Return to Video

ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของความโศกเศร้า - คอร์ทนีย์ สตีเฟน (Courtney Stephens)

  • 0:07 - 0:10
    ความเศร้าเป็นส่วนหนึ่ง
    ของประสบการณ์ของมนุษย์
  • 0:10 - 0:13
    แต่เป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้ว
    ที่มีการถกเถียงกันอย่างมาก
  • 0:13 - 0:17
    ว่าความเศร้าคืออะไรกันแน่
    และถ้าเราทำอะไรได้ จะทำอะไรกับมัน
  • 0:17 - 0:19
    พูดง่ายๆ ก็คือ
  • 0:19 - 0:21
    ความเศร้ามักจะถูกคิดว่า
  • 0:21 - 0:24
    เป็นปฏิกริยาตามธรรมชาติ
    ต่อสถานการณ์ที่ยากลำบาก
  • 0:24 - 0:28
    คุณรู้สึกเศร้าเมื่อเพื่อนย้ายไป
    หรือเมื่อสัตว์เลี้ยงตาย
  • 0:28 - 0:30
    เวลาเพื่อนคนหนึ่งพูดว่า "ฉันเศร้า"
  • 0:30 - 0:33
    คุณมักตอบด้วยการถามว่า
    "เกิดอะไรขึ้น"
  • 0:33 - 0:37
    แต่การสรุปว่าความเศร้ามีสาเหตุ
    มาจากภายนอก ข้างนอกตัวเรา
  • 0:37 - 0:40
    เป็นความคิดที่ค่อนข้างใหม่
  • 0:40 - 0:42
    แพทย์กรีกโบราณไม่ได้มองความเศร้าอย่างนั้น
  • 0:42 - 0:46
    พวกเขาเชื่อว่า มีของเหลวสีดำ
    อยู่ภายในร่างกาย
  • 0:46 - 0:49
    ตามความเชื่อเรื่องระบบของเหลว
  • 0:49 - 0:53
    ร่างกายและวิญญานมนุษย์ถูกควบคุมด้วย
    ของเหลวสี่ชนิด เป็นที่รู้จักในนามฮิวเมอร์
  • 0:53 - 0:58
    และความสมดุลระหว่างของเหลวทั้งสี่
    มีอิทธิพลโดยตรงต่อสุขภาพและอารมณ์ของมนุษย์
  • 0:58 - 1:01
    คำว่า เมลานโคเลีย (Melancholia)
    มาจากคำว่า เมไลน่า โคเล
  • 1:01 - 1:06
    เป็นคำเรียกน้ำดีสีดำ
    ของเหลวซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุของความเศร้า
  • 1:06 - 1:08
    ด้วยการปรับเปลี่ยนอาหารของคุณ
    และด้วยวิธีทางการแพทย์
  • 1:08 - 1:11
    คุณสามารถทำให้ของเหลวของคุณ
    ให้อยู่ในสมดุลได้
  • 1:11 - 1:14
    ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน
    เรารู้มากขึ้นเกี่ยวกับระบบต่างๆ
  • 1:14 - 1:15
    ที่ควบคุมร่างกายมนุษย์
  • 1:15 - 1:17
    ความคิดแบบกรีกเกี่ยวกับความเศร้านี้
  • 1:17 - 1:19
    ก็สอดคล้องกับความเห็นในปัจจุบัน
  • 1:19 - 1:22
    ไม่ได้หมายถึง
    ความเศร้าที่เรารู้สึกเป็นครั้งคราว
  • 1:22 - 1:24
    แต่หมายถึงโรคซึมเศร้า
  • 1:24 - 1:26
    แพทย์เชื่อว่า
    สภาวะทางอารมณ์ที่อธิบายไม่ได้
  • 1:26 - 1:32
    และมีอาการมานานบางอย่าง
    อย่างน้อยบางส่วนก็เกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมอง
  • 1:32 - 1:36
    และความสมดุลของสารเคมีต่างๆ ในสมอง
  • 1:36 - 1:37
    เช่นเดียวกับระบบของกรีก
  • 1:37 - 1:40
    การเสียสมดุลของสารเคมีเหล่านี้
    อาจมีผลอย่างมาก
  • 1:40 - 1:44
    ว่าเราตอบสนองต่อสถานการณ์
    ที่ยากลำบากสาหัสอย่างไร
  • 1:44 - 1:47
    มีเรื่องที่ทำสืบกันมานาน
    ในความพยายามที่จะเข้าใจ
  • 1:47 - 1:49
    คุณค่าของความโศกเศร้า
  • 1:49 - 1:50
    และในการอภิปรายกันนั้น
  • 1:50 - 1:53
    คุณจะพบการโต้เถียงอย่างหนักแน่นว่า
    ความเศร้า
  • 1:53 - 1:56
    ไม่ใช่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
    แต่เป็นสิ่งจำเป็นทีเดียว
  • 1:56 - 1:58
    ถ้าคุณไม่เคยรู้สึกโศกเศร้า
  • 1:58 - 2:02
    คุณจะพลาดส่วนที่ทำให้เราเป็นมนุษย์
  • 2:02 - 2:06
    นักคิดหลายคนยืนยันว่าความโศกเศร้านั้น
    จำเป็นต่อการได้มาซึ่งภูมิปัญญา
  • 2:06 - 2:09
    โรเบิร์ต เบอร์ตัน เกิดในปี ค.ศ.1577
  • 2:09 - 2:13
    ใช้ชีวิตในการศึกษาสาเหตุ
    และประสบการณ์ของความโศกเศร้า
  • 2:13 - 2:16
    ในผลงานชิ้นเอกของเขา
    "กายวิภาคของความโศกเศร้า"
  • 2:16 - 2:21
    เบอร์ตันเขียนว่า " ผู้ที่เพิ่มพูนปัญญา
    เพิ่มพูนความโศกเศร้า"
  • 2:21 - 2:24
    นักกวีโรแมนติกช่วงต้นศตวรรษที่ 19
  • 2:24 - 2:29
    เชื่อว่าความโศกเศร้าทำให้เราสามารถ
    เข้าใจถึงอารมณ์อันลึกซึ้งอื่นๆ อย่างถ่องแท้
  • 2:29 - 2:31
    เช่น ความงดงาม และความเบิกบาน
  • 2:31 - 2:35
    การเข้าใจความเศร้าของต้นไม้
    ที่สูญเสียใบของมันฤดูใบไม้ร่วง
  • 2:35 - 2:40
    คือการเข้าใจเปี่ยมล้นถึงวงจรชีวิต
    ที่นำมาซึ่งดอกไม้ในฤดูใบไม้ผลิ
  • 2:40 - 2:46
    แต่ภูมิปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ ดูเหมือน
    จะอยู่ค่อนข้างสูงในขั้นความต้องการของมนุษย์
  • 2:46 - 2:49
    ความโศกเศร้ามีคุณค่าระดับพื้นฐาน
    และชัดเจน
  • 2:49 - 2:51
    บางทีแม้กระทั่งในในระดับวิวัฒนาการ หรือเปล่า
  • 2:51 - 2:54
    นักวิทยาศาตร์คิดว่าการร้องให้
    และความรู้สึกที่ถูกแยกตัวออกมา
  • 2:54 - 2:58
    คือสิ่งที่ช่วยให้บรรพบุรุษของเรา
    กระชับความสัมพันธ์ทางสังคม
  • 2:58 - 3:01
    และช่วยให้พวกเขาได้รับ
    การสนับสนุนที่เขาต้องการ
  • 3:01 - 3:05
    ตรงข้ามกับความโกรธหรือความรุนแรง
    ความโศกเศร้าเป็นการแสดงออกของทุกข์ทรมาน
  • 3:05 - 3:09
    ที่สามารถทำให้ผู้คนเข้าใกล้
    ผู้ทุกข์ทรมานได้ทันที
  • 3:09 - 3:14
    และช่วยให้คนทั้งสองและชุมชนเติบโต
  • 3:14 - 3:17
    บางทีความเศร้าอาจช่วยสร้างความเป็นหนึ่งเดียว
    ที่เราต้องการเพื่อความอยู่รอด
  • 3:17 - 3:20
    แต่หลายคนคงสงสัยว่า
    ความทุกข์ทรมานที่ผู้อื่นรู้สีก
  • 3:20 - 3:24
    จะเหมือนกับความทุกข์ทรมาน
    ที่เราประสบเองหรือไม่
  • 3:24 - 3:26
    กวีเอมิลี่ ดิคกินสัน เขียนไว้ว่า
  • 3:26 - 3:30
    "ฉันวัดทุกความโศกเศร้า ที่ฉันพบพาน
    ด้วยดวงตาเล็กๆ ที่สืบเสาะ -
  • 3:30 - 3:35
    ฉันฉงนว่ามันมีน้ำหนัก
    เหมือนตัวฉันเองหรือเบากว่า"
  • 3:35 - 3:37
    และในศตวรรษที่ 20
  • 3:37 - 3:40
    นักมนุษยวิทยาการแพทย์
    อย่าง อาเธอร์ ไคลน์มัน
  • 3:40 - 3:43
    รวบรวมหลักฐานจากวิธีที่ผู้คนพูดถึง
    ความเจ็บปวด
  • 3:43 - 3:47
    เพื่อจะชี้ว่า
    อารมณ์ไม่ใช่ลักษณะสากล
  • 3:47 - 3:50
    และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    วิธีที่เราใช้ภาษา
  • 3:50 - 3:53
    สามารถมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเราได้
  • 3:53 - 3:54
    เมื่อเราพูดถึงเรื่องอกหัก
  • 3:54 - 3:58
    ความรู้สึกของการอกหักกลายมาเป็น
    ส่วนหนึ่งของประสบการณ์ของเรา
  • 3:58 - 4:01
    ขณะที่วัฒนธรรมที่พูดถึง
    หัวใจอันชอกช้ำ
  • 4:01 - 4:05
    กลับเป็นประสบการณ์
    ที่ต่างกันไปในแต่ละคน
  • 4:05 - 4:07
    นักคิดร่วมสมัยบางคนไม่สนใจ
  • 4:07 - 4:10
    ว่าความเศร้าเป็นเรื่องเฉพาะคน
    หรือเป็นสากล
  • 4:10 - 4:15
    และเลือกใช้เทคโนโลยีในการ
    กำจัดความทุกข์ในทุกรูปแบบ
  • 4:15 - 4:18
    เดวิด เพียรซ์ แนะว่าพันธุวิศวกรรม
  • 4:18 - 4:21
    และการกระบวนการร่วมสมัยอื่นๆ
  • 4:21 - 4:25
    ไม่เพียงจะสามารถเปลี่ยนวิธีที่มนุษย์รับรู้
    ความเจ็บปวดทางร่างกายและอารมณ์เท่านั้น
  • 4:25 - 4:28
    แต่ระบบนิเวศของโลก
    ควรได้รับการออกแบบใหม่
  • 4:28 - 4:31
    เพื่อสัตว์จะไม่ต้องทุกข์ทรมานในป่า
  • 4:31 - 4:34
    เขาเรียกโครงการของเขาว่า
    "สรวงสวรรค์วิศวกรรม"
  • 4:34 - 4:37
    แต่ทว่า มีอะไรที่น่าเศร้าเกี่ยวกับ
    โลกที่ปราศจากความเศร้าไหมนะ
  • 4:37 - 4:40
    บรรพบุรุษมนุษย์ถ้ำหรือกวีคนโปรดของเรา
  • 4:40 - 4:43
    อาจจะไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของสวรรค์แบบนั้น
  • 4:43 - 4:48
    อันที่จริง สิ่งเดียวเกี่ยวกับความเศร้า
    ที่เหมือนทุกคนจะเห็นพ้องต้องกัน
  • 4:48 - 4:51
    คือผู้คนส่วนใหญ่รู้สึกถึงมันมาได้โดยตลอด
  • 4:51 - 4:53
    และนั่นก็เป็นมาหลายพันปีแล้ว
  • 4:53 - 4:57
    หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุด ที่เราจะรับมือ
    กับอารมณ์ที่สร้างความลำบากใจนี้
  • 4:57 - 5:01
    คือการพูดมันออกมาตรงๆ และพยายามแสดงออก
    สิ่งที่รู้สึกว่าไม่สามารถแสดงออกมาได้
  • 5:01 - 5:03
    ดังกลอนของ เอมิลี่ ดิคกินสัน
  • 5:03 - 5:08
    "ความหวังคือสิ่งที่มีปีก -
    ที่เกาะอยู้ในใจ -
  • 5:08 - 5:11
    และร้องท่วงทำนองโดยปราศจากคำพูด -
    แต่ไม่เคยได้หยุด- เลย-"
Title:
ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของความโศกเศร้า - คอร์ทนีย์ สตีเฟน (Courtney Stephens)
Speaker:
Courtney Stephens
Description:

ดูบทเรียนฉบับเต็มที่ : http://ed.ted.com/lessons/a-brief-history-of-melancholy-courtney-stephens

ถ้าคุณเป็นมนุษย์ที่มีชีวิต มีลมหายใจ มีโอกาสที่คุณจะรู้สีกโศกเศร้าอย่างน้อยสองสามครั้งในชีวิต จริงๆ แล้วความโศกเศร้าคืออะไรกันแน่ และเราควรจะทำอย่างไรกับมัน (ถ้ามีอะไรที่เราจะทำได้) คอร์ทนืย์ สตีเฟน เล่ารายละเอียดความเข้าใจที่ยังพัฒนาไปเรื่อยๆ ของเราเกี่ยวกับความโศกเศร้า และยกตัวอย่างประโยชน์ของมันเสียด้วย

บทเรียนโดย คอร์ทนีย์ สตีเฟน (Courtney Stephens) แอนิเมชั่น โดย ชารอน โคลแมน เกรแฮม (Sharon Colman Graham)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:29
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for A brief history of melancholy
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A brief history of melancholy
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for A brief history of melancholy
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A brief history of melancholy
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A brief history of melancholy
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A brief history of melancholy
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A brief history of melancholy
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for A brief history of melancholy
Show all

Thai subtitles

Revisions