Return to Video

ความลับที่ดำมืดของรัฐที่สอดแนมประชาชน

  • 0:01 - 0:02
    ปีนี้ เยอรมัน กำลังเฉลิมฉลอง
  • 0:02 - 0:06
    ครบรอบปีที่ 25 ของการปฏิวัติอย่างสันติ
  • 0:06 - 0:07
    ในเยอรมันตะวันออก
  • 0:07 - 0:12
    ในปี 1989 ระบอบคอมมิวนิสต์ ถูกขจัดออกไป
  • 0:12 - 0:15
    กำแพงเบอร์ลินถูกพังลงมา และหนึ่งปีต่อมา
  • 0:15 - 0:19
    สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน หรือ จีดีอาร์
  • 0:19 - 0:21
    ในฝั่งตะวันออกได้รวมกัน
  • 0:21 - 0:24
    กับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันในฝั่งตะวันตก
  • 0:24 - 0:27
    ก่อตั้งเป็นประเทศเยอรมันในปัจจุบัน
  • 0:27 - 0:31
    ในบรรดาสมบัติหลายๆ อย่าง
    ที่ประเทศเยอรมันนีได้รับมรดกตกทอดมา
  • 0:31 - 0:35
    มีเอกสารสำคัญของตำรวจลับ
    เยอรมันตะวันออก
  • 0:35 - 0:38
    ที่รู้จักกันในนาม สตาซิ (Stasi)
  • 0:38 - 0:41
    เพียงสองปีหลังการสลายตัว
    ของหน่วยงานนี้
  • 0:41 - 0:45
    เอกสารของหน่วยงาน
    ได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ
  • 0:45 - 0:47
    และนักประวัติศาสตร์ เช่นผม
  • 0:47 - 0:49
    ก็เริ่มต้นศึกษาเอกสารเหล่านี้
  • 0:49 - 0:54
    เพื่อเรียนรู้เพิ่มขึ้นว่า
    หน่วยสอดแนมจีดีอาร์ของรัฐ
  • 0:54 - 0:56
    ทำงานอย่างไร
  • 0:56 - 0:58
    คุณอาจจะเคยได้ชมภาพยนต์ เรื่อง
  • 0:58 - 1:00
    "วิกฤติรักแดนเบอร์ลิน"
    (The Lives of Others)
  • 1:00 - 1:05
    ภาพยนต์เรื่องนี้ ทำให้สตาซิ
    เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
  • 1:05 - 1:08
    และเพราะเราอยู่ในยุคที่ ถ้อยคำ
  • 1:08 - 1:11
    เช่น "การสอดแนม" หรือ
    "การดักฟังโทรศัพท์"
  • 1:11 - 1:14
    อยู่บนหน้าแรกของหนังสือพิมพ์
  • 1:14 - 1:17
    ผมอยากจะพูดเรื่อง หน่วยสตาซิ
  • 1:17 - 1:19
    ว่าจริงๆ แล้ว ทำงานอย่างไร
  • 1:19 - 1:22
    เริ่มต้นโดย เรามาดูกันสั้นๆ
  • 1:22 - 1:24
    เรื่องประวัติของสตาซิ
  • 1:24 - 1:26
    เพราะว่า มันสำคัญอย่างยิ่ง
    ต่อการทำความเข้าใจ
  • 1:26 - 1:30
    ว่าองค์กรนี้รับรู้ภาพลักษณ์
    และตัวตนของตนเองอย่างไร
  • 1:30 - 1:32
    จุดเริ่มต้นของมัน อยู่ในรัสเซีย
  • 1:32 - 1:35
    ในปี 1917 คอมมิวนิสต์รัสเซียได้ก่อตั้ง
  • 1:35 - 1:37
    คณะกรรมการฉุกเฉินเพื่อต่อสู้กับ
  • 1:37 - 1:40
    การต่อต้านการปฏิวัติ และการก่อวินาศกรรม
  • 1:40 - 1:42
    เรียกสั้นๆ ว่า เชกา (Cheka)
  • 1:42 - 1:45
    โดยการนำของฟีลิกซ์ เชอร์ชินสกี
  • 1:45 - 1:48
    เชกา เป็นเครื่องมือของคอมมิวนิสต์
  • 1:48 - 1:52
    เพื่อสร้างระบบการปกครอง
    โดยการทำให้ประชาชนหวาดกลัว
  • 1:52 - 1:54
    และสังหารศัตรูของพวกเขา
  • 1:54 - 2:00
    มันได้พัฒนาต่อมาเป็น เคจีบี ที่รู้จักกันดี
  • 2:00 - 2:04
    เชกา เป็นฮีโรในใจของนายตำรวจสตาซิ
  • 2:04 - 2:07
    พวกเขาเรียกตัวเองว่า เชคิสท์ (Chekists)
  • 2:07 - 2:10
    และแม้กระทั่งตราสัญญลักษณ์
    ก็คล้ายกันมาก
  • 2:10 - 2:13
    อย่างที่คุณสามารถเห็นได้ตรงนี้
  • 2:13 - 2:16
    ที่จริงแล้ว ตำรวจลับรัสเซีย
  • 2:16 - 2:20
    เป็นผู้สร้างและผู้ฝึกสอนหน่วยสตาซิ
  • 2:20 - 2:23
    เมื่อกองทัพแดงยึดครองเยอรมันตะวันออก
    ในปีค.ศ.1945
  • 2:23 - 2:25
    มันก็ขยายไปที่นั่นทันที
  • 2:25 - 2:29
    และไม่นาน ก็เริ่มฝึกคอมมิวนิสต์เยอรมัน
  • 2:29 - 2:32
    ให้สร้างตำรวจลับของตัวเองขึ้นมา
  • 2:32 - 2:36
    อ้อ ห้องประชุมที่เรานั่งอยู่กันนี้เอง
  • 2:36 - 2:42
    คือที่ที่พรรคจีดีอาร์ที่เป็นรัฐบาลสมัยนั้น
    ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1946
  • 2:42 - 2:45
    ห้าปีต่อมา สตาซิก็ถูกตั้งขึ้นมา
  • 2:45 - 2:47
    และงานกดขี่ที่สกปรก
  • 2:47 - 2:50
    ก็ถูกส่งมาให้ทำทีละเล็กละน้อย
  • 2:50 - 2:53
    ตัวอย่างเช่น เรือนจำกลาง
  • 2:53 - 2:54
    สำหรับนักโทษการเมือง
  • 2:54 - 2:57
    ซึ่งตั้งขึ้นโดยฝ่ายรัสเซีย
  • 2:57 - 2:59
    ก็ถูกสตาซิเข้ามาครอบครอง
  • 2:59 - 3:02
    และใช้มาจนถึงยุคสิ้นสุด
    ของลัทธิคอมมิวนิสต์
  • 3:02 - 3:04
    ที่คุณเห็นอยู่นี่ล่ะ
  • 3:04 - 3:07
    ในตอนต้นๆ ทุกขั้นตอนสำคัญ
  • 3:07 - 3:11
    เกิดขึ้นภายใต้การดูแลของฝ่ายรัสเซีย
  • 3:11 - 3:14
    แต่เยอรมันนั้น เป็นที่รู้กัน
    ว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 3:14 - 3:18
    สตาซิจึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมาก
  • 3:18 - 3:21
    แล้วในปี 1953 ก็มีพนักงาน
  • 3:21 - 3:23
    มากกว่าเกสตาโป
  • 3:23 - 3:26
    หรือตำรวจลับของนาซีเยอรมันเสียอีก
  • 3:26 - 3:28
    จำนวนคนเพิ่มเป็นสองเท่า
    ในแต่ละทศวรรษ
  • 3:28 - 3:32
    ในปี 1989 มีพนักงานมากกว่า 90,000 คน
  • 3:32 - 3:33
    ทำงานให้กับสตาซิ
  • 3:33 - 3:36
    นี่ก็หมายความว่า พนักงานหนึ่งคน
  • 3:36 - 3:39
    รับผิดชอบคนที่อยู่ในคุกนั้น 180 คน
  • 3:39 - 3:43
    ซึ่งไม่เหมือนกับใครๆ ในโลกเป็นอย่างยิ่ง
  • 3:43 - 3:45
    ที่ยอดบนสุดของกลไกที่ใหญ่ยิ่งนี้
  • 3:45 - 3:49
    มีชาย ชื่อ อีริค มีเอลเก (Mielke)
  • 3:49 - 3:51
    เขาควบคุมกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ
  • 3:51 - 3:54
    มานานกว่า 30 ปี
  • 3:54 - 3:56
    เขาเป็นเจ้าหน้าที่ ซึ่งเคร่งครัดรอบคอบ
  • 3:56 - 3:59
    ในอดีต เขาฆ่าตำรวจสองคน
  • 3:59 - 4:01
    ไม่ไกลจากที่นี่นัก
  • 4:01 - 4:05
    ที่จริง เขาคือต้นแบบของสตาซิเลย
  • 4:05 - 4:10
    แล้วสตาซินี่มีความพิเศษยังไง
  • 4:10 - 4:13
    ที่สำคัญที่สุดคือ อำนาจอันมหาศาล
  • 4:13 - 4:16
    เพราะว่ามันรวบเอาหน้าที่งานหลายๆ อย่าง
  • 4:16 - 4:18
    มาไว้ในองค์กรเดียว
  • 4:18 - 4:20
    เรื่องแรก สตาซินั้น
  • 4:20 - 4:24
    เป็นหน่วยสืบราชการลับ
  • 4:24 - 4:26
    ที่ใช้เครื่องมือทุกอย่างที่จินตนาการได้
  • 4:26 - 4:28
    เพื่อให้ได้ข้อมูลมาอย่างลับๆ
  • 4:28 - 4:32
    เช่น สายข่าว หรือ การดักฟังทางโทรศัพท์
  • 4:32 - 4:35
    อย่างที่คุณเห็นในภาพตรงนี้
  • 4:35 - 4:38
    และมันไม่ได้แค่ปฏิบัติการอยู่
    ในเยอรมันตะวันออกเท่านั้น
  • 4:38 - 4:41
    แต่มีอยู่ทั่วทั้งโลก
  • 4:41 - 4:45
    เรื่องที่สอง สตาซินั้นเป็นตำรวจลับ
  • 4:45 - 4:47
    ที่นึกจะไปดักผู้คนบนท้องถนน
  • 4:47 - 4:51
    แล้วก็จับกุมคนเหล่านั้นเข้าคุกก็ได้
  • 4:51 - 4:53
    เรื่องที่สาม สตาซิทำงาน
  • 4:53 - 4:55
    คล้ายกับเป็นพนักงานอัยการ
  • 4:55 - 4:59
    มีสิทธิที่จะเปิดการสืบสวนเบื้องต้น
  • 4:59 - 5:02
    และสอบสวนผู้คนอย่างเป็นทางการ
  • 5:02 - 5:05
    เรื่องสุดท้าย แต่ก็สำคัญไม่น้อยกว่า
  • 5:05 - 5:08
    คือ สตาซิ มีกองกำลังติดอาวุธของตัวเอง
  • 5:08 - 5:10
    มีทหารร่วมทำงานกว่า 11,000 คน
  • 5:10 - 5:14
    ภายในกรมทหารที่เรียกว่า
    กรมเฝ้าระวังภัย
  • 5:14 - 5:18
    ก่อตั้งขึ้นเพื่อสลายการประท้วงและจลาจล
  • 5:18 - 5:21
    เนื่องจากการกระจุกตัวของอำนาจแบบนี้
  • 5:21 - 5:26
    สตาซิจึงถูกเรียกว่า เป็นรัฐซ้อนรัฐ
  • 5:26 - 5:28
    แต่เรามาดูในรายละเอียดกัน
    ให้มากยิ่งขึ้น
  • 5:28 - 5:31
    ในเรื่องเครื่องมือที่สตาซิใช้
  • 5:31 - 5:32
    ขอให้รำลึกด้วยว่า ในขณะนั้น
  • 5:32 - 5:36
    และอินเตอร์เน็ต และสมาร์ทโฟน
    ยังไม่ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมา
  • 5:36 - 5:40
    แน่นอนว่า สตาซิใช้เครื่องมือ
  • 5:40 - 5:43
    ทางเทคนิคทุกชนิดเพื่อสำรวจผู้คน
  • 5:43 - 5:45
    โทรศัพท์ถูกดักฟัง
  • 5:45 - 5:49
    รวมถึงโทรศัพท์ของนายกรัฐมนตรี
    ในฟากตะวันตก
  • 5:49 - 5:52
    และบ่อยครั้งในอพาร์ทเม้นต์ต่างๆ ด้วย
  • 5:52 - 5:55
    ทุกๆ วัน จดหมาย 90,000 ฉบับ
    ถูกเปิดอ่าน
  • 5:55 - 5:59
    โดยเครื่องกลไกเหล่านี้
  • 5:59 - 6:02
    สตาซินั้นยังเฝ้าติดตามผู้คนหลายหมื่นคน
  • 6:02 - 6:05
    โดยใช้สายลับที่ฝึกมาเป็นพิเศษ
    พร้อมกล้องถ่ายรูปลับ
  • 6:05 - 6:09
    เพื่อเก็บข้อมูลทุกย่างก้าวของบุคคลนั้น
  • 6:09 - 6:12
    ในภาพนี้ คุณจะเห็นผม
  • 6:12 - 6:15
    ตอนยังหนุ่ม อยู่หน้าอาคารหลังนี้
  • 6:15 - 6:19
    ที่เรากำลังอยู่ในขณะนี้
    ภาพนี้ถ่ายโดยสายสตาซิคนหนึ่ง
  • 6:19 - 6:23
    สตาซิ เก็บรวบรวม
    แม้กระทั่งกลิ่นตัวของผู้คน
  • 6:23 - 6:27
    เก็บตัวอย่างไว้ ในขวดที่ปิดฝาสนิท
  • 6:27 - 6:31
    ซึ่งถูกพบ หลังการปฏิวัติอย่างสงบนั้น
  • 6:31 - 6:35
    งานทั้งหมดนี้ มีกองเชี่ยวชาญพิเศษ
  • 6:35 - 6:38
    เป็นผู้รับผิดชอบ
  • 6:38 - 6:40
    กองพิเศษซึ่งดักฟังโทรศัพท์
  • 6:40 - 6:42
    ถูกแยกต่างหาก
  • 6:42 - 6:44
    จากหน่วยที่ควบคุมเรื่องจดหมาย
  • 6:44 - 6:46
    ด้วยเหตุผลที่ดี
  • 6:46 - 6:50
    เพราะว่า ถ้าสายลับคนหนึ่ง
    เลิกทำงานให้สตาซิ
  • 6:50 - 6:52
    เรื่องที่เขารู้ก็จะมีน้อยมาก
  • 6:52 - 6:56
    ตรงกันข้ามกับ สโนวเดน เป็นตัวอย่าง
  • 6:56 - 6:59
    การสร้างความชำนาญในเชิงลึก
    ก็สำคัญด้วยเหมือนกัน
  • 6:59 - 7:02
    ในการป้องกันความเห็นอกเห็นใจ
    ทุกรูปแบบ
  • 7:02 - 7:04
    ที่มีต่อบุคคลเป้าหมายของการสังเกต
  • 7:04 - 7:07
    สายลับที่ติดตามผม
  • 7:07 - 7:09
    ไม่รู้ว่า ผมเป็นใคร
  • 7:09 - 7:11
    หรือทำไมผมจึงถูกตาม
  • 7:11 - 7:12
    ที่จริง ผมลักลอบนำหนังสือต้องห้าม
  • 7:12 - 7:15
    จากฟากตะวันตก เข้ามาตะวันออก
  • 7:15 - 7:18
    แต่ที่เป็นแบบฉบับของสตาซิยิ่งกว่านั้น
  • 7:18 - 7:21
    คือ พนักงานสอดแนม
  • 7:21 - 7:26
    ที่ทำงานให้สตาซิอย่างลับๆ
  • 7:26 - 7:28
    สำหรับรัฐมนตรีความมั่นคงนั้น
  • 7:28 - 7:30
    พวกที่เรียกว่า
    พนักงานที่ไม่เป็นทางการเหล่านี้
  • 7:30 - 7:33
    เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุด
  • 7:33 - 7:39
    จากปี 1975 เป็นต้นมา คนเกือบสองแสนคน
  • 7:39 - 7:41
    ร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับสตาซิ
  • 7:41 - 7:46
    นั่นคือมากกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของประชากร
  • 7:46 - 7:49
    และในแบบนี้ รัฐมนตรีนั้นก็ทำถูกต้องแล้ว
  • 7:49 - 7:51
    เพราะเครื่องมือทางเทคนิค
  • 7:51 - 7:54
    ทำได้เพียงลงบันทึก สิ่งที่คนกำลังทำ
  • 7:54 - 7:58
    แต่สายสืบและสายลับ
    สามารถรายงานได้อีกด้วย
  • 7:58 - 7:59
    ว่าผู้คนกำลังวางแผนจะทำอะไร
  • 7:59 - 8:02
    และเขากำลังคิดอะไร
  • 8:02 - 8:07
    ดังนั้น สตาซิจึงรับสายข่าว เข้ามาจำนวนมาก
  • 8:07 - 8:09
    ระบบการรับคนเหล่านั้นเข้ามา
  • 8:09 - 8:12
    และวิธีการให้การศึกษา
  • 8:12 - 8:15
    มีความซ้บซ้อนอย่างมาก
  • 8:15 - 8:18
    สตาซินั้นมีมหาวิทยาลัยของตนเอง
  • 8:18 - 8:20
    ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่นี่
  • 8:20 - 8:22
    เป็นสถานที่สำหรับทดสอบวิธีการต่างๆ
  • 8:22 - 8:24
    แล้วนำไปสอนให้กับเจ้าพนักงาน
  • 8:24 - 8:28
    คู่มือเล่มนี้ ให้คำอธิบายอย่างละเอียด
  • 8:28 - 8:31
    ในทุกขั้นตอน ที่คุณจะต้องปฏิบัติ
  • 8:31 - 8:33
    ถ้าคุณต้องการทำให้มนุษย์
  • 8:33 - 8:36
    ทรยศเพื่อนร่วมชาติของเขา
  • 8:37 - 8:40
    บางครั้งก็ว่ากันว่า สายข่าวต่างๆ
  • 8:40 - 8:42
    ถูกกดดันให้ทำงานนี้
  • 8:42 - 8:44
    แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่จริง
  • 8:44 - 8:48
    เพราะสายข่าวที่ถูกบังคับให้ทำ
    จะเป็นสายข่าวที่แย่
  • 8:48 - 8:51
    มีเพียงบางคนเท่านั้น
    ที่อยากให้ข้อมูลที่คุณต้องการ
  • 8:51 - 8:54
    เขาจึงจะให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีประสิทธิภาพ
  • 8:54 - 8:59
    เหตุผลสำคัญ ที่ผู้คนร่วมมือกับสตาซิ
  • 8:59 - 9:04
    คือ ความเชื่อมั่นทางการเมือง
    และผลประโยชน์ทางวัตถุ
  • 9:04 - 9:07
    เจ้าพนักงานยังพยายาม
    สร้างความผูกพันส่วนตัว
  • 9:07 - 9:11
    ระหว่างตัวเขาเอง กับสายข่าว
  • 9:11 - 9:16
    พูดตรงๆ นะครับ
    ตัวอย่างของสตาซิแสดงให้เห็นว่า
  • 9:16 - 9:19
    ไม่ยากเกินไปนัก
    ที่จะกล่อมคนบางคน
  • 9:19 - 9:23
    ให้เขาทรยศหักหลังคนอื่นๆ
  • 9:23 - 9:27
    แม้หัวโจกของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลบางคน
    ในเยอรมันตะวันออก
  • 9:27 - 9:28
    ก็ยังร่วมมือกับสตาซิ
  • 9:28 - 9:32
    ตัวอย่างเช่น อิบราฮีม โบฮ์ม
  • 9:32 - 9:35
    ปี 1989 เขาเป็นผู้นำการปฏิวัติอย่างสงบ
  • 9:35 - 9:39
    เกือบได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของจีดีอาร์
    ที่มาจากการเลือกตั้งเสรี
  • 9:39 - 9:44
    จนกระทั่งเรื่องแดงออกมาว่า
    เขาเคยเป็นสายข่าวให้สตาซิ
  • 9:44 - 9:48
    เครือข่ายของสายลับนั้น กว้างขวางจริงๆ
  • 9:48 - 9:50
    ในเกือบจะทุกๆ สถาบัน
  • 9:50 - 9:53
    แม้กระทั่งในโบสถ์ หรือในเยอรมันตะวันตก
  • 9:53 - 9:56
    มีคนพวกนี้อยู่มากมาย
  • 9:56 - 9:59
    ผมจำได้ว่า
    เคยบอกเจ้าหน้าที่สตาซิระดับผู้นำ
  • 9:59 - 10:02
    ว่า "ถ้าคุณได้ส่งสายสืบมาที่ผม
  • 10:02 - 10:05
    ผมแน่ใจว่า ผมจะดูออกว่าเป็นใคร"
  • 10:05 - 10:07
    คำตอบของเขาคือ
  • 10:07 - 10:08
    "เราไม่ได้ส่งใครไป
  • 10:08 - 10:11
    เราใช้พวกที่อยู่รอบๆ ตัวคุณนั่นแหละ"
  • 10:11 - 10:14
    และจริงๆ แล้ว เพื่อนที่ดีที่สุดของผมสองคน
  • 10:14 - 10:18
    รายงานข้อมูลเกี่ยวกับผมให้กับสตาซิ
  • 10:18 - 10:21
    ไม่เพียงกรณีผมเท่านั้น
    ที่สายสืบอยู่ชิดตัวมาก
  • 10:21 - 10:25
    ตัวอย่างเช่น วีรา เลงส์เฟลด์
    ผู้คัดค้านระดับผู้นำอีกคนหนึ่ง
  • 10:25 - 10:29
    ในกรณีของเธอ
    สามีกลับเป็นสายสืบเสียเอง
  • 10:29 - 10:32
    นักเขียนมีชื่อคนหนึ่ง
    ก็ถูกน้องชายหักหลัง
  • 10:32 - 10:36
    เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงนวนิยายเรื่อง "1984"
    โดย จอร์จ ออเวลล์
  • 10:36 - 10:39
    ซึ่งคนเพียงคนเดียว ที่ไว้ใจได้
  • 10:39 - 10:42
    กลับกลายเป็นสายสืบเสียเอง
  • 10:42 - 10:46
    แต่ทำไมสตาซิ จึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมดนี้
  • 10:46 - 10:48
    ใว้ในแฟ้มข้อมูลสำคัญของพวกเขา?
  • 10:48 - 10:52
    จุดประสงค์สำคัญ คือ เพื่อควบคุมสังคม
  • 10:52 - 10:54
    ในปาฐกถาเกือบทุกครั้ง รัฐมนตรีของสตาซิ
  • 10:54 - 10:57
    จะออกคำสั่งให้ค้นหาว่า ใครเป็นใครบ้าง
  • 10:57 - 11:00
    ซึ่งก็หมายความถึงว่า ใครคิดอะไร
  • 11:00 - 11:02
    เขาไม่ต้องการจะรอจนกระทั่งใครสักคน
  • 11:02 - 11:04
    พยายามลงมือต่อต้านระบบการปกครอง
  • 11:04 - 11:06
    เขาต้องการจะรู้ล่วงหน้า
  • 11:06 - 11:09
    ว่าผู้คนกำลังคิด
    และกำลังวางแผนการอะไรอยู่
  • 11:09 - 11:12
    คนเยอรมันตะวันออกนั้นรู้
    แน่นอนครับ
  • 11:12 - 11:15
    ว่าพวกเขาถูกล้อมรอบไปด้วยสายสืบ
  • 11:15 - 11:19
    ในระบอบเผด็จการ
    ที่สร้างความไม่ใว้วางใจกัน
  • 11:19 - 11:22
    และรัฐที่แผ่ขยายความหวาดกลัว
  • 11:22 - 11:26
    ซึ่งเครื่องมือสำคัญที่สุด
    เพื่อใช้กดขี่ผู้คน
  • 11:26 - 11:28
    ในทุกระบอบเผด็จการ
  • 11:28 - 11:31
    นั่นคือสาเหตุว่าทำไมจึงมี
    คนเยอรมันตะวันออกไม่มากนัก
  • 11:31 - 11:35
    ที่พยายามต่อสู้กับระบอบคอมมิวนิสต์
  • 11:35 - 11:39
    ถ้าใครต่อต้าน สตาซิก็มักใช้วิธีจัดการ
  • 11:39 - 11:42
    ซึ่งโหดร้ายจริงๆ
  • 11:42 - 11:44
    เรียกว่า เซอร์เส็ทซุง
  • 11:44 - 11:48
    ซึ่งถูกบรรยายไว้ในคู่มืออีกเล่มหนึ่ง
  • 11:48 - 11:51
    คำศัพท์นั้นยากที่จะแปลความหมาย
  • 11:51 - 11:55
    เพราะเดิมทีมันหมายถึง
    "การย่อยสลายทางชีวภาพ"
  • 11:55 - 11:58
    แต่จริงๆ แล้ว มันอธิบายได้ตรงเผงทีเดียว
  • 11:58 - 12:02
    เป้าประสงค์ก็คือ
    การทำลายความเชื่อมั่นในตนเอง
  • 12:02 - 12:04
    ของผู้คนเหล่านั้นอย่างลับๆ
  • 12:04 - 12:08
    ตัวอย่างเช่น การทำให้เสียชื่อเสียง
  • 12:08 - 12:11
    โดยทำให้การงานของพวกเขาล้มเหลว
  • 12:11 - 12:16
    และโดยการทำลาย
    ความสัมพันธ์ส่วนตัวของพวกเขา
  • 12:16 - 12:21
    ดูจากวิธีนี้ เยอรมันตะวันออก
    เป็นเผด็จการสมัยใหม่มาก
  • 12:21 - 12:25
    สตาซิไม่ได้พยายามจับกุม
    คนไม่เห็นด้วยทุกคน
  • 12:25 - 12:28
    แต่ชอบที่จะทำให้คนเหล่านั้น
    เป็นอัมพาต ทำอะไรไม่ได้
  • 12:28 - 12:31
    และมันสามารถทำอย่างนั้นได้
  • 12:31 - 12:34
    เพราะมันสามารถเข้าถึง
    ข้อมูลส่วนตัวมากมาย
  • 12:34 - 12:38
    และเข้าถึงสถาบันได้มากมาย
    หลายแห่งเหลือเกิน
  • 12:38 - 12:41
    การกักขังควบคุมตัวถูกนำมาใช้
  • 12:41 - 12:43
    เป็นทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น
  • 12:43 - 12:46
    สตาซิมีคุก 17 แห่ง
    ที่ใช้ระหว่างรอพิจารณาคดี
  • 12:46 - 12:49
    1 คุก ในทุกเขต
  • 12:49 - 12:52
    และในคุกนี้ สตาซิยังได้พัฒนา
  • 12:52 - 12:56
    วิธีการกักกันที่สมัยใหม่มากทีเดียว
  • 12:56 - 12:58
    โดยปกติแล้ว พนักงานสอบสวน
  • 12:58 - 13:01
    ไม่ได้ทารุณนักโทษ
  • 13:01 - 13:04
    แต่เขานำระบบที่ซับซ้อน
  • 13:04 - 13:06
    ของการกดดันทางจิตวิทยามาใช้แทน
  • 13:06 - 13:10
    ซึ่งใช้การแยกขังเดี่ยวที่เข้มงวดเป็นหลัก
  • 13:10 - 13:12
    เกือบไม่มีนักโทษคนใดต้านทานได้
  • 13:12 - 13:16
    โดยไม่เปิดปากให้หลักฐาน
  • 13:16 - 13:18
    ถ้าคุณมีโอกาส
  • 13:18 - 13:21
    ขอให้ไปเยือนคุกสตาซิเก่า
    ในกรุงเบอร์ลิน
  • 13:21 - 13:25
    และไปกับมัคคุเทศน์
    ที่เคยเป็นนักโทษการเมือง
  • 13:25 - 13:28
    ซึ่งจะอธิบายให้คุณฟังว่า
    วิธีนี้ได้ผลได้อย่างไร
  • 13:28 - 13:31
    อีกหนึ่งคำถามที่จำเป็นต้องตอบ ได้แก่
  • 13:31 - 13:33
    ถ้าสตาซิ ปฏิบัติการได้อย่างดีมากแล้ว
  • 13:33 - 13:37
    ทำไมระบอบคอมมิวนิสต์ จึงล่มสลาย
  • 13:37 - 13:42
    ประการแรก ในปี 1989
    ผู้นำเยอรมันตะวันออก
  • 13:42 - 13:44
    ไม่แน่ใจว่าจะทำอะไร เพื่อต่อต้าน
  • 13:44 - 13:47
    ประชาชนที่ประท้วง ซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้น
  • 13:47 - 13:49
    มันสับสนอย่างยิ่ง
  • 13:49 - 13:52
    เพราะว่า ในประเทศแม่แบบของสังคมนิยม
  • 13:52 - 13:53
    หรือสหภาพโซเวียตนั้น
  • 13:53 - 13:57
    เริ่มเกิดนโยบายที่ให้เสรีภาพมากขึ้น
  • 13:57 - 13:59
    นอกจากนี้ ระบอบนั้นยังพึ่งพา
  • 13:59 - 14:03
    เงินกู้จากโลกตะวันตก
  • 14:03 - 14:05
    จึงหยุดสั่งการปราบปรามการจราจล
  • 14:05 - 14:08
    มาที่สตาซิ
  • 14:08 - 14:12
    ประการที่สอง ในอุดมการณ์
    ของคอมมิวนิสต์นั้น
  • 14:12 - 14:15
    ไม่มีที่สำหรับการให้วิพากษ์วิจารณ์
  • 14:15 - 14:17
    ผู้นำจึงติดอยู่กับความเชื่อที่ว่า
  • 14:17 - 14:20
    สังคมนิยมเป็นระบบที่สมบูรณ์แบบ
  • 14:20 - 14:24
    และสตาซิ ก็ต้องยืนยันในเรื่องนั้น
    แน่นอนครับ
  • 14:24 - 14:26
    ผลลัพธ์ก็คือ
  • 14:26 - 14:29
    แม้ว่าจะได้ข้อมูลทั้งหมดมา
  • 14:29 - 14:33
    ระบอบการปกครองก็ไม่สามารถวิเคราะห์
    ปัญหาที่แท้จริงของมัน
  • 14:33 - 14:36
    จึงไม่สามารถแก้ปัญหานั้นๆ ได้
  • 14:36 - 14:38
    ท้ายที่สุด สตาซิก็ตายไป
  • 14:38 - 14:40
    เหตุเพราะระบบและโครงสร้าง
  • 14:40 - 14:44
    ที่มันรับผิดชอบปกป้องอยู่นั่นเอง
  • 14:44 - 14:46
    การจบสิ้นของสตาซินั้น
  • 14:46 - 14:48
    เป็นอะไรที่เศร้าสลด
  • 14:48 - 14:50
    เพราะว่าพนักงานเหล่านี้
  • 14:50 - 14:53
    ตลอดช่วงการปฏิวัติอย่างสงบนั้น
  • 14:53 - 14:55
    ต้องยุ่งอยู่กับงานเพียงอย่างเดียว
  • 14:55 - 14:58
    คือ การทำลายเอกสาร
  • 14:58 - 15:01
    ที่พวกเขาได้ทำขึ้นมา
    ตลอดหลายทศวรรษ
  • 15:01 - 15:03
    แต่โชคดี
  • 15:03 - 15:07
    ที่นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน
    เข้าไปหยุดพวกเขาไว้
  • 15:07 - 15:10
    นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมทุกวันนี้
    เราจึงมีข้อมูลเหล่านี้
  • 15:10 - 15:11
    ให้นำมาใช้ทำความเข้าใจ
  • 15:11 - 15:14
    การทำงานสอดแนมของรัฐ
  • 15:14 - 15:16
    ขอบคุณครับ
  • 15:16 - 15:20
    (เสียงปรบมือ)
  • 15:25 - 15:31
    บรูโน เกียสสะนี: ขอบคุณ ขอบคุณมากครับ
  • 15:31 - 15:33
    ครับ ฮูเบอร์ทุส ผมอยากจะถามคุณ
    สักสองคำถาม
  • 15:33 - 15:36
    เพราะตรงนี้ ผมมี เดอร์ สเปียเกล
    จากสัปดาห์ที่แล้ว
  • 15:36 - 15:41
    "มาย นาชบาร์ เอ็นเอสเอ" เพื่อนบ้านผม
    เป็น เอ็นเอสเอ
  • 15:41 - 15:44
    และคุณก็เพิ่งจะเล่าให้เราฟัง
    เกี่ยวกับเพื่อนบ้านผม
  • 15:44 - 15:47
    ซึ่งเป็นสายลับและสายข่าว
    จากเยอรมันตะวันออก
  • 15:47 - 15:49
    ทั้งสองเรื่องนี้มีการเชื่อมโยงกันโดยตรง
  • 15:49 - 15:51
    หรือไม่มี? ในฐานะนักประวัติศาสตร์
  • 15:51 - 15:53
    คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นสิ่งนี้
  • 15:53 - 15:55
    ฮิวเบอร์ทุส คนาเบ: ผมคิดว่า
  • 15:55 - 15:57
    มีลักษณะหลายอย่าง ที่จะกล่าวถึง
  • 15:57 - 16:00
    ตอนแรก ผมคิดว่า มีความแตกต่างกัน
  • 16:00 - 16:04
    ในเรื่องว่า ทำไมคุณจึงเก็บรวบรวมข้อมูลนี้
  • 16:04 - 16:06
    คุณทำเพื่อปกป้องประชาชนของคุณ
  • 16:06 - 16:08
    จากการจู่โจมของผู้ก่อการร้าย
  • 16:08 - 16:11
    หรือ คุณทำเพื่อกดขี่ประชาชนของคุณ?
  • 16:11 - 16:13
    นั่นจึงเป็นความแตกต่างพื้นฐาน
  • 16:13 - 16:15
    แต่อีกแง่หนึ่ง
  • 16:15 - 16:19
    ในระบอบประชาธิปไตย เครื่องมือเหล่านี้
    อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดเช่นกัน
  • 16:19 - 16:21
    และนั่นเป็นสิ่งที่เราจะต้องตระหนัก
  • 16:21 - 16:23
    เพื่อจะหยุดยั้งมัน
  • 16:23 - 16:26
    และงานด้านการสืบราชการลับ
  • 16:26 - 16:29
    ก็ต้องเคารพกฎเกณฑ์ที่เรามีอยู่ด้วย
  • 16:29 - 16:30
    ข้อที่สาม น่าจะเป็นว่า
  • 16:30 - 16:34
    เราควรจะดีใจจริงๆ นะ
    ที่เราอยู่ในระบอบประชาธิปไตย
  • 16:34 - 16:37
    เพราะคุณสามารถมั่นใจได้ว่า รัสเซียและจีน
  • 16:37 - 16:39
    ก็ทำแบบนี้เหมือนกัน
  • 16:39 - 16:40
    แต่ไม่มีใครพูดถึง
  • 16:40 - 16:43
    เพราะว่า ไม่มีใครสามารถพูดถึงมันได้
  • 16:43 - 16:48
    (เสียงปรบมือ)
  • 16:49 - 16:51
    บีจี: เมื่อเรื่องแดงออกมาครั้งแรก
  • 16:51 - 16:54
    เดือนกรกฎาที่แล้ว ปีที่แล้ว
  • 16:54 - 16:56
    คุณได้ยื่นคำร้องคดีอาญา
  • 16:56 - 16:59
    ต่อศาลยุติธรรมเยอรมัน ทำไมหรือครับ?
  • 16:59 - 17:03
    เอชเค: ผมทำก็เพราะเหตุผลข้อสอง
    ที่พูดไปแล้ว
  • 17:03 - 17:06
    ที่ผมคิดว่า โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตย
  • 17:06 - 17:09
    กฎเกณฑ์มีไว้สำหรับทุกๆ คน
  • 17:09 - 17:11
    กฎเหล่านั้นทำขึ้นเพื่อทุกๆ คน
  • 17:11 - 17:15
    จึงไม่อนุญาตให้สถาบันใดๆ
    ไม่เคารพกฎเกณฑ์นั้น
  • 17:15 - 17:17
    ในประมวลกฎหมายอาญาของเยอรมัน
    เขียนไว้ว่า
  • 17:17 - 17:19
    ไม่อนุญาตให้ดักฟังโทรศัพท์ของผู้ใด
  • 17:19 - 17:21
    โดยไม่มีคำสั่งจากผู้พิพากษา
  • 17:21 - 17:25
    โชคดีที่ มีการบัญญัติไว้
    ในประมวลกฎหมายอาญา
  • 17:25 - 17:29
    ดังนั้น ถ้าไม่เคารพกฎหมาย ผมก็คิดว่า
  • 17:29 - 17:31
    การสืบสวนสอบสวนก็จำเป็น
  • 17:31 - 17:33
    และมันใช้เวลามาก
  • 17:33 - 17:35
    กว่าอัยการเยอรมันจะเริ่มต้นทำคดีนี้
  • 17:35 - 17:39
    และเขาเริ่มต้นทำ เฉพาะในคดีของ
    แองเกลา เมอร์เคล
  • 17:39 - 17:42
    ไม่ได้ทำคดีคนอื่นๆ ทั้งหมด
    ที่อยู่ในเยอรมัน
  • 17:42 - 17:44
    บีจี: เรื่องนั้นไม่ได้ทำให้ผมแปลกใจ เพราะ
  • 17:44 - 17:46
    (เสียงปรบมือ)---
  • 17:46 - 17:50
    เพราะเรื่องที่คุณเล่าไปแล้ว
  • 17:50 - 17:52
    ถ้าดูจากภายนอก ผมอยู่นอกประเทศเยอรมัน
  • 17:52 - 17:54
    และผมคาดว่า คนเยอรมันจะมีปฏิกริยา
  • 17:54 - 17:57
    อย่างเข้มแข็งมากยิ่งกว่า ในทันทีทันใด
  • 17:57 - 18:00
    แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ปฏิกริยาออกมาจริงๆ
  • 18:00 - 18:02
    ก็เมื่อมีการเผยว่านายกรัฐมนตรีเมอร์เคล
  • 18:02 - 18:05
    ถูกดักฟังโทรศัพท์ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
  • 18:05 - 18:07
    เอชเค: ผมถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี
  • 18:07 - 18:11
    เพราะคนรู้สึกปลอดภัยในประชาธิปไตยนี้แล้ว
  • 18:11 - 18:14
    พวกเขาไม่กลัวว่า จะถูกจับ
  • 18:14 - 18:17
    และถ้าคุณออกจากห้องประชุมนี้ไป
    หลังการประชุม
  • 18:17 - 18:19
    ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะมีตำรวจลับ
  • 18:19 - 18:22
    กำลังยืนอยู่ข้างนอกรอจับกุมคุณ
  • 18:22 - 18:23
    จึงเป็นสัญญาณที่ดี, ผมว่านะ
  • 18:23 - 18:26
    ผู้คนไม่ต้องกลัวอย่างที่เคยกลัว
  • 18:26 - 18:31
    แต่แน่นอนครับ ผมคิดว่า สถาบันเหล่านั้น
  • 18:31 - 18:33
    ต้องรับผิดชอบที่จะหยุดยั้ง
    การกระทำผิดกฎหมาย
  • 18:33 - 18:36
    ในเยอรมัน หรือที่ใดก็ตาม
    ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น
  • 18:36 - 18:39
    บีจี: คำถามส่วนตัว
    และเป็นคำถามสุดท้าย
  • 18:39 - 18:42
    มีการถกเถียงกันในเยอรมันเกี่ยวกับ
  • 18:42 - 18:43
    การให้ เอ็ดเวิร์ด สโนวเดน ลี้ภัย
  • 18:43 - 18:46
    คุณเห็นด้วย หรือคุณต่อต้านครับ
  • 18:46 - 18:48
    เอชเค: โอ เป็นคำถามที่ยาก
  • 18:48 - 18:49
    แต่ถ้าคุณถามผม
  • 18:49 - 18:51
    และถ้าผมตอบอย่างสุจริตใจ
  • 18:51 - 18:53
    ผมก็จะให้เขาได้ลี้ภัย เพราะ
  • 18:53 - 18:55
    ผมคิดว่า เขาทำเรื่องที่กล้าหาญอย่างแท้จริง
  • 18:55 - 18:58
    และเรื่องนั้นได้ทำลายชีวิตทั้งหมดของเขา
  • 18:58 - 18:59
    และครอบครัวเขา และทุกสิ่งทุกอย่าง
  • 18:59 - 19:02
    ผมจึงคิดว่า เพื่อคนเหล่านี้
    เราควรทำบางสิ่งบางอย่าง
  • 19:02 - 19:07
    และโดยเฉพาะ ถ้าคุณดูประวัติศาสตร์เยอรมัน
  • 19:07 - 19:09
    ที่คนจำนวนมากต้องลี้ภัยไป
  • 19:09 - 19:11
    และพวกเขาขอลี้ภัยในประเทศอื่น
  • 19:11 - 19:13
    และพวกเขาไม่ได้การตอบรับ
  • 19:13 - 19:16
    จึงเป็นสัญญาณที่ดี ที่ให้เขาลี้ภัยเข้ามา
  • 19:16 - 19:17
    (เสียงปรบมือ)
  • 19:17 - 19:24
    บีจี: คุณฮูเบอร์ทุส ขอบคุณมากครับ
Title:
ความลับที่ดำมืดของรัฐที่สอดแนมประชาชน
Speaker:
ฮูเบอร์ทุส คนาเบ
Description:

นำเที่ยวโลกที่ดำมืดของหน่วยงานด้านความมั่นคงของเยอรมันตะวันออก ที่รู้จักกันในชื่อว่า สตาซิ ซึ่งมีอำนาจเฉพาะพิเศษในการสอดแนมพลเมืองของตัวเอง จวบจนถึงเมื่อกำแพงเบอร์ลินถูกพังลงในปี 1989 สตาชิเป็นผู้วางแผนและควบคุมสั่งการระบบการสอดแนมและการกดดันทางจิตวิทยา ที่ทำให้ประเทศนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมมานานหลายทศวรรษ
ฮูเบอร์ทุส คนาเบ ศึกษาหน่วยสตาซินี้ และเป็นคนถูกสอดแนมเองด้วย เขามาเล่าสู่กันฟังถึงรายละเอียดที่น่าทึ่ง ตั้งแต่การล่มสลายของรัฐที่สอดแนมประชาชน และแสดงให้เห็นว่า มันง่ายแค่ไหนที่เพื่อนบ้านจะหักหลังเพื่อนบ้านด้วยกันเอง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
19:38

Thai subtitles

Revisions