Return to Video

เราจะแก้ปัญหารถติดได้อย่างไร

  • 0:02 - 0:05
    สวัสดีครับ วันนี้ผมจะพูดเกี่ยวกับ
    เรื่องของการจราจรติดขัด
  • 0:05 - 0:06
    หรือที่เรียกกันว่ารถติด
  • 0:06 - 0:08
    รถติดเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นได้ทั่วไป
  • 0:08 - 0:11
    ในทุก ๆ เมืองที่อยู่ในโลกนี้
  • 0:11 - 0:13
    ซึ่งก็น่าแปลกใจเมื่อเรามาลองคิดดูว่า
  • 0:13 - 0:16
    เมืองเหล่านั้นจริง ๆ แล้ว
    ล้วนมีความแตกต่างกัน
  • 0:16 - 0:18
    เช่นเรามีเมืองในแถบยุโรป
  • 0:18 - 0:21
    ที่มีความหนาแน่นสูงที่ใจกลางเมือง
    มีการขนส่งสาธารณะที่ดี
  • 0:21 - 0:23
    ส่วนใหญ่ไม่ได้มีถนนมากมายอะไร
  • 0:23 - 0:26
    ในขณะเดียวกันเราก็มีเมืองในอเมริกา
  • 0:26 - 0:28
    ที่ใช้รถส่วนตัว โอเค
  • 0:28 - 0:31
    แทบทุกแห่ง เมืองในแบบอเมริกัน
  • 0:31 - 0:34
    มีถนนเต็มไปหมด
    กระจายไปทั่วพื้นที่กว้างขวาง
  • 0:34 - 0:36
    เกือบจะไม่มีการขนส่งสาธาณะเลย
  • 0:36 - 0:38
    แล้วเราก็มีเมืองต่างๆที่เกิดขึ้นใหม่
  • 0:38 - 0:40
    ที่มีรถยนต์หลากหลายประเภท
  • 0:40 - 0:42
    ที่มีรูปแบบการใช้ที่ดินหลากหลาย
    มีการพัฒนาแบบกระจายตัว
  • 0:42 - 0:45
    แต่ก็มักมีความหนาแน่นที่ใจกลางเมือง
  • 0:45 - 0:47
    นักวางแผนจราจรทั่วโลกได้ทดลอง
  • 0:47 - 0:51
    ใช้มาตรการต่างๆมากมาย
    ไม่ว่ากับเมืองที่หนาแน่นหรือกระจายตัว
  • 0:51 - 0:53
    ทั้งกับเมืองที่มีถนนมาก
    หรือที่เน้นการขนส่งสาธารณะ
  • 0:53 - 0:56
    เมืองที่เน้นทางจักรยาน
    หรือที่เน้นการให้ข้อมูลข่าวสาร
  • 0:56 - 1:00
    เมืองที่มีความแตกต่างกันมากหลาย ๆ อย่าง
    แต่มาตรการทั้งหมดนี้ไม่ได้ผลเลย
  • 1:00 - 1:03
    แต่มันมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน
  • 1:03 - 1:05
    ก็คือความพยายามที่จะตอบคำถามที่ว่า
  • 1:05 - 1:09
    คนเราต้องทำอะไรแทนที่
    จะขับรถในชั่วโมงเร่งด่วน
  • 1:09 - 1:12
    มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผน
  • 1:12 - 1:15
    ว่าคนอื่นๆควรทำอะไร
    วางแผนชีวิตให้พวกเขา
  • 1:15 - 1:17
    แต่การวางแผนระบบสังคมที่ซับซ้อน
  • 1:17 - 1:20
    มันเป็นเรื่องยากที่จะทำ
    ให้ผมเล่าเรื่องให้คุณฟังสักเรื่องหนึ่ง
  • 1:20 - 1:23
    ย้อนหลังไปในปี ค.ศ.1989
    ปีที่กำแพงเบอร์ลินล่มสลาย
  • 1:23 - 1:26
    นักวางแผนการพัฒนาเมือง
    ในลอนดอนได้รับโทรศัพท์
  • 1:26 - 1:28
    จากเพื่อนร่วมงานในมอสโคว์ว่า
  • 1:28 - 1:31
    " ฮัลโหล นี่ วลาดิเมียร์พูดนะ
    ผมอยากรู้จังเลยว่า
  • 1:31 - 1:34
    ใครที่ดูแลเรื่องการจัดส่ง
    ขนมปังในลอนดอนเหรอ "
  • 1:34 - 1:36
    จากนั้นนักพัฒนาเมืองก็ตอบว่า
  • 1:36 - 1:38
    " คุณพูดว่าอะไรนะ ใครที่ดูแล ...
  • 1:38 - 1:39
    ผมหมายความว่า ไม่มีหรอก "
  • 1:39 - 1:41
    " โอ้ว แต่ต้องมีใครบางคนดูเรื่องนี้อยู่สิ
  • 1:41 - 1:44
    ผมหมายถึง มันเป็นระบบที่ซับซ้อนมากเลย
    ใครบางคนต้องควบคุมมันอยู่แน่ ๆ เลย"
  • 1:44 - 1:47
    " ไม่ ไม่มีหรอก ไม่มีหรอก
  • 1:47 - 1:50
    ผมหมายถึง โดยทั่วไปแล้ว
    ผมไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้
  • 1:50 - 1:53
    โดยทั่วไปแล้วมันจัดการของมันเอง "
  • 1:53 - 1:55
    มันจัดการของมันเอง
  • 1:55 - 1:58
    นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของ
    ระบบทางสังคมที่ซับซ้อน
  • 1:58 - 2:01
    ที่สามารถจะจัดการด้วยตัวเองได้
  • 2:01 - 2:03
    และนี่เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง
  • 2:03 - 2:07
    เมื่อคุณพยายาม
    ที่จะแก้ปัญหาสังคมที่ซับซ้อน
  • 2:07 - 2:08
    สิ่งที่เราต้องทำส่วนใหญ่ก็คือ
  • 2:08 - 2:10
    การสร้างแรงจูงใจ
  • 2:10 - 2:12
    คุณไม่ต้องวางแผน
    ในรายละเอียดปลีกย่อย
  • 2:12 - 2:15
    แต่ผู้คนก็จะค้นหาเองว่า
    พวกเค้าต้องทำอะไรบ้าง
  • 2:15 - 2:16
    จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่อย่างไร
  • 2:16 - 2:20
    และคราวนี้เรามาลองดูว่าเราจะใช้ความรู้นี้
  • 2:20 - 2:22
    เพื่อต่อกรกับปัญหารถติดได้อย่างไร
  • 2:22 - 2:24
    นี่คือแผนที่ของสตอกโฮล์ม
    บ้านเกิดของผมเอง
  • 2:24 - 2:27
    ปัจจุบัน สตอกโฮล์มเป็นเมืองขนาดกลาง
    ที่มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน
  • 2:27 - 2:30
    แต่สตอกโฮล์มมีพื้นที่ที่เป็นน้ำเต็มไปหมด
  • 2:30 - 2:33
    นั่นหมายถึงต้องมีสะพานเยอะเลย
    สะพานแคบ ๆ สะพานเก่า ๆ เต็มไปหมด
  • 2:33 - 2:37
    และนั่นหมายถึงรถติด
  • 2:37 - 2:40
    จุดสีแดงเหล่านี้แสดงถึงบริเวณ
    ที่รถติดมากที่สุดของเมือง
  • 2:40 - 2:43
    นั่นก็คือสะพานที่เชื่อมเข้าสู่ใจกลางเมือง
  • 2:43 - 2:45
    จากนั้นมีบางคนปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่า
  • 2:45 - 2:47
    นอกจากการมีขนส่งสาธารณะที่ดีแล้ว
  • 2:47 - 2:50
    นอกจากการใช้เงินไปกับการสร้างถนนหนทาง
  • 2:50 - 2:54
    เรามาลองเก็บเงินสัก 1 หรือ 2 ยูโร
    กับคนที่ขับรถผ่านสะพานเหล่านี้
  • 2:54 - 2:57
    1 หรือ 2 ยูโร จริง ๆ ไม่ใช่เงินมากมายอะไร
  • 2:57 - 2:59
    เมื่อเทียบกับค่าจอดรถและค่าน้ำมันรถ ฯลฯ
  • 2:59 - 3:02
    คุณอาจจะคิดไปว่าคนขับรถเหล่านั้น
  • 3:02 - 3:05
    อาจไม่มีปฏิกิริยาอะไร
    กับการเก็บเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้
  • 3:05 - 3:06
    คุณอาจจะคิดผิด
  • 3:06 - 3:10
    1 หรือ 2 ยูโร นั้นเพียงพอที่จะทำให้รถ 20%
  • 3:10 - 3:12
    หายไปจากท้องถนนในชั่วโมงเร่งด่วน
  • 3:12 - 3:16
    20% ใช่ มันค่อนข้างเป็นตัวเลข
    ที่สูงเลยล่ะ คุณอาจคิดอย่างนั้น
  • 3:16 - 3:18
    แต่ก็ยังเหลือปัญหาอีกตั้ง 80% ใช่หรือเปล่า
  • 3:18 - 3:20
    เพราะว่าคุณยังมีรถบนถนนอีกตั้ง 80%
  • 3:20 - 3:23
    นันก็ผิดอีกเหมือนกัน
    เพราะว่าเรื่องการจราจรนั้น
  • 3:23 - 3:26
    เป็นปรากฏการณ์แบบไม่เชิงเส้น
    หมายความว่า
  • 3:26 - 3:29
    เมื่อปริมาณจราจรเพิ่มขึ้นจนไปถึงระดับหนึ่ง
  • 3:29 - 3:32
    รถจะเริ่มติดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก
  • 3:32 - 3:35
    แต่โชคดีที่มันก็เป็นเช่นเดียวกัน
    ในทิศทางตรงกันข้าม
  • 3:35 - 3:38
    ถ้าคุณลดปริมาณจราจรลงระดับหนึ่ง
    เรื่องรถติด
  • 3:38 - 3:42
    ก็จะลดลงอย่างรวดเร็วมาก
    มากกว่าที่คุณจะคิดเสียอีก
  • 3:42 - 3:45
    การเก็บเงินค่าปรับทำให้จราจรติดขัด
    ได้ถูกนำมาใช้กับสตอกโฮล์ม
  • 3:45 - 3:49
    เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ.2006
    และรูปแรกก็คือรูป
  • 3:49 - 3:53
    ของเมืองสตอกโฮล์ม บนถนนแห่งหนึ่ง
    เมื่อวันที่ 2 มกราคม
  • 3:53 - 3:57
    ณ วันแรกที่ค่าปรับถูกนำมาใช้
    มันมีสภาพเป็นเช่นนี้ครับ
  • 3:57 - 4:00
    นี่คือผลของการเอารถ
  • 4:00 - 4:02
    20% ออกจากท้องถนน
  • 4:02 - 4:05
    คุณทำให้รถติดน้อยลงได้อย่างมาก
  • 4:05 - 4:08
    แต่ เหมือนที่ผมเคยบอกว่า
    คนขับรถปรับตัวใช่ไหมครับ
  • 4:08 - 4:11
    หลังจากนั้นพวกเขาจะกลับมาเพราะว่า
  • 4:11 - 4:13
    พวกเขาคงจะชินแล้วกับการถูกปรับ
  • 4:13 - 4:16
    ผิดอีกแล้วครับ ตอนนี้ผ่านไป 6 ปีครึ่งแล้ว
  • 4:16 - 4:18
    ตั้งแต่ค่าปรับถูกนำมาใช้ในสตอกโฮล์ม
  • 4:18 - 4:22
    เรายังมีปริมาณการจราจรที่ต่ำ
    เท่า ๆ กับตอนเริ่มแรก
  • 4:22 - 4:25
    แต่คุณจะเห็นว่า มันมีช่องว่างที่น่าสนใจ
  • 4:25 - 4:26
    ในปี ค.ศ. 2007
  • 4:26 - 4:29
    ก็คือ เรื่องค่าปรับ
  • 4:29 - 4:32
    ที่ถูกเริ่มทดลองนำมาใช้นั้น
    ดังนั้นจึงเริ่มนำมาใช้
  • 4:32 - 4:36
    ในเดือนมกราคม และถูกยกเลิก
    ตอนสิ้นเดือนกรกฎาคม
  • 4:36 - 4:38
    แต่ด้วยเสียงเรียกร้องของประชาชน
    ค่าปรับถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง
  • 4:38 - 4:42
    ในปี ค.ศ. 2007 นี่เป็นโอกาสที่สุดยอด
    ในทางวิทยาศาสตร์จริงๆ
  • 4:42 - 4:47
    มันเป็นการทดลองที่น่าสนุกในตอนเริ่มต้น
  • 4:47 - 4:48
    และจริงๆแล้วเราได้ทำมันถึง 2 ครั้ง
  • 4:48 - 4:50
    ส่วนตัวแล้ว
    ผมอยากจะทำมันทุก ๆ ปีเลยทีเดียว
  • 4:50 - 4:52
    แต่พวกเขาไม่ยอมให้ผมทำอย่างนั้น
  • 4:52 - 4:54
    อย่างไรก็ตามมันก็ยังน่าสนุก
  • 4:54 - 4:57
    แล้วเราก็ติดตามผล เกิดอะไรขึ้นหรือครับ
  • 4:57 - 5:01
    นี่คือวันสุดท้ายของช่วงทดลองค่าปรับ
    ในวันที่ 31 กรกฎาคม
  • 5:01 - 5:03
    ที่คุณเห็นเป็นถนนเดียวกัน
    แต่ตอนนี้เป็นช่วงหน้าร้อน
  • 5:03 - 5:05
    และหน้าร้อนในสตอกโฮล์ม
    เป็นช่วงเวลาที่เยี่ยมมาก
  • 5:05 - 5:07
    เป็นช่วงสบาย ๆ ของปี
  • 5:07 - 5:10
    และวันแรกหลังจากยกเลิกค่าปรับ
  • 5:10 - 5:11
    มีสภาพเป็นแบบนี้
  • 5:11 - 5:14
    รถทั่งหมดกลับมาอีกครั้ง และคุณต้องชื่นชม
  • 5:14 - 5:17
    คนใช้รถยนต์ พวกเขาปรับตัวได้รวดเร็วสุด ๆ
  • 5:17 - 5:19
    ตั้งแต่ในวันแรกที่พวกเขากลับมา
  • 5:19 - 5:24
    และผลกระทบนี้ยังคงต่อเนื่องต่อไป
    ตัวเลขในปี ค.ศ.2007 เลยเป็นเช่นนี้
  • 5:24 - 5:27
    ตัวเลขปริมาณจราจรเหล่านี้
    น่าตื่นเต้นจริง ๆ ครับ
  • 5:27 - 5:29
    และมันก็น่าจะหลาดใจเล็กน้อยและ
    เป็นประโยชน์ที่จะได้รู้
  • 5:29 - 5:32
    แต่ผมจะบอกว่าภาพที่น่าสนใจที่สุด
  • 5:32 - 5:36
    ที่ผมกำลังจะให้คุณดูวันนี้นั้นไม่ใช่อันนี้
    แต่เป็นอันนี้
  • 5:36 - 5:40
    ภาพนี้แสดงคะแนนเสียงสนับสนุนต่อ
    มาตรการค่าปรับจราจรติดขัดในสตอกโฮล์ม
  • 5:40 - 5:42
    และคุณจะเห็นว่าเมื่อมาตรการได้ถูกนำมาใช้
  • 5:42 - 5:47
    เมื่อตอนต้นของฤดูใบไม้ผลิในปี ค.ศ.2006
    ผู้คนต่อต้านอย่างรุนแรง
  • 5:47 - 5:50
    70% ของประชากร ไม่ต้องการมาตรการนี้
  • 5:50 - 5:51
    แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
  • 5:51 - 5:55
    ไม่ใช่สิ่งที่คุณคาดคิด
    ที่ผู้คนจะยิ่งต่อต้านมากขึ้น
  • 5:55 - 5:58
    ไม่ใช่ครับ มันเป็นไปในทางตรงกันข้าม
    พวกเขาเปลี่ยนใจ ถึงขนาดที่ว่า
  • 5:58 - 6:02
    ตอนนี้เรามีเสียงสนับสนุนถึง 70%
    ให้คงมาตรการนี้ไว้
  • 6:02 - 6:03
    นั่นหมายถึง ให้ผมย้ำอีกทีว่า:
  • 6:03 - 6:06
    70% ของประชากรในสตอกโฮล์ม
  • 6:06 - 6:10
    ต้องการให้ตั้งราคากับบางสิ่ง
    ทั้งที่มันเคยเป็นของฟรีมาก่อน
  • 6:10 - 6:14
    โอเค ทำไมมันเป็นอย่างนั้นไปได้ล่ะ
    มันเป็นไปได้อย่างไร
  • 6:14 - 6:17
    คิดอีกที ใครล่ะที่เปลี่ยน
  • 6:17 - 6:19
    ผมหมายถึง 20% ของผู้ใช้รถที่หายไป
  • 6:19 - 6:21
    แน่นอนว่าพวกเขาต้องไม่พอใจแน่ ๆ
  • 6:21 - 6:24
    แล้วพวกเขาไปไหนกันล่ะ ?
    ถ้าเราเข้าใจสิ่งนี้ได้
  • 6:24 - 6:28
    บางทีเราอาจจะรู้ได้ว่าทำไมผู้คนถึงรู้สึก
    ยินดีกับเรื่องนี้
  • 6:28 - 6:30
    เราได้ทำการสำรวจขนานใหญ่
    โดยใช้การสัมภาษณ์
  • 6:30 - 6:32
    และพยายามที่จะค้นหาว่า
  • 6:32 - 6:34
    ใครที่เปลี่ยนและพวกเขาไปไหน
  • 6:34 - 6:38
    และมันกลายเป็นว่าพวกเขาไม่รู้สึกตัว
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:38 - 6:43
    ด้วยเหตุผลบางอย่าง คนขับรถ
  • 6:43 - 6:47
    พวกเขามั่นใจว่า พวกเขาขับขี่ในเส้นทาง
    ที่พวกเขาเคยทำ
  • 6:47 - 6:49
    และทำไมเป็นอย่างนั้น
    เพราะรูปแบบการเดินทางนั้น
  • 6:49 - 6:51
    มีความไม่ผันแปรน้อยกว่าที่คุณคาดคิด
  • 6:51 - 6:54
    ในแต่ละวันผู้คนตัดสินใจในสิ่งใหม่ ๆ
    พวกเขาเปลี่ยนแปลงเสมอ
  • 6:54 - 6:57
    และโลกก็เปลี่ยนแปลงรอบ ๆ ตัวพวกเขา
    และแต่ละวัน
  • 6:57 - 7:00
    การตัดสินใจเหล่านี้ก็เหมือนการถูกสะกิดเบาๆ
  • 7:00 - 7:02
    ให้ขยับออกไปจากการขับรถในชั่วโมงเร่งด่วน
  • 7:02 - 7:04
    ในแบบที่ผู้คนไม่ได้สังเกตแม้แต่น้อย
  • 7:04 - 7:06
    พวกเขาไม่รู้สึกตัวเสียด้วยซ้ำ
  • 7:06 - 7:09
    อีกคำถามหนึ่งก็คือ ใครเล่าที่เปลี่ยนใจ
  • 7:09 - 7:11
    ใครละที่เปลี่ยนทัศนคติ
    และทำไมเป็นเช่นนั้น
  • 7:11 - 7:14
    ดังนั้นเราจึงทำการสำรวจอีกครั้งหนึ่ง
    เพื่อที่จะหาคำตอบ
  • 7:14 - 7:18
    ว่าทำไมผู้คนถึงเปลี่ยนใจ
    และกลุ่มไหนที่เปลี่ยนใจ
  • 7:18 - 7:21
    หลังจากการวิเคราะห์คำตอบเหล่านั้น
    เราพบว่า
  • 7:21 - 7:25
    เกินครึ่งหนึ่งเชื่อว่าพวกเขาไม่ได้เปลี่ยนใจ
  • 7:25 - 7:27
    พวกเขามั่นใจจริง ๆ ว่า พวกเขา
  • 7:27 - 7:30
    ชื่นชมมาตรการค่าปรับรถติดมาตลอด
  • 7:30 - 7:32
    นั่นคือเรากำลังอยู่กับสถานการณ์ที่
  • 7:32 - 7:35
    เราได้ลดปริมาณจราจรที่ข้ามแนวเขตเมือง
  • 7:35 - 7:38
    ได้ 20% และลดปัญหารถติดได้อย่างมากมาย
  • 7:38 - 7:41
    และผู้คนไม่รู้สึกตัวเลย
    ว่าพวกเขาได้เปลี่ยนพฤติกรรม
  • 7:41 - 7:45
    และพวกเขาเชื่อจริงๆว่า
    พวกเขาชื่นชอบมาตรการนี้มาโดยตลอด
  • 7:45 - 7:49
    นี่คือพลังของการสะกิดเบา ๆ
    เวลาที่เราพยายาม
  • 7:49 - 7:51
    แก้ปัญหาสังคมที่ซับซ้อน
    และเมื่อคุณทำอย่างนั้น
  • 7:51 - 7:55
    คุณไม่ต้องพยายามที่จะบอกผู้คนว่า
    พวกเขาจะต้องปรับตัวอย่างไร
  • 7:55 - 7:57
    คุณแค่ต้องสะกิดพวกเขาเบา ๆ
    ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
  • 7:57 - 7:59
    และถ้าคุณทำมันได้อย่างถูกต้อง
  • 7:59 - 8:01
    พวกเขาจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้น
  • 8:01 - 8:04
    และถ้าคุณทำมันได้อย่างถูกต้อง
    ผู้คนจะชื่นชอบมันในที่สุด
  • 8:04 - 8:07
    ขอบคุณครับ (เสียงปรบมือ)
Title:
เราจะแก้ปัญหารถติดได้อย่างไร
Speaker:
โจนาส อลิแอสสัน (Jonas Eliasson)
Description:

โชคร้ายที่ปัญหารถติดเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับเมืองใหญ่ ๆ เกือบทุกแห่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วน โจนาส เอลิแอสสัน แสดงให้เห็นว่าการสะกิดเพียงเบาๆเพื่อให้คนใช้รถจำนวนเล็กน้อยออกไปจากถนน สามารถทำให้ปัญหารถติดเป็นเพียงเรื่องในอดีต (บันทึกภาพที่ TEDxHelvetia)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
08:27
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How to solve traffic jams
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How to solve traffic jams
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How to solve traffic jams
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How to solve traffic jams
Rawee Ma accepted Thai subtitles for How to solve traffic jams
Rawee Ma declined Thai subtitles for How to solve traffic jams
Rawee Ma edited Thai subtitles for How to solve traffic jams
Rawee Ma edited Thai subtitles for How to solve traffic jams
Show all

Thai subtitles

Revisions