Return to Video

การตัดสินใจของคุณส่งผลต่อยีนของคุณอย่างไร - คาร์ลอส กัวร์เรโร-โวแซกนา (Carlos Guerrero-Bosagna)

  • 0:07 - 0:09
    ปริศนาของเรามีอยู่ว่า:
  • 0:09 - 0:12
    แฝดแท้เกิดมาจากดีเอ็นเอเดียวกัน
  • 0:12 - 0:14
    แล้วทำไมพวกเขาจึงแตกต่างกัน
  • 0:14 - 0:18
    แม้แต่ในลักษณะที่มีองค์ประกอบ
    ทางพันธุกรรมอย่างมีนัยสำคัญ
  • 0:18 - 0:22
    ยกตัวอย่างเช่น ทำไมแฝดคนหนึ่ง
    ถึงเป็นโรคหัวใจตอนอายุ 55
  • 0:22 - 0:25
    ในขณะที่น้องสาวของเขาที่วิ่งมาราธอน
    มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง
  • 0:25 - 0:28
    ธรรมชาติและการเลี้ยงดู
    มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อสิ่งนี้
  • 0:28 - 0:33
    คำตอบที่ลึกซึ้งกว่านั้น สามารถถูกพบได้
    ในสิ่งที่เรียกว่า เอพิเจเนติกส์
  • 0:33 - 0:36
    มันคือการศึกษาว่า ดีเอ็นเอมีปฏิสัมพันธ์
  • 0:36 - 0:39
    กับโมเลกุลเล็ก ๆ ทั้งหลายในเซลล์ได้อย่างไร
  • 0:39 - 0:43
    ซึ่งมันสามารถกระตุ้นหรือยับยั้งยีนได้
  • 0:43 - 0:46
    ถ้าคุณลองจินตนาการเปรียบเทียบดีเอ็นเอ
    กับตำราอาหาร
  • 0:46 - 0:50
    โมเลกุลส่วนใหญ่เหล่านั้นคือสิ่งที่กำหนดว่า
    อะไรจะถูกปรุงตอนไหน
  • 0:50 - 0:54
    พวกมันไม่ได้ทำการตัดสินใจด้วยตัวมันเอง
  • 0:54 - 0:58
    แต่การปรากฏอยู่และความเข้มข้นของพวกมัน
    ภายในเซลล์ต่างหากที่สร้างความแตกต่าง
  • 0:58 - 1:00
    แล้วมันทำงานได้อย่างไร
  • 1:00 - 1:06
    ยีนในดีเอ็นเอถูกแสดงออกเมื่อพวกมันถูกอ่าน
    และลอกรหัสไปเป็นอาร์เอ็นเอ
  • 1:06 - 1:11
    ซึ่งจะถูกแปลรหัสไปเป็นโปรตีน
    โดยโครงสร้างที่ชื่อว่า ไรโบโซม
  • 1:11 - 1:15
    และโปรตีนก็เป็นส่วนสำคัญ
    ในการกำหนดลักษณะและหน้าที่ของเซลล์
  • 1:15 - 1:22
    การเปลี่ยนแปลงเอพิเจเนติกส์สามารถเร่ง
    หรือรบกวนการลอกรหัสของบางยีน
  • 1:22 - 1:25
    วิธีการรบกวนที่พบได้ทั่วไปที่สุด
    ก็คือดีเอ็นเอ
  • 1:25 - 1:27
    หรือโปรตีนที่มันพันไปโดยรอบ
  • 1:27 - 1:30
    ถูกติดฉลากด้วยฉลากสารเคมีเล็ก ๆ
  • 1:30 - 1:34
    ชุดของฉลากสารเคมีทั้งหมด
    ที่ติดอยู่กับจีโนม
  • 1:34 - 1:35
    ของเซลล์หนึ่ง ๆ
  • 1:35 - 1:37
    เรียกว่า เอพิจีโนม
  • 1:37 - 1:42
    พวกมันบางตัว อย่างเช่น หมู่เมธิล
    ยับยั้งการแสดงออกของยีน
  • 1:42 - 1:44
    โดยการเบี่ยงกลไกการลอกรหัสของเซลล์
  • 1:44 - 1:48
    หรือทำให้ดีเอ็นเอขดแน่นขึ้น
  • 1:48 - 1:50
    ทำให้มันไม่สามารถถูกเข้าถึงได้
  • 1:50 - 1:53
    ยีนยังอยู่ตรงนั้น แต่มันไม่ทำงาน
  • 1:53 - 1:56
    การเร่งการลอกรหัสนั้นตรงข้ามในส่วนสำคัญ
  • 1:56 - 2:01
    บางฉลากเคมีจะคลายเกลียวดีเอ็นเอ
    ทำให้มันง่ายต่อการลอกรหัส
  • 2:01 - 2:05
    ซึ่งเร่งการผลิตโปรตีนที่เกี่ยวข้อง
  • 2:05 - 2:08
    การเปลี่ยนเอพิเจเนติกส์
    ถูกรักษาไว้หลังจากการแบ่งเซลล์
  • 2:08 - 2:12
    ซึ่งหมายความว่า มันยังคงมีผล
    ต่อสิ่งมีชีวิตไปตลอดชีวิตของมัน
  • 2:12 - 2:14
    บางครั้ง มันก็เป็นเรื่องดี
  • 2:14 - 2:16
    การเปลี่ยนเอพิเจเนติกส์เป็นส่วนหนึ่ง
    ของการเจริญเติบโต
  • 2:16 - 2:20
    เซลล์ในเอ็มบริโอเริ่มต้น
    ด้วยจีโนมหลักจีโนมเดียว
  • 2:20 - 2:22
    เมื่อเซลล์แบ่งตัว บางยีนถูกกระตุ้นให้ทำงาน
  • 2:22 - 2:24
    และบางยีนถูกยับยั้งการทำงาน
  • 2:24 - 2:27
    เมื่อเวลาผ่านไป ด้วยกระบวนการจัดระบบใหม่
    เชิงเอพิเจเนติกส์นี้
  • 2:27 - 2:29
    บางเซลล์จะเจริญไปเป็นเซลล์หัวใจ
  • 2:29 - 2:32
    และเซลล์อื่นอาจกลายไปเป็นเซลล์ตับ
  • 2:32 - 2:35
    เซลล์ประมาณ 200 ชนิดในร่างกายของคุณ
  • 2:35 - 2:37
    แต่ละชนิดมีจีโนมเหมือนกันในส่วนสำคัญ
  • 2:37 - 2:40
    แต่มีเอพิจีโนมที่ต่างกันออกไป
  • 2:40 - 2:43
    เอพิจีโนมยังกำกับการสื่อสาร
  • 2:43 - 2:46
    ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อมไปตลอดชีวิต
  • 2:46 - 2:49
    ฉลากสารเคมีที่เปิดและปิดยีน
  • 2:49 - 2:52
    ถูกเปลี่ยนไปตามปัจจัยที่รวมถึง การบริโภค
  • 2:52 - 2:53
    การสัมผัสต่อสารเคมี
  • 2:53 - 2:55
    และการใช้ยา
  • 2:55 - 2:59
    ผลจากการเปลี่ยนเอพิเจเนติกส์
    สุดท้ายแล้วสามารถนำไปสู่การเกิดโรค
  • 2:59 - 3:04
    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากมันปิดการทำงาน
    ของยีนที่สร้างโปรตีนยับยั้งการเกิดเนื้องอก
  • 3:04 - 3:08
    การเปลี่ยนแปลงเอพิเจเนติกส์ที่ถูกเหนี่ยวนำ
    โดยสิ่งแวดล้อมเป็นเหตุผลส่วนหนึ่ง
  • 3:08 - 3:13
    ว่าทำไมแฝดที่มียีนเหมือนกัน
    ถึงเติบโตขึ้นมาโดยมีชีวิตที่แตกต่างกันมาก
  • 3:13 - 3:16
    เมื่อแฝดทั้งคู่อายุมากขึ้น
    เอพิจีโนมของพวกเขาก็ยิ่งแตกต่าง
  • 3:16 - 3:21
    ซึ่งส่งผลต่อการชราภาพของพวกเขา
    และความไวต่อโรคของพวกเขา
  • 3:21 - 3:25
    แม้ว่าประสบการณ์ทางสังคม
    อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเอพิเจเนติกส์
  • 3:25 - 3:26
    ในการทดลองอันโด่งดังการทดลองหนึ่ง
  • 3:26 - 3:30
    เมื่อแม่หนูไม่ได้ให้การดูแลลูก ๆ ของมัน
    อย่างเพียงพอ
  • 3:30 - 3:34
    ยีนในลูกหนูที่ช่วยให้พวกมัน
    จัดการกับความเครียดถูกเติมหมู่เมธิล
  • 3:34 - 3:36
    และปิดการทำงาน
  • 3:36 - 3:39
    และมันอาจไม่ได้หยุดอยู่แต่ที่หนูรุ่นนั้น
  • 3:39 - 3:43
    ร่องรอยเอพิเจเนติกส์ส่วนใหญ่
    ถูกลบไปเมื่อไข่และสเปิร์มรวมุตัวกัน
  • 3:43 - 3:48
    แต่ตอนนี้ นักวิจัยคิดว่าบางร่องรอยเหล่านั้น
    สามารถรอดต่อไปได้อีก
  • 3:48 - 3:52
    และส่งต่อลักษณะทางเอพิเจเนติกต่อไป
    ยังรุ่นลูกหลาน
  • 3:52 - 3:55
    ประสบการณ์วัยเด็กของแม่หรือพ่อของคุณ
  • 3:55 - 3:57
    หรือการตัดสินใจเมื่อเป็นผู้ใหญ่
  • 3:57 - 4:00
    อาจปรับแต่งเอพิจีโนมของคุณ
  • 4:00 - 4:03
    แต่แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเอพิเจเนติกส์
    จะติดหนึบไม่ยอมไปไหนง่าย ๆ
  • 4:03 - 4:05
    พวกมันก็ไม่จำเป็นจะต้องอยู่อย่างถาวร
  • 4:05 - 4:08
    การใช้ชีวิตอย่างสมดุลที่รวมถึง
    การบริโภคเพื่อสุขภาพ
  • 4:08 - 4:09
    การออกกำลังกาย
  • 4:09 - 4:11
    และการหลีกเลี่ยงต่อการสัมผัสสิ่งเจือปน
  • 4:11 - 4:15
    อาจช่วยสร้างเอพิจีโนมที่สมบูรณ์แข็งแรง
    ในระยะยาว
  • 4:15 - 4:18
    ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น
    ในการศึกษาเอพิเจเนติกส์
  • 4:18 - 4:20
    นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะเริ่มเข้าใจ
  • 4:20 - 4:25
    ว่าเอพิเจเนติกส์จะอธิบายกลไกการพัฒนา
    และการแก่ชราของมนุษย์ได้อย่างไร
  • 4:25 - 4:26
    เช่นเดียวกับจุดกำเนิดของมะเร็ง
  • 4:26 - 4:28
    โรคหัวใจ
  • 4:28 - 4:29
    โรคทางประสาท
  • 4:29 - 4:30
    การเสพติด
  • 4:30 - 4:32
    และอาการอื่น ๆ
  • 4:32 - 4:36
    ตอนนี้ เทคโนโลยีใหม่ในการแก้ไขจีโนม
    ทำให้มันง่ายขึ้นมากต่อการบ่งบอก
  • 4:36 - 4:41
    ว่าการเปลี่ยนแปลงเอพิเจเนติกส์ไหน
    ที่สำคัญต่อสุขภาพและการเกิดโรค
  • 4:41 - 4:44
    เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าเอพิจีโนมของเรา
    มีอิทธิพลต่อเราอย่างไร
  • 4:44 - 4:47
    เราอาจจะสามารถมีอิทธิพลเหนือมันได้เช่นกัน
Title:
การตัดสินใจของคุณส่งผลต่อยีนของคุณอย่างไร - คาร์ลอส กัวร์เรโร-โวแซกนา (Carlos Guerrero-Bosagna)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-the-choices-you-make-can-affect-your-genes-carlos-guerrero-bosagna

ปริศนาของเรามีอยู่ว่า: แฝดแท้เกิดมาจากดีเอ็นเอเดียวกัน ... แล้วทำไมพวกเขาจึงแตกต่างกัน -- แม้แต่ในลักษณะที่มีองค์ประกอบทางพันธุกรรมอย่างมีนัยสำคัญ คาร์ลอส กัวร์เรโร-โวแซกนา อธิบายว่า ในขณะที่ธรรมชาติและการเลี้ยงดูมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อสิ่งนี้ คำตอบที่ลึกซึ้งกว่านั้น สามารถถูกพบได้ในสิ่งที่เรียกว่า เอพิเจเนติกส์

บทเรียนโดย Carlos Guerrero-Bosagna แอนิเมชันโดย Chris Bishop

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:03

Thai subtitles

Revisions