Return to Video

โจนาธาน เฮดท์ (Jonathan Haidt): ภัยคุกคามทำให้เราค้นพบจุดยืนร่วม (ทางการเมือง)

  • 0:01 - 0:02
    ถ้าคุณตามข่าวอยู่บ้าง
  • 0:02 - 0:05
    คุณคงได้ยินมาบ้างว่ามีกลุ่มดาวเคราะห์น้อยกลุ่มหนึ่ง
  • 0:05 - 0:06
    กำลังมุ่งหน้ามายังสหรัฐอเมริกา
  • 0:06 - 0:09
    และจะถล่มเราภายในห้าสิบปีข้างหน้า
  • 0:09 - 0:13
    ทีนี้ ผมไม่ได้จะพูดถึงดาวเคราะห์น้อยจริงๆ
    ที่เป็นหินหรือโลหะ
  • 0:13 - 0:14
    นั่นจะไม่ใช่ปัญหาเลย
  • 0:14 - 0:16
    เพราะถ้าเราทุกคนกำลังจะตาย
  • 0:16 - 0:19
    เราจะลืมความแตกต่างระหว่างเรา และทำอะไรก็ได้
  • 0:19 - 0:21
    เพื่อหาทางผลักกลุ่มดาวพวกนั้นไม่ให้มาชนโลก
  • 0:21 - 0:24
    แต่วันนี้ผมจะพูดถึงภัยอื่นที่กำลังคุกคามเข้ามาใกล้เรา
  • 0:24 - 0:26
    แต่มันถูกห่อหุ้มไว้ด้วยสนามพลังพิเศษ
  • 0:26 - 0:31
    ที่แยกเราออกเป็นสองขั้ว ทำให้เรานิ่งงันเหมือนเป็นอัมพาต
  • 0:31 - 0:32
    เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ผมไปร่วมการประชุม TED
  • 0:32 - 0:35
    และได้ฟังจิม แฮนเซน นักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซาพูด
  • 0:35 - 0:38
    เขาเป็นคนแรกที่ออกมาเตือนเรื่องภาวะโลกร้อน
    ตั้งแต่ช่วงปี 1980s
  • 0:38 - 0:41
    และดูเหมือนว่าคำทำนายของเขาเมื่อตอนนั้น
  • 0:41 - 0:42
    กำลังจะกลายเป็นจริง
  • 0:42 - 0:46
    นี่คือภาพแสดงการเพิ่มสูงขึ้นของอุณหภูมิในโลกของเรา
  • 0:46 - 0:48
    ถ้าวิถีชีวิตของเรายังเป็นแบบนี้กันต่อไป
  • 0:48 - 0:51
    อุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้นสี่ถึงห้าองศาเซลเซียส
  • 0:51 - 0:52
    ภายในปลายศตวรรษนี้
  • 0:52 - 0:56
    แฮนเซนกล่าวว่า เราจะได้เห็นระดับน้ำทะเลสูงขึ้นห้าเมตร
  • 0:56 - 0:59
    และเมื่อน้ำทะเลสูงขึ้นห้าเมตร มันจะหน้าตาแบบนี้ครับ
  • 0:59 - 1:02
    เมืองที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ต่ำทั่วโลกจะจมหายไป
  • 1:02 - 1:06
    ภายในชั่วอายุขัยของเด็กที่เกิดวันนี้
  • 1:06 - 1:09
    แฮนเซนทิ้งท้ายว่า
  • 1:09 - 1:13
    "ลองนึกภาพดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่กำลังจะพุ่งมาชนโลก
  • 1:13 - 1:15
    ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ตอนนี้มันใหญ่เท่านั้นเลยล่ะครับ
  • 1:15 - 1:19
    แต่เรากลับลังเลไม่ทำอะไรเพื่อผลักมันออกไปเลย
  • 1:19 - 1:20
    แม้ว่ายิ่งเรารอนานเท่าใด
  • 1:20 - 1:24
    การจัดการกับมันก็ยิ่งจัดการยากและแพงขึ้นเท่านั้น
  • 1:24 - 1:25
    แน่นอนล่ะ ฝ่ายซ้าย (เสรีนิยม) อยากทำอะไรสักอย่าง
  • 1:25 - 1:29
    แต่ฝ่ายขวา (อนุรักษ์นิยม) ไม่เชื่อว่าปัญหานี้มีอยู่จริง
  • 1:29 - 1:30
    เอาล่ะ แล้วผมก็กลับจากการประชุม TED
  • 1:30 - 1:33
    หนึ่งสัปดาห์ต่อมา ผมได้รับเชิญไปงานเลี้ยงอาหารค่ำ
  • 1:33 - 1:36
    ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งผมรู้ว่าผมจะได้พบกับ
  • 1:36 - 1:38
    นักวิชาการสายอนุรักษ์นิยมจำนวนหนึ่ง รวมทั้งยูวัล เลวิน
  • 1:38 - 1:42
    ผมจึงเตรียมตัวไปงานนั้นโดยอ่านบทความชิ้นหนึ่งของเลวิน
  • 1:42 - 1:45
    ชื่อ "ก้าวข้ามรัฐสวัสดิการ"
    (Beyond the Welfare State)
  • 1:45 - 1:49
    ในวารสาร National Affairs ซึ่งเลวินเขียนว่า
  • 1:49 - 1:51
    รัฐชาติต่างๆ เริ่มยอมรับความจริงแล้วว่า
  • 1:51 - 1:53
    ระบบรัฐสวัสดิการแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยนั้น
  • 1:53 - 1:57
    เป็นสิ่งที่ไปไม่ได้ และแพงเกินกว่ารัฐจะจ่ายได้
  • 1:57 - 1:59
    เพราะมันตั้งอยู่บนระบบเศรษฐกิจที่ไม่ถูกต้อง
  • 1:59 - 2:03
    และโมเดลด้านประชากรศาสตร์ยุคเก่าที่ล้าสมัยไปแล้ว
  • 2:03 - 2:05
    เอาล่ะ นี่อาจจะฟังดูไม่น่ากลัวเท่ากับดาวเคราะห์น้อยชนโลก
  • 2:05 - 2:08
    แต่ลองดูกราฟที่เลวินแสดงในบทความนี่สิครับ
  • 2:08 - 2:11
    กราฟนี้แสดงมูลค่าหนี้ของประเทศในหน่วยร้อยละของจีดีพี
  • 2:11 - 2:14
    หรือร้อยละของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสหรัฐอเมริกา
  • 2:14 - 2:16
    คุณจะเห็นว่า ตอนก่อตั้งประเทศ
  • 2:16 - 2:18
    เรากู้เงินจำนวนมากมาเพื่อทำสงครามปฏิวัติอเมริกา
  • 2:18 - 2:21
    การทำสงครามต้องใช้เงินเยอะ
    แต่เราก็ใช้หนี้ ใช้หนี้ ใช้หนี้กันไป
  • 2:21 - 2:24
    แล้วยังไงครับ โอ้ อะไรเนี่ย
    สงครามกลางเมือง ยิ่งแพงเข้าไปอีก
  • 2:24 - 2:27
    เราก็กู้เงินมา แล้วก็ใช้หนี้ ใช้หนี้ ใช้หนี้
  • 2:27 - 2:30
    จนเกือบหมดแล้ว บูม! เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
  • 2:30 - 2:31
    แล้ววงจรเดิมๆ ก็เกิดซ้ำอีก
  • 2:31 - 2:33
    ตรงนี้คือช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ แล้วก็สงครามโลกครั้งที่สอง
  • 2:33 - 2:38
    ยอดหนี้ของเราพุ่งทะลุร้อยละ 118 ของจีดีพี
  • 2:38 - 2:41
    ซึ่งเป็นระดับที่ไร้ความมั่นคงแล้วครับ อันตรายมาก
  • 2:41 - 2:46
    แต่เราก็ใช้หนี้ ใช้หนี้ ใช้หนี้ แลัวนี่อะไรอีกครับ?
  • 2:46 - 2:49
    ทำไมตัวเลขหนี้จึงเพิ่มขึ้นในช่วงปี 1970s?
  • 2:49 - 2:52
    ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการลดภาษี ทำให้รัฐขาดรายได้
  • 2:52 - 2:54
    แต่เหตุผลหลักคือ
    ค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการที่รัฐมอบให้ประชาชน
  • 2:54 - 2:57
    โดยเฉพาะโครงการประกันสุขภาพเมดิแคร์
  • 2:57 - 3:00
    ยอดหนี้ของเราสูงขึ้น
    เกือบเท่ากับช่วงสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว
  • 3:00 - 3:03
    นี่ประชากรยุคเบบี้บูมเมอร์ยังไม่เกษียณเลยนะครับ
  • 3:03 - 3:06
    และนี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าคนกลุ่มนี้เกษียณ
  • 3:06 - 3:08
    นี่เป็นข้อมูลจากสำนักงบประมาณของรัฐบาล
  • 3:08 - 3:11
    ซึ่งแสดงการคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
  • 3:11 - 3:15
    ถ้าสถานการณ์ ความคาดหวัง
    และแนวโน้มที่เป็นอยู่ยังดำเนินต่อไป
  • 3:15 - 3:18
    เอาล่ะครับ ถึงตรงนี้คุณคงสังเกตเห็นแล้วว่ากราฟทั้งสองนี้
  • 3:18 - 3:22
    เหมือนกันเปี๊ยบเลย ไม่ใช่ในแง่ตัวเลขบนแกน x และแกน y
  • 3:22 - 3:23
    หรือข้อมูลที่นำเสนอออกมา
  • 3:23 - 3:28
    แต่ในแง่ความหมายทางศีลธรรมและการเมือง
  • 3:28 - 3:30
    กราฟสองภาพนี้พูดเหมือนกันเลย ผมจะแปลให้ฟัง
  • 3:30 - 3:33
    "เราเจอหายนะแน่ ถ้าเราไม่ลงมือทำอะไรกันเสียเดี๋ยวนี้
  • 3:33 - 3:36
    พวกคุณที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามน่ะ คุณเพี้ยนไปหรือเปล่า
  • 3:36 - 3:41
    คุณมองไม่เห็นความจริงหรือไง
    ถ้าจะไม่ช่วยกันก็ถอยไปไกลๆ เลย"
  • 3:41 - 3:43
    เราสามารถผลักดันดาวเคราะห์น้อยทั้งสองนี้ออกไปได้
  • 3:43 - 3:46
    ในทางเทคนิคแล้ว ปัญหาทั้งสองอย่างนี้แก้ได้
  • 3:46 - 3:49
    แต่ปัญหาและโศกนาฏกรรมที่แท้จริงของเราก็คือ
  • 3:49 - 3:52
    ในยุคที่เราแตกแยกกันสุดขั้ว เมื่อฝ่ายหนึ่งบอกว่า
  • 3:52 - 3:54
    "ดูนั่นสิ ดาวเคราะห์น้อยจะมาชนโลก"
    อีกฝ่ายก็บอกว่า "หือ อะไร
  • 3:54 - 3:57
    ฉันไม่ยอมมองขึ้นไปหรอก ไม่มีทาง"
  • 3:57 - 4:00
    ถ้าอยากทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับเรา
  • 4:00 - 4:04
    และเราจะทำอะไรกับมันได้บ้าง
    เราต้องศึกษาจิตวิทยาด้านศีลธรรม
  • 4:04 - 4:07
    ผมเป็นนักจิตวิทยาสังคม ผมศึกษาเรื่องศีลธรรม
  • 4:07 - 4:09
    และหนึ่งในหลักการสำคัญที่สุดของศีลธรรมก็คือ
  • 4:09 - 4:12
    ศีลธรรมผูกรวมใจและทำให้ตาบอด
  • 4:12 - 4:15
    ศีลธรรมผูกใจเรารวมกัน
    โดยมีค่านิยมที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นศูนย์กลาง
  • 4:15 - 4:19
    และนั่นก็ทำให้เราตาบอด มองไม่เห็นความเป็นจริง
  • 4:19 - 4:20
    ลองคิดอย่างนี้ก็ได้ครับ
  • 4:20 - 4:24
    การร่วมมือกันในสังคมวงกว้างนั้นหายากมากบนโลกนี้
  • 4:24 - 4:26
    มีสิ่งมีชีวิตเพียงไม่กี่สายพันธุ์เท่านั้นที่ทำได้
  • 4:26 - 4:29
    เช่นรังผึ้งแบบนี้ หรือจอมปลวกยักษ์แบบนี้
  • 4:29 - 4:32
    เมื่อคุณพบพฤติกรรมแบบนี้ในสัตว์
    มีอย่างหนึ่งที่เหมือนกันเสมอ
  • 4:32 - 4:37
    นั่นคือ สัตว์เหล่านี้ล้วนเป็นพี่น้อง
    ซึ่งเกิดจากนางพญาตัวเดียวกัน
  • 4:37 - 4:39
    พวกมันจึงอยู่ในเรือลำเดียวกันหมด
  • 4:39 - 4:42
    พวกมันรุ่งเรือง ตกต่ำ รอด หรือตายด้วยกันหมด
  • 4:42 - 4:45
    มีสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวเท่านั้นบนโลกนี้ที่ทำเช่นนี้ได้
  • 4:45 - 4:47
    โดยไม่ต้องเป็นญาติพี่น้องกัน นั่นคือมนุษย์อย่างพวกเรา
  • 4:47 - 4:49
    นี่คือภาพจำลองกรุงบาบิโลนในยุคโบราณ
  • 4:49 - 4:52
    นี่คือกรุงเตนอชตีตลันของชนเผ่าอัซเตก
  • 4:52 - 4:54
    เราทำอย่างนี้ได้อย่างไรครับ? เราเปลี่ยนจาก
  • 4:54 - 4:57
    การล่าสัตว์และหาของป่าเมื่อ 10,000 ปีที่แล้ว
  • 4:57 - 5:01
    มาสร้างเมืองใหญ่โตมโหฬารแบบนี้ได้
    ภายใน 2-3 พันปีได้อย่างไร
  • 5:01 - 5:04
    มันมหัศจรรย์มาก และคำอธิบายส่วนหนึ่งของสิ่งเหล่านี้ก็คือ
  • 5:04 - 5:08
    ความสามารถที่จะรวมตัวกันโดยมีค่านิยมบางอย่างเป็นศูนย์กลาง
  • 5:08 - 5:12
    คุณคงเห็นว่าแล้ววัดและพระเจ้า
    มีบทบาทสำคัญในอารยธรรมโบราณ
  • 5:12 - 5:16
    นี่คือภาพของชาวมุสลิมที่ล้อมวงและเดินเวียนรอบหินกะบะห์
  • 5:16 - 5:19
    ซึ่งเป็นหินศักดิ์สิทธิ์
    และเมื่อคนมาล้อมวงรอบอะไรสักอย่างด้วยกัน
  • 5:19 - 5:23
    เขาจะรวมใจกันเป็นหนึ่ง และไว้วางใจซึ่งกันและกัน
  • 5:23 - 5:26
    เหมือนกับเวลาคุณหมุนขดลวดผ่านสนามแม่เหล็ก
  • 5:26 - 5:28
    ซึ่งทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า เมื่อคนมาล้อมวง
  • 5:28 - 5:31
    และเคลื่อนไหวไปด้วยกัน เขาก็สร้างกระแสอะไรบางอย่างขึ้น
  • 5:31 - 5:32
    มนุษย์เราชอบล้อมวงรอบสิ่งต่างๆ
  • 5:32 - 5:36
    เราล้อมวงรอบธง และเราก็ไว้วางใจกันและกัน
  • 5:36 - 5:39
    เราจึงสู้ไปด้วยกันเป็นทีม เป็นหนึ่งเดียวกัน
  • 5:39 - 5:42
    แต่ศีลธรรมที่ผูกรวมใจคนเข้าด้วยดันเป็นหนึ่งเดียว
  • 5:42 - 5:46
    เป็นกลุ่ม เป็นทีม ก็ทำให้พวกเขาตาบอด
  • 5:46 - 5:48
    หรือบิดเบือนความจริงให้ผิดเพี้ยนไป
  • 5:48 - 5:52
    เราเริ่มแบ่งแยกทุกอย่างเป็นฝ่ายดีกับฝ่ายชั่วร้าย
  • 5:52 - 5:56
    กระบวนการนี้ทำให้เรารู้สึกดีและพึงพอใจมาก
  • 5:56 - 6:00
    แต่มันกลายเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างน่ารังเกียจ
  • 6:00 - 6:03
    คุณคงเห็นการทำงานของแม่เหล็กไฟฟ้าทางศีลธรรม
    ในรัฐสภาแล้ว
  • 6:03 - 6:05
    กราฟนี้แสดงสถิติว่าลงคะแนนเสียงในรัฐสภาสหรัฐ
  • 6:05 - 6:08
    แยกเป็นสองขั้ว คือซ้ายกับขวาอย่างชัดเจน
  • 6:08 - 6:11
    ดังนั้น ถ้าคุณรู้ว่าใครสักคนเป็นพวกเสรีนิยมหรืออนุรักษ์นิยม
  • 6:11 - 6:14
    คุณจะรู้ได้ทันทีเลยว่าเขาลงคะแนนในเรื่องสำคัญๆ ต่างๆ อย่างไร
  • 6:14 - 6:16
    และคุณจะเห็นว่า
  • 6:16 - 6:19
    ในช่วงหลังสงครามกลางเมือง
  • 6:19 - 6:21
    ภายในรัฐสภามีการแยกขั้วรุนแรงและชัดเจนที่สุด
  • 6:21 - 6:24
    อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งคุณก็คงคาดเดาได้
  • 6:24 - 6:27
    แต่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การแยกขั้วก็ลดลง
  • 6:27 - 6:30
    เราจึงเห็นการแยกขั้วลดลงสู่ระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์
  • 6:30 - 6:31
    นี่เป็นยุคทองของการร่วมมือระหว่างสองพรรค
  • 6:31 - 6:35
    อย่างน้อยก็ในแง่ที่สองพรรคสามารถทำงานร่วมกัน
  • 6:35 - 6:38
    เพื่อแก้ปัญหาใหญ่ๆ ของประเทศได้
  • 6:38 - 6:42
    แต่ในทศวรรษที่ 1980s ถึง 1990s แม่เหล็กไฟฟ้าหมุนกลับ
  • 6:42 - 6:45
    และการแยกขั้วก็เกิดขึ้นอีก
  • 6:45 - 6:48
    ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ฝ่ายที่เป็นกลาง และฝ่ายเสรีนิยม
  • 6:48 - 6:50
    เคยทำงานร่วมกันในสภาได้หมด
  • 6:50 - 6:52
    พวกเขาจะจัดคณะกรรมการมาทำงานร่วมกันก็ได้
  • 6:52 - 6:56
    แต่แม่เหล็กไฟฟ้าของศีลธรรมมีแรงผลักเพิ่มขึ้น
  • 6:56 - 6:58
    สนามพลังแรงขึ้น
  • 6:58 - 7:01
    พรรคเดโมแครตกับรีพับลิกันก็แยกขั้วกันอีก
  • 7:01 - 7:03
    พวกเขาเข้าหน้ากันยากขึ้น
  • 7:03 - 7:04
    ร่วมมือกันยากขึ้น
  • 7:04 - 7:09
    สมาชิกพรรคที่เกษียณไปแล้ว
    มองว่ามันเหมือนสงครามระหว่างแก๊ง
  • 7:09 - 7:13
    มีใครสังเกตไหมครับว่าในการโต้วาทีสองจากสามครั้ง
  • 7:13 - 7:16
    โอบามาผูกเนคไทสีน้ำเงินและรอมนีย์ผูกเนคไทสีแดง
  • 7:16 - 7:18
    ทำไมรู้ไหมครับ เพื่อให้ชาวแก๊ง Bloods และแก๊ง Crips
  • 7:18 - 7:22
    (2 แก๊งอันธพาลในลอสแอนเจลิส)
    รู้ว่าจะเลือกใคร (เสียงหัวเราะ)
  • 7:22 - 7:25
    การแยกขั้วนี้รุนแรงที่สุดในหมู่ผู้มีตำแหน่งทางการเมืองสูงๆ
  • 7:25 - 7:27
    ใครๆ ก็เชื่อโดยไม่สงสัยว่าการแยกขั้วนี้กำลังเกิดขึ้นในสภา
  • 7:27 - 7:31
    แต่ยังสงสัยกันว่าปัญหานี้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนหรือไม่
  • 7:31 - 7:32
    ภายในสิบสองปีที่ผ่านมา
  • 7:32 - 7:34
    เราเห็นได้ชัดแล้วว่ามันเกิดขึ้นในหมู่ประชาชนด้วย
  • 7:34 - 7:37
    ลองดูข้อมูลนี้ครับ
    นี่คือผลสำรวจในการเลือกตั้งทั่วประเทศในอเมริกา
  • 7:37 - 7:40
    ในการสำรวจนี้ เขามีคำถาม
  • 7:40 - 7:42
    ที่เรียกว่าปรอทวัดความรู้สึก
  • 7:42 - 7:46
    คือ ถามว่าคุณรู้สึกอบอุ่นเป็นมิตร หรือเย็นชาไม่เป็นมิตร
  • 7:46 - 7:49
    ต่อชนพื้นเมืองอเมริกัน สถาบันทหาร
    คนที่เชื่อในพรรครีพับลิกัน
  • 7:49 - 7:52
    คนที่เชื่อในพรรคเดโมแครต และกลุ่มอื่นๆ ที่คนอเมริกันรู้จัก
  • 7:52 - 7:54
    เส้นสีน้ำเงินคือความรู้สึกของคนที่เชื่อในพรรคเดโมแครต
  • 7:54 - 7:57
    ที่มีต่อคนที่เชื่อในพรรคเดโมแครต แน่นอน เขาชอบคนกลุ่มนี้
  • 7:57 - 8:00
    ดูสิครับ คะแนนอยู่ที่ 70 กว่าๆ จากคะแนนเต็ม 100
  • 8:00 - 8:03
    คนที่เชื่อในพรรครีพับลิกันก็ชอบพวกเดียวกัน ไม่น่าแปลกใจ
  • 8:03 - 8:05
    แต่พอคุณดูข้อมูลการประเมินพรรคอื่น
  • 8:05 - 8:07
    คุณจะเห็นว่าคะแนนต่ำกว่า แต่ที่จริง
  • 8:07 - 8:09
    ตอนผมเห็นข้อมูลนี้ครั้งแรก ผมแปลกใจ
    เพราะมันไม่ได้แย่มาก
  • 8:09 - 8:13
    ถ้าคุณย้อนไปดูสมัยประธานาธิบดีคาร์เตอร์หรือแม้แต่เรแกน
  • 8:13 - 8:17
    คะแนนที่ประเมินคนที่ชอบพรรคอื่นอยู่ที่ 43, 45
    ไม่เลวนะครับ
  • 8:17 - 8:19
    ต่อมาคะแนนค่อยๆ ตกลงนิดหน่อย
  • 8:19 - 8:23
    แต่ดูสิครับ
    เกิดอะไรขึ้นในสมัยจอร์จ ดับเบิลยู บุช และโอบามา
  • 8:23 - 8:26
    คะแนนร่วงเลย เกิดอะไรขึ้นตรงนี้ครับ
  • 8:26 - 8:28
    แม่เหล็กไฟฟ้ากำลังหมุนกลับอีก
  • 8:28 - 8:31
    และปัจจุบันนี้ ทุกวันนี้
  • 8:31 - 8:33
    พวกเดโมแครตเกลียดพวกรีพับลิกันมากๆ
  • 8:33 - 8:36
    พวกรีพับลิกันก็เกลียดพวกเดโมแครต
    พวกเรากำลังเปลี่ยนไป
  • 8:36 - 8:39
    ราวกับแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังส่งผลต่อพวกเราด้วย
  • 8:39 - 8:43
    เหมือนมันถูกวางไว้ที่สองฝั่งมหาสมุทร และกำลังฉีกประเทศ
  • 8:43 - 8:47
    ทั้งประเทศ ให้แยกเป็นขั้วซ้ายกับขวา
  • 8:47 - 8:50
    เหมือนแก๊ง Bloods และแก๊ง Crips
  • 8:50 - 8:53
    มีเหตุผลมากมายที่ทำให้สถานการณ์นี้เกิดขึ้นกับเรา
  • 8:53 - 8:56
    หลายอย่างไม่อาจย้อนคืนมาได้แล้ว
  • 8:56 - 8:58
    เราคงไม่มีวันเห็นนักการเมืองที่ถูกหล่อหลอมรวมกัน
  • 8:58 - 9:02
    ด้วยประสบการณ์การต่อสู้กับศัตรูร่วมกัน
  • 9:02 - 9:04
    เหมือนในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองอีกแล้ว
  • 9:04 - 9:08
    เราคงไม่มีวันกลับไปมีสถานีโทรทัศน์แค่สามช่อง
  • 9:08 - 9:11
    ซึ่งล้วนแล้วแต่มีมุมมองค่อนข้างเป็นกลาง
  • 9:11 - 9:16
    ไม่มีวันแล้ว
    ที่เราจะมีคนกลุ่มใหญ่ในรัฐทางใต้ที่นิยมพรรคเดโมแครต
  • 9:16 - 9:20
    กับคนกลุ่มใหญ่ในรัฐทางเหนือที่ยังนิยมพรรครีพับลิกัน
  • 9:20 - 9:24
    มีลักษณะร่วมหลายอย่าง
    ที่ช่วยให้การร่วมมือสองพรรคทำได้ง่ายขึ้น
  • 9:24 - 9:27
    ด้วยเหตุผลหลายอย่าง
    ช่วง 2-3 ทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
  • 9:27 - 9:29
    จึงเป็นช่วงเวลาที่พิเศษในประวัติศาสตร์
  • 9:29 - 9:32
    เราจะไม่มีวันกลับไปสู่ยุคที่การแบ่งขั้วลดต่ำลงเท่านั้นอีกแล้ว
  • 9:32 - 9:35
    แต่ก็มีอีกหลายอย่างที่เราทำได้ มีการปฏิรูปหลายสิบอย่าง
  • 9:35 - 9:38
    ที่เราทำได้ เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น
  • 9:38 - 9:40
    เพราะความบกพร่องของเราหลายอย่าง เป็นผลโดยตรงมาจาก
  • 9:40 - 9:44
    สิ่งที่นักการเมืองทำไว้ในรัฐสภาช่วงทศวรรษ 1990s
  • 9:44 - 9:49
    ทำให้รัฐสภาเป็นสถาบันที่ยิ่งแตกแยกและไม่อาจทำงานได้
  • 9:49 - 9:51
    มีคนเขียนถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างละเอียด
    ในหนังสือหลายเล่ม
  • 9:51 - 9:54
    ผมแนะนำให้คุณอ่านสองเล่มนี้ครับ
  • 9:54 - 9:56
    หนังสือสองเล่มนี้ยังบอกแนวทางการปฏิรูปไว้มากมาย
  • 9:56 - 9:59
    ผมจะจัดเป็นสามหมวดหมู่ตามนี้ครับ
  • 9:59 - 10:02
    ถ้าคุณคิดว่าปัญหาอยู่ที่สถาบันที่แบ่งขั้ว
  • 10:02 - 10:05
    และไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ขั้นแรกที่เราทำได้คือ
  • 10:05 - 10:10
    ทำทุกวิถีทาง
    ให้คนที่มีความคิดสุดโต่งถูกเลือกเข้าไปในสภาน้อยลง
  • 10:10 - 10:12
    ถ้าคุณใช้ระบบปิด
    ในการเสนอชื่อตัวแทนพรรคลงรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
  • 10:12 - 10:15
    และมีแต่คนที่ประกาศตัวชัดเจน
    ว่าเป็นรีพับลิกันหรือเดโมแครตสุดโต่งเท่านั้นที่ออกเสียง
  • 10:15 - 10:19
    ก็เท่ากับคุณกำลังเสนอชื่อและเลือกคน
    ที่มีความคิดแยกขั้วสุดโต่งที่สุด
  • 10:19 - 10:22
    การใช้ระบบเปิดในการเสนอชื่อผู้สมัครจะช่วยบรรเทาปัญหาลงได้
  • 10:22 - 10:27
    แต่ปัญหาหลักๆ ไม่ได้อยู่ที่เราเลือกคนเลวเข้าไปในรัฐสภา
  • 10:27 - 10:30
    จากประสบการณ์ของผม และที่ได้ยินมาจากคนวงในรัฐสภา
  • 10:30 - 10:33
    คนส่วนใหญ่ที่เข้าไปในรัฐสภาเป็นคนดี ขยัน ทำงานหนัก
  • 10:33 - 10:36
    และฉลาด ที่อยากแก้ปัญหาจริงๆ
  • 10:36 - 10:39
    แต่เมื่อเขาเข้าไปในสภา ก็พบว่าตัวเองถูกบังคับ
  • 10:39 - 10:42
    ให้เล่นเกมที่คนเล่นพรรคเล่นพวกได้รางวัล
  • 10:42 - 10:43
    และคนมีความคิดเป็นอิสระถูกลงโทษ
  • 10:43 - 10:46
    ถ้าคุณเดินล้ำเส้น คุณจะถูกลงโทษ
  • 10:46 - 10:48
    มีการปฏิรูปหลายอย่างที่เราทำได้
  • 10:48 - 10:49
    เพื่อบรรเทาปัญหานี้
  • 10:49 - 10:52
    เช่น การต่อต้านองค์กร "Citizen United"
    ซึ่งเป็นบ่อเกิดของหายนะ
  • 10:52 - 10:54
    เพราะมันเหมือนปืนที่จ่อหัวคุณ
  • 10:54 - 10:57
    ถ้าคุณเดินแตกแถว ถ้าคุณข้ามเส้น
  • 10:57 - 10:59
    ก็มีเงินมหาศาลรอจะมอบให้ฝ่ายตรงข้ามของคุณ
  • 10:59 - 11:05
    เอาไปทำโฆษณาให้ทุกคนเชื่อว่าคุณเป็นคนเลวร้าย
  • 11:05 - 11:07
    การปฏิรูประดับที่สามก็คือ เราต้องเปลี่ยน
  • 11:07 - 11:10
    รูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมในรัฐสภา
  • 11:10 - 11:15
    นักการเมืองที่ผมเคยเจอโดยทั่วไปก็เป็นคนเปิดตัว
  • 11:15 - 11:18
    เป็นมิตร มีทักษะทางสังคมดีมาก
  • 11:18 - 11:21
    ซึ่งนั้นเป็นธรรมชาติของการเมือง คุณต้องสร้างความสัมพันธ์
  • 11:21 - 11:24
    ทำข้อตกลง คุณต้องโน้มน้าว เอาใจ และยกยอคนอื่น
  • 11:24 - 11:27
    คุณต้องใช้ทักษะส่วนบุคคลของคุณ
  • 11:27 - 11:29
    นั่นเป็นวิถีของการเมืองมาตลอด
  • 11:29 - 11:32
    แต่ตั้งแต่ทศวรรษ 1990s สภาผู้แทนราษฎร
  • 11:32 - 11:34
    ได้เปลี่ยนวันประชุมสภานิติบัญญัติ
  • 11:34 - 11:38
    มาเป็นกลางสัปดาห์ทั้งหมด
  • 11:38 - 11:40
    ทุกวันนี้ สส. ก็บินเข้ามาประชุมวันอังคาร
  • 11:40 - 11:43
    รบกันสองวัน แล้วก็บินกลับบ้านวันพฤหัสฯ บ่าย
  • 11:43 - 11:45
    พวกเขาไม่ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่เมืองหลวง
  • 11:45 - 11:47
    ไม่พบปะสามี หรือภรรยา หรือลูกๆ ของ สส. คนอื่น
  • 11:47 - 11:50
    ไม่มีความสัมพันธ์เหลือแล้วครับ
  • 11:50 - 11:54
    การทำงานในสภาโดยไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
  • 11:54 - 11:57
    ก็เหมือนพยายามขับรถโดยไม่มีน้ำมันเครื่อง
  • 11:57 - 11:59
    ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเราต้องเห็นทั้งระบบหยุดนิ่ง
  • 11:59 - 12:03
    กลายเป็นอัมพาต และแบ่งแยกแตกเป็นสองขั้วแน่
  • 12:03 - 12:05
    เรื่องง่ายๆ อย่างการเปลี่ยนวันประชุมสภานิติบัญญัติ
  • 12:05 - 12:07
    เช่น ให้ประชุมและทำงานร่วมกันติดต่อกันสามสัปดาห์
  • 12:07 - 12:09
    แล้วมีวันหยุดหนึ่งอาทิตย์เต็มๆ ให้กลับบ้าน
  • 12:09 - 12:12
    วิธีนี้จะเปลี่ยนความสัมพันธ์ระดับรากฐานในรัฐสภาเลย
  • 12:12 - 12:15
    เอาล่ะ มีหลายอย่างที่เราทำได้ แต่ว่าใครจะเป็นคนทำล่ะครับ
  • 12:15 - 12:18
    ตอนนี้มีหลายกลุ่มที่กำลังผลักดันเรื่องพวกนี้อยู่
  • 12:18 - 12:20
    เช่น กลุ่ม No Labels และ Common Cause ซึ่งเข้าใจดี
  • 12:20 - 12:22
    ว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยนี้
  • 12:22 - 12:25
    ตอบสนองประชาชนมากขึ้น
    และทำให้รัฐสภามีประสิทธิภาพขึ้น
  • 12:25 - 12:27
    แต่ผมอยากเสริมงานที่พวกเขาทำอยู่
  • 12:27 - 12:31
    ด้วยเคล็ดลับเล็กๆ ทางจิตวิทยา นั่นคือ
  • 12:31 - 12:34
    ไม่มีอะไรผูกใจคนไว้ด้วยกันได้ดีไปกว่าการมีภัยคุกคามร่วมกัน
  • 12:34 - 12:38
    หรือถูกโจมตีพร้อมกัน โดยเฉพาะจากศัตรูต่างแดน
  • 12:38 - 12:43
    เว้นแต่ว่ามันโจมตีตรงจุดที่เราเห็นต่างและเล่นพวกกัน
  • 12:43 - 12:46
    ซึ่งจะยิ่งทำให้เราแตกแยกกันมากขึ้นอย่างที่ผมกล่าวไปแล้ว
  • 12:46 - 12:49
    บางทีภัยคุกคามอย่างหนึ่งอาจทำให้เราแยกขั้วกันก็ได้
  • 12:49 - 12:52
    แต่ถ้าสถานการณ์ที่เราเผชิญไม่ได้มีภัยคุกคามอย่างเดียว
  • 12:52 - 12:54
    แต่มีมากมายแบบนี้ล่ะครับ
  • 12:54 - 12:55
    ถ้ามีเรื่องเข้ามามากเสียจนเราเริ่มร้องบอกกันว่า
  • 12:55 - 12:58
    "เฮ้ ช่วยกันยิงหน่อย ทุกคน เร็วเข้า
  • 12:58 - 13:00
    เราต้องร่วมมือกัน เริ่มยิงได้แล้ว"
  • 13:00 - 13:02
    เพราะที่จริงแล้วเรากำลังเผชิญสถานการณ์แบบนี้อยู่นะครับ
  • 13:02 - 13:05
    นี่คือประเทศของเรา
  • 13:05 - 13:07
    และนี่คือดาวเคราะห์น้อยอีกดวง
  • 13:07 - 13:09
    เราทุกคนเคยเห็นกราฟนี้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาแล้ว
  • 13:09 - 13:13
    กราฟนี้แสดงความมั่งคั่งที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ปี 1979
  • 13:13 - 13:15
    อย่างที่คุณเห็นนี่ ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นเกือบทั้งหมดกระจุกตัวอยู่
  • 13:15 - 13:20
    ในกลุ่มคนร้อยละ 20 หรือที่จริงคือร้อยละ 1 ที่รวยที่สุดอยู่แล้ว
  • 13:20 - 13:22
    ความไม่เท่าเทียมของรายได้นี้มีความสัมพันธ์กับ
  • 13:22 - 13:25
    ปัญหามากมายในสังคมประชาธิปไตย
  • 13:25 - 13:28
    โดยเฉพาะ การทำลายความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
  • 13:28 - 13:31
    และความรู้สึกว่าเราลงเรือลำเดียวกัน
    เพราะเห็นชัดๆ อยู่แล้วว่าไม่ใช่
  • 13:31 - 13:34
    บางคนนั่งสบายปลอดภัยบนเรือยอช์ทขนาดยักษ์
  • 13:34 - 13:36
    บางคนต้องอาศัยเกาะแผ่นไม้ลอยคอในทะเล
  • 13:36 - 13:38
    เราไม่ได้อยู่บนเรือลำเดียวกัน และนั่นหมายความว่า
  • 13:38 - 13:43
    จะไม่มีใครยอมเสียสละเพื่อส่วนรวม
  • 13:43 - 13:46
    ฝ่ายซ้ายป่าวประกาศเรื่องดาวเคราะห์น้อยดวงนี้
    มาสามสิบปีแล้ว
  • 13:46 - 13:51
    แต่ฝ่ายขวาบอกว่า "หือ อะไรนะ ไม่มีปัญหานี่ ไม่มีปัญหา"
  • 13:51 - 13:53
    ทีนี้ มันเกิดขึ้นได้ยังไงล่ะครับ
  • 13:53 - 13:56
    ทำไมความไม่เท่าเทียมจึงเพิ่มสูงขึ้น?
  • 13:56 - 13:59
    สาเหตุใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่ง หลังโลกเปลี่ยนสู่ยุคโลกาภิวัตร
  • 13:59 - 14:02
    ก็คือดาวเคราะห์น้อยดวงที่สี่ที่พุ่งชนเรา
  • 14:02 - 14:04
    นั่นคือ การมีลูกนอกสมรส
  • 14:04 - 14:07
    กราฟนี้แสดงอัตราเด็กเกิดนอกสมรสที่เพิ่มขึ้นตลอด
  • 14:07 - 14:09
    ตั้งแต่ปี 1960s เป็นต้นมา
  • 14:09 - 14:12
    เด็กเชื้อสายฮิสแพนิกและเด็กผิวดำส่วนใหญ่เกิดมาไม่มีพ่อ
  • 14:12 - 14:15
    เด็กผิวขาวก็กำลังมีแนวโน้มอย่างเดียวกัน
  • 14:15 - 14:17
    ภายใน 1-2 ทศวรรษข้างหน้า เด็กอเมริกันส่วนใหญ่
  • 14:17 - 14:20
    จะเกิดมาในบ้านที่ไม่มีพ่อ
  • 14:20 - 14:22
    ซึ่งหมายถึงครัวเรือนที่มีรายได้น้อยลง
    แต่เงินไม่ใช่ปัญหาเดียว
  • 14:22 - 14:26
    ยังมีประเด็นเรื่องความมั่นคงและความปั่นป่วนในบ้านอีก
  • 14:26 - 14:28
    ผมเรียนรู้จากการทำงานกับเด็กเร่ร่อนในบราซิลว่า
  • 14:28 - 14:34
    แฟนของแม่คือบุคคลที่อันตรายสุดๆ ต่อเด็กๆ
  • 14:34 - 14:38
    ฝ่ายขวาโวยวายเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 1960s
  • 14:38 - 14:41
    แต่ฝ่ายซ้ายก็พูดมาตลอดว่า
    "ไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหาสักหน่อย"
  • 14:41 - 14:43
    ฝ่ายซ้ายลังเลที่จะยอมรับว่า
  • 14:43 - 14:47
    การแต่งงานเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้หญิงและเด็ก
  • 14:47 - 14:49
    เดี๋ยวผมขอพูดชัดๆ ตรงนี้ว่า ผมไม่ได้โทษผู้หญิงนะครับ
  • 14:49 - 14:50
    ผมโทษผู้ชายมากกว่า
  • 14:50 - 14:52
    ที่ไม่รับผิดชอบเลี้ยงดูลูกของตัวเอง
  • 14:52 - 14:55
    และโทษระบบเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้ชายหลายคน
  • 14:55 - 14:58
    ไม่สามารถหาเงินได้เพียงพอเพื่อมาเลี้ยงดูลูกได้
  • 14:58 - 15:03
    แต่ถึงแม้ว่าเราไม่โทษใครเลย
    มันก็ยังเป็นปัญหาระดับประเทศ
  • 15:03 - 15:06
    และฝ่ายหนึ่งก็ห่วงเรื่องนี้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
  • 15:06 - 15:09
    แต่ในที่สุด
    หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ก็สังเกตเห็นดาวเคราะห์น้อยนี้
  • 15:09 - 15:11
    ในข่าวหน้าหนึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วแสดงให้เห็นว่า
  • 15:11 - 15:15
    อัตราการแต่งงานที่ลดลงมีส่วนก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม
  • 15:15 - 15:19
    เรากำลังจะกลายเป็นประเทศที่มีแค่สองชนชั้น
  • 15:19 - 15:21
    คนอเมริกันที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยและแต่งงานกัน
  • 15:21 - 15:24
    มีอัตราการหย่าร้างต่ำมาก
  • 15:24 - 15:27
    พวกเขามีรายได้สูง และใช้เงินนั้นเพื่อลูก
  • 15:27 - 15:29
    บางคนก็กลายเป็นแม่เสือ
  • 15:29 - 15:30
    ที่เลี้ยงลูกให้บรรลุศักยภาพสูงสุดของเขา
  • 15:30 - 15:33
    เด็กๆ เหล่านี้ก็เติบโตไป
  • 15:33 - 15:37
    เป็นเส้นสองเส้นบนกราฟนี้
  • 15:37 - 15:40
    แล้วคนอื่นๆ ที่เหลือ
  • 15:40 - 15:43
    เด็กที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการชีวิตสมรสที่มั่นคงของพ่อแม่
  • 15:43 - 15:45
    ซึ่งไม่มีเงินมากมายที่จะเอามาลงทุนเพื่อลูก
  • 15:45 - 15:46
    ลูกก็ไม่ได้เติบโตในสภาพแวดล้อมที่มั่นคง
  • 15:46 - 15:51
    และในที่สุดก็กลายเป็นเส้นสามเส้นล่างสุดในกราฟนี้
  • 15:51 - 15:55
    เห็นไหมครับ กราฟทั้งสองนี้กำลังสื่อข้อความเดียวกัน
  • 15:55 - 15:58
    เรามีปัญหาแล้ว เราต้องเริ่มแก้ปัญหานี้
  • 15:58 - 16:00
    เราต้องทำอะไรสักอย่าง
  • 16:00 - 16:03
    พวกคุณที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามน่ะ ไม่เห็นภัยคุกคามนี้หรือไง
  • 16:03 - 16:06
    แต่ถ้าเราทุกคนสามารถเปิดม่านบังตาออก
  • 16:06 - 16:09
    เราะจะเห็นว่าทั้งสองปัญหานี้แก้ได้
  • 16:09 - 16:12
    ถ้ามันถูกแก้ไปด้วยกัน
  • 16:12 - 16:14
    เพราะถ้าคุณเป็นห่วงเรื่องความเหลื่อมล้ำของรายได้
  • 16:14 - 16:16
    คุณอาจไปคุยกับกลุ่มคริสเตียนนิกายอีแวนเจลิคัล
  • 16:16 - 16:19
    ที่กำลังรณรงค์ส่งเสริมการแต่งงาน
  • 16:19 - 16:21
    แต่คุณก็จะเจอกับปัญหาว่า
  • 16:21 - 16:24
    ผู้หญิงไม่อยากแต่งงาน
  • 16:24 - 16:26
    กับผู้ชายที่ไม่มีงานทำ
  • 16:26 - 16:28
    ถ้าคุณห่วงใยเรื่องการสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง
  • 16:28 - 16:30
    คุณก็ต้องคุยกับคนในฝ่ายเสรีนิยม
  • 16:30 - 16:33
    ที่กำลังรณรงค์เรื่องความเท่าเทียมทางการศึกษา
  • 16:33 - 16:35
    เรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
  • 16:35 - 16:38
    และกำลังหาทางหยุดยั้งไม่ให้ผู้ชายจำนวนมาก
  • 16:38 - 16:40
    ถูกดูดเข้าไปอยู่ในคุกในตะราง
  • 16:40 - 16:43
    และหายไปจากตลาดการหาคู่แต่งงานตลอดชีวิต
  • 16:43 - 16:49
    สรุปคือ
    ตอนนี้มีดาวเคราะห์น้อยอย่างน้อยสี่ดวงกำลังจะพุ่งมาชนเรา
  • 16:49 - 16:52
    มีกี่คนครับที่มองเห็นทั้งสี่ดวง
  • 16:52 - 16:54
    กรุณายกมือหน่อยครับ ถ้าคุณยินดีที่จะยอมรับว่า
  • 16:54 - 16:57
    ทั้งสี่ดวงนี้เป็นปัญหาระดับประเทศ
  • 16:57 - 16:59
    ยกมือหน่อยครับ
  • 16:59 - 17:01
    โอ เกือบทุกคนเลยนะครับ
  • 17:01 - 17:04
    ยินดีด้วยครับ คุณได้สาบานตนเป็นสมาชิก
  • 17:04 - 17:07
    ชมรมดาวเคราะห์น้อยแล้ว
  • 17:07 - 17:10
    นี่เป็นชมรมของคนอเมริกันที่ยอมรับว่า
  • 17:10 - 17:13
    ฝ่ายตรงข้ามกับเราอาจมีประเด็นที่สำคัญ
  • 17:13 - 17:16
    ในชมรมดาวเคราะห์น้อย
    เราไม่ได้มุ่งหาจุดร่วมที่เรามีเหมือนกัน
  • 17:16 - 17:18
    จุดร่วมเป็นสิ่งที่หาได้ยากมากๆ
  • 17:18 - 17:20
    เราต้องเริ่มจากการมองหาภัยคุกคามที่เรามีร่วมกัน
  • 17:20 - 17:24
    เพราะมันจะทำให้เรามีจุดร่วมที่เหมือนกันเอง
  • 17:24 - 17:28
    เอาล่ะ นี่ผมคิดอะไรตื้นๆ ไร้เดียงสาไปหรือเปล่า
  • 17:28 - 17:29
    ที่คิดว่าคนเราจะวางดาบของตัวเองลง
  • 17:29 - 17:33
    แล้วฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวาจะมาทำงานร่วมกันได้
  • 17:33 - 17:35
    ผมว่าผมไม่ได้มองโลกแง่ดีเกินไปหรอกนะครับ
  • 17:35 - 17:39
    แม้จะไม่ได้พบบ่อย
    แต่ก็มีตัวอย่างหลากหลายที่ชี้ว่ามันเป็นไปได้
  • 17:39 - 17:40
    นี่คือสิ่งที่เราทำได้
  • 17:40 - 17:44
    เพราะคนอเมริกันทั้งสองฝ่ายล้วนกังวลเรื่องสังคมที่เสื่อมลง
  • 17:44 - 17:46
    และได้ก่อตั้งองค์กรมากมายขึ้นมา
  • 17:46 - 17:48
    ทั้งในระดับชาติ เช่นองค์กรนี้
  • 17:48 - 17:50
    ไปจนถึงระด้บท้องถิ่น เช่น
  • 17:50 - 17:52
    องค์กร To The Village Square
    ในเมืองทัลลาฮัสซี รัฐฟลอริดา
  • 17:52 - 17:55
    ซึ่งพยายามดึงผู้นำระดับรัฐมาพูดคุยกันเพื่อช่วยส่งเสริม
  • 17:55 - 17:58
    มนุษยสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน
  • 17:58 - 18:01
    ซึ่งจำเป็นต่อการแก้ปัญหาของรัฐฟลอริดา
  • 18:01 - 18:06
    คนอเมริกันทั้งสองฝ่าย
    ห่วงใยเรื่องโรคเอดส์และความยากจนทั่วโลก
  • 18:06 - 18:09
    รวมทั้งปัญหาด้านมนุษยธรรมอื่นๆ อีกมาก
  • 18:09 - 18:12
    ที่จริงแล้วฝ่ายเสรีนิยมและฝ่ายเคร่งศาสนาเป็นพันธมิตรกันได้
  • 18:12 - 18:13
    และบางทีพวกเขาก็ทำงานร่วมกัน
  • 18:13 - 18:15
    เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
  • 18:15 - 18:18
    และที่ทำให้ผมประหลาดใจคือ บางทีสองฝ่ายนี้
  • 18:18 - 18:20
    ก็เห็นตรงกันเลยในเรื่องกระบวนการยุติธรรม
  • 18:20 - 18:24
    เช่น อัตราการถูกจองจำ หรือจำนวนประชากรนักโทษ
  • 18:24 - 18:28
    ในประเทศของเรา ที่เพิ่มขึ้นสี่เท่าจากปี 1980
  • 18:28 - 18:31
    นี่คือหายนะทางสังคม
  • 18:31 - 18:33
    และฝ่ายเสรีนิยมก็ห่วงเรื่องนี้มาก
  • 18:33 - 18:35
    ศูนย์กฎหมาย Southern Poverty Law Center
    เพื่อคนจนในรัฐทางตอนใต้
  • 18:35 - 18:38
    กำลังสู้เพื่อต่อต้านธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุก
  • 18:38 - 18:41
    ต่อต้านระบบที่ดูดเอาเด็กหนุ่มยากจนเข้าไปในคุก
  • 18:41 - 18:43
    แล้วฝ่ายอนุรักษ์นิยมชอบระบบนี้หรือเปล่า?
  • 18:43 - 18:46
    ไม่ครับ โกรเวอร์ นอร์ควิสท์ไม่ชอบระบบนี้
  • 18:46 - 18:50
    เพราะมันมีต้นทุนเป็นเงินมหาศาล
  • 18:50 - 18:52
    ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุกเหล่านี้
  • 18:52 - 18:56
    กำลังทำให้ประเทศล้มละลายและกัดกร่อนจิตวิญญาณของเรา
  • 18:56 - 19:00
    กลุ่มอนุรักษ์นิยมทางการเงินและศาสนาคริสต์
  • 19:00 - 19:04
    ได้รวมตัวกันตั้งกลุ่ม
    Right on Crime (ฝ่ายขวาต้านอาชญากรรม)
  • 19:04 - 19:07
    ซึ่งร่วมมือกับ the Southern Poverty Law Center
  • 19:07 - 19:09
    เพื่อต่อต้านการสร้างคุกเพิ่ม
  • 19:09 - 19:12
    และกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
  • 19:12 - 19:15
    ให้มีประสิทธิภาพและมีมนุษยธรรมมากขึ้น
  • 19:15 - 19:18
    ดังนั้น มันเป็นไปได้ครับ เราทำได้
  • 19:18 - 19:21
    เราออกไปสนามรบกันเถอะครับ
  • 19:21 - 19:23
    ไม่ใช่ออกไปรบกันเอง
  • 19:23 - 19:26
    แต่ไปสู้เพื่อผลักดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้ออกไป
  • 19:26 - 19:29
    พันธกิจแรกของเราคือการกดดันให้รัฐสภาปฏิรูปตัวเอง
  • 19:29 - 19:33
    ก่อนที่มันจะสายเกินไปสำหรับประเทศของเรา
  • 19:33 - 19:37
    ขอบคุณครับ (เสียงปรบมือ)
Title:
โจนาธาน เฮดท์ (Jonathan Haidt): ภัยคุกคามทำให้เราค้นพบจุดยืนร่วม (ทางการเมือง)
Speaker:
Jonathan Haidt
Description:

ถ้ามีดาวเคราะห์น้อยกำลังจะพุ่งมาชนโลก เราคงร่วมมือกันหาทางหยุดมันเหมือนในหนังใช่ไหม? แต่ทำไม เมื่อเราเผชิญหน้ากับปัญหาใหญ่ๆ ในชีวิตจริง ซึ่งมีข้อมูลสนับสนุนว่าจะทำให้สิ้นโลกได้ เราจึงได้ถอยเข้ามุม ตะโกนใส่กัน และได้แต่ยืนคุมเชิงกันไปมา โจนาธาน เฮดท์ชี้ให้เราเห็นปัญหาที่เหมือนดาวเคราะห์น้อยสามสี่ดวงซึ่งกำลังมุ่งหน้าจะมาชนเรา ฝ่ายซ้าย (เสรีนิยม) สนใจบางเรื่องเป็นพิเศษ ส่วนฝ่ายขวา (อนุรักษ์นิยม) ก็สนใจบางเรื่องที่ต่างออกไป เขาเสนอวิธีว่าจะทำอย่างไรให้ทั้งสองขั้วหันมาทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติทั้งมวล

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
20:01

Thai subtitles

Revisions Compare revisions