Return to Video

เหตุผลของคนโกง - เคลลี ริชมอนด์ โปป (Kelly Richmond Pope)

  • 0:07 - 0:10
    ถ้าเราถามคนทั่วไปว่า
    การขโมยนั้นผิดหรือไม่
  • 0:10 - 0:12
    ส่วนใหญ่คงตอบว่า "ผิดแน่นอน"
  • 0:12 - 0:17
    แต่กระนั้นในปีค.ศ. 2013 องค์กรต่างๆ ทั่วโลก
  • 0:17 - 0:22
    ยังคงสูญเงินให้กับการทุจริต
    ไปกว่า 3.7 ล้านล้านเหรียญ
  • 0:22 - 0:24
    ซึ่งมีทั้งในรูปของ การยักยอกเงิน
  • 0:24 - 0:26
    แชร์ลูกโซ่
  • 0:26 - 0:29
    และ การหลอกเคลมประกัน
  • 0:29 - 0:31
    นี่ไม่ใช่เป็นผลงานของมิจฉาชีพเพียงไม่กี่คน
  • 0:31 - 0:34
    ความจริงก็คือผู้คนทั่วไปล้วนมีโอกาส
    ที่จะตกอยู่ใต้อิทธิพลของการโกง
  • 0:34 - 0:36
    ไม่เพียงแต่กับสิ่งล่อใจทั้งหลาย
  • 0:36 - 0:41
    แต่ถึงขั้นกล่อมให้ตัวเองเชื่อว่า
    ไม่ได้ทำอะไรผิดอีกด้วย
  • 0:41 - 0:43
    แล้วทำไมถึงเกิดการโกงขึ้นได้ล่ะ?
  • 0:43 - 0:46
    แม้ว่าแรงจูงใจในการโกง
    จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน
  • 0:46 - 0:48
    ทฤษฎีสามเหลี่ยมทุจริต (the fraud triangle)
  • 0:48 - 0:51
    ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักอาชญาวิทยา
    ชื่อ โดนัลด์ เครสซี่ (Donald Cressey)
  • 0:51 - 0:54
    ได้บอกว่ามี 3 เงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการโกง
  • 0:54 - 0:58
    ได้แก่ แรงกดดัน (pressure) โอกาส (opportunity)
    และการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง (rationalization)
  • 0:58 - 1:03
    แรงกดดันนั้น บ่อยครั้งเป็นเสมือนแรงจูงใจ
    ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทุจริต
  • 1:03 - 1:04
    อาจเป็นได้ทั้ง ปัญหาหนี้สิน
  • 1:04 - 1:05
    การติดยา
  • 1:05 - 1:07
    การทำยอดขายให้ได้ตามเป้า
  • 1:07 - 1:08
    การตกงานกระทันหัน
  • 1:08 - 1:10
    หรือ การเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัว
  • 1:10 - 1:14
    ในเรื่องของโอกาส
    คนจำนวนมากทั้งในภาครัฐและเอกชน
  • 1:14 - 1:19
    สามารถเข้าถึงวิธีการต่างๆ ที่เอื้ออำนวยให้
    เกิดการทุจริตรวมถึงปกปิดมันเอาไว้
  • 1:19 - 1:21
    เช่น บัตรเครดิตองค์กร
  • 1:21 - 1:23
    ข้อมูลภายในองค์กร
  • 1:23 - 1:25
    หรือ อำนาจในการบริหารงบประมาณ
  • 1:25 - 1:26
    เมื่อมีทั้งปัจจัยจากแรงกดดัน
  • 1:26 - 1:30
    และโอกาสที่เอื้ออำนวย
    อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
  • 1:30 - 1:32
    ก็สามารถก่อให้เกิดเป็น
    สิ่งล่อใจที่ทรงอานุภาพ
  • 1:32 - 1:34
    แต่แม้ว่าจะมีปัจจัยทั้งสองอย่างข้างต้นแล้ว
  • 1:34 - 1:38
    การทุจริตส่วนมากยังคงต้องมี
    เรื่องของการให้เหตุผลเข้าข้างตัวเอง
  • 1:38 - 1:41
    คนที่ทุจริตส่วนใหญ่
    มักจะเป็นผู้กระทำความผิดในครั้งแรก
  • 1:41 - 1:44
    ดังนั้นแทนที่จะลงมือทำอะไร
    ในแบบที่ผิดเต็มประตู
  • 1:44 - 1:47
    พวกเขาจำเป็นต้องหาความชอบธรรม
    ให้กับการทำผิดนั้นด้วย
  • 1:47 - 1:51
    บางคนรู้สึกว่าเขาสมควรได้เงินนั้น
    เนื่องจากถูกกดค่าแรงหรือทำงานเกินค่าจ้าง
  • 1:51 - 1:54
    บ้างก็เชื่อว่า การทุจริตนั้นไม่มีผู้เสียหายโดยตรง
  • 1:54 - 1:58
    แม้กระทั่งสัญญากับตัวเองว่าจะนำเงินไปคืน
    หลังจากพ้นช่วงวิกฤตไปแล้ว
  • 1:58 - 2:01
    การทุจริตที่พบบ่อยๆ บางรูปแบบ
  • 2:01 - 2:04
    ไม่แม้แต่จะเรียกว่าเป็นกรณีทุจริตเมื่อถูกจับได้
  • 2:04 - 2:08
    เช่น พนักงานลงเวลาทำงาน
    หรือเบิกค่าใช้จ่ายไม่ตรงกับความจริง
  • 2:08 - 2:11
    การแจ้งรายได้พึงประเมิน
    ไม่ครบถ้วนเวลายื่นภาษี
  • 2:11 - 2:15
    หรือผู้ให้บริการยื่นเบิกค่าใช้จ่าย
    กับบริษัทประกันเกินจริง
  • 2:15 - 2:17
    แม้ว่านี่จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย
  • 2:17 - 2:20
    บางครั้งก็แค่เงินไม่กี่ร้อยเหรียญ
  • 2:20 - 2:23
    เรื่องเล็กๆ เหล่านี้เมื่อสะสมมากๆ เข้า
  • 2:23 - 2:26
    ก็จะทำให้ขนาดของการทุจริตมีมูลค่ามหาศาล
  • 2:26 - 2:31
    ในปีค.ศ. 2003 บริษัท Parmalat
    ยักษ์ใหญ่วงการอาหารของอิตาลีล้มละลาย
  • 2:31 - 2:37
    หลังจากถูกพบว่าตกแต่งบัญชีเงินในธนาคาร
    กว่า 4 พันล้านเหรียญ
  • 2:37 - 2:39
    และทำงบการเงินเท็จ
  • 2:39 - 2:43
    เพื่อปกปิดผลการขาดทุนของบริษัทลูก
  • 2:43 - 2:45
    และเนื่องจากว่า เป็นธุรกิจครอบครัว
  • 2:45 - 2:48
    บรรษัทภิบาลและการกำกับดูแลกิจการ
    จึงเป็นไปได้ยาก
  • 2:48 - 2:51
    บริษัทเองเชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาการขาดทุนได้
  • 2:51 - 2:54
    ก่อนที่เรื่องจะแดงออกมา
  • 2:54 - 2:56
    ความโลภบังตา
    ก็ไม่ได้มีแต่กับบริษัทเอกชนเท่านั้น
  • 2:56 - 3:00
    หน่วยงานรัฐและองค์กรไม่แสวงหากำไร
    ก็เกิดการทุจริตได้
  • 3:00 - 3:04
    ในระหว่างดำรงตำแหน่งผู้ตรวจบัญชี
    ของเมืองดิกซัน รัฐอิลลินอยส์
  • 3:04 - 3:09
    ริต้า ครันด์เวลล์ (Rita Crundwell)
    ยักยอกเงินไปกว่า 53 ล้านเหรียญ
  • 3:09 - 3:12
    ริต้า เป็นนักเพาะพันธุ์ม้าแข่ง
    ชั้นแนวหน้าของประเทศ
  • 3:12 - 3:15
    ที่ชนะรายการชิงแชมป์โลก
    รวมกันกว่า 52 รายการ
  • 3:15 - 3:21
    แต่ค่าใช้จ่ายในการดูแลม้า
    ก็พุ่งไปกว่า 2 แสนเหรียญ/เดือน
  • 3:21 - 3:25
    และเพราะตำแหน่งของเธอทำให้
    สามารถควบคุมบัญชีเงินของเมืองได้อย่างเบ็ดเสร็จ
  • 3:25 - 3:28
    เธอจึงสามารถหมุนเงินงบประมาณของเมือง
  • 3:28 - 3:30
    ไปยังบัญชีส่วนตัวได้อย่างง่ายดาย
  • 3:30 - 3:34
    และก็ไม่มีใครล่วงรู้ถึงการทุจริตนี้
    ตลอดเวลากว่า 20 ปี
  • 3:34 - 3:37
    เชื่อกันว่า ครันด์เวลล์รู้สึกว่า
    ตัวเองคู่ควรกับชีวิตหรูหรา
  • 3:37 - 3:39
    ให้สมกับฐานะ
  • 3:39 - 3:43
    และชื่อเสียงต่างๆจากการแข่ง
    ที่เธอนำมาสู่เมือง
  • 3:43 - 3:45
    มันชวนให้คิดไปว่าการทุจริต
    เป็นอาชญากรรมที่ปราศจากผู้เคราะห์ร้าย
  • 3:45 - 3:50
    เพราะบริษัท หรือหน่วยงานเทศบาล
    ไม่ใช่บุคคลจริงๆ
  • 3:50 - 3:53
    แต่ในการทุจริตทุกครั้ง
    จะมีผู้เสียหายตัวจริงอยู่เสมอ
  • 3:53 - 3:56
    เช่น ลูกจ้างบริษัท Parmalat ที่ต้องตกงาน
  • 3:56 - 4:00
    ชาวเมืองดิกซัน ที่สูญเงินภาษีไปกับคอกม้าแข่ง
  • 4:00 - 4:04
    ลูกค้าต้องจ่ายค่าสินค้าแพงขึ้น
    เพื่อชดเชยผลขาดทุนของบริษัท
  • 4:04 - 4:07
    บางครั้งผลกระทบก็ชัดเจนและรุนแรง
  • 4:07 - 4:12
    เช่นกรณีของ เบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์ (Bernard Madoff)
    ที่ผู้เสียหายนับพันต้องสูญเงินเก็บของพวกเขาไป
  • 4:12 - 4:15
    แต่บ่อยครั้งที่มันมักจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ
    ที่ยากจะแจกแจงออกมา
  • 4:15 - 4:19
    แต่ก็ยังคงต้องมีใครที่ไหนสักคน
    ที่เป็นคนจ่ายค่าเสียหายนั้นอยู่ดี
Title:
เหตุผลของคนโกง - เคลลี ริชมอนด์ โปป (Kelly Richmond Pope)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/how-people-rationalize-fraud-kelly-richmond-pope

ถ้าคุณลองถามใครสักคนว่าการขโมยของนั้นผิดหรือไม่ คำตอบส่วนใหญ่คงตอบว่า ผิด
แต่กระนั้นในปี 2013 องค์การต่างๆทั่วโลกได้สูญเงินให้กับการทุจริตไปกว่า 3.7 ล้านล้านเหรียญ เคลลี ริชมอนด์ โปป จะอธิบายถึง สามเหลี่ยมทุจริต (the fraud triangle) (พัฒนาขึ้นโดยนักอาชญาวิทยา ชื่อ โดนัลด์ เครสซี) ซึ่งช่วยทำให้เราเข้าใจว่าทำไมคนที่ดูเป็นคนดีทั้งหลายจึงสามารถตัดสินใจทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรมได้ในชิวิตประจำวันของพวกเขา

บทเรียนโดย Kelly Richmond Pope, อนิเมชันโดย TED-Ed.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:35

Thai subtitles

Revisions