Return to Video

ความลึกลับแห่งภาษาพื้นบ้าน : "Lady" - เจสสิกา โอเร็ค และเรเชล ทีล (Jessica Oreck and Rachel Teel)

  • 0:07 - 0:09
    ความลึกลับแห่งภาษาพื้นบ้าน
    ขอเสนอคำว่า
  • 0:09 - 0:10
    "Lady"
  • 0:10 - 0:12
    ซึ่งก็คือ ผู้หญิง
  • 0:12 - 0:14
    คำว่า Lady นั้นเกี่ยวพันถึง
    คำศัพท์หลายคำ
  • 0:14 - 0:16
    ที่ดูเหมือนในแวบแรกเห็น
  • 0:16 - 0:18
    จะไม่เกี่ยวอะไรกับศัพทมูลวิทยา
  • 0:18 - 0:20
    แต่เมื่อเราได้ย้อนรอยรากศัพท์ดู
  • 0:20 - 0:23
    ไปถึงคำภาษาอังกฤษยุคเก่า
    คำว่า "hlaf (ลาฟ)"
  • 0:23 - 0:25
    ซึ่งหมายถึง ขนมปังแถวหนึ่ง
    (a loaf of bread)
  • 0:25 - 0:29
    และเป็นบรรพบุรุษโดยตรงกับคำศัพท์
    ที่เราใช้กันในปัจจุบัน loaf แถว (ขนมปัง)
  • 0:29 - 0:31
    และ "daege (แดจ)"
  • 0:31 - 0:32
    ซึ่งหมายถึงสาวใช้ (maid)
  • 0:32 - 0:35
    และเป็นรากศัพท์ของคำว่า
    dairy (โรงรีดนม)
  • 0:35 - 0:39
    สถานที่ทำงานของสาวรีดนมนั่นเอง
  • 0:39 - 0:44
    เมื่อรวมทั้ง hlaf และ daege ก็จะได้
    "hlafdige (ลาฟดิจ)"
  • 0:44 - 0:47
    มีความหมายตรงตัวว่า สาวทำขนมปัง
  • 0:47 - 0:51
    หรือ เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น
    ก็คือคนนวดขนมปัง
  • 0:51 - 0:53
    เมื่อต้นศตวรรษที่เก้า
  • 0:53 - 0:57
    hlafdige ก็คือ ชื่อเรียกนายหญิง
    ของบรรดาเหล่าข้ารับใช้
  • 0:57 - 1:00
    หรือหัวหน้าครัวเรือนฝ่ายหญิง
  • 1:00 - 1:03
    ส่วนคำภาษาอังกฤษยุคเก่า
    ของหัวหน้าครัวเรือนฝ่ายชาย
  • 1:03 - 1:05
    ก็คือ "hlafweard (ลาฟเวียร์ด)"
  • 1:05 - 1:08
    เป็นการผสมคำระหว่าง hlaf
    (loaf)
  • 1:08 - 1:10
    และคำว่า "weard"
  • 1:10 - 1:11
    ซึ่งหมายถึงผู้ดูแล (keeper)
  • 1:11 - 1:13
    และกลายเป็นศัพท์ที่ใช้กันในปัจจุบัน
  • 1:13 - 1:16
    อย่าง ward และ warden
  • 1:18 - 1:20
    ทั้ง hlafweard คนดูแลขนมปัง
  • 1:20 - 1:23
    และ hlafdige คนนวดขนมปัง
  • 1:23 - 1:26
    ได้กลายมาเป็นคำเรียกขาน
    ที่แสดงถึงความเคารพ
  • 1:26 - 1:30
    หมายถึงพลเมืองผู้สูงศักดิ์
  • 1:30 - 1:32
    ผ่านขั้นตอนที่มีชื่อว่า
    "การตัดอักษรหรือเสียงตรงกลาง"
  • 1:32 - 1:35
    เมื่อเสียงภายในทั้งสองคำได้ถูกตัดออกไป
  • 1:35 - 1:40
    จึงกลายเป็น Lord และ Lady ตามลำดับ
  • 1:40 - 1:42
    แม้ว่าจะยังคงเป็นการแสดงออกถึง
    จรรยาอันงดงาม
  • 1:42 - 1:44
    แต่คำว่า Lady ในปัจจุบัน
  • 1:44 - 1:47
    ได้ถูกลดบทบาทสถานะทางสังคมลง
  • 1:47 - 1:48
    และมักจะใช้เพียงเพื่อสื่อถึง
  • 1:48 - 1:51
    ผู้หญิงคนหนึ่ง เท่านั้นเอง
Title:
ความลึกลับแห่งภาษาพื้นบ้าน : "Lady" - เจสสิกา โอเร็ค และเรเชล ทีล (Jessica Oreck and Rachel Teel)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/mysteries-of-vernacular-lady-jessica-oreck-and-rachael-teel

เหตุใดเราจึงเรียกผู้หญิงว่า "Lady (เลดี้)" ด้วยนะ เอาล่ะ หากจะว่ากันตามศัพทมูลวิทยาแล้ว คำ ๆ นี้ มาจากภาษาอังกฤษยุคเก่า คำว่า "hlaf (ลาฟ)" หรือที่แปลว่าขนมปัง และ "daege (แดจ)" ที่แปลว่าสาวใช้ ซึ่งเมื่อนำมาประกอบกันแล้ว จะมีความหมายว่า หัวหน้าครัวเรือนฝ่ายหญิง และมันได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความสูงศักดิ์ในเวลาต่อมา เจสสิกา โอเร็ค และเรเชล ทีล จะมาย้อนรอยคำศัพท์ ตลอดจนถึงสถานะร่วมสมัยของมันที่ใช้บรรยายถึงสตรีคนหนึ่ง
บทเรียนโดย Jessica Oreck and Rachael Teel แอนิเมชันโดย Jessica Oreck

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
02:08

Thai subtitles

Revisions