ๆ สีเขียว ๆ มีความเป็นไปได้มากกว่าที่ชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นจะเป็นจุลินทรีย์ นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ นาตาลี คาโบล พาพวกเราไปค้นหาจุลชีพบนดาวอังคาร การค้นหาที่กลับพาเรากลับมายังทะเลสาบของเทือกเขาแอนดีส สภาพแวดล้อมสุดขั้วที่มีชั้นบรรยากาศแสนเบาบางและดินแดนที่ถูกเผาไหม้อาจะเปรียบได้กับสภาพพื้นผิวดาวอังคารเมื่อ 3.5 ล้านปีก่อน วิธีที่จุลชีพปรับตัวเพื่ออยู่รอดอาจจะชี้ว่าเราคงค้นหาบนดาวอังคารตรงไหนและอาจจะทำให้เราเข้าใจว่าทำไมหนทางของจุลชีพบางเส้นทางนำพามาสู่อารยธรรม ในขณะที่อีกทางกลับเป็นแค่ทางตัน

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:02

Thai subtitles

Revisions