Return to Video

ผีเสื้อรักษาตัวเองได้อย่างไร

  • 0:00 - 0:02
    โรคติดต่อน่ะหรือครับ
  • 0:02 - 0:04
    โรคติดต่อยังเป็นสาเหตุหลัก
  • 0:04 - 0:06
    ของความเจ็บและความตายของคนทั่วโลก
  • 0:06 - 0:11
    ทุก ๆ ปี คนนับล้านเสียชีวิตจากโรค
    อย่างเช่น วัณโรค มาลาเรีย เอชไอวี
  • 0:11 - 0:14
    ทั่วโลก หรือแม้แต่ในสหรัฐเองก็ตาม
  • 0:14 - 0:17
    คนอเมริกันหลายพันคนเสียชีวิต
    ด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลทุกปี
  • 0:17 - 0:19
    แน่นอน มนุษย์นั้นมีความคิดสร้างสรรค์ใช่ไหมครับ
  • 0:19 - 0:23
    เราคิดค้นหนทางป้องกันจากโรคเหล่านี้
  • 0:23 - 0:24
    เรามียาและวัคซีน
  • 0:24 - 0:27
    เราตื่นตัวเสมอ --
    เราเรียนรู้จากประสบการณ์
  • 0:27 - 0:29
    และคิดวิธีแก้ไขที่สร้างสรรค์
  • 0:29 - 0:32
    เราเคยคิดว่ามีแต่เราที่ทำแบบนี้ได้
    แต่ที่จริงแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้น
  • 0:32 - 0:34
    ไม่ได้มีแค่เราที่มีหมอ
  • 0:34 - 0:38
    ตอนนี้เรารู้แล้วว่า ยังมีสัตว์อีกมากมาย
    ที่ทำได้อย่างเรา
  • 0:38 - 0:39
    ที่ขึ้นชื่อที่สุดคงจะเป็นชิมแปนซี
  • 0:39 - 0:41
    ไม่ได้ต่างกับเราเท่าไหร่
  • 0:41 - 0:44
    พวกมันรู้จักใช้พืชจัดการปรสิตในลำไส้
  • 0:44 - 0:47
    แต่ในช่วงไม่กี่ศตวรรษมานี้
    เราพบว่าสัตว์ชนิดอื่นก็ทำได้เช่นกัน
  • 0:47 - 0:51
    ช้าง เม่น แกะ แพะ ว่ามาเถอะครับ
  • 0:51 - 0:54
    และที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ
    การค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ ได้บอกเราว่า
  • 0:54 - 1:00
    แมลงและสัตว์เล็ก ๆ ชนิดอื่นที่มี
    สมองขนาดเล็กก็รู้จักการรักษาเช่นเดียวกัน
  • 1:00 - 1:02
    อย่างที่ทราบกัน ปัญหาเกี่ยวกับโรคติดต่อ
  • 1:02 - 1:04
    คือเชื้อโรคมีวิวัฒนาการไปเรื่อย ๆ
  • 1:04 - 1:06
    และยาหลายตัวที่เราได้พัฒนาไว้
  • 1:06 - 1:08
    ก็ด้อยประสิทธิภาพลงเรื่อย ๆ
  • 1:08 - 1:12
    ดังนั้น เราจึงต้องการวิธีการใหม่ๆ เป็นอย่างมาก
    ในการที่จะค้นพบยา
  • 1:12 - 1:14
    ที่สามารถใช้ต่อกรกับโรคต่างๆ
  • 1:14 - 1:17
    ผมคิดว่า เราควรจะสังเกตสัตว์พวกนี้
  • 1:17 - 1:20
    และเราสามารถเรียนรู้จากพวกมันได้
    ว่าจะรักษาโรคของเราอย่างไร
  • 1:20 - 1:25
    ในฐานะนักชีววิทยา ผมได้ศึกษาผีเสื้อจักรพรรดิ
    มาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
  • 1:25 - 1:28
    พวกมันโด่งดังมาก
    จากการอพยพย้ายถิ่นที่น่าตื่นตา
  • 1:28 - 1:31
    จากสหรัฐฯ และแคนาดา
    ลงไปเม็กซิโกทุกปี
  • 1:31 - 1:33
    ที่ซึ่งพวกมันหลายล้านตัวมาอยู่รวมกัน
  • 1:33 - 1:36
    แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลที่ผมเริ่มศึกษาพวกมัน
  • 1:36 - 1:38
    ผมศึกษาเพราะพวกมันป่วยได้
  • 1:38 - 1:41
    ป่วยเหมือนคุณ เหมือนผม
  • 1:41 - 1:43
    และผมคิดว่าสิ่งที่พวกมันทำ
    บอกเราเกี่ยวกับยา
  • 1:43 - 1:45
    ที่เราสามารถพัฒนาเพื่อใช้กับคนได้
  • 1:45 - 1:48
    ทีนี้ปรสิตของผีเสื้อจักรพรรดิ
  • 1:48 - 1:52
    มีชื่อว่า ไฟริโอซิสทิส อีเลคโทรชิเรีย
    (ophryocystis elektroscirrha)
  • 1:52 - 1:53
    ปรสิตพวกนี้สร้างสปอร์
  • 1:53 - 1:56
    เป็นล้าน ๆ ด้านนอกตัวผีเสื้อ
  • 1:56 - 1:59
    ซึ่งจะเห็นเป็นจุดเล็ก ๆ ระหว่างเกล็ดผีเสื้อ
  • 1:59 - 2:02
    และมันก็ส่งผลร้ายแรงมากต่อผีเสื้อ
  • 2:02 - 2:03
    มันทำให้อายุของผีเสื้อสั้นลง
  • 2:03 - 2:05
    มันลดความสามารถในการบินของผีเสื้อ
  • 2:05 - 2:08
    มันสามารถฆ่าผีเสื้อ
    ก่อนที่พวกมันจะเป็นเต็มวัยเสียอีก
  • 2:08 - 2:10
    เป็นปรสิตที่ร้ายแรงมาก
  • 2:10 - 2:14
    ในงานผมส่วนหนึ่งของผม ผมใช้เวลาส่วนใหญ่
    ไปกับการปลูกพืชในเรือนกระจก
  • 2:14 - 2:17
    ด้วยเหตุผลที่ว่า
    ผีเสื้อจักพรรดิเรื่องมากเรื่องการกิน
  • 2:17 - 2:19
    ตัวอ่อนจะกินแต่ต้นมิลก์วีด (milkweed)
  • 2:19 - 2:23
    โชคดีที่มันกินมิลก์วีดได้หลายสปีชีส์
  • 2:23 - 2:25
    มิลก์วีดเหล่านี้
    มีสารคาร์เดโนไลต์ (cardenolides) อยู่
  • 2:25 - 2:28
    สารเคมีกลุ่มนี้มีพิษ
  • 2:28 - 2:29
    พวกมันเป็นพิษต่อสัตว์ส่วนมาก
    แต่ไม่ใช่กับผีเสื้อจักรพรรดิ
  • 2:29 - 2:31
    จริง ๆ แล้ว พวกมันสามารถรับสารนี้
  • 2:31 - 2:34
    นำเข้าไปในร่างกายได้ ทำให้ตัวเป็นพิษ
  • 2:34 - 2:36
    ต่อสัตว์นักล่าของพวกมันอย่างพวกนก
  • 2:36 - 2:38
    และจากนั้น
    พวกมันก็ป่าวประกาศความเป็นพิษนี้
  • 2:38 - 2:40
    ผ่านลวดลายสีสวย ๆ แทนคำเตือน
  • 2:40 - 2:42
    ที่มีสีส้ม ดำ และขาว
  • 2:42 - 2:47
    สิ่งที่ผมทำระหว่างงานคือการปลูกพืชในเรือนกระจก
  • 2:47 - 2:48
    พืชหลายชนิด มิลก์วีดหลายชนิด
  • 2:48 - 2:51
    บางชนิดมีพิษ เช่น มิลก์วีดเขตร้อน
  • 2:51 - 2:54
    ที่มีความเข้มข้นของคาร์เดโนไลต์สูง
  • 2:54 - 2:55
    และบางชนิดไม่มีพิษ
  • 2:55 - 2:58
    จากนั้นผมใข้พืชพวกนี้เลี้ยงผีเสื้อ
  • 2:58 - 3:00
    ผีเสื้อจักรพรรดิบางตัวสุขภาพดี
    พวกมันไม่มีโรคเลย
  • 3:00 - 3:02
    แต่ผีเสื้อบางตัวก็ป่วย
  • 3:02 - 3:05
    และผมก็พบว่า
    มิลก์วีดบางชนิดมีฤทธิ์เป็นยาได้
  • 3:05 - 3:08
    ซึ่งหมายความว่ามันลดอาการของโรค
    ในผีเสื้อจักรพรรดิได้
  • 3:08 - 3:11
    นั่นหมายถึง ผีเสื้อที่ติดเชื้อจะอายุยืนยาวขึ้น
  • 3:11 - 3:13
    เมื่อมันได้กินพืชที่มีฤทธิ์ทางยา
  • 3:13 - 3:16
    พอเจออย่างนี้เข้า ผมก็ได้ความคิดขึ้นมา
  • 3:16 - 3:18
    เป็นความคิดที่หลายคนบอกว่าบ้า
  • 3:18 - 3:21
    แต่ผมคิดว่า
    ถ้าผีเสื้อพวกนี้ใช้นี่ได้ล่ะ
  • 3:21 - 3:24
    ถ้าหากพวกมันใช้พืชพวกนี้
    เป็นยารักษาโรคในแบบของมันล่ะ
  • 3:24 - 3:26
    ถ้าพวกมันมีบทบาทเป็นหมอได้ล่ะ
  • 3:27 - 3:29
    ดังนั้น ผมและคณะก็เริ่มทำการทดลอง
  • 3:29 - 3:31
    ในการทดลองรูปแบบแรก ๆ
  • 3:31 - 3:33
    เราให้หนอนผีเสื้อเลือกว่า
  • 3:33 - 3:36
    จะกินมิลก์วีดที่เป็นยา
    หรือมิลก์วีดที่ไม่ใช่ยา
  • 3:36 - 3:39
    ดูปริมาณมิลก์วีดแต่ละชนิด
    ที่มันกินตลอดชีวิตของมัน
  • 3:39 - 3:42
    และผลที่ได้นั้นน่าเบื่อ
    ตามแบบปกติในวิทยาศาสตร์
  • 3:42 - 3:46
    ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ของอาหารเป็นมิลก์วีดยา
    ส่วนอีกห้าสิบเปอร์เซ็นต์ไม่ใช่
  • 3:46 - 3:50
    พวกหนอนไม่ได้ทำอะไร
    เพื่อสวัสดิภาพของตัวเองเลย
  • 3:51 - 3:53
    เราก็เลยมาดูผีเสื้อตัวเต็มวัยแทน
  • 3:53 - 3:55
    และเราก็เริ่มตั้งคำถาม
  • 3:55 - 3:58
    ว่าเป็นตัวแม่รึเปล่า
    ที่ใช้การรักษาลูกของพวกมัน
  • 3:58 - 4:01
    ตัวแม่สามารถวางไข่บนมิลก์วีดที่เป็นยา
  • 4:01 - 4:04
    ทำให้ลูกในอนาคตป่วยน้อยลงได้หรือเปล่า
  • 4:04 - 4:06
    เราทำการทดลองนี้มาหลายปี
  • 4:06 - 4:08
    และได้ผลอย่างเดิมตลอด
  • 4:08 - 4:10
    สิ่งที่เราทำก็คือ
    เราเอาผีเสื้อจักรพรรดิ์ใส่ในกรงใหญ่
  • 4:10 - 4:14
    วางมิลก์วีดที่เป็นยาไว้ฝั่งหนึ่ง
    มิลก์วีดปกติไว้อีกฝั่ง
  • 4:14 - 4:18
    จากนั้นเรานับจำนวนไข่
    ที่ผีเสื้อจักรพรรดิวางบนแต่ละต้น
  • 4:18 - 4:21
    และเมื่อเราทำอย่างนั้น
    ผลก็ออกมาเหมือนกันทุกครั้ง
  • 4:21 - 4:25
    ผีเสื้อจักรพรรดิชอบวางไข่
    บนต้นที่เป็นยามากกว่า
  • 4:25 - 4:27
    พูดให้ชัดเจนคือ
    ตัวเมียพวกนี้
  • 4:27 - 4:30
    วางไข่ 68 เปอร์เซ็นต์บนมิลก์วีดที่เป็นยา
  • 4:30 - 4:35
    ที่น่าสนใจมาก ๆ คือ
    พวกมันต้องแพร่ปรสิตไปยังลูก
  • 4:35 - 4:36
    เมื่อมันวางไข่
  • 4:36 - 4:38
    พวกมันป้องกันไม่ได้
  • 4:38 - 4:39
    แล้วพวกมันก็ยังรักษาตัวเองไม่ได้ด้วย
  • 4:39 - 4:42
    แต่การทดลองพวกนี้บอกเราว่า
  • 4:42 - 4:47
    ผีเสื้อจักรพรรดิตัวแม่พวกนี้
    สามารถวางไข่บนมิลก์วีดที่เป็นยา
  • 4:47 - 4:49
    ที่จะทำให้ลูก ๆ มันป่วยน้อยลงได้
  • 4:51 - 4:54
    ผมคิดว่า การค้นพบนี้สำคัญมาก
  • 4:54 - 4:56
    ไม่ใช่แค่เพราะมันเป็น
    ความเจ๋งของธรรมชาติ
  • 4:56 - 5:00
    แต่เพราะมันอาจช่วยบอกเราว่า
    เราควรหายาอย่างไร
  • 5:00 - 5:02
    สัตว์พวกนี้ตัวเล็กมาก ๆ
  • 5:02 - 5:04
    และเรามักคิดว่ามันไม่ซับซ้อน
  • 5:04 - 5:06
    พวกมันมีสมองเล็กนิดเดียว
  • 5:06 - 5:08
    แต่กลับมีวิธีการรักษาพยาบาลที่ซับซ้อนได้
  • 5:09 - 5:11
    ทุกวันนี้ เรารู้ว่ายาส่วนใหญ่ของเรา
  • 5:11 - 5:14
    ก็มาจากผลผลิตธรรมชาติ รวมถึงพวกพืชด้วย
  • 5:14 - 5:16
    ในวัฒนธรรมชนเผ่าเอง
  • 5:16 - 5:19
    หมอพื้นบ้านจะสังเกตสัตว์เพื่อหายาใหม่ ๆ
  • 5:19 - 5:22
    ด้วยวิธีการนี้ ช้างได้บอกกับเรา
    ถึงวิธีรักษาอาการท้องไส้ปั่นป่วน
  • 5:22 - 5:25
    และเม่นก็ได้บอกกับคน
    ถึงวิธีรักษาอาการถ่ายเป็นเลือด
  • 5:25 - 5:28
    ผมคิดว่าที่สำคัญคือ การก้าวให้ไกล
  • 5:28 - 5:33
    กว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมองใหญ่
    และเชื่อถือสัตว์เรียบง่ายพวกนี้
  • 5:33 - 5:35
    แมลงพวกนี้ที่เรามักจะคิดว่า
  • 5:35 - 5:38
    เป็นสัตว์ที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และมีสมองเล็ก
  • 5:38 - 5:42
    การค้นพบว่าสัตว์เหล่านี้รู้วิธีการรักษา
  • 5:42 - 5:44
    ได้เปิดพื้นที่ใหม่ ๆ ให้กับเรา
  • 5:44 - 5:49
    และผมคิดว่า สักวันหนึ่ง
    เราอาจรักษาโรคของมนุษย์
  • 5:49 - 5:52
    ด้วยยาที่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกโดยผีเสื้อ
  • 5:52 - 5:56
    และผมเห็นว่า นี่เป็นโอกาสยอดเยี่ยม
    ที่คุ้มค่าที่จะลอง
  • 5:56 - 5:57
    ขอบคุณครับ
  • 5:57 - 6:03
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ผีเสื้อรักษาตัวเองได้อย่างไร
Speaker:
แจป เดอ รูด (Jaap de Roode)
Description:

เหมือนกับพวกเรา ผีเสื้อจักรพรรดิ์ก็ป่วยบ้างเป็นบางเวลาเพราะปรสิตน่ารังเกียจ
แต่นักชีววิทยาอย่าง แจป เดอ รูด สังเกตเห็นบางอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับผีเสื้อที่เขาทำการศึกษา -- ผีเสื้อตัวเมียที่ติดเชื้อจะสามารถเลือกที่จะบางไข่ของพวกมันบนต้นไม่เฉพาะบางชนิดที่ช่วยลูกๆ ของพวกมันหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วย พวกมันรู้ได้อย่างไรว่าต้องเลือกต้นไม้ต้นนั้น คิดซะว่ามันเป็นเหมือนกับ "ผลกระทบจากผีเสื้ออีกอย่าง" -- ซึ่งสามารถสอนให้เราพบกับยาใหม่สำหรับใช้รักษาโรคของมนุษย์ได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
06:15
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for How butterflies self-medicate
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for How butterflies self-medicate
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How butterflies self-medicate
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How butterflies self-medicate
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How butterflies self-medicate
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How butterflies self-medicate
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How butterflies self-medicate
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for How butterflies self-medicate
Show all

Thai subtitles

Revisions