Return to Video

แมงกะพรุนผู้มาก่อนไดโนเสาร์ พวกมันอยู่มานานขนาดนี้ได้อย่างไร - เดวิด กรูเบอร์ (David Gruber)

  • 0:08 - 0:11
    พวกมันบางตัวมีขนาดยาวกว่าวาฬสีน้ำเงิน
  • 0:11 - 0:15
    บางตัวแทบจะมีขนาดเท่ากับเม็ดทราย
  • 0:15 - 0:19
    สายพันธุ์หนึ่งสามารถปล่อยพิษ
    ที่ร้ายแรงที่สุดในโลกได้
  • 0:19 - 0:24
    อีกสายพันธุ์หนึ่งกุมความลับเบื้องหลัง
    ความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทางชีววิทยา
  • 0:24 - 0:28
    พวกมันอาศัยอยู่ในมหาสมุทร
    มาอย่างน้อยห้าร้อยล้านปี
  • 0:28 - 0:32
    และพวกมันก็ยังคงเจริญเติบโตอยู่ในทะเล
    ที่มีความเปลี่ยนแปลง
  • 0:32 - 0:36
    แมงกะพรุนเป็นสัตว์ทะเลที่มีร่างกายอ่อนนุ่ม
    แต่พวกมันไม่ใช่ปลา
  • 0:36 - 0:40
    พวกมันเป็นแพลงก์ตอนสัตว์
    จำพวกที่มีลักษณะคล้ายเจล
  • 0:40 - 0:44
    ซึ่งแพลงก์ตอนสัตว์
    เป็นสัตว์ที่ลอยละล่องอยู่ในมหาสมุทร
  • 0:44 - 0:47
    แมงกะพรุนมีมากกว่า 1,000 สายพันธุ์
  • 0:47 - 0:51
    และมีสัตว์อีกมามาย
    ที่มักจะถูกเข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกมัน
  • 0:51 - 0:54
    ลักษณะเด่นของแมงกะพรุน
    คือมีลักษณะเป็นระฆังโปร่งแสง
  • 0:54 - 0:58
    ที่สร้างขึ้นมาจากผิวบอบบาง
    ที่เรียกว่า มีโซเกลีย (Mesoglea)
  • 0:58 - 1:01
    ที่ถูกประกบอยู่ระหว่างชั้นผิวหนังสองชั้น
  • 1:01 - 1:07
    มีโซเกลียนี้มีน้ำเป็นส่วนประกอบกว่า
    ร้อยละ 95 ซึ่งถูกกักเอาไว้ด้วยเยื่อโปรตีน
  • 1:07 - 1:12
    แมงกะพรุนสามารถหดและคลาย
    ระฆังของมันเพื่อแหวกว่ายไปมา
  • 1:12 - 1:15
    พวกมันไม่มีสมองหรือกระดูกสันหลัง
  • 1:15 - 1:17
    แต่มีเครือข่ายประสาทรอบ ๆ ของระฆังด้านใน
  • 1:17 - 1:20
    ที่ประกอบกันเป็นระบบประสาทพื้นฐาน
  • 1:20 - 1:25
    ที่สามารถรับสัมผัสต่อกระแสน้ำทะเล
    และสัมผัสกับสัตว์อื่น ๆ ได้
  • 1:25 - 1:29
    แมงกะพรุนไม่มีระบบย่อยอาหาร
    ในแบบทั่วไปที่เราคุ้นเคยกัน
  • 1:29 - 1:34
    สัตว์กินเนื้อตัวเด้งดึ๋งเหล่านี้กิน
    แพลงก์ตอนและสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในทะเล
  • 1:34 - 1:38
    ผ่านช่องที่อยู่ด้านล่างของระฆัง
  • 1:38 - 1:41
    สารอาหารต่าง ๆ ถูกดูดซึม
    โดยเซลล์ที่อยู่ชั้นใน
  • 1:41 - 1:45
    และของเสียจะถูกกำจัด
    กลับออกมาทางปาก
  • 1:45 - 1:48
    แต่ลักษณะทางกายวิภาค
    ที่เรียบง่ายของแมงกะพรุนนี้
  • 1:48 - 1:52
    ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อความสามารถ
    อันน่าทึ่งของมัน
  • 1:52 - 1:55
    แมงกะพรุนกล่องชนิดหนึ่งมีตาถึง 24 ดวง
  • 1:55 - 2:03
    นักวิทยาศาสตร์คิดว่ามันสามารถเห็นสี
    และภาพด้วยระบบประสาทง่าย ๆ ที่มีอยู่ในตัว
  • 2:03 - 2:06
    ตาสี่ดวงของมันโค้งขึ้นอยู่บนรยางค์
  • 2:06 - 2:10
    นั่นทำให้แมงกะพรุนสามารถแอบดู
    สิ่งต่าง ๆ บนผิวน้ำได้
  • 2:10 - 2:15
    เพื่อมองหาร่มเงาของต้นโกงกาง
    ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของมัน
  • 2:15 - 2:17
    อันที่จริง นี่อาจเป็น
    สิ่งมีชีวิตเพียงอย่างเดียว
  • 2:17 - 2:22
    ที่สามารถมองสิ่งแวดล้อมรอบตัวมัน
    ได้ 360 องศา
  • 2:22 - 2:26
    เข็มพิษของแมงกะพรุนซึ่งช่วยมัน
    ในการดักจับเหยื่อและป้องกันตัวเอง
  • 2:26 - 2:29
    เป็นไพ่ไม้ตายของมัน
  • 2:29 - 2:30
    ในผิวชั้นเอพิเดอร์มิส (epidermis)
    ของแมงกะพรุน
  • 2:30 - 2:36
    เซลล์ที่เรียกว่าเข็มพิษ (nematocysts)
    ถูกขดเอาไว้ราวกับฉมวกพิษ
  • 2:36 - 2:41
    เมื่อมันถูกกระตุ้นด้วยการสัมผัส
    พวกมันก็จะยิงออกมาด้วยแรงระเบิด
  • 2:41 - 2:47
    อานุภาพของมันมากกว่าแรงชกสูงสุด
    ของไมค์ ไทสันถึง 550 เท่า
  • 2:47 - 2:50
    ในการฉีดพิษเข้าสู่ร่างเหยื่อ
  • 2:50 - 2:52
    เข็มพิษของแมงกะพรุนบางชนิด
    อาจให้ความรู้สึกเพียงเสี้ยนตำ
  • 2:52 - 2:56
    แต่สำหรับบางชนิด มันก่อให้เกิด
    ความเสียหายรุนแรงต่อผิวหนังได้
  • 2:56 - 3:01
    พิษของแมงกะพรุนกล่องตัวหนึ่ง
    สามารถฆ่าคนได้ภายในห้านาที
  • 3:01 - 3:07
    ทำให้มันเป็นหนึ่งในพิษที่ร้ายแรงที่สุด
    ในบรรดาสัตว์โลก
  • 3:07 - 3:10
    แมงกะพรุนจอมพลังชนิดอื่น ๆ
    ไม่ทำให้ถึงกับตาย
  • 3:10 - 3:13
    แมงกะพรุนสายพันธุ์หนึ่ง
    จะเรืองแสงสีเขียวเมื่อมันถูกรบกวน
  • 3:13 - 3:18
    ส่วนใหญ่แล้วต้องขอบคุณสารเรืองแสงชีวภาพ
    ที่เรียกว่า "โปรตีนเรืองแสงสีเขียว"
  • 3:18 - 3:20
    หรือ "GFP"
  • 3:20 - 3:22
    นักวิทยาศาสตร์ได้แยกยีนของ GFP ออกมา
  • 3:22 - 3:27
    และพบว่าจะแทรกมันเข้าไป
    ในดีเอ็นเอของเซลล์อื่นอย่างไร
  • 3:27 - 3:30
    ที่นั่น มันจะทำหน้าที่
    ประหนึ่งเป็นประภาคารเคมีชีวภาพ
  • 3:30 - 3:32
    สำหรับการดัดแปลงทางพันธุกรรม
  • 3:32 - 3:37
    หรือการเปิดเผยวิถีของโมเลกุลที่สำคัญ
  • 3:37 - 3:42
    นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้การเรืองแสงของ GFP นี้
    เพื่อติดตามการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็ง
  • 3:42 - 3:44
    ติดตามพัฒนาการของภาวะสมองเสื่อม
  • 3:44 - 3:49
    และแสดงกระบวนการทางชีววิทยา
    อื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน
  • 3:49 - 3:51
    การพัฒนาเครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ
    จาก GFP
  • 3:51 - 3:55
    ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งสาม
    ได้รับรางวัลโนเบลประจำปี ค.ศ. 2008
  • 3:55 - 3:59
    และนักวิทยาศาสตร์อีกสามท่าน
    ในปี ค.ศ. 2014
  • 3:59 - 4:04
    แต่แมงกะพรุนนี่แหละที่เป็นสิ่งมีชีวิต
    ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก
  • 4:04 - 4:07
    ฟอสซิลโบราณพิสูจน์ว่า
    แมงกะพรุนอาศัยอยู่ในทะเล
  • 4:07 - 4:10
    เป็นเวลากว่า 500 ล้านปีมาแล้ว
  • 4:10 - 4:13
    และอาจย้อนกลับไปไกลได้ถึง 700 ล้านปี
  • 4:13 - 4:18
    ซึ่งเนิ่นนานกว่า
    สิ่งมีชีวิตที่มีหลายอวัยวะใด ๆ ทั้งมวล
  • 4:18 - 4:20
    และเช่นเดียวกับสัตว์ทะเลชนิดอื่น ๆ
    ที่ดิ้นรนเอาชีวิตรอด
  • 4:20 - 4:23
    ในมหาสมุทรที่อุ่นขึ้นและเป็นกรดมากขึ้น
  • 4:23 - 4:25
    แมงกะพรุนก็กำลังเจริญเติบโต
  • 4:25 - 4:29
    และบางทีอาจเพิ่มจำนวนมากขึ้น
  • 4:29 - 4:36
    บางตัวสามารถวางไข่ 45,000 ฟอง
    ภายในคืนเดียว โดยไม่ลำบากอะไร
  • 4:36 - 4:38
    และแมงกะพรุนบางชนิด
    ก็มีทีเด็ดในการเอาตัวรอด
  • 4:38 - 4:41
    ที่ราวกับโลดแล่นออกมา
    จากนิยายวิทยาศาสตร์
  • 4:41 - 4:44
    เมื่อแมงกะพรุนที่เป็นอมตะนี้เจ็บป่วย
    แก่ตัว หรืออยู่ในภาวะความเครียด
  • 4:44 - 4:48
    เซลล์สู้ชีวิตของมัน
    ก็สามารถเปลี่ยนตัวตนได้
  • 4:48 - 4:51
    ระฆังน้อย ๆ และหนวดทั้งหลาย
    ต่างค่อย ๆ ลดรูป
  • 4:51 - 4:53
    และกลายเป็นหน่อที่ยังไม่เจริญเต็มที่
  • 4:53 - 4:57
    ที่จะแพร่กระจายโคลนใหม่
    ของพ่อแม่เดิมออกไป
  • 4:57 - 5:01
    เท่าที่เรารู้ นี่เป็นสิ่งมีชีวิต
    ชนิดเดียวที่พบทางออกนี้
  • 5:01 - 5:04
    เมื่อกำลังเผชิญหน้ากับความตาย
  • 5:04 - 5:08
    มันค่อนข้างน่าอัศจรรย์
    สำหรับสายพันธุ์ที่ร้อยละ 95 ประกอบด้วยน้ำ
  • 5:08 - 5:10
    และกำเนิดมาก่อนไดโนเสาร์
Title:
แมงกะพรุนผู้มาก่อนไดโนเสาร์ พวกมันอยู่มานานขนาดนี้ได้อย่างไร - เดวิด กรูเบอร์ (David Gruber)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/jellyfish-predate-dinosaurs-how-have-they-survived-so-long-david-gruber

พวกมันบางตัวมีขนาดยาวกว่าวาฬสีน้ำเงิน บางตัวแทบจะมีขนาดเท่ากับเม็ดทราย สายพันธุ์หนึ่งสามารถปล่อยพิษที่ร้ายแรงที่สุดในโลกได้ อีกสายพันธุ์หนึ่งกุมความลับเบื้องหลังความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทางชีววิทยา พวกมันอาศัยอยู่ในมหาสมุทรมาอย่างน้อยห้าร้อยล้านปี และพวกมันก็ยังคงเจริญเติบโตอยู่ที่แห่งนั้น เดวิด กรูเบอร์ ได้สืบค้นอำนาจเบื้องลึกของเจ้าแมงกะพรุน

บทเรียนโดย David Gruber แอนิเมชันโดย Silvia Prietov

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:26

Thai subtitles

Revisions