Return to Video

การคุกคามของสายพันธุ์ต่างถิ่น - เจนิเฟอร์ คลอส (Jennifer Klos)

  • 0:08 - 0:11
    เถาไม้ที่ปกคลุมทางตอนใต้
    ของสหรัฐอเมริกา
  • 0:11 - 0:17
    ไต่เลื้อยสูงขึ้นเป็นจนถอนรากถอนโคน
    ต้นไม้ใหญ่ และกลืนตึกไปทั้งหลัง
  • 0:17 - 0:21
    งูจอมตะกละที่สามารถกินจระเข้ได้
  • 0:21 - 0:25
    ประชากรกระต่าย
    ที่กร่อนกินพวกเดียวกันจนอดตาย
  • 0:25 - 0:27
    นี่ไม่ใช่แนวคิดหนังสยองขวัญ
  • 0:27 - 0:29
    พวกมันคือเรื่องจริง
  • 0:29 - 0:32
    แต่สถานการณ์ที่ว่านี้
    เกิดขึ้นในธรรมชาติได้อย่างไรกัน
  • 0:32 - 0:36
    ทั้งสามเหตุการณ์นี้เป็นตัวอย่าง
    ของสายพันธุ์ต่างถิ่นที่ลุกล้ำเข้ามา
  • 0:36 - 0:39
    มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตราย
    ไม่ใช่เพราะว่าพวกมันเป็นอย่างนั้น
  • 0:39 - 0:42
    แต่เป็นเพราะสถานที่
    ซึ่งเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นต่างหาก
  • 0:42 - 0:43
    ยกตัวอย่างเช่น ไม้เลื้อยคัดซู (kudzu)
  • 0:43 - 0:48
    ที่เติบโตอยู่ถิ่นดั้งเดิมของมัน
    ในเอเชียตะวันออก ถูกกินโดยแมลงต่าง ๆ
  • 0:48 - 0:50
    และตายไปในช่วงฤดุหนาว
  • 0:50 - 0:52
    แต่ชะตาของมันเปลี่ยนไป
  • 0:52 - 0:55
    เมื่อมันถูกนำเข้ามายังทางตะวันออกเฉียงใต้
    ของสหรัฐอเมริกา
  • 0:55 - 0:59
    เพื่อเป็นไม้ประดับสวย ๆ
    และเป็นอาหารของวัว
  • 0:59 - 1:03
    การปลูกพืชชนิดนี้ยังได้รับการสนับสนุนโดย
    รัฐบาล เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
  • 1:03 - 1:08
    ด้วยพื้นที่ที่มีแดด อากาศดี และ
    ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติในบ้านใหม่
  • 1:08 - 1:10
    ไม้เถานี้ก็เติบโตอย่างไม่สามารถควบคุมได้
  • 1:10 - 1:15
    จนกระทั่งมันการเป็นที่รู้จักกันว่า
    พืชที่กินทางใต้
  • 1:15 - 1:19
    ขณะเดียวกันหนองน้ำในฟอริดา
    งูเหลือมพม่า
  • 1:19 - 1:22
    ที่คาดว่าถูกปล่อยหลุดออกมา
    โดยเจ้าของสัตว์เลี้ยง
  • 1:22 - 1:26
    เป็นสาเหตุของการลดลง
    ของประชากรสิ่งมีชีวิต
  • 1:26 - 1:29
    พวกมันประสบความสำเร็จ
    ในการแย่งปัจจัยของผู้ล่าสูงสุด
  • 1:29 - 1:31
    เช่น จระเข้ และเสือ
  • 1:31 - 1:34
    ทำให้แหล่งอาหารของพวกมัน
    ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
  • 1:34 - 1:36
    พวกมันไม่ได้สร้างปัญหา
    ในถิ่นดั้งเดิมของมันในเอเชีย
  • 1:36 - 1:42
    เพราะว่าโรค ปรสิต และผู้ล่า
    ช่วยควบคุมขนาดประชากรของมัน
  • 1:42 - 1:46
    และในออสเตรเลีย กระต่ายยุโรป
    กินพืชมากมาย
  • 1:46 - 1:50
    จนพวกมันกินแหล่งอาหารของพวกมัน
    และสัตว์กินพืชอื่น ๆ เสียโกร๋น
  • 1:50 - 1:52
    พวกมันเพิ่งจะถูกนำเข้ามาในทวีปนี้ไม่นาน
  • 1:52 - 1:59
    ด้วยความตั้งใจของชายคนหนึ่ง
    ที่ชอบล่าพวกมัน
  • 1:59 - 2:01
    เช่นเดียวกับงูเหลือมพม่า
  • 2:01 - 2:05
    ปัจจัยต่าง ๆ ในแหล่งดั้งเดิมของพวกมัน
    ควบคุมจำนวนของพวกมันเอาไว้
  • 2:05 - 2:07
    แต่ในออสเตรเลีย การที่ไม่มีผู้ล่า
  • 2:07 - 2:11
    และอากาศที่เหมาะสมต่อการสืบพันธุ์ทั้งปี
  • 2:11 - 2:14
    ทำให้ประชากรของพวกมันพุ่งพรวด
  • 2:14 - 2:16
    แล้วทำไมมันจึงเกิดขึ้นอยู่เรื่อยล่ะ
  • 2:16 - 2:18
    ระบบนิเวศส่วนใหญ่ของโลก
  • 2:18 - 2:22
    เป็นผลลัพธ์มาของเวลาหลายล้านปี
    ในการอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิต
  • 2:22 - 2:25
    การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมของพวกมัน
    และต่อกันและกัน
  • 2:25 - 2:28
    จนกระทั่งถึงจุดสมดุลที่เสถียร
  • 2:28 - 2:32
    ระบบนิเวศที่ดีจะคงสมดุลนี้ไว้ได้
    ผ่านปัจจัยจำกัด
  • 2:32 - 2:37
    ซึ่งก็คือสภาวะทางสิ่งแวดล้อม
    ที่จำกัดขนาดหรือชนิดของสายพันธุ์
  • 2:37 - 2:40
    นั่นรวมถึงสิ่งต่าง ๆ อย่างเช่น
    ภูมิศาสตร์ทางธรรมชาติ และสภาพอากาศ
  • 2:40 - 2:41
    ความสมบูรณ์ของอาหาร
  • 2:41 - 2:45
    และการปรากฏหรือไม่ปรากฏของผู้ล่า
  • 2:45 - 2:49
    ยกตัวอย่างเช่น การเติบโตของพืช
    ขึ้นอยู่กับระดับแสง และธาตุอาหารในดิน
  • 2:49 - 2:53
    ปริมาณของพืชที่กินได้
    ส่งผลต่อประชากรของสัตว์กินพืช
  • 2:53 - 2:56
    ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสัตว์กินเนื้อ
    ที่กินพวกมันอีกที
  • 2:56 - 3:01
    และประชากรผู้ล่าที่เหมาะสมจะควบคุม
    สัตว์กินพืชไม่ให้มีจำนวนมากเกินไป
  • 3:01 - 3:04
    และกินพืชจนหมด
  • 3:04 - 3:08
    แต่แม้แต่ปัจจัยหนึ่งเปลี่ยนแปลง
    เพียงเล็กน้อย ก็สามารถกระทบสมดุลนี้ได้
  • 3:08 - 3:11
    และการนำสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้อยู่ในถิ่นนั้นแต่เดิม
    เข้ามาอย่างทันทีทันใด
  • 3:11 - 3:13
    ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างมาก
  • 3:13 - 3:17
    สายพันธุ์ที่มีวิวัฒนาการ
    มาจากต่างแหล่งที่อยู่อาศัย
  • 3:17 - 3:20
    จะไวต่อปัจจัยจำกัดที่ต่างกัน
  • 3:20 - 3:21
    ผู้ล่าที่ต่างกัน
  • 3:21 - 3:23
    แหล่งพลังงานที่ต่างกัน
  • 3:23 - 3:24
    และสภาพอากาศที่ต่างกัน
  • 3:24 - 3:29
    ถ้าหากปัจจัยจำกัดของแหล่งที่อยู่ใหม่
    ไม่สามารถจำกัดการเติบโตของสายพันธุ์นี้ได้
  • 3:29 - 3:31
    มันจะเพิ่มจำนวนไปเรื่อย ๆ
  • 3:31 - 3:33
    แก่งแย่งปัจจัยกับสิ่งมีชีวิตประจำถิ่น
  • 3:33 - 3:37
    และรบกวนระบบนิเวศทั้งระบบ
  • 3:37 - 3:41
    บางครั้งสายพันธุ์ต่าง ๆ ถูกนำเข้าไป
    ยังแหล่งที่อยู่ใหม่โดยปัจจัยทางธรรมชาติ
  • 3:41 - 3:42
    เช่น พายุฝน
  • 3:42 - 3:43
    กระแสน้ำในมหาสมุทร
  • 3:43 - 3:45
    หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
  • 3:45 - 3:50
    ทว่า สิ่งมีชีวิตที่รุกล้ำเข้ามาส่วนใหญ่
    มาจากฝีมือของมนุษย์
  • 3:50 - 3:52
    บ่อยครั้งที่มันเกิดจากความไม่ตั้งใจ
  • 3:52 - 3:57
    อย่างเช่นตอนที่หอยกาบลายเสือถูกนำไปยัง
    ทะเลสาบอีรีโดยเรือสินค้าโดยบังเอิญ
  • 3:57 - 4:00
    แต่เมื่อมนุษย์อพยพไปทั่วโลก
  • 4:00 - 4:04
    เราก็ยังเอาพืชและสัตว์ต่าง ๆ ไปกับเราด้วย
    อย่างจงใจ
  • 4:04 - 4:07
    โดยไม่ค่อยจะได้คิดถึงผลที่จะตามมา
  • 4:07 - 4:09
    แต่ตอนนี้ เราได้เรียนรู้มากขึ้นแล้ว
  • 4:09 - 4:11
    ถึงผลกระทบของสายพันธุ์ต่างถิ่น
    ที่มีต่อระบบนิเวศ
  • 4:11 - 4:16
    รัฐบาลหลายแห่งติดตามการขนส่ง
    พืชและสัตว์อย่างใกล้ชิด
  • 4:16 - 4:19
    และสั่งห้ามการนำเข้าสิ่งมีชีวิตบางชนิด
  • 4:19 - 4:22
    แต่สายพันธุ์ที่มีผลกระทบ
    ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก
  • 4:22 - 4:27
    จะเป็นกลุ่มของลิงไม่มีหางที่มีกำเนิดจาก
    แอฟริกาและกระจายไปทั่วโลกหรือเปล่า
  • 4:27 - 4:30
    เราเป็นสายพันธุ์คุกคามหรือเปล่านะ
Title:
การคุกคามของสายพันธุ์ต่างถิ่น - เจนิเฟอร์ คลอส (Jennifer Klos)
Description:

ชมบทเรียนเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/the-threat-of-invasive-species-jennifer-klos

เถาไม้ที่ปกคลุมทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ไต่เลื้อยสูงขึ้นเป็นจนถอนรากถอนโคนต้นไม้ใหญ่ และกลืนตึกไปทั้งหลัง งูจอมตะกละที่สามารถกินจระเข้ได้ ประชากรกระต่ายที่กร่อนกินพวกเดียวกันจนอดตาย นี่ไม่ใช่แนวคิดหนังสยองขวัญ -- พวกมันคือเรื่องจริง แต่สถานการณ์ที่ว่านี้เกิดขึ้นในธรรมชาติได้อย่างไรกัน เจนิเฟอร์ คลอส อธิบายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสายพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกเล้ำเข้ามา

บทเรียนโดย Jennifer Klos, แอนิเมชันโดย Globizco

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:46

Thai subtitles

Revisions