Return to Video

ข่าวดีของการต่อสู้กับมะเร็งตับอ่อน

  • 0:02 - 0:04
    ช่วยยกมือหน่อยนะคะ
  • 0:04 - 0:07
    ถ้าคุณรู้จักคนอย่างน้อย 1 คน ในภาพนี้
  • 0:08 - 0:10
    ว้าว ยกกันเกือบทั้งห้องเลย
  • 0:10 - 0:13
    ใช่ค่ะ เค้าเหล่านี้โด่งดังมาก
    ในวงการที่พวกเค้าอยู่
  • 0:13 - 0:16
    แล้วคุณรู้ไหมคะ
    ว่าพวกเขามีอะไรที่เหมือนกัน
  • 0:16 - 0:19
    ทุกคนในภาพเสียชีวิตจากมะเร็งตับอ่อนค่ะ
  • 0:19 - 0:21
    แม้ว่าการตายของพวกเค้า
    เป็นข่าวที่น่าเศร้าสลดอย่างมาก
  • 0:21 - 0:24
    แต่ก็ต้องขอบคุณเรื่องราวชีวิตของพวกเค้า
  • 0:24 - 0:28
    ที่ย้ำให้เราตระหนักถึงความร้ายแรงของโรคนี้
  • 0:28 - 0:32
    มะเร็งตับอ่อนขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 3
    ของสาเหตุการตายจากมะเร็ง
  • 0:32 - 0:37
    และมีแค่ 8% ของผู้ป่วย
    ที่จะมีชีวิตรอดเกิน 5 ปี
  • 0:37 - 0:39
    นั่นเป็นตัวเลขที่น้อยมาก ๆ
  • 0:39 - 0:42
    โดยเฉพาะเมื่อคุณเทียบกับมะเร็งเต้านม
  • 0:42 - 0:45
    ซึ่งอัตราการรอดชีวิตสูงเกือบ 90%
  • 0:46 - 0:48
    ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก
  • 0:48 - 0:51
    ที่การตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับอ่อน
  • 0:51 - 0:54
    หมายถึงการรับโทษประหารเกือบจะแน่นอน
  • 0:54 - 0:58
    และที่น่าตกใจกว่านั้นคือช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
  • 0:58 - 1:00
    ตัวเลขนี้ไม่ได้เปลี่ยนเลยแม้แต่น้อย
  • 1:00 - 1:02
    ทั้ง ๆ ที่มีความก้าวหน้ามากมาย
  • 1:02 - 1:04
    กับการรักษาเนื้องอกในจุดอื่น ๆ
  • 1:05 - 1:08
    เราจึงมองหาว่า จะมีวิธีการรักษาใด
    ที่ได้ผลกว่านี้ สำหรับมะเร็งตับอ่อน
  • 1:09 - 1:11
    ในฐานะของผู้ประกอบธุรกิจด้านชีวการแพทย์
  • 1:11 - 1:14
    ดิฉันชอบทำงานกับปัญหา
    ที่ดูเหมือนจะไร้หนทางแก้ไข
  • 1:14 - 1:16
    พยายามความเข้าใจถึงข้อจำกัดของพวกมัน
  • 1:16 - 1:19
    และพยายามที่จะหาวิธีการแก้ปัญหาใหม่ ๆ
  • 1:19 - 1:21
    ที่จะสามารถเปลี่ยนผลลัพธ์ของมัน
  • 1:21 - 1:24
    ข่าวร้ายอย่างแรกของมะเร็งตับอ่อน
  • 1:24 - 1:27
    นั่นคือ ตับอ่อนนั้น อยู่ในตำแหน่ง
    ตรงกลางของช่องท้อง ตามตัวอักษร
  • 1:27 - 1:30
    ซึ่งคือส่วนที่เป็นสีส้มในรูปนี้
  • 1:30 - 1:32
    ซึ่งก็แทบมองไม่เห็นเลย
  • 1:32 - 1:35
    ถ้าไม่เอาอวัยวะอื่น ๆ ด้านหน้าออกไปก่อน
  • 1:35 - 1:38
    และมันยังล้อมรอบไปด้วย
    อวัยวะที่สำคัญต่อร่างกายมากมาย
  • 1:38 - 1:41
    เช่น ตับ กระเพาะ ท่อน้ำดี
  • 1:41 - 1:45
    และการที่เนื้อร้ายมีโอกาส
    ที่จะแพร่ไปสู่อวัยวะเหล่านั้นได้
  • 1:45 - 1:47
    คือเหตุผลที่มะเร็งตับอ่อน
  • 1:47 - 1:50
    เป็นหนึ่งในเนื้อร้าย
    ที่สร้างความทุกข์ทรมานมากที่สุด
  • 1:50 - 1:52
    เพราะตำแหน่งที่เข้าถึงได้ยากนี้
  • 1:52 - 1:55
    ทำให้แพทย์ไม่สามารถ
    ผ่าตัดเนื้อร้ายนี้ออกมาได้
  • 1:55 - 1:58
    อย่างที่มักทำในกรณีอื่น
    เช่น มะเร็งเต้านม เป็นต้น
  • 1:59 - 2:02
    ดังนั้น ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้
    เคมีบำบัดจึงเป็นทางเลือกเดียว
  • 2:02 - 2:04
    ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน
  • 2:05 - 2:07
    นี่นำมาสู่ข่าวร้ายเรื่องที่สองอีก
  • 2:08 - 2:11
    คือ ตัวมะเร็งตับอ่อนนั้น
    มีเส้นเลือดไปเลี้ยงน้อยมาก
  • 2:12 - 2:15
    ทำไมเราถึงต้องสนใจ
    เส้นเลือดของเนื้อร้ายด้วยล่ะ
  • 2:15 - 2:19
    ลองคิดถึงวิธีการทำงานของเคมีบำบัดกันก่อน
  • 2:19 - 2:21
    เราฉีดยาเข้าทางเส้นเลือด
  • 2:21 - 2:25
    แล้วมันจะถูกลำเลียงผ่านส่วนต่าง ๆ
    ของร่างกายไปจนถึงตำแหน่งของเนื้อร้าย
  • 2:26 - 2:30
    มันเหมือนขับรถบนทางด่วนเพื่อไปยังจุดหมาย
  • 2:30 - 2:34
    แต่ถ้าจุดหมายนั้นยังไม่มีถนน
    มาต่อเชื่อมกับทางด่วนล่ะ
  • 2:34 - 2:36
    คุณจะไม่มีวันไปถึงอย่างแน่นอน
  • 2:36 - 2:38
    และนั่นแหละคือปัญหาที่เราเจอ
  • 2:38 - 2:40
    กับการทำเคมีบำบัดและมะเร็งตับอ่อน
  • 2:41 - 2:44
    ตัวยาวิ่งไปทั่วร่างกาย
  • 2:44 - 2:46
    ผ่านอวัยวะดีที่ไม่มีมะเร็ง
  • 2:46 - 2:50
    เกิดผลข้างเคียงโดยรวมกับผู้ป่วยอย่างมาก
  • 2:50 - 2:53
    แต่กลับไปถึงเนื้อร้ายนิดเดียว
  • 2:53 - 2:55
    ด้วยเหตุนี้ ประสิทธิผลมันจึงจำกัดเอามาก ๆ
  • 2:57 - 3:01
    สำหรับดิฉัน มันดูขัดความรู้สึก
    ที่ต้องให้ยาทั้งร่างกาย
  • 3:01 - 3:04
    เพื่อพุ่งเป้าไปยังอวัยวะเดียว
  • 3:04 - 3:06
    อย่างไรก็ตาม ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
  • 3:06 - 3:10
    แม้จะมีเงินมหาศาล การวิจัย
    และความพยายามมากมาย
  • 3:10 - 3:15
    ที่ลงทุนไปกับการหายาวิเศษตัวใหม่
    สำหรับรักษามะเร็งตับอ่อน
  • 3:15 - 3:17
    แต่กลับไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการ
  • 3:17 - 3:19
    ที่เราให้ยาเหล่านี้กับคนไข้เลย
  • 3:20 - 3:22
    เอาล่ะค่ะ หลังข่าวร้าย 2 ข่าวนี้
  • 3:22 - 3:25
    ดิฉันอยากจะบอกข่าวดีบ้าง
    หวังว่านะคะ
  • 3:26 - 3:27
    ด้วยความร่วมมือกับ MIT
  • 3:27 - 3:30
    และโรงพยาบาลกลางแมสซาชูเซตส์ ในบอสตัน
  • 3:30 - 3:33
    เราได้ปฏิวัติวิธีการรักษามะเร็ง
  • 3:33 - 3:37
    ด้วยการทำให้การให้ยาเฉพาะที่
    กลายเป็นความจริง
  • 3:37 - 3:41
    เราส่งคุณร่อนร่มชูชีพลงเหนือจุดหมาย
  • 3:41 - 3:44
    เลี่ยงการขับรถไปทั่วถนนทุกสาย
  • 3:44 - 3:49
    เราบรรจุตัวยาเข้าไปในอุปกรณ์หน้าตาแบบนี้
  • 3:49 - 3:54
    มันยืดหยุ่นพอที่จะม้วนได้แบบนี้
  • 3:54 - 3:56
    เพื่อให้เข้าไปในสายที่ใช้สวนได้
  • 3:56 - 4:00
    ดังนั้นแพทย์ก็สามารถวางมันไว้
    บนเนื้องอกได้โดยตรง
  • 4:00 - 4:02
    ด้วยแผลผ่าตัดขนาดเล็กที่สุด
  • 4:03 - 4:06
    แต่ขณะเดียวกันมันก็แข็งแรงพอ
  • 4:06 - 4:08
    ทำให้เมื่ออยู่บนตัวเนื้อร้ายแล้ว
  • 4:08 - 4:10
    มันจะทำตัวเหมือนกรง
  • 4:10 - 4:13
    เป็นการป้องกันโดยกายภาพ
  • 4:13 - 4:15
    ไม่ให้เนื้อร้ายเข้าไปยังอวัยวะอื่น ๆ
  • 4:15 - 4:17
    ซึ่งเป็นการควบคุมการแพร่กระจายของมะเร็ง
  • 4:18 - 4:21
    วัสดุนี้ยังย่อยสลายทางชีวภาพอีกด้วย
  • 4:21 - 4:23
    นั่นแปลว่าเมื่อเริ่มสัมผัสกับร่างกายแล้ว
  • 4:23 - 4:24
    มันจะเริ่มละลาย
  • 4:24 - 4:30
    เริ่มนำส่งตัวยาลงไปที่จุดที่สัมผัส
    อย่างช้า ๆ และมีประสิทธิภาพ
  • 4:30 - 4:33
    มากกว่าวิธีการปัจจุบัน
    ที่กระจายยาออกไปทั่วร่างกาย
  • 4:33 - 4:36
    ในการศึกษาพรีคลีนิค
    เราได้แสดงให้เห็นว่า
  • 4:36 - 4:38
    วิธีการเฉพาะที่นี้
  • 4:38 - 4:42
    สามารถเพิ่มอัตราการตอบสนอง
    ต่อการรักษาได้ถึง 12 เท่า
  • 4:43 - 4:46
    ซึ่งเราใช้ตัวยาเดิมที่แพร่หลายอยู่แล้ว
  • 4:46 - 4:49
    และเพียงแค่เปลี่ยนวิธีนำส่งมัน
    ไปยังบริเวณที่จำเป็นที่สุดเท่านั้น
  • 4:49 - 4:53
    เราก็สามารถได้ผลการตอบสนอง
    ที่ดีขึ้นถึง 12 เท่า
  • 4:53 - 4:56
    และลดผลกระทบที่เป็นพิษ
    ต่อร่างกายทั้งระบบด้วย
  • 4:57 - 5:01
    เราได้ทำงานอย่างไม่หยุดหย่อน
    เพื่อนำเทคโนโลยีไปสู่อีกขั้น
  • 5:01 - 5:04
    เรากำลังสิ้นสุดการทดสอบพรีคลีนิค
  • 5:04 - 5:08
    และการทดลองในสัตว์
    ที่จำเป็นต้องทำก่อนขอการรับรองจาก FDA
  • 5:08 - 5:11
    เพื่อเริ่มทดสอบทางคลีนิคต่อไป
  • 5:11 - 5:16
    ปัจจุบันนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่
    จะตายจากมะเร็งตับอ่อน
  • 5:16 - 5:18
    เรากำลังหวังว่าในวันหนึ่ง
  • 5:18 - 5:21
    เราจะสามารถลดความเจ็บปวด
    ของพวกเขา ยืดชีวิตพวกเขา
  • 5:21 - 5:24
    และเพิ่มโอกาสที่จะทำให้มะเร็งตับอ่อน
  • 5:24 - 5:26
    เป็นโรคที่สามารถรักษาได้
  • 5:26 - 5:29
    ด้วยการคิดใหม่ ถึงวิธีการที่เรานำส่งยา
  • 5:29 - 5:33
    เราไม่เพียงแต่ทำให้มันทรงพลังมากขึ้น
    และเป็นพิษน้อยลง
  • 5:33 - 5:38
    แต่เรากำลังเปิดประตูไปสู่วิธีการแก้ปัญหา
    ที่เป็นนวัตกรรมมากขึ้น
  • 5:38 - 5:40
    สำหรับเกือบทุกปัญหาอื่น ๆ ที่เป็นไปไม่ได้
  • 5:40 - 5:44
    ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน
    และนอกเหนือจากนี้ต่อไป
  • 5:44 - 5:45
    ขอบคุณมากค่ะ
  • 5:45 - 5:50
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ข่าวดีของการต่อสู้กับมะเร็งตับอ่อน
Speaker:
เลารา อินโดลฟิ (Laura Indolfi)
Description:

ใครก็ตามที่เคยสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปกับมะเร็งตับอ่อน ต่างรู้ดีถึงความเร็วในการทำลายล้างของมัน ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่เคยมีสุขภาพดี TED Fellow และผู้ประกอบการทางชีวการแพทย์ เลารา อินโดลฟิ กำลังพัฒนาวิธีการที่จะพลิกโฉมการรักษาโรคที่ซับซ้อนและอันตรายร้ายแรงนี้ นั่นก็คือ อุปกรณ์การนำส่งยาที่ทำตัวเหมือนกรงล้อมบริเวณเนื้อร้าย ป้องกันไม่ให้มันแพร่ กระจาย และให้ยาเฉพาะบริเวณที่จำเป็น "เรากำลังหวังว่าวันหนึ่งเราจะทำให้มะเร็งตับอ่อนนั้นเป็นโรคที่รักษาได้" เธอกล่าว

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
06:03

Thai subtitles

Revisions