Return to Video

เชื้อแพร่กระจายได้อย่างไร (และทำไมพวกเราถึงป่วย)? - ยาเนย์ คาอิคิน (Yannay Khaikin) และ นิโคล มิดิโอ (Nicole Mideo)

  • 0:07 - 0:08
    แดดกำลังสาดส่อง
  • 0:08 - 0:10
    นกกำลังร้องเพลง
  • 0:10 - 0:13
    เหมือนวันดีๆ กำลังจะเริ่มต้นขึ้น
  • 0:13 - 0:16
    คุณกำลังเดินอย่างมีความสุขในสวน
    แล้วก็ "ฮัดชิ้ว"
  • 0:16 - 0:20
    คนแปลกหน้าที่เดินสวนมาพ่นเมือกและน้ำลาย
    จากปากและจมูก
  • 0:20 - 0:23
    คุณรู้สึกได้ถึงหยดความชื่นบนผิว
  • 0:23 - 0:26
    แต่ที่คุณไม่อาจรู้สึกได้ ก็คือ
  • 0:26 - 0:30
    เชื้อเล็กๆ หลายพันหรือหลายล้าน
    ที่เดินทางจากทางอากาศ
  • 0:30 - 0:33
    มายังเสื้อผ้า มือ และหน้าของคุณ
  • 0:33 - 0:34
    แม้ว่ามันฟังดูน่าขยะแขยง
  • 0:34 - 0:39
    แต่มันกลับเป็นเรื่องธรรมดามากที่ร่างกายของเรา
    จะสัมผัสกับเชื้อโรค
  • 0:39 - 0:41
    และบ่อยครั้งคุณไม่รู้สึกถึงมันซะด้วยซ้ำ
  • 0:41 - 0:45
    เชื้อโรคถูกพบได้แทบทุกพื้นผิวที่เราสัมผัส
  • 0:45 - 0:46
    เมื่อเราพูดถึงเชื้อ
  • 0:46 - 0:50
    เรากำลังพูดถึงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ หลายชนิด
  • 0:50 - 0:55
    รวมถึง แบคทีเรีย รา โปรโตซัว และไวรัส
  • 0:55 - 0:59
    แต่สิ่งที่เชื้อเหล่านี้มีเหมือนๆ กันก็คือ
    การมีปฏิสัมพันธ์กับร่างกายของเรา
  • 0:59 - 1:02
    เปลี่ยนความรู้สึกและการทำงานของเรา
  • 1:02 - 1:05
    นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาโรคติดต่อ
    มีความสงสัยมาหลายทศวรรษ
  • 1:05 - 1:09
    ว่าทำไมเชื้อบางชนิดจึงไร้พิษภัย
  • 1:09 - 1:14
    ในขณะที่บางสายพันธุ์ก็ทำให้เกิดอันตราย
    และบางทีก็ถึงแก่ชีวิต
  • 1:14 - 1:16
    เรายังคงไม่สามารถแก้ปริศนาได้ทั้งหมด
  • 1:16 - 1:20
    แต่ที่เรารู้ก็คือความรุนแรงของเชื้อ (Virulence)
  • 1:20 - 1:22
    นั้นเป็นผลมาจากวิวัฒนาการ
  • 1:22 - 1:24
    มันเป็นไปได้อย่างไร
    ที่กระบวนการวิวัฒนาการเดียวกัน
  • 1:24 - 1:28
    สามารถสร้างเชื้อโรคที่ทำให้เกิดความอันตรายต่างกัน
  • 1:28 - 1:32
    คำตอบจะเริ่มกระจ่าง
    ถ้าเราคิดถึงวิธีการแพร่กระจายของเชื้อ
  • 1:32 - 1:36
    ซึ่งเป็นวิธีที่มันใช้ในการแพร่
    จากเหยื่อรายหนึ่งไปยังเหยื่อรายถัดไป
  • 1:36 - 1:39
    วิธีการแพร่กระจายส่วนหนึ่งเกิดขึ้นผ่านอากาศ
  • 1:39 - 1:41
    เช่น การจามที่คุณได้เห็นไป
  • 1:41 - 1:44
    และหนึ่งในเชื้อโรคที่ใช้วิธีการนี้ก็คือ
    ไรโนไวรัส (rhinovirus)
  • 1:44 - 1:46
    ซึ่งเพิ่มจำนวนในช่องทางเดินหายใจตอนบนของเรา
  • 1:46 - 1:49
    และเป็นตัวการกว่าครึ่งของโรคไข้หวัด
  • 1:49 - 1:50
    ทีนี้ลองนึกดูว่า หลังจากการจาม
  • 1:50 - 1:54
    หนึ่งในสามสายพันธุ์ของไรโนไวรัส
  • 1:54 - 1:58
    ซึ่งเราจะเรียกพวกมันว่า "มากไป" "น้อยไป"
    และ "พอดี"
  • 1:58 - 2:01
    โชคดีได้ตกลงบนคุณพอดี
  • 2:01 - 2:04
    ไวรัสเหล่านี้
    ถูกโปรแกรมให้เพิ่มจำนวน
  • 2:04 - 2:07
    แต่ด้วยความแตกต่างทางพันธุกรรม
    พวกมันจะเพิ่มจำนวนในอัตราที่ต่างกัน
  • 2:07 - 2:12
    "มากไป" เพิ่มจำนวนถี่มาก
    ทำให้มันประสบความสำเร็จมากในช่วงสั้นๆ
  • 2:12 - 2:16
    อย่างไรก็ดีความสำเร็จนี้มาพร้อมกับค่าเสียหาย
    ที่จ่ายโดยคุณ ผู้เป็นเจ้าบ้าน
  • 2:16 - 2:19
    ไวรัสที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว
    สามารถสร้างความเสียหายกับร่างกายของคุณได้มากกว่า
  • 2:19 - 2:22
    ทำให้อาการหวัดแย่กว่าเดิม
  • 2:22 - 2:24
    ถ้าคุณป่วยมากเกินกว่าจะออกจากบ้าน
  • 2:24 - 2:28
    คุณก็ไม่ให้โอกาสพวกมัน
    ในการหาเจ้าบ้านใหม่
  • 2:28 - 2:30
    และถ้าโรคนั้นฆ่าคุณได้
  • 2:30 - 2:33
    วงจรชีวิตของไวรัสก็จะจบไปพร้อมคุณ
  • 2:33 - 2:36
    ในขณะเดียวกัน "น้อยไป" เพิ่มจำนวนน้อยมาก
  • 2:36 - 2:38
    และทำอันตรายคุณน้อยมากด้วย
  • 2:38 - 2:41
    แม้ว่ามันจะปล่อยให้คุณมีสุขภาพดีพอ
    ที่จะไปพบปะกับว่าที่เจ้าบ้านคนอื่นๆ
  • 2:41 - 2:45
    การที่ไม่มีอาการหมายถึง คุณอาจจะไม่จามเลย
  • 2:45 - 2:49
    หรือ ถ้าคุณจาม มันก็อาจมีไวรัสน้อยมาก
    ในน้ำมูกของคุณที่จะไปติดใครได้
  • 2:49 - 2:53
    ในขณะเดียวกัน "พอดี" เพิ่มจำนวนได้เร็วพอ
  • 2:53 - 2:56
    จนแน่ใจได้ว่าคุณจะเป็นพาหะ
    พาไวรัสปริมาณกำลังดีไปแพร่กระจาย
  • 2:56 - 3:00
    แต่ไม่มากเกินไปที่คุณจะป่วย
    จนไม่สามารถลุกออกจากเตียงได้
  • 3:00 - 3:02
    และสุดท้ายแล้ว มันเป็นตัวที่จะประสบความสำเร็จที่สุด
  • 3:02 - 3:07
    ในการเผยแพร่ไปยังเจ้าบ้านใหม่
    และให้กำเนิดลูกหลานรุ่นต่อไป
  • 3:07 - 3:11
    สิ่งนี้อธิบายสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์
    เรียกว่า ทฤษฎีแลกเปลี่ยน (trade-off hypothesis)
  • 3:11 - 3:13
    ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นในยุคแรกของปี ค.ศ. 1980
  • 3:13 - 3:17
    ที่พยากรณ์ว่า เชื้อโรคจะวิวัฒนาการ
    เพื่อขยายโอกาสความสำเร็จของการแพร่กระจาย
  • 3:17 - 3:19
    โดยการได้มาซึ่งความสมดุลระหว่าง
    การเพิ่มจำนวนในเจ้าบ้าน ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย
  • 3:19 - 3:24
    กับการแพร่ไปยังเจ้าบ้านใหม่
  • 3:24 - 3:26
    ในกรณีของไรโนไวรัส
  • 3:26 - 3:31
    ทฤษฎีนี้ได้พยากรณ์ว่าวิวัฒนาการของมัน
    จะส่งเสริมสายพันธุ์ที่รุนแรงน้อย
  • 3:31 - 3:34
    เพราะมันขึ้นอยู่กับการสัมผัสในระยะใกล้
    เพื่อแพร่มันไปสู่เหยื่อรายถัดไป
  • 3:34 - 3:37
    สำหรับไรโนไวรัส เจ้าบ้านที่เคลื่อนที่
    คือเจ้าบ้านที่ดี
  • 3:37 - 3:39
    และแน่นอน นั่นคือสิ่งที่เราเห็น
  • 3:39 - 3:43
    ในขณะที่คนส่วนใหญ่มีประสบการณ์
    น้ำมูกไหล ไอ และจาม
  • 3:43 - 3:46
    ไข้หวัดทั่วไปมักไม่ค่อยรุนแรง
    และมีอาการประมาณ 1 สัปดาห์
  • 3:46 - 3:48
    มันคงจะดีถ้าเรื่องมันจบตรงนี้
  • 3:48 - 3:51
    แต่เชื้อโรคใช้อีกหลายหนทาง
    ในการแพร่กระจาย
  • 3:51 - 3:55
    ยกตัวอย่าง เช่น เชื้อมาลาเรีย ที่เรียกว่า
    พลาสโมเดียม (plasmodium)
    แพร่กระจายโดยยุง
  • 3:55 - 3:59
    ไม่เหมือนกับไรโนไวรัส
    มันไม่ต้องพึ่งให้เราเดินเพ่นพ่าน
  • 3:59 - 4:01
    และได้ประโยชน์จากการทำร้ายเราซะอีก
  • 4:01 - 4:05
    เพราะคนที่ป่วยและไปไหนไม่ได้
    ง่ายต่อยุงที่จะมากัด
  • 4:05 - 4:08
    เรารู้ว่าเชื้อที่พึ่งการเคลื่อนไหวของเจ้าบ้านน้อย
  • 4:08 - 4:11
    เช่น พวกที่แพร่โดยแมลง น้ำ และอาหาร
  • 4:11 - 4:13
    จะทำให้เกิดอาการที่รุนแรงมากกว่า
  • 4:13 - 4:17
    ดังนั้น เราจะทำอย่างไร เพื่อที่จะลด
    ความอันตรายของโรคติดต่อ
  • 4:17 - 4:21
    นักชีววิทยาวิวัฒนาการ ดร. พอล อีวอล์ด (Paul Ewald)
    แนะนำว่าที่จริงแล้ว
  • 4:21 - 4:25
    เรากำกับวิวัฒนาการของพวกมันได้
    ผ่านวิธีการควบคุมโรคง่ายๆ
  • 4:25 - 4:28
    ด้วยบ้านที่กันยุง
    ที่มีระบบน้ำที่สะอาด
  • 4:28 - 4:30
    หรืออยู่บ้านเมื่อป่วย
  • 4:30 - 4:33
    เราสามารถขัดขวางแผนการแพร่กระจาย
    ของเชื้อที่เป็นอันตราย
  • 4:33 - 4:36
    ให้พึ่งพา
    ต่อการเคลื่อนที่ของเจ้าบ้านมากขึ้น
  • 4:36 - 4:39
    ดังนั้นในขณะที่วิธีการดั้งเดิมในการกำจัดเชื้อ
  • 4:39 - 4:41
    จะเพาะสายพันธุ์ของเชื้อโรคที่แข็งแรงกว่าในระยะยาว
  • 4:41 - 4:46
    วิธีการใหม่นี้ในการส่งเสริมการวิวัฒนาการ
    สายพันธุ์ที่รุนแรงน้อยกว่า
  • 4:46 - 4:48
    และอาจเป็นสถานการณ์ที่ดีต่อทั้งสองฝ่าย
  • 4:48 - 4:49
    แค๊กๆ
  • 4:49 - 4:51
    เป็นส่วนใหญ่
Title:
เชื้อแพร่กระจายได้อย่างไร (และทำไมพวกเราถึงป่วย)? - ยาเนย์ คาอิคิน (Yannay Khaikin) และ นิโคล มิดิโอ (Nicole Mideo)
Description:

ชมบทเรียนทั้งหมดได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-do-germs-spread-and-why-do-they-make-us-sick-yannay-khaikin-and-nicole-mideo

เชื้อนั้นพบได้เกือบทุกพื้นผิวที่เราสัมผัส ซึ่งทำให้มันเป็นธรรมดาที่ร่างกายของเราสัมผัสกับพวกมัน แต่ทำไมเชื้อบางอย่างจึงไม่ค่อยจะเป็นอันตราย ในขณะที่เชื้ออื่นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ยาเนย์ คาอิคิน และนิโคล มิติโอ สำรวจคำถามนี้โดยตรวจสอบวิธีการแพร่ของเชื้อเหล่านี้

แบบเรียนโดย Yannay Khaikin และ Nicole Mideo, แอนิเมชั่น โดย Ace & Son Moving Picture Co., LLC.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:07

Thai subtitles

Revisions