Return to Video

เบาะแสของเวลาก่อนประวัติศาสตร์ถูกพบได้ในปลาถ้ำตาบอด

  • 0:01 - 0:03
    มีนวิทยา
  • 0:03 - 0:04
    หรือวิชาที่เกี่ยวกับเรื่องของปลา
  • 0:04 - 0:07
    มันฟังดูน่าเบื่อเอามาก ๆ
  • 0:07 - 0:09
    แต่อันที่จริงมันน่าตื่นเต้นมากครับ
  • 0:09 - 0:12
    เพราะว่ามีนวิทยาเป็นเพียง"ศาสตร์" เดียว
  • 0:12 - 0:14
    ที่มีคำว่า "YOLO" อยู่ในนั้น
  • 0:14 - 0:15
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:15 - 0:17
    ทีนี้ สำหรับเด็กแนวทุกคนที่กำลังฟังอยู่
  • 0:17 - 0:21
    คุณรู้แล้วว่า YOLO ย่อมาจาก
    "เกิดมาตายหนเดียว"
  • 0:21 - 0:23
    และเพราะว่าผมมีเพียงชีวิตเดียวนี้
  • 0:23 - 0:26
    ผมอยากที่จะทำ
    ในสิ่งที่ผมฝันอยากจะทำมาโดยตลอด
  • 0:26 - 0:29
    คือการได้เผยปริศนาของโลก
    และค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่
  • 0:29 - 0:31
    และนั่นคือสิ่งที่ผมจะทำ
  • 0:31 - 0:35
    เอาล่ะ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผมให้ความสนใจ
    ไปที่ถ้ำเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตใหม่
  • 0:35 - 0:39
    และมันกลายเป็นว่า มันมีปลาถ้ำ
    สายพันธ์ุใหม่ ๆ มากมาย
  • 0:39 - 0:40
    คุณแค่ต้องรู้ว่าจะมองหามันที่ไหน
  • 0:40 - 0:43
    และบางที คุณต้องมีหุ่นผอมบางมาก ๆ
  • 0:43 - 0:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:44 - 0:48
    ปลาถ้ำสามารถบอกผมได้มากมาย
    เกี่ยวกับชีววิทยาและธรณีวิทยา
  • 0:48 - 0:52
    พวกมันบอกผมว่ามวลของพื้นที่รอบ ๆ
    ได้เปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหว
  • 0:52 - 0:54
    ซึ่งทำให้พวกมันติดอยู่ในรูเล็ก ๆ
  • 0:54 - 0:58
    และพวกมันสามารถบอกผมถึงวิวัฒนาการ
    ในการมองเห็น ซึ่งทำให้มันตาบอด
  • 0:59 - 1:02
    ครับ ปลามีตาที่โดยทั่วไปแล้ว
    เหมือนกับตาของเรา
  • 1:02 - 1:06
    สัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมายก็เป็นเช่นนั้น
    และทุก ๆ ครั้งที่ปลาเริ่มมีการปรับตัว
  • 1:06 - 1:09
    ต่อความมืด ความเย็น และสิ่งแวดล้อมในถ้ำ
  • 1:09 - 1:13
    ตลอดระยะเวลาหลายชั่วรุ่น
    พวกมันสูญเสียตาและการมองเห็นไป
  • 1:13 - 1:16
    จนกระทั่งสุดท้ายแล้วกลายเป็นปลาถ้ำ
    ที่ไม่มีตาอย่างเจ้าตัวนี้
  • 1:16 - 1:20
    ครับ แต่ละสายพันธุ์ของมัน
    มีวิวัฒนาการในแบบที่ต่างกันไปเล็กน้อย
  • 1:20 - 1:24
    และแต่ละสายพันธุ์ก็มีเรื่องราวทางธรณีวิทยา
    และชีววิทยาที่จะบอกกับเรา
  • 1:24 - 1:27
    นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมมันถึงน่าตื่นเต้น
    เมื่อเราพบกับสายพันธุ์ใหม่
  • 1:27 - 1:31
    นี่คือสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ที่ว่า
    จากทางตอนใต้ของอินเดียนา
  • 1:31 - 1:35
    เราตั้งชื่อมันว่า Amblyopsis hoosieri
    ปลาถ้ำฮูซิเออร์
  • 1:35 - 1:36
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:36 - 1:39
    มันเป็นญาติที่ใกล้ชิดที่สุด
    กับปลาถ้ำในเคนตั๊กกี้
  • 1:39 - 1:41
    ในระบบถ้ำแมมมอท
  • 1:41 - 1:44
    และพวกมันเริ่มที่จะแตกต่างออกไป
    เมื่อแม่น้ำโอไฮโอแยกพวกมันออกจากกัน
  • 1:44 - 1:45
    เมื่อไม่กี่ล้านปีก่อน
  • 1:45 - 1:48
    และในตอนนั้นเองที่พวกมัน
    พัฒนาระยะห่างที่เด่นชัดนี้
  • 1:48 - 1:51
    ในโครงสร้างทางพันธุกรรม
    ที่อยู่เบื้องหลังการตาบอดของพวกมัน
  • 1:51 - 1:55
    ยีนที่เรียกว่า โรดอปซิน
    ที่สำคัญมากต่อการมองเห็น
  • 1:55 - 1:57
    เรามีสิ่งนี้ และสายพันธุ์พวกนี้ก็มีเช่นกัน
  • 1:57 - 2:00
    ต่างกันที่ว่า ยีนนี้ในสายพันธุ์หนึ่ง
    เสียหน้าที่ทั้งหมดไปแล้ว
  • 2:00 - 2:02
    แต่ในอีกสายพันธุ์หนึ่ง
    มันยังคงถูกรักษาหน้าที่เอาไว้
  • 2:02 - 2:06
    ฉะนั้น นี่จึงเป็นการทดลองทางธรรมชาติ
    ที่มีความงามยิ่ง
  • 2:06 - 2:09
    ที่เราสามารถศึกษายีน
    ที่อยู่เบื้องหลังการมองเห็นของเรา
  • 2:09 - 2:12
    และพื้นฐานว่าเรามองเห็นได้อย่างไร
  • 2:13 - 2:15
    แต่ยีนเหล่านี้ในปลาถ้ำ
  • 2:15 - 2:18
    ยังบอกเราเกี่ยวกับเวลาในเชิงธรณีวิทยา
    ในอดีตแสนไกล
  • 2:18 - 2:20
    ที่อาจจะนานยิ่งกว่าที่สายพันธุ์นี้อยู่มา
  • 2:20 - 2:23
    สายพันธุ์ใหม่ที่เราพูดถึงนี้มาจากมาดากัสกา
  • 2:23 - 2:26
    เราให้ชื่อมันว่า Typhleotris mararybe
  • 2:26 - 2:30
    ซึ่งหมายถึง "ป่วยปางตาย"
    ในภาษาของชาวมาดากัสกา
  • 2:30 - 2:32
    ซึ่งได้จากการที่เราต้องพยายามกันอย่างมาก
    ในการเก็บตัวอย่างสายพันธุ์นี้
  • 2:33 - 2:34
    เชื่อไหมครับว่า
  • 2:34 - 2:37
    การว่ายน้ำในในบ่อที่เต็มไปด้วยซากศพ
  • 2:37 - 2:39
    และถ้ำที่เต็มไปด้วยอึค้างคาว
  • 2:39 - 2:42
    ไม่ใช่เรื่องที่ฉลาดที่สุด
    ที่คุณเคยทำในชีวิตแน่ ๆ
  • 2:42 - 2:43
    แต่มัน YOLO
  • 2:43 - 2:47
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:47 - 2:51
    ครับ ผมรักเจ้าสายพันธุ์นี้
    แม้ว่ามันจะทำเราปางตายก็ตาม
  • 2:51 - 2:54
    และนั่นก็เป็นเพราะว่า
    เจ้าสายพันธุ์นี้ในมาดากัสกา
  • 2:54 - 2:57
    ญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของมัน
    อยู่ห่างออกไป 6,000 กิโลเมตร
  • 2:57 - 2:58
    ซึ่งมันก็คือ ปลาถ้ำออสเตรเลีย
  • 2:59 - 3:02
    ครับ มันไม่มีทางที่ปลาถ้ำน้ำจืด
    ขนาดสามนิ้ว
  • 3:02 - 3:04
    จะว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรอินเดียได้
  • 3:04 - 3:07
    ฉะนั้น สิ่งที่เราพบเมื่อเปรียบเทียบดีเอ็นเอ
    ของสายพันธุ์เหล่านี้
  • 3:07 - 3:11
    ก็คือพวกมันถูกแยกออกจากกัน
    มามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว
  • 3:11 - 3:15
    หรือประมาณช่วงเวลา
    ที่ทวีปทางตอนใต้ยังติดอยู่ด้วยกัน
  • 3:16 - 3:18
    ฉะนั้น อันที่จริง สายพันธุ์เหล่านี้
    ไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหนเลย
  • 3:18 - 3:20
    ทวีปที่พวกมันอาศัยอยู่ต่างหาก
    ที่เคลื่อนย้ายพวกมัน
  • 3:20 - 3:22
    ดังนั้น พวกมันบ่งบอกเรา
    โดยผ่านดีเอ็นเอของมัน
  • 3:22 - 3:24
    ถึงแบบจำลองและการวัดที่แม่นยำ
  • 3:24 - 3:28
    ของวันที่และเวลาของเหตุการณ์
    ทางธรณีวิทยาโบราณเหล่านี้
  • 3:29 - 3:31
    เอาล่ะครับ สายพันธุ์นี้เป็นสายพันธ์ุใหม่
  • 3:31 - 3:34
    ผมยังไม่ยอมบอกชื่อของมันกับคุณตอนนี้
  • 3:34 - 3:36
    แต่ผมบอกได้ว่า มันเป็นสายพันธุ์ใหม่
    จากเม็กซิโก
  • 3:37 - 3:38
    และมันอาจสูญพันธุ์ไปแล้ว
  • 3:39 - 3:42
    มันอาจสูญพันธุ์ไปแล้วเพราะว่า
    ระบบถ้ำเดียวที่เรารู้ว่าเป็นแหล่งของมัน
  • 3:42 - 3:45
    ถูกทำลายเมื่อมีการสร้างเขื่อนใกล้ ๆ
  • 3:45 - 3:47
    น่าเสียดายสำหรับเจ้าปลาถ้ำ
  • 3:47 - 3:48
    แหล่งน้ำใต้ดินที่เป็นแหล่งอาศัยของมัน
  • 3:48 - 3:50
    ยังเป็นแหล่งน้ำดื่มหลักของเราด้วย
  • 3:51 - 3:56
    ครับ เราไม่รู้จริง ๆ ว่าสายพันธุ์ไหน
    เป็นญาติที่ใกล้ที่สุดของมัน
  • 3:56 - 3:58
    และมันเหมือนว่าจะไม่ใช่อะไร
    ที่อาศัยอยู่ในเม็กซิโก
  • 3:58 - 4:00
    ฉะนั้นบางทีมันอาจอยู่ในคิวบา
  • 4:00 - 4:02
    หรือฟลอริดา หรืออินเดีย
  • 4:03 - 4:07
    แต่ไม่ว่ามันจะเป็นอะไร มันได้บอกเรา
    ถึงสิ่งใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับธรณีวิทยา
  • 4:07 - 4:11
    ของคาริบเบียน หรือชีววิทยา
    ของการวินิจฉัยที่ดีกว่า
  • 4:11 - 4:13
    สำหรับอาการตาบอดบางประเภท
  • 4:13 - 4:16
    แต่ผมหวังว่าพวกเราจะค้นพบสายพันธุ์นี้
    ก่อนที่มันจะสูญพันธุ์ไป
  • 4:17 - 4:19
    ผมจะใช้ชีวิตเดียวที่ผมมี
  • 4:19 - 4:22
    ในฐานะนักมีนวิทยา
    เพื่อพยายามค้นพบและอนุรักษ์
  • 4:22 - 4:25
    ปลาถ้ำตาบอดเล็ก ๆ ที่แสนถ่อมตน
  • 4:25 - 4:28
    ที่สามารถบอกเรื่องราวอะไรมากมาย
    เกี่ยวกับธรณีวิทยาของดาวเคราะห์ดวงนี้
  • 4:28 - 4:30
    และชีววิทยาของการมองเห็นของเรา
  • 4:31 - 4:32
    ขอบคุณครับ
  • 4:32 - 4:36
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เบาะแสของเวลาก่อนประวัติศาสตร์ถูกพบได้ในปลาถ้ำตาบอด
Speaker:
โปรซานตา ชาคราบาตี (Prosanta Chakrabarty)
Description:

โปรซานตา ชาคราบาตี TED Fellow คือผู้สำรวจส่วนลึกลับของโลกเพื่อค้นหาปลาที่อาศัยอยู่ในถ้ำสายพันธุ์ใหม่ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ลึกลงไปนี้ มีการปรับตัวที่น่าทึ่ง และพวกมันให้ข้อมูลเบื้องลึกทางด้านชีววิทยากับเราเกี่ยวกับการตาบอด เช่นเดียวกับเบาะแสทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับการแยกตัวออกของทวีปเมื่อหลายล้านปีก่อน มาเข้าพิจารณาถึงเวลาในอดีตกันผ่านการบรรยายสั้น ๆ นี้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
04:49

Thai subtitles

Revisions