Return to Video

การเคลื่อนที่อันน่าประหลาดของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า - กอร์ดอน วิลเลี่ยมสัน (Gordon Williamson)

  • 0:07 - 0:10
    สมมติว่าคุณวางกล้องถ่ายรูป
    อยู่กับที่ในตำแหน่งเดิมนั้น
  • 0:10 - 0:12
    แล้วถ่ายภาพท้องฟ้า
  • 0:12 - 0:15
    ในเวลาเดียวกันของทุกวันอยู่ตลอดทั้งปี
  • 0:15 - 0:19
    และให้ซ้อนภาพทั้งหมดบนภาพของแต่ละภาพ
  • 0:19 - 0:22
    ดวงอาทิตย์จะมีลักษณะเป็นอย่างไร
    ในภาพที่ซ้อนรวมกันนั้น
  • 0:22 - 0:23
    เป็นภาพจุดเดียว
  • 0:23 - 0:25
    เป็นภาพเส้นงกลมหรือเปล่า
  • 0:25 - 0:26
    ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง
  • 0:26 - 0:29
    มันค่อนข้างแปลก รูปที่ปรากฏเป็นเลขแปด
  • 0:29 - 0:31
    เรียกกันว่า แอนาเล็มมาของดวงอาทิตย์
  • 0:31 - 0:32
    ทำไมล่ะ
  • 0:32 - 0:35
    การเคลื่อนที่ของโลกสร้างวัฎจักรสองสามอย่าง
  • 0:35 - 0:39
    ประการแรก มันหมุนบนแกนโลก
    ประมาณหนึ่งรอบในทุก 24 ชั่วโมง
  • 0:39 - 0:42
    ซึ่งทำให้เกิดดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงอาทิตย์ตก
  • 0:42 - 0:45
    ในขณะเดียวกัน มันทำให้เกิดวัฏจักรที่ช้ากว่า
  • 0:45 - 0:50
    คือการโคจรรอบดวงอาทิตย์
    ซึ่งใช้เวลาโคจรประมาณทุก ๆ 365 วัน
  • 0:50 - 0:51
    แต่มีการหักมุม
  • 0:51 - 0:53
    เมื่อเทียบกับการโคจรของมัน
  • 0:53 - 0:57
    โลกไม่ได้หมุนในแนว
    ที่มีขั้วโลกเหนือชี้ขึ้นตรง
  • 0:57 - 1:03
    แต่แกนของมันหมุนในลักษณะเอียงคงที่
    อยู่ที่ 23.4 องศาต่างหากล่ะ
  • 1:03 - 1:07
    เรียกว่าแกนเอียงระนาบวงโคจรของโลก
    หรือค่าของมุมเอียง
  • 1:07 - 1:10
    การเอียงที่ 23 องศาอาจดูเหมือนไม่สำคัญ
  • 1:10 - 1:14
    แต่นี่เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เรา
    ได้เห็นฤดูกาลที่แตกต่างกัน
  • 1:14 - 1:17
    เนื่องจากแกนยังคงเอียงไปในทิศทางเดียวกัน
  • 1:17 - 1:19
    ในขณะที่โลกทำให้เกิดวงโคจรปี
  • 1:19 - 1:21
    ที่มีระยะเวลายาวนานในแต่ละปี
  • 1:21 - 1:25
    เมื่อครึ่งหนึ่งทางตอนเหนือของโลก
    ยังคงเอียงไปทางดวงอาทิตย์
  • 1:25 - 1:27
    ในขณะที่ครึ่งทางใต้เอียงออกไป
  • 1:27 - 1:28
    และในทางกลับกัน
  • 1:28 - 1:32
    สิ่งที่เราเจอก็คือฤดูร้อนและฤดูหนาวนั่นเอง
  • 1:32 - 1:34
    ในช่วงฤดูร้อนของซีกโลกหนึ่ง
  • 1:34 - 1:39
    ดวงอาทิตย์ปรากฏสูงขึ้นบนท้องฟ้า
    ซึ่งทำให้กลางวันยาวนานและอบอุ่นขึ้น
  • 1:39 - 1:41
    ทั้งนี้มีปีละครั้งที่การเอียงของดวงอาทิตย์
  • 1:41 - 1:43
    มุมระหว่างเส้นศูนย์สูตร
  • 1:43 - 1:47
    กับตำแหน่งบนโลก
    ที่ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ตรงเหนือศีรษะ
  • 1:47 - 1:48
    จะเอียงถึงขีดสูงสุด
  • 1:48 - 1:53
    เราเรียกวันนี้ว่าฤดูร้อนอายัน
    ซึ่งเป็นกลางวันที่ยาวนานที่สุดของปี
  • 1:53 - 1:57
    และเป็นหนึ่งวันที่ดวงอาทิตย์
    ปรากฏขึ้นสูงสุดบนท้องฟ้า
  • 1:57 - 1:59
    ดังนั้นการเอียงของแกนโลก
  • 1:59 - 2:03
    อธิบายได้บางส่วนว่าทำไมดวงอาทิตย์
    เปลี่ยนตำแหน่งในท้องฟ้า
  • 2:03 - 2:04
    และความยาวของแอนาเล็มมา
  • 2:04 - 2:09
    เท่ากับ 46.8 องศาเต็ม
    ของการเบนลงของดวงอาทิตย์
  • 2:09 - 2:11
    ตลอดทั้งปี
  • 2:11 - 2:14
    แต่ทำไมถึงมีลักษณะเป็นเลขแปด
    และไม่ใช่เป็นแค่รูปเส้นตรงเท่านั้น
  • 2:14 - 2:17
    นี่เป็นเพราะคุณลักษณะอย่างอื่น
    ของการปฏิวัติของโลก
  • 2:17 - 2:19
    การเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร
  • 2:19 - 2:22
    การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
    มีลักษณะเป็นวงรี
  • 2:22 - 2:26
    ซึ่งระยะทางการโคจรรอบดวงอาทิตย์
    มีการเปลี่ยนแปลงที่จุดต่าง ๆ กัน
  • 2:26 - 2:29
    การเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกันของแรงโน้มถ่วง
  • 2:29 - 2:32
    เป็นสาเหตุให้โลกเคลื่อนตัว
    เร็วที่สุดในเดือนมกราคม
  • 2:32 - 2:35
    เมื่อถึงจุดที่ใกล้ที่สุดกับดวงอาทิตย์
  • 2:35 - 2:36
    จุดแพริเฮเลียน (perihelion)
  • 2:36 - 2:40
    และมีการเคลื่อนตัวช้าที่สุดในเดือนกรกฎาคม
    เมื่อมันถึงจุดที่ไกลที่สุด
  • 2:40 - 2:43
    จุดอเฟเลียน (aphelion)
  • 2:43 - 2:45
    การเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร
    หมายถึงเวลาเที่ยงสุริยะ
  • 2:45 - 2:48
    ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์
    อยู่สูงสุดบนท้องฟ้า
  • 2:48 - 2:51
    ไม่ได้เกิด ณ จุดเดิมของวัน
  • 2:51 - 2:54
    ดังนั้นนาฬิกาแดดอาจจะร้อนมากเท่ากับ
    เวลาในอีกสิบหกนาทีต่อมา
  • 2:54 - 2:58
    หรือช้ากว่านาฬิกาปกติถึงสิบสี่นาที
  • 2:58 - 3:04
    ในความเป็นจริง เวลานาฬิกาและเวลาแดด
    ตรงกันเพียงปีละสี่ครั้งเท่านั้น
  • 3:04 - 3:09
    ความกว้างของแอนาเล็มมาหมายถึง
    ขอบเขตของความคลาดเคลื่อนนี้
  • 3:09 - 3:12
    แล้วเมื่อหลายปีก่อน
    ผู้คนรู้เวลาที่ถูกต้องได้อย่างไรกัน
  • 3:12 - 3:14
    ส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์มนุษย์
  • 3:14 - 3:16
    การดูเวลาตามตำแหน่งของดวงอาทิตย์
    ก็ใกล้เคียงพอสมควรแล้ว
  • 3:16 - 3:18
    แต่ในยุคสมัยใหม่
  • 3:18 - 3:22
    ความแตกต่างระหว่างนาฬิกาแดด
    กับนาฬิกากลไกกลายเป็นเรื่องสำคัญ
  • 3:22 - 3:25
    สมการเวลาเกิดขึ้นโดยทอเลมี
  • 3:25 - 3:28
    และต่อมาได้มีการปรับใช้
    ตามผลงานของโจฮันเนส เคปเลอร์
  • 3:28 - 3:34
    ซึ่งแปลงค่าระหว่างเวลาแดดที่ปรากฏกับ
    เวลาสำคัญที่เราทั้งหมดต้องพึ่งพา
  • 3:34 - 3:38
    แม้แต่บนแผนที่ลูกโลกยังเคยพิมพ์
    แอนาเล็มมาไว้บนลูกโลก
  • 3:38 - 3:40
    เพื่อให้ผู้คนสามารถกำหนดความแตกต่าง
  • 3:40 - 3:45
    ระหว่างเวลานาฬิกากับเวลาแดด
    ตามวันเวลาของปีได้
  • 3:45 - 3:49
    เพียงแต่วิธีที่แอนาเล็มมาปรากฏนั้น
    ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ที่ไหน
  • 3:49 - 3:52
    มันอาจจะเอียงไปที่มุมหนึ่ง
    ก็ขึ้นอยู่กับละติจูดของคุณ
  • 3:52 - 3:54
    หรืออยู่กลับหัวถ้าคุณอยู่ที่ซีกโลกใต้
  • 3:54 - 3:56
    และถ้าคุณอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น
  • 3:56 - 3:58
    คุณอาจจะพบบางสิ่งบางอย่าง
    ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
  • 3:58 - 4:02
    ขึ้นอยู่กับการเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร
    และแกนเอียงของดาวเคราะห์ดวงนั้น
  • 4:02 - 4:04
    แอนาเล็มมาอาจจะปรากฏเป็นรูปหยดน้ำตา
  • 4:04 - 4:05
    รูปไข่
  • 4:05 - 4:07
    หรือแม้แต่เส้นตรง
Title:
การเคลื่อนที่อันน่าประหลาดของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า - กอร์ดอน วิลเลี่ยมสัน (Gordon Williamson)
Description:

ดูบทเรียนเต็มได้ที่ : http://ed.ted.com/lessons/the-sun-s-surprising-movement-across-the-sky-gordon-williamson

สมมติว่าคุณวางกล้องอยู่กับที่ในตำแหน่งเดิมซึ่งได้ถ่ายภาพท้องฟ้าในเวลาเดียวของทุกวันอยู่ตลอดทั้งปี แล้วนำภาพทั้งหมดนั้นมาวางซ้อนกันด้านบนสุดของภาพในแต่ละภาพ เมื่อเอาภาพทั้งหมดมาวางรวมกัน ดวงอาทิตย์จะมีลักษณะอย่างไรกันนะ เป็นภาพจุดเดียว? เป็นภาพเส้นวงกลมหรือไม่ มันแปลกพอสมควร เมื่อรูปที่ปรากฏเป็น 'เลข 8' ซึ่งเรียกว่าแอนาเล็มมาของดวงอาทิตย์ กอร์ดอน วิลเลียมสัน จะมาช่วยอธิบายว่าเพราะเหตุใด

บทเรียนโดย กอร์ดอน วิลเลียมสัน (Gordon Williamson) ภาพแอนิเมชั่นโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:23

Thai subtitles

Revisions