Return to Video

ผักผลไม้ที่เป็นจุด ๆ กินได้หรือเปล่า - เอลิซาเบธ บรัวเออร์ (Elizabeth Brauer)

  • 0:07 - 0:10
    ในปี ค.ศ. 2010 ผักและผลไม้
    มูลค่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์
  • 0:10 - 0:13
    ถูกทิ้งโดยผู้จัดจำหน่าย
    และผู้บริโภคชาวอเมริกา
  • 0:13 - 0:16
    ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าปัญหาเรื่อง
    ความสวยงามและการเน่าเสียที่รู้สึกได้
  • 0:16 - 0:20
    นั่นเป็นการสิ้นเปลืองผลิตภัณฑ์
    ในท้องตลาดไปประมาณ 30%
  • 0:20 - 0:25
    ซึ่งนั่นยังไม่นับรวมน้ำและพลังงาน
    ที่ต้องใช้ในการปลูกและขนส่งมันอีก
  • 0:25 - 0:28
    และไหนจะพื้นที่บ่อขยะสำหรับผักที่เน่า
  • 0:28 - 0:30
    แล้วปัญหาความงามพวกนี้คืออะไร
  • 0:30 - 0:33
    คุณอาจเคยเห็นแอปเปิ้ลที่มีจุด
    ในร้านของชำ
  • 0:33 - 0:38
    หรือเคยจับมะเขือเทศที่มีบางส่วนนิ่ม ๆ
  • 0:38 - 0:41
    รอยช้ำเหล่านี้อาจทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้
    เป็นอันต้องตกไปอยู่ในถังขยะ
  • 0:41 - 0:43
    แต่พวกมันคืออะไรกันแน่
  • 0:43 - 0:45
    และพวกมันแย่ต่อคุณหรือเปล่า
  • 0:45 - 0:49
    จุดเหล่านี้เป็นหลักฐานของสงครามที่ยิ่งใหญ่
    ระหว่างพืชและจุลชีพ
  • 0:49 - 0:53
    เช่นเดียวกับมนุษย์ พืชอยู่ร่วมกับ
    ราและแบคทีเรียหลายพันล้านชนิด
  • 0:53 - 0:56
    จุลชีพบางอยางก็เป็นประโยชน์ต่อพืช
  • 0:56 - 1:00
    โดยต้านทานโรค
    และช่วยสกัดสารอาหาร
  • 1:00 - 1:02
    จุลชีพอีกพวกเป็นเชื้อก่อโรค
    ที่โจมตึผลผลิต
  • 1:02 - 1:07
    ในขณะที่มันยังมีชีวิตอยู่ในห้างร้าน
    หรือในตู้เย็นของคุณ
  • 1:07 - 1:10
    และตักตวงโมเลกุล
    ที่พวกมันสามารถนำไปใช้เองได้
  • 1:10 - 1:13
    ข่าวดีก็คือว่า
    พวกมันแทบจะไม่ได้ทำร้ายคุณเลย
  • 1:13 - 1:16
    ราและแบคทีเรียพวกนี้
    ได้ใช้เวลาหลายล้านปี
  • 1:16 - 1:19
    พัฒนากลวิธีในการเอาชนะภูมิคุ้มกันของพืช
  • 1:19 - 1:22
    แต่ระบบภูมิคุ้มกันของคนที่มีสุขภาพดีนั้น
    มีความแตกต่างมากพอ
  • 1:22 - 1:24
    ที่กลยุทธ์เหล่านั้นไม่ส่งผลต่อเรา
  • 1:24 - 1:28
    ในพืช กลไกลนี้มีหน้าตาอย่างไรน่ะหรือ
  • 1:28 - 1:31
    จุลชีพสามารถไปถึงพืชได้หลายวิธี
  • 1:31 - 1:35
    เช่น โดนสาดลงไป
    ระหว่างการรดน้ำหรือการใส่ปุ๋ย
  • 1:35 - 1:37
    ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม
  • 1:37 - 1:39
    จุลชีพจะเจริญเติบโตเป็นกลุ่มใหญ่
  • 1:39 - 1:42
    และโจมตีชั้นส่วนนอกที่เป็นมันเงา
    ของผลไม้หรือใบไม้
  • 1:42 - 1:46
    เป้าหมายของพวกมันก็คือ
    น้ำตาลอันโอชะและสารอาหารภายใน
  • 1:46 - 1:50
    เชื้อก่อโรคชนิดนี้มักทำให้เกิดจุดแบบนี้
  • 1:50 - 1:54
    กลุ่มของแบคทีเรียดูดซับสารอาหาร
    และสีไปจากเซลล์ผลไม้
  • 1:54 - 1:56
    ทำให้เกิดวงดวงสีเหลือง
  • 1:56 - 1:57
    จากนั้นมันก็เคลื่อนต่อไป
  • 1:57 - 2:00
    ทำให้เกิดจุดดำของเซลล์ที่ตายแล้ว
  • 2:00 - 2:03
    แต่ละจุดอาจมีจุลชีพอยู่เป็นร้อยเป็นพัน
  • 2:03 - 2:07
    อันที่จริง มันเกิดจากผลรวม
    ของการบุกรุกของจุลชีพ
  • 2:07 - 2:09
    และการป้องกันของพืชเจ้าบ้านเอง
  • 2:09 - 2:14
    ยกตัวอย่างเช่น เชื้อแบคทีเรียก่อโรค
    ที่ชื่อ Pseudomonas syringae นี้
  • 2:14 - 2:16
    เมื่อสัมผัสกับมะเขือเทศ
    มันจะเจาะเข้าไปในผลและใบ
  • 2:16 - 2:19
    เพิ่มจำนวนในพื้นที่ระหว่างเซลล์
  • 2:19 - 2:21
    และผลิตสารพิษและโปรตีน
  • 2:21 - 2:24
    ที่ทำให้มันก่อกวนการตอบสนอง
    ของระบบภูมิคุ้มกันของพืช
  • 2:24 - 2:28
    หนึ่งในพิษของโคโรเนทิน
    ทำให้ปากใบของพืชเปิดออก
  • 2:28 - 2:31
    ทำให้แบคทีเรียเข้ามาได้อย่างอิสระ
  • 2:31 - 2:35
    โคโรเนทิตยังกระตุ้นวิถี
    ที่ทำให้คลอโรฟิล์ถูกทำลาย
  • 2:35 - 2:38
    ซึ่งคุณจะเห็นเป็นจุดสีเหลือง
  • 2:38 - 2:40
    เมื่อแบคทีเรียยังคงดูดสารอาหาร
    และเติบโตต่อไป
  • 2:40 - 2:42
    พวกมันเรื่มฆ่าเซลล์พืช
  • 2:42 - 2:46
    นั่นอธิบายว่าเรื่องจุดดำ
    แล้วรอยช้ำที่มีลักษณะเละ ๆ ล่ะ
  • 2:46 - 2:49
    พวกมันมักเกิดขึ้นเมื่อผลไม้
    ถูกโจมตีด้วยจุลชีพ
  • 2:49 - 2:51
    หลังจากที่่มันถูกเก็บออกมาจากต้นไม้
  • 2:51 - 2:53
    ถ้าพืชได้รับบาดแผลระหว่างการขนส่ง
  • 2:53 - 2:56
    ราชนิดเนโครติก สามารถแทรกผ่าน
    เนื้อเยื่อที่เป็นแผลเข้าไปได้
  • 2:56 - 2:57
    ฆ่าเซลล์
  • 2:57 - 2:58
    ดูดสารอาาหาร
  • 2:58 - 3:01
    และทำให้อาหารของคุณ
    ดูเละ ๆ หรือเป็นสีน้ำตาล
  • 3:01 - 3:04
    จุดเหล่านี้แหละที่รสชาติไม่ค่อยจะดี
  • 3:04 - 3:06
    ก็คุณกำลังกินเนื้อเยื่อที่ตาย
    และกำลังถูกย่อยสลายอยู่น่ะสิ
  • 3:06 - 3:09
    แต่คุณสามารถกู้เก็บส่วนอื่น ๆ ของผลไม้ได้
  • 3:09 - 3:13
    ส่วนที่ไม่เป็นจุดเละ ๆ
    อย่างที่คุณเห็นบนแอปเปิ้ลหรือมะเขือเทศ
  • 3:13 - 3:17
    อยู่แค่บนผิวและไม่ได้มีผลอะไรต่อรสชาติ
  • 3:17 - 3:21
    แน่นอน จุลชีพที่ทำให้เราป่วย
    อย่างเช่น อี. โคไลน์ และ ซาลโมเนลลา
  • 3:21 - 3:23
    สามารถติดมากับผักได้เช่นกัน
  • 3:23 - 3:27
    แต่เพราะว่าพวกมันไม่ก่อโรคในพืช
    พวกมันจึงไม่ก่อให้เกิดจุด
  • 3:27 - 3:30
    พวกมันแค่อาศัยอยู่บนพื้นผิว
  • 3:30 - 3:33
    ฉะนั้น จงล้างผักผลไม้
    ไม่ใช่หลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่เป็นจุด
  • 3:33 - 3:35
    นั่นจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยได้
  • 3:35 - 3:37
    ฉะนั้น ครั้งต่อไปที่คุณไปที่ร้านของชำ
  • 3:37 - 3:40
    ไม่ต้องกลัวที่จะเลือกผลไม้หน้าตาตลก ๆ
  • 3:40 - 3:42
    บางร้านจะให้ส่วนลดกับคุณด้วยซ้ำ
  • 3:42 - 3:44
    ล้างพวกมันและเก็บพวกมันไว้อย่างเหมาะสม
  • 3:44 - 3:48
    เหมือนกับผลิตภัณฑ์อย่างแอปเปิ้ล
    และผักกาด จะอยู่ในตู้เย็นได้หลายสัปดาห์
  • 3:48 - 3:53
    ส่วนที่เป็นจุดอาจไม่น่ามอง
    แต่พวกมันปลอดภัยแล้วก็อร่อยดีด้วย
Title:
ผักผลไม้ที่เป็นจุด ๆ กินได้หรือเปล่า - เอลิซาเบธ บรัวเออร์ (Elizabeth Brauer)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/are-spotty-fruits-and-vegetables-safe-to-eat-elizabeth-brauer

ในปี ค.ศ. 2010 ผักและผลไม้มูลค่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ถูกทิ้งโดยผู้จัดจำหน่ายและผู้บริโภคชาวอเมริกา ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าปัญหาเรื่องความสวยงามและการเน่าเสียที่รู้สึกได้ แต่จุดเหล่านี้คืออะไรกันแน่ และพวกมันกินได้หรือเปล่า เอลิซาเบธ บรัวเออร์ อธิบายว่าทำไมคุณอาจไม่ต้องกลัวที่จะเลือกผลไม้ที่หน้าตาตลก ๆ จากร้านของชำ

บทเรียนโดย Elizabeth Brauer, แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:09

Thai subtitles

Revisions Compare revisions