Return to Video

กระบวนการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกา - ปีเตอร์ แพ็กโคน

  • 0:08 - 0:13
    มีอาชีพหนึ่ง ที่มีอำนาจ มีรายได้
    และได้รับการเคารพนับถืออย่างมาก
  • 0:13 - 0:16
    และเป็นอาชีพที่ค่อนข้างมีความมั่นคงสูง
  • 0:16 - 0:18
    และก็มีเพียงวิธีเดียวที่จะได้ทำงาน
  • 0:18 - 0:21
    คือได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษา
    ศาลฎีกาสหรัฐอเมริกา
  • 0:22 - 0:24
    ถ้าอยากเป็นผู้พิพากษาประจำศาลฎีกา
  • 0:24 - 0:27
    ศาลสูงสุดของรัฐบาลกลางในสหรัฐอเมริกา
  • 0:27 - 0:29
    จะต้องมี 3 อย่างนี้ร่วมกัน
  • 0:29 - 0:32
    คุณจะต้องได้รับเสนอชื่อ
    จากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
  • 0:32 - 0:35
    การเสนอชื่อคุณจะต้องได้รับ
    การอนุมัติจากวุฒิสภา
  • 0:35 - 0:39
    และท้ายที่สุด ประธานาธิบดี
    จะแต่งตั้งคุณต่อศาลอย่างเป็นทางการ
  • 0:40 - 0:43
    เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนด
    คุณสมบัติใด ๆ ไว้
  • 0:44 - 0:47
    ในทางกลับกัน ก็ไม่มีข้อกำหนดเรื่องอายุ
    การศึกษา อาชีพ
  • 0:47 - 0:50
    หรือแม้กระทั่งต้องเป็นคนที่ได้สัญชาติ
    มาตั้งแต่แรกเกิด
  • 0:50 - 0:53
    ประธานาธิบดีสามารถเสนอชื่อ
    บุคคลใดก็ได้มาทำงาน
  • 0:54 - 0:57
    ดังนั้น ผู้พิพากษา 6 ท่าน
    จึงเป็นบุคคลที่เกิดในต่างประเทศ
  • 0:57 - 1:00
    มีอย่างน้อย 1 ท่านที่ไม่ได้
    เรียนจบชั้นมัธยมปลาย
  • 1:00 - 1:04
    และมีอีกท่านที่มีอายุเพียง 32 ปี
    ในขณะที่นั่งบัลลังก์พิจารณาคดี
  • 1:04 - 1:09
    ประธานาธิบดีส่วนมากจะเสนอชื่อบุคคลที่
    มีมุมมองเชิงอุดมการณ์ที่คล้ายกัน
  • 1:10 - 1:12
    ดังนั้นประธานาธิบดีที่มีแนวคิดเสรีนิยม
  • 1:12 - 1:14
    จะมีแนวโน้มที่จะแต่งตั้ง
    นักเสรีนิยมมาประจำศาล
  • 1:14 - 1:18
    แน่นอนว่า การตัดสินใจของผู้พิพากษา
    เป็นสิ่งที่มักจะคาดเดาไม่ได้
  • 1:18 - 1:21
    เช่น เมื่อประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์
    แห่งพรรครีพับลิกัน
  • 1:21 - 1:24
    เสนอชื่อ เอิร์ล วอเร็น เป็นประธานศาลฎีกา
  • 1:24 - 1:27
    ไอเซนฮาวร์คาดหวังว่า
    เขาจะมีคำตัดสินที่อนุรักษ์นิยม
  • 1:28 - 1:31
    แต่คำพิพากษาของวอเร็น
    มักเป็นไปในทางเสรีนิยม
  • 1:31 - 1:33
    ในประวัติศาสตร์ศาล
  • 1:33 - 1:35
    ต่อมา ไอเซ็นฮาวร์ให้ความเห็น
    ต่อการแต่งตั้งครานั้น
  • 1:35 - 1:39
    ว่าเปรียบดั่งความผิดพลาดที่หายนะที่สุด
    ที่เขาเคยทำ
  • 1:39 - 1:42
    ปัจจัยอื่น ๆ ปรากฏขึ้นเพื่อการพิจารณาเช่นกัน
  • 1:42 - 1:46
    ซึ่งประกอบไปด้วย ประสบการณ์
    ความภักดีของแต่ละคน เชื่อชาติ และเพศ
  • 1:47 - 1:49
    จากนั้น ผู้เข้าชิงตำแหน่งจะถูกตรวจสอบตลอด
  • 1:49 - 1:53
    ตามบันทึกรายการจ่ายภาษี
    และค่าตอบแทนในการทำงาน
  • 1:53 - 1:55
    เมื่อประธานาธิบดีสัมภาษณ์ผู้เข้าชิงตำแหน่ง
  • 1:55 - 1:57
    และทำประกาศการเสนอชื่ออย่างเป็นทางการ
  • 1:57 - 2:01
    โดยธรรมเนียมแล้ว ผู้นำวุฒิสภา
    จะนำเรื่องการเสนอชื่อนั้นเข้าที่ประชุม
  • 2:01 - 2:04
    โดยคณะกรรมการตุลาการวุฒิสภา
  • 2:04 - 2:06
    ขึ้นอยู่กับข้อพิพาทที่ต้องตัดสินใจ
  • 2:06 - 2:08
    ซึ่งทำให้สามารถยืดเยื้อได้หลายวัน
  • 2:09 - 2:13
    ตั้งแต่รัฐบาลนิกสันเป็นต้นมา
    จะใช้เวลาพิจารณาเฉลี่ย 60
  • 2:13 - 2:17
    ถ้าเป็นไปได้ ผู้ได้รับการเสนอชื่อ
    จะถูกสัมภาษณ์เกี่ยวกับเอกสารกฏหมาย
  • 2:17 - 2:21
    และจะต้องอยู่บนประเด็น
    ที่เข้าใจถึงวิธีที่จะถูกโหวต
  • 2:21 - 2:24
    และโดยเฉพาะในประวัติศาสตร์ไม่นานมานี้
  • 2:24 - 2:28
    คณะกรรมการพยายามขุดคุ้ย
    ความลับส่วนตัวหรือความประมาทในอดีต
  • 2:29 - 2:33
    คณะกรรมการตุลาการวุฒิสภาลงมติ
    เพื่อส่งรายชื่อไปสู่วุฒิสภา
  • 2:33 - 2:35
    พร้อมด้วยคำแนะนำทางบวกและทางลบ
  • 2:35 - 2:40
    ซึ่งมักจะสะท้อนถึงความเอนเอียงทางการเมือง
    หรือจะไม่มีคำแนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น
  • 2:41 - 2:43
    การคัดค้านส่วนมากจะเกิด
    เมื่อวุฒิสภาส่วนใหญ่
  • 2:43 - 2:46
    เป็นพรรคการเมืองตรงข้ามกับประธานาธิบดี
  • 2:46 - 2:50
    เมื่อวุฒิสภาอนุมัติด้วยคะแนนเสียงข้างมาก
  • 2:50 - 2:53
    และการอนุมัติจากรองประธานาธิบดี
  • 2:53 - 2:55
    ด้วยการยอมรับของวุฒิสภา
  • 2:55 - 2:57
    ประธานาธิบดีจึงทำเอกสารแต่งตั้ง
  • 2:57 - 2:59
    อนุญาตผู้ได้รับการเสนอชื่อ
    เป็นขั้นตอนสุดท้าย
  • 2:59 - 3:02
    ให้กล่าวคำสาบานตนตามรัฐธรรมนูญและกฏหมาย
  • 3:03 - 3:03
    ในทางปฏิบัติเช่นกั้น
  • 3:04 - 3:08
    ผู้พิพากษาจะสาบานตนต่อคณะบริหารตุลาการ
    ว่าจะไม่คำนึงถึงเรื่องส่วนบุคคล
  • 3:08 - 3:11
    และให้ความเท่าเทียมทั้งคนจนและคนรวย
  • 3:11 - 3:16
    และปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์และยุติธรรม
    รวมทั้งทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • 3:16 - 3:18
    ของผู้พิพากษาศาลฎีกาสหรัฐอเมริกา
  • 3:19 - 3:21
    งานนี้ ต้องทำตลอดชีวิต
  • 3:21 - 3:25
    นอกจากการลาออก การปลดเกษียณ
    หรือปลดออกเพราะถูกถอดถอนจากตำแหน่ง
  • 3:25 - 3:29
    และจากผู้พิพากษาจำนวน 112 ท่าน
    ที่เคยดำรงตำแหน่งผ่านมา
  • 3:29 - 3:33
    ยังไม่เคยมีท่านใดถูกให้ออกเพราะ
    สาเหตุถูกถอดถอนจากตำแหน่ง
  • 3:34 - 3:38
    หนึ่งบทบาทของผู้พิพากษาคือป้องกัน
    สิทธิพื้นฐานของพลเมืองอเมริกัน
  • 3:38 - 3:40
    แม้ว่าพรรคการเมืองที่แตกต่างขึ้นมาบริหาร
  • 3:41 - 3:43
    ด้วยผลกระทบอันยิ่งใหญ่ของความรับผิดชอบ
  • 3:43 - 3:47
    จึงไม่ประหลาดใจว่า
    ผู้พิพากษาศาลฎีกาสหรัฐฯ จะถูกคาดหวัง
  • 3:47 - 3:50
    ให้เป็นไปตามคำกล่าว
    ของ เออร์วิง อาร์ คอฟแมน
  • 3:50 - 3:51
    เป็นสุดยอดทางศีลธรรม
  • 3:51 - 3:53
    เป็นใหญ่ทางสติปัญญา
  • 3:53 - 3:55
    และเชี่ยวชาญการบริหาร
  • 3:56 - 4:00
    แน่นอนว่า ไม่ใช่ทุกคนในศาล
    เป็นตัวอย่างของความยุติธรรม
  • 4:00 - 4:04
    แต่ละคนทิ้งเรื่องราว
    การตัดสินใจและความคิดเห็นไว้
  • 4:04 - 4:07
    ให้ถูกพิจารณาและตรวจสอบ
    โดยตุลาการสูงสุด
  • 4:07 - 4:09
    เวลา และประวัติศาสตร์
Title:
กระบวนการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกา - ปีเตอร์ แพ็กโคน
Speaker:
Peter Paccone
Description:

ดูบทเรียนทั้งหมดได้ที่ http://ed.ted.com/lessons/how-do-us-supreme-court-justices-get-appointed-peter-paccone

มีอาชีพหนึ่งที่มีอำนาจ รายได้ และการเคารพนับถืออย่างมาก และเป็นอาชีพที่มั่นคงสูงยิ่ง และก็มีเพียงวิธีเดียวที่จะได้ทำงาน คือได้รับแต่งตั้งเข้าสู่ศาลฎีกาในสหรัฐอเมริกา
แต่ผู้พิพากษาศาลฎีกาสหรัฐอเมริกาจะได้รับเกียรตินั้นได้อย่างไร ปีเตอร์ แพ็กโคน ได้สรุปกระบวนการอันแสนยากเพื่อตำแหน่งที่นั่งบนบัลลังก์สูงสุดของประเทศ

บทเรียนโดย ปีเตอร์ แพ็กโคน ภาพเคลื่อนไหวโดย Globizco

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:26

Thai subtitles

Revisions