Return to Video

ปีเตอร์ นอร์วิก (Peter Norvig): ห้องเรียน 100,000 คน

  • 0:01 - 0:03
    ทุกคนเป็นทั้งนักเรียน
  • 0:03 - 0:05
    และครูในคนเดียวกัน
  • 0:05 - 0:07
    นี่คือแรงบันดาลใจของผม
  • 0:07 - 0:08
    จากครูคนแรก
  • 0:08 - 0:09
    แม่ของผมเอง
  • 0:09 - 0:12
    และนี่คือผมซึ่งกำลังสอนวิชา
  • 0:12 - 0:14
    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์
  • 0:14 - 0:15
    ให้กับนักเรียน 200 คน
  • 0:15 - 0:16
    ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
  • 0:16 - 0:18
    ทั้งนักเรียนและตัวผมเอง
  • 0:18 - 0:19
    ก็สนุกไปกับการเรียน
  • 0:19 - 0:20
    แต่ผมก็เอะใจ
  • 0:20 - 0:22
    ว่าขณะที่เนื้อหาที่เรียน
  • 0:22 - 0:23
    ซึ่งจัดอยู่ในระดับสูง
  • 0:23 - 0:24
    และทันสมัย
  • 0:24 - 0:26
    แต่เทคโนโลยีที่ใช้สอนนั้นกลับตรงกันข้าม
  • 0:26 - 0:29
    ความจริงแล้ว ผมใช้เทคโนโลยี
  • 0:29 - 0:31
    แบบเดียวกับห้องเรียน
  • 0:31 - 0:34
    ในศตวรรษที่ 14 เลย
  • 0:34 - 0:36
    สังเกตได้จากทั้งหนังสือเรียน
  • 0:36 - 0:39
    นักปราชญ์บนเวที
  • 0:39 - 0:41
    และชายที่หลับอยู่
  • 0:41 - 0:42
    ด้านหลังห้อง (เสียงหัวเราะ)
  • 0:42 - 0:45
    เหมือนวันนี้เลย
  • 0:45 - 0:48
    ครูที่ร่วมงานกับผม
  • 0:48 - 0:50
    เซบาสเตียน ทราน และผมจึงคิดว่า
  • 0:50 - 0:52
    มันต้องมีวิธีที่ดีกว่านี้
  • 0:52 - 0:53
    พวกเราท้าทายตัวเอง
  • 0:53 - 0:55
    ให้สร้างห้องเรียนออนไลน์
  • 0:55 - 0:56
    ที่มีคุณภาพเท่าเทียมหรือดีกว่า
  • 0:56 - 0:59
    ห้องเรียนของเราที่สแตนฟอร์ด
  • 0:59 - 1:01
    แต่จะนำมันมาเผยแพร่
  • 1:01 - 1:02
    ให้ทุกคนบนโลกแบบฟรีๆ
  • 1:02 - 1:05
    เราประกาศรับสมัครนักเรียนในวันที่ 29 กรกฎาคม
  • 1:05 - 1:08
    ภายในสองสัปดาห์ คน 50,000 คน
  • 1:08 - 1:10
    ได้สมัครเข้าเรียน
  • 1:10 - 1:13
    และนักเรียนก็เพิ่มขึ้นเป็น 160,000 คน
  • 1:13 - 1:15
    จาก 209 ประเทศ
  • 1:15 - 1:17
    พวกเราตื่นเต้นมาก
  • 1:17 - 1:18
    ที่มีเสียงตอบรับล้นหลามขนาดนี้
  • 1:18 - 1:20
    และเราก็รู้สึกกลัวนิดๆเพราะพวกเรา
  • 1:20 - 1:23
    ยังเตรียมการสอนไม่เสร็จเลย. (เสียงหัวเราะ)
  • 1:23 - 1:24
    พวกเราก็เลยเริ่มทำงาน
  • 1:24 - 1:26
    พวกเราศึกษาสิ่งที่ผู้อื่นเคยทำ
  • 1:26 - 1:28
    สิ่งที่เราสามารถลอกแบบและสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงได้
  • 1:28 - 1:31
    เบนจามิน บลูม ได้แสดงให้เห็นว่า
  • 1:31 - 1:33
    การเรี่ยนแบบตัวต่อตัวได้ผลดีที่สุด
  • 1:33 - 1:35
    นี่ก็เลยเป็นสิ่งที่เราพยายามเลียนแบบ
  • 1:35 - 1:36
    เหมือนผมและแม่ผม
  • 1:36 - 1:38
    ทั้งๆที่พวกเรารู้ว่า
  • 1:38 - 1:40
    มันอาจเป็นหนึ่งต่อหลายพัน
  • 1:40 - 1:42
    ตอนนี้ กล้องวิดีโอจากด้านบน
  • 1:42 - 1:44
    กำลังบันทึกขณะที่ผมกำลังสอน
  • 1:44 - 1:45
    และวาดรูปบนแผ่นกระดาษแผ่นหนึ่ง
  • 1:45 - 1:48
    นักเรียนคนหนึ่งพูดว่า "การเรียนในห้องนี้ทำให้รู้สึก
  • 1:48 - 1:49
    เหมือนนั่งอยู่ในบาร์
  • 1:49 - 1:50
    กับเพื่อนที่ฉลาดมากๆคนหนึ่ง
  • 1:50 - 1:52
    ซึ่งกำลังอธิบายตรงส่วนที่
  • 1:52 - 1:54
    คุณยังจับใจความไม่ได้ แต่กำลังจะเข้าใจ"
  • 1:54 - 1:56
    และนี่ตรงกับสิ่งที่เรามุ่งจะทำ
  • 1:56 - 1:59
    และจาก คาน อะคาเดมี่ (Khan Academy)
    ได้แสดงให้พวกเราเห็นว่า
  • 1:59 - 2:01
    วิดีโอสั้นๆประมาณ 10 นาที
  • 2:01 - 2:02
    ได้ผลอย่างมากกว่าการพยายาม
  • 2:02 - 2:05
    ที่จะบันทึกการบรรยายที่ยาวหนึ่งชั่วโมง
  • 2:05 - 2:07
    และเอามาไว้บนหน้าจอเล็ก
  • 2:07 - 2:09
    พวกเราได้ตัดสินใจจะทำให้สั้นกว่านี้อีก
  • 2:09 - 2:11
    และให้มีการโต้ตอบระหว่างกันมากยิ่งขึ้น
  • 2:11 - 2:13
    วีดีโอแบบของเรามีความยาวสองนาที
  • 2:13 - 2:15
    บางทีก็สั้นกว่านั้น และไม่เคยเกินหกนาที
  • 2:15 - 2:17
    แล้วเราจะหยุดชั่วคราว
  • 2:17 - 2:19
    สำหรับตั้งคำถามทดสอบ
  • 2:19 - 2:21
    เพื่อให้รู้สึกเหมือนเป็นการสอนตัวต่อตัว
  • 2:21 - 2:23
    ตรงนี้ ผมกำลังอธิบายวิธีการที่คอมพิวเตอร์
  • 2:23 - 2:24
    ใช้หลักไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ
  • 2:24 - 2:27
    เพื่อที่จะแยกวิเคราะห์ประโยคอย่างไร และตรงนี้
  • 2:27 - 2:29
    มีการหยุดชั่วคราว เพื่อให้นักเรียน
  • 2:29 - 2:31
    ได้คิดทบทวน ทำความเข้าใจกับสิ่งที่กำลังเรียน
  • 2:31 - 2:33
    แล้วก็เลือกคำตอบที่ถูกต้อง
  • 2:33 - 2:34
    ก่อนที่พวกเขาจะเรียนต่อ
  • 2:34 - 2:36
    นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อ
  • 2:36 - 2:38
    เขาฝึกฝนอย่างกระตือรือร้นไปด้วย
  • 2:38 - 2:40
    พวกเราอยากให้พวกเขามีส่วนร่วม ให้พยายามอย่างหนัก
  • 2:40 - 2:43
    กับสิ่งที่คลุมเครือ และชี้แนะให้พวกเขา
  • 2:43 - 2:45
    สังเคราะห์แนวคิดขึ้นมาเอง
  • 2:45 - 2:46
    ส่วนใหญ่แล้วเราจะหลีกเลี่ยงคำถาม
  • 2:46 - 2:48
    เช่น "นี่เป็นสูตร
  • 2:48 - 2:49
    จงหาค่าของ Y
  • 2:49 - 2:50
    เมื่อ X มีค่าเท่ากับสอง"
  • 2:50 - 2:52
    พวกเราชอบคำถามปลายเปิดมากกว่า
  • 2:52 - 2:55
    มีนักเรียนคนหนึ่งเขียนว่า "ตอนนี้ผมเห็น
  • 2:55 - 2:57
    เครือข่ายเบย์สและตัวอย่างของ
  • 2:57 - 2:59
    ทฤษฎีเกมส์ทุกที่เลย"
  • 2:59 - 3:00
    และผมชอบการตอบรับแบบนั้น
  • 3:00 - 3:02
    มันเป็นเป้าหมายของเรา
  • 3:02 - 3:04
    พวกเราไม่ได้ต้องการให้เด็กท่องจำสูตร
  • 3:04 - 3:06
    เราอยากจะเปลี่ยนแปลงวิธี
  • 3:06 - 3:07
    ที่พวกเขามองโลก
  • 3:07 - 3:08
    และเราก็ทำสำเร็จ
  • 3:08 - 3:10
    หรือจริงแล้วๆ ผมควรพูดว่า พวกนักเรียนทำสำเร็จ
  • 3:10 - 3:12
    และมันก็น่าขำอยู่บ้าง
  • 3:12 - 3:15
    ที่เรามุ่งจะเปลี่ยนการศึกษาแบบดั้งเดิม
  • 3:15 - 3:17
    และในการพยายามทำอย่างนั้น เราก็ได้
  • 3:17 - 3:19
    ทำให้ห้องเรียนออนไลน์ของเรา
  • 3:19 - 3:21
    เป็นเหมือนกับห้องแบบเดิมในมหาวิทยาลัย
  • 3:21 - 3:23
    มากกว่าห้องเรียนออนไลน์อื่นๆ
  • 3:23 - 3:26
    ห้องเรียนออนไลน์ส่วนมากจะมีวิดีโอให้ดูเสมอ
  • 3:26 - 3:28
    คุณสามารถดูมันตอนไหนก็ได้
  • 3:28 - 3:30
    แต่ถ้าคุณดูมันตอนไหนก็ได้
  • 3:30 - 3:32
    นั่นแปลว่าคุณสามารถดูพรุ่งนี้ก็ได้
  • 3:32 - 3:33
    และถ้าคุณสามารถดูมันพรุ่งนี้ได้
  • 3:33 - 3:35
    คุณอาจจะ
  • 3:35 - 3:37
    ไม่ดูมันเลย (เสียงหัวเราะ)
  • 3:37 - 3:39
    เราก็เลยเอานวัตกรรม
  • 3:39 - 3:41
    ของการส่งการบ้านกลับมาใช้ (เสียงหัวเราะ)
  • 3:41 - 3:43
    คุณสามารถดูวีดีโอ
  • 3:43 - 3:45
    ตอนไหนก็ได้ในสัปดาห์นั้น
  • 3:45 - 3:46
    แต่ตอนสิ้นสุดสัปดาห์
  • 3:46 - 3:48
    คุณต้องทำการบ้านให้เสร็จ
  • 3:48 - 3:49
    การทำอย่างนี้จูงใจให้นักเรียนเรียนอย่างต่อเนื่อง
  • 3:49 - 3:52
    และแปลว่าทุกคนกำลังทำงานอยู่
  • 3:52 - 3:54
    ในเรื่องเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน
  • 3:54 - 3:55
    ดังนั้นถ้าคุณไปที่บอร์ดการสนทนา
  • 3:55 - 3:58
    คุณอาจจะได้คำตอบจากเพื่อนภายในไม่กี่นาที
  • 3:58 - 4:01
    เดี๋ยวผมจะเอาบอร์ดการสนทนามาให้ดู ส่วนมากแล้ว
  • 4:01 - 4:04
    บอร์ดพวกนี้นักเรียนเป็นคนจัดการกันเอง
  • 4:04 - 4:07
    จาก แดฟนิ คอลเลอร์ และ แอนดรู อึ้ง พวกเราเรียนรู้
  • 4:07 - 4:09
    แนวคิดการ "พลิก" ห้องเรียน
  • 4:09 - 4:10
    นักเรียนดูวีดีโอตามลำพัง
  • 4:10 - 4:12
    เสร็จแล้วพวกเขา
  • 4:12 - 4:14
    จะมารวมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  • 4:14 - 4:17
    จาก เอริค มาเซอร์ .. ผมได้เรียนรู้เรื่องเพื่อนสอนเพื่อน
  • 4:17 - 4:19
    ว่าเพื่อนสามารถเป็นครูที่ดีที่สุดได้
  • 4:19 - 4:21
    เพราะพวกเขาเป็นคนที่
  • 4:21 - 4:24
    จำได้ว่ามันรู้สึกอย่างไงตอนไม่เข้าใจ
  • 4:24 - 4:26
    เซบาสเตียน และผมลืมเรื่องนั้นไปแล้ว
  • 4:26 - 4:29
    แน่นอน พวกเราไม่อาจมี
  • 4:29 - 4:30
    การแลกเปลี่ยนความเห็นกัน
  • 4:30 - 4:32
    ในห้องที่มีนักเรียนเป็นหมื่นคน
  • 4:32 - 4:35
    เราเลยส่งเสริมและช่วยดูแลพวกกระดานสนทนาออนไลน์นี้
  • 4:35 - 4:38
    และสุดท้ายนี้ จากโครงการ "สอนเพื่ออเมริกา"
    (Teach for America)
  • 4:38 - 4:40
    ผมได้เรียนรู้ว่าห้องเรียนนั้น
  • 4:40 - 4:41
    ไม่ได้เกี่ยวกับข้อมูลเพียงอย่างเดียว
  • 4:41 - 4:44
    ที่สำคัญกว่านั้นคือแรงจูงใจและความมุ่งมั่น
  • 4:44 - 4:46
    มันสำคัญมากที่นักเรียนจะเห็น
  • 4:46 - 4:48
    ว่าพวกเรากำลังทำงานอย่างหนักเพื่อเขา
  • 4:48 - 4:49
    และพวกเขาทุกคนกำลังช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • 4:49 - 4:52
    ห้องเรียนนี้เปิดสอนนานสิบสัปดาห์
  • 4:52 - 4:56
    และในตอนจบ ประมาณครึ่งหนึ่งของนักเรียน 160,000 คนได้ดู
  • 4:56 - 4:58
    อย่างน้อยหนึ่งวีดีโอต่อสัปดาห์
  • 4:58 - 5:00
    และมีนักเรียนมากกว่า 20,000 คนที่ทำการบ้านครบทั้งหมด
  • 5:00 - 5:02
    โดยใช้เวลา 50 ถึง 100 ชั่วโมง
  • 5:02 - 5:04
    พวกเขาได้รับใบประกาศนียบัตร
  • 5:04 - 5:06
    แล้วพวกเราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการสอนนี้?
  • 5:06 - 5:09
    เราได้ลองเอาความคิดเก่าๆ
  • 5:09 - 5:10
    และความคิดใหม่ๆมาผสมกัน
  • 5:10 - 5:12
    แต่ยังมีแนวคิดอีกหลายอย่างที่ยังไม่ได้ลอง
  • 5:12 - 5:14
    ตอนนี้เซบาสเตียนกำลังสอนอีกวิชาหนึ่งอยู่
  • 5:14 - 5:15
    ผมเองก็จะสอนอีกในฤดูใบไม้ร่วง
  • 5:15 - 5:19
    สแตนฟอร์ด คอร์เซร่า (Stanford Coursera), ยูด้าซิตี้ (Udacity), เอ็มไอทีเอกซ์ (MITx)
  • 5:19 - 5:22
    และที่อื่นๆก็มีวิชาที่กำลังจะเปิด
  • 5:22 - 5:23
    มันเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นจริงๆ
  • 5:23 - 5:24
    แต่สำหรับผมแล้ว สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดส่วนหนึ่ง
  • 5:24 - 5:27
    คือข้อมูลที่เรากำลังเก็บรวบรวม
  • 5:27 - 5:30
    เรากำลังรวบรวม
  • 5:30 - 5:32
    ปฏิสัมพันธ์หลายพันครั้งต่อนักเรียนต่อห้อง
  • 5:32 - 5:34
    รวมๆกันแล้วเป็นการติดต่อสัมพันธ์กันหลายพันล้านครั้ง
  • 5:34 - 5:37
    และตอนนี้เราจะเริ่มวิเคราะห์ข้อมูลนั้น
  • 5:37 - 5:38
    และเมื่อเราได้เรียนรู้จากมัน
  • 5:38 - 5:39
    ได้ทำการทดลองมัน
  • 5:39 - 5:41
    เราก็จะก้าวเข้าสู่การปฏิวัติที่แท้จริง
  • 5:41 - 5:44
    และคุณจะเห็นผลลัพธ์
  • 5:44 - 5:46
    จากนักเรียนรุ่นใหม่ที่น่าทึ่ง
  • 5:46 - 5:49
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ปีเตอร์ นอร์วิก (Peter Norvig): ห้องเรียน 100,000 คน
Speaker:
Peter Norvig
Description:

ในฤดูใบไม้ร่วงของปี 2011 ปีเตอร์ นอร์วิก และ เซบาสเตียน ทราน ได้สอนวิชาปัญญาประดิษฐ์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดซึ่งมีนักเรียนเข้าเรียนในชั้น 175 คน แต่มีมากกว่า 100,000 คนเข้าร่วมเรียนโดยวิดีโอแบบโต้ตอบผ่านทางอินเตอร์เน็ต เขาได้เล่าถึงสิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากการสอนในห้องเรียนที่มีผู้ชมจากทั่วโลก

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
06:11
Unnawut Leepaisalsuwanna approved Thai subtitles for The 100,000-student classroom
Unnawut Leepaisalsuwanna commented on Thai subtitles for The 100,000-student classroom
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for The 100,000-student classroom
Unnawut Leepaisalsuwanna edited Thai subtitles for The 100,000-student classroom
yamela areesamarn accepted Thai subtitles for The 100,000-student classroom
Kittithat Promthaveepong edited Thai subtitles for The 100,000-student classroom
yamela areesamarn declined Thai subtitles for The 100,000-student classroom
yamela areesamarn edited Thai subtitles for The 100,000-student classroom
Show all

Thai subtitles

Revisions