ในปี ค.ศ. 2010 ผักและผลไม้ มูลค่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ถูกทิ้งโดยผู้จัดจำหน่าย และผู้บริโภคชาวอเมริกา ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าปัญหาเรื่อง ความสวยงามและการเน่าเสียที่รู้สึกได้ นั่นเป็นการสิ้นเปลืองผลิตภัณฑ์ ในท้องตลาดไปประมาณ 30% ซึ่งนั่นยังไม่นับรวมน้ำและพลังงาน ที่ต้องใช้ในการปลูกและขนส่งมันอีก และไหนจะพื้นที่บ่อขยะสำหรับผักที่เน่า แล้วปัญหาความงามพวกนี้คืออะไร คุณอาจเคยเห็นแอปเปิ้ลที่มีจุด ในร้านของชำ หรือเคยจับมะเขือเทศที่มีบางส่วนนิ่ม ๆ รอยช้ำเหล่านี้อาจทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เป็นอันต้องตกไปอยู่ในถังขยะ แต่พวกมันคืออะไรกันแน่ และพวกมันแย่ต่อคุณหรือเปล่า จุดเหล่านี้เป็นหลักฐานของสงครามที่ยิ่งใหญ่ ระหว่างพืชและจุลชีพ เช่นเดียวกับมนุษย์ พืชอยู่ร่วมกับ ราและแบคทีเรียหลายพันล้านชนิด จุลชีพบางอยางก็เป็นประโยชน์ต่อพืช โดยต้านทานโรค และช่วยสกัดสารอาหาร จุลชีพอีกพวกเป็นเชื้อก่อโรค ที่โจมตึผลผลิต ในขณะที่มันยังมีชีวิตอยู่ในห้างร้าน หรือในตู้เย็นของคุณ และตักตวงโมเลกุล ที่พวกมันสามารถนำไปใช้เองได้ ข่าวดีก็คือว่า พวกมันแทบจะไม่ได้ทำร้ายคุณเลย ราและแบคทีเรียพวกนี้ ได้ใช้เวลาหลายล้านปี พัฒนากลวิธีในการเอาชนะภูมิคุ้มกันของพืช แต่ระบบภูมิคุ้มกันของคนที่มีสุขภาพดีนั้น มีความแตกต่างมากพอ ที่กลยุทธ์เหล่านั้นไม่ส่งผลต่อเรา ในพืช กลไกลนี้มีหน้าตาอย่างไรน่ะหรือ จุลชีพสามารถไปถึงพืชได้หลายวิธี เช่น โดนสาดลงไป ระหว่างการรดน้ำหรือการใส่ปุ๋ย ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม จุลชีพจะเจริญเติบโตเป็นกลุ่มใหญ่ และโจมตีชั้นส่วนนอกที่เป็นมันเงา ของผลไม้หรือใบไม้ เป้าหมายของพวกมันก็คือ น้ำตาลอันโอชะและสารอาหารภายใน เชื้อก่อโรคชนิดนี้มักทำให้เกิดจุดแบบนี้ กลุ่มของแบคทีเรียดูดซับสารอาหาร และสีไปจากเซลล์ผลไม้ ทำให้เกิดวงดวงสีเหลือง จากนั้นมันก็เคลื่อนต่อไป ทำให้เกิดจุดดำของเซลล์ที่ตายแล้ว แต่ละจุดอาจมีจุลชีพอยู่เป็นร้อยเป็นพัน อันที่จริง มันเกิดจากผลรวม ของการบุกรุกของจุลชีพ และการป้องกันของพืชเจ้าบ้านเอง ยกตัวอย่างเช่น เชื้อแบคทีเรียก่อโรค ที่ชื่อ Pseudomonas syringae นี้ เมื่อสัมผัสกับมะเขือเทศ มันจะเจาะเข้าไปในผลและใบ เพิ่มจำนวนในพื้นที่ระหว่างเซลล์ และผลิตสารพิษและโปรตีน ที่ทำให้มันก่อกวนการตอบสนอง ของระบบภูมิคุ้มกันของพืช หนึ่งในพิษของโคโรเนทิน ทำให้ปากใบของพืชเปิดออก ทำให้แบคทีเรียเข้ามาได้อย่างอิสระ โคโรเนทิตยังกระตุ้นวิถี ที่ทำให้คลอโรฟิล์ถูกทำลาย ซึ่งคุณจะเห็นเป็นจุดสีเหลือง เมื่อแบคทีเรียยังคงดูดสารอาหาร และเติบโตต่อไป พวกมันเรื่มฆ่าเซลล์พืช นั่นอธิบายว่าเรื่องจุดดำ แล้วรอยช้ำที่มีลักษณะเละ ๆ ล่ะ พวกมันมักเกิดขึ้นเมื่อผลไม้ ถูกโจมตีด้วยจุลชีพ หลังจากที่่มันถูกเก็บออกมาจากต้นไม้ ถ้าพืชได้รับบาดแผลระหว่างการขนส่ง ราชนิดเนโครติก สามารถแทรกผ่าน เนื้อเยื่อที่เป็นแผลเข้าไปได้ ฆ่าเซลล์ ดูดสารอาาหาร และทำให้อาหารของคุณ ดูเละ ๆ หรือเป็นสีน้ำตาล จุดเหล่านี้แหละที่รสชาติไม่ค่อยจะดี ก็คุณกำลังกินเนื้อเยื่อที่ตาย และกำลังถูกย่อยสลายอยู่น่ะสิ แต่คุณสามารถกู้เก็บส่วนอื่น ๆ ของผลไม้ได้ ส่วนที่ไม่เป็นจุดเละ ๆ อย่างที่คุณเห็นบนแอปเปิ้ลหรือมะเขือเทศ อยู่แค่บนผิวและไม่ได้มีผลอะไรต่อรสชาติ แน่นอน จุลชีพที่ทำให้เราป่วย อย่างเช่น อี. โคไลน์ และ ซาลโมเนลลา สามารถติดมากับผักได้เช่นกัน แต่เพราะว่าพวกมันไม่ก่อโรคในพืช พวกมันจึงไม่ก่อให้เกิดจุด พวกมันแค่อาศัยอยู่บนพื้นผิว ฉะนั้น จงล้างผักผลไม้ ไม่ใช่หลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่เป็นจุด นั่นจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยได้ ฉะนั้น ครั้งต่อไปที่คุณไปที่ร้านของชำ ไม่ต้องกลัวที่จะเลือกผลไม้หน้าตาตลก ๆ บางร้านจะให้ส่วนลดกับคุณด้วยซ้ำ ล้างพวกมันและเก็บพวกมันไว้อย่างเหมาะสม เหมือนกับผลิตภัณฑ์อย่างแอปเปิ้ล และผักกาด จะอยู่ในตู้เย็นได้หลายสัปดาห์ ส่วนที่เป็นจุดอาจไม่น่ามอง แต่พวกมันปลอดภัยแล้วก็อร่อยดีด้วย