Return to Video

ฟาโรห์โลกไม่ลืม - เคต นาเรฟ (Kate Narev)

  • 0:07 - 0:10
    เมื่อสามพันห้าร้อยปีก่อนในอียิปต์
  • 0:10 - 0:14
    ฟาโรห์ผู้สูงศักดิ์
    ตกเป็นเหยื่อของการประทุษร้าย
  • 0:14 - 0:16
    แต่นั่นไม่ใช่การทำร้ายร่างกาย
  • 0:16 - 0:20
    กษัตริย์องค์นี้สิ้นพระชนม์ไป 20 ปีแล้ว
    ก่อนหน้านั้น
  • 0:20 - 0:22
    มันเป็นการทำร้ายประวัติศาสตร์
  • 0:22 - 0:27
    เป็นการกระทำที่เรียกว่า damnatio memoriae
    หรือการพิพากษาให้ลบออกจากความทรงจำ
  • 0:27 - 0:30
    ใครบางคนทุบทำลายอนุสาวรีย์ของฟาโรห์
  • 0:30 - 0:36
    ใช้สิ่วพยายามสกัดลบพระนาม
    และภาพของฟาโรห์ออกจากประวัติศาสตร์
  • 0:36 - 0:39
    ฟาโรห์องค์นี้คือใคร
    และสาเหตุของการกระทำนี้คืออะไร
  • 0:39 - 0:41
    นี่คือประเด็นสำคัญ
  • 0:41 - 0:44
    ฟาโรห์ฮัตเชปซุต (Hatshepsut) เป็นผู้หญิง
  • 0:44 - 0:48
    ตามปกติแล้ว พระนางไม่สมควรได้เป็นฟาโรห์
  • 0:48 - 0:51
    แม้ว่ากฎหมายจะอนุญาต
    ให้ผู้หญิงเป็นกษัตริย์ได้ก็ตาม
  • 0:51 - 0:54
    แต่มันขัดต่อความเชื่อสำคัญบางอย่าง
    ของชาวอียิปต์
  • 0:54 - 0:58
    ประการแรกก็คือ ฟาโรห์ถือเป็นร่างทรง
  • 0:58 - 1:00
    ของเทพฮอรัสซึ่งเป็นชาย
  • 1:00 - 1:04
    ประการที่สอง การขัดต่อธรรมเนียม
    การปกครองโดยผู้ชาย
  • 1:04 - 1:07
    เป็นการท้าทายอย่างรุนแรงต่อมะอาต (Maat)
  • 1:07 - 1:12
    ที่แปลว่า “ความจริง” ซึ่งแสดงถึงความเชื่อ
    ในลำดับและยุติธรรม
  • 1:12 - 1:14
    ที่สำคัญต่อชาวอียิปต์
  • 1:14 - 1:16
    ฮัตเชปซุตพยายามปรับพระองค์ให้เข้ากับ
  • 1:16 - 1:21
    ความเชื่อที่โยงระหว่างลำดับ
    และตำแหน่งผู้ปกครองแบบพ่อปกครองลูก
  • 1:21 - 1:22
    ทรงใช้พระนามว่า มะอาตคาเร (Maatkare)
  • 1:22 - 1:25
    และบางครั้งก็เรียกพระองค์เองว่า
  • 1:25 - 1:28
    ฮัตเชปสุ ซึ่งใช้คำลงท้ายแบบชื่อผู้ชาย
  • 1:28 - 1:32
    แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะยอมรับได้อย่างสนิทใจ
  • 1:32 - 1:34
    และบางคนก็ลบภาพฮัตเชปซุต
  • 1:34 - 1:38
    เพื่อให้โลกลืมสิ่งที่ขัดต่อมะอาต
  • 1:38 - 1:41
    และอียิปต์จะได้กลับสู่สมดุลอีกครั้ง
  • 1:41 - 1:45
    นอกจากนี้ ฮัตเชปซุต
    ยังไม่ใช่ผู้สืบบัลลังก์อย่างชอบธรรม
  • 1:45 - 1:48
    แต่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน
    ในลักษณะตัวแทนร่วมของกษัตริย์
  • 1:48 - 1:52
    ตามธรรมเนียมตำแหน่งกษัตริย์แห่งอียิปต์
    ถูกสืบทอดส่งต่อจากพ่อสู่ลูก
  • 1:52 - 1:56
    จากธัตโมเซที่หนึ่ง (Thutmose I)
    ไปสู่พระโอรสธัตโมเซที่สอง
  • 1:56 - 1:58
    สวามีของฮัตเชปซุต
  • 1:58 - 2:03
    และควรสืบทอดต่อไปยังโอรส
    ของธัตโมเซที่สองซึ่งคือธัตโมเซที่สาม
  • 2:03 - 2:07
    แต่ธัตโมเซที่สามยังทรงพระเยาว์
    เมื่อพระบิดาเสด็จสวรรคต
  • 2:07 - 2:10
    ฮัตเชปซุตในฐานะมเหสีเอกและมเหสีหม้าย
    ของฟาโรห์ที่สิ้นพระชนม์
  • 2:10 - 2:13
    เข้ามาช่วยเป็นผู้สำเร็จราชการให้โอรสเลี้ยง
  • 2:13 - 2:18
    แต่สุดท้ายกลับร่วมปกครอง
    ในฐานะฟาโรห์อย่างสมบูรณ์
  • 2:18 - 2:21
    บางทีธัตโมเซที่สามกริ้วโกรธต่อเรื่องนี้
  • 2:21 - 2:24
    บางทีพระองค์อาจเป็นผู้ที่ลบภาพ
    ของพระนางออกไปก็เป็นได้
  • 2:24 - 2:27
    อาจยังเป็นได้ว่ามีคนต้องการทำให้
    ฮัตเชปซุตเสื่อมเกียรติ
  • 2:27 - 2:29
    เพราะพระนางเป็นฟาโรห์ที่แย่
  • 2:29 - 2:32
    แต่หลักฐานบ่งบอกว่า
    พระนางทรงมีความสามารถทีเดียว
  • 2:32 - 2:36
    พระนางทำหน้าที่ตามธรรมเนียม
    ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
  • 2:36 - 2:37
    พระนางเป็นผู้สร้างชั้นเยี่ยม
  • 2:37 - 2:40
    วิหารสุสานเจเซอร์-เจเซรู (Djeser-Djeseru)
    ของพระองค์
  • 2:40 - 2:43
    เป็นสุดยอดสถาปัตยกรรมแห่งยุค
  • 2:43 - 2:45
    และยังเป็นที่ชื่นชมตราบเท่าทุกวันนี้
  • 2:45 - 2:47
    พระนางทรงทะนุบำรุงเศรษฐกิจของอียิปต์
  • 2:47 - 2:52
    บริหารกิจกรรมทางการค้าที่ประสบความสำเร็จมาก
    กับดินแดนพันต์ที่อยู่ไกลโพ้น
  • 2:52 - 2:54
    พระนางทรงเลื่อมไสในศาสนาอย่างมาก
  • 2:54 - 2:58
    ถึงกับมีการกล่าวอ้างว่าพระนางป็นธิดา
    ของอามุน (Amun) เทพประจำแคว้น
  • 2:58 - 3:02
    และพระนางทรงประสบความสำเร็จทางการทหาร
    โดยสามารถปราบชาวนูเบียได้
  • 3:02 - 3:06
    และกล่าวกันว่าทรงศึกเคียงบ่าเคียงไหล่
    เหล่าทหารของพระนาง
  • 3:06 - 3:10
    แต่แน่นอนว่า เราต้องระวังกันสักนิด
    เมื่อเราประเมินความสำเร็จ
  • 3:10 - 3:11
    ของฮัตเชปซุต
  • 3:11 - 3:15
    เนื่องจากหลักฐานส่วนใหญ่
    ถูกบันทึกเอาไว้โดยพระนางเอง
  • 3:15 - 3:18
    ฮัตเชปซุตทรงบอกเล่าเรื่องของตัวเอง
    เป็นภาพและการเขียน
  • 3:18 - 3:20
    บนผนังวิหารสุสานของพระองค์
  • 3:20 - 3:23
    และโบสถ์แดงที่ทรงสร้างให้อามุน
  • 3:23 - 3:27
    แล้วใครกันหนอ
    ที่ก่อเหตุทำลายความทรงจำเรื่องฮัตเชปซุต
  • 3:27 - 3:33
    ผู้ต้องสงสัยก็คือธัตโมเซที่สาม ลูกเลี้ยง
    ผู้เป็นหลานและผู้ร่วมปกครองของพระนาง
  • 3:33 - 3:36
    พระองค์ทำไปเพราะโกรธ ที่พระนาง
    แย่งบัลลังก์ไปอย่างนั้นหรือ
  • 3:36 - 3:39
    นั่นไม่น่าจะใช่
    เพราะการทำลายนั้นไม่ได้ถูกกระทำ
  • 3:39 - 3:42
    จนกระทั่งฮัตเชปซุตสิ้นพระชนม์ไปแล้ว 20 ปี
  • 3:42 - 3:46
    นั่นเป็นการสุมความโกรธเอาไว้เป็นเวลานาน
    แล้วค่อยลงมือเพราะความเดือดดาล
  • 3:46 - 3:49
    บางทีธัตโมเซที่สามอาจทำไป
    เพื่อให้รัชกาลของพระองค์ดูแข็งแกร่งขึ้น
  • 3:49 - 3:54
    แต่มันเป็นไปได้มากว่า
    พระองค์หรือคนอื่นลบภาพออกไป
  • 3:54 - 3:59
    เพื่อคนจะได้ลืมว่ามีเคยมีสตรี
    ไดนั่งบัลลังก์อียิปต์
  • 3:59 - 4:03
    เพศของฟาโรห์ที่ต่างจากปกตินั้น
    เป็นภัยต่อมะอาต
  • 4:03 - 4:06
    และจะต้องถูกลบให้เลือนหาย
    ไปจากประวัติศาสตร์
  • 4:06 - 4:10
    โชคดีที่การเซ็นเซอร์ในสมัยโบราณ
    ทำได้ไม่หมดจดนัก
  • 4:10 - 4:13
    จึงยังหลงเหลือหลักฐานมากพอ
    ให้เราได้ปะติดปะต่อว่าเกิดอะไรขึ้น
  • 4:13 - 4:17
    เพื่อที่ตอนนี้เราจะสามารถบอกเล่าเรื่องราว
    ของสตรีทรงอำนาจที่มีความโดดเด่นผู้นี้ได้
Title:
ฟาโรห์โลกไม่ลืม - เคต นาเรฟ (Kate Narev)
Description:

ชมบทเรียนแบบตเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-pharaoh-that-wouldn-t-be-forgotten-kate-narev

ฮัตเชปซุตเป็นฟาโรห์หญิงในยุคอาณาจักรใหม่ของอียิปต์ ยี่สิบปีหลังการสิ้นพระชนม์ มีใครบางคนทุบทำลายอนุสาวรีย์ของพระนาง โดยใช้สิ่วพยายามสกัดลบพระนามและรูปของพระองค์ออกจากประวัติศาสตร์ ใครคือผู้ทำและทำไปเพราะเหตุใด เคต นาเรฟ สืบสวนประวัติของพระนางฮัตเชปซุตเพื่อไขปริศนาโบราณนี้

บทเรียนโดย Kate Narev, แอนิเมชันโดย Steff Lee

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:34

Thai subtitles

Revisions