Return to Video

เรารู้ได้อย่างไรว่าไดโนเสาร์มีสีอะไร - เลน บลอค (Len Bloch)

  • 0:09 - 0:13
    นี่คือไมโครแรปเตอร์
  • 0:13 - 0:17
    ไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีสี่ปีก
    มีความยาวเกือบสองฟุต
  • 0:17 - 0:18
    กินปลาเป็นอาหาร
  • 0:18 - 0:21
    และมีชีวิตอยู่ประมาณ 120 ล้านปีก่อน
  • 0:21 - 0:26
    เราได้ความรู้เกี่ยวกับมันส่วนใหญ่
    มาจากฟอสซิลซึ่งมีหน้าตาแบบนี้
  • 0:26 - 0:30
    แล้วสีต่าง ๆ ที่เห็นนี่ เป็นเพียงการเดา
    จากศิลปินงั้นหรือ
  • 0:30 - 0:32
    คำตอบคือ ไม่ใช่
  • 0:32 - 0:35
    เรารู้ว่า สีดำเงานี้ เป็นสีที่ถูกต้อง
  • 0:35 - 0:41
    เพราะว่านักบรรพชีวินวิทยา
    ได้ทำการวิเคราะห์เบาะแสที่มีอยู่ในฟอสซิล
  • 0:41 - 0:45
    แต่เพื่อให้หลักฐานนั้นได้รับการตีความ
    จะต้องใช้การตรวจสอบฟอสซิลที่ระมัดระวัง
  • 0:45 - 0:50
    และความเข้าใจที่ดี
    เกี่ยวกับฟิสิกส์ของแสงและสี
  • 0:50 - 0:54
    ก่อนอื่น นี่คือสิ่งที่เราเห็นจริง ๆ จากฟอสซิล
  • 0:54 - 0:58
    รอยประทับของกระดูกและขนนก
    ที่เปิดเผยความลับของแร่ที่ถูกทิ้งเอาไว้
  • 0:58 - 1:00
    และจากรอยประทับเหล่านี้
  • 1:00 - 1:02
    เราสามารถคาดเดาได้ว่า
    ขนของไมโครแรปเตอร์
  • 1:02 - 1:08
    คล้ายกันกับขนของไดโนเสาร์ยุคใหม่
    ซึ่งก็คือนก
  • 1:08 - 1:11
    แต่อะไรที่ทำให้ขนนกมีสีต่าง ๆ มากมายล่ะ
  • 1:11 - 1:16
    ขนนกส่วนใหญ่มีเม็ดสี
    หนึ่งหรือสองชนิด
  • 1:16 - 1:18
    สีแดงของนกคาร์ดินัลมาจากคาโรทีนอย
  • 1:18 - 1:21
    เม็ดสีเดียวกับที่ทำให้แครอทมีสีส้ม
  • 1:21 - 1:24
    ในขณะที่หน้าสีดำของมัน
    เป็นผลมาจากเมลานิน
  • 1:24 - 1:27
    เม็ดสีที่มีอยู่ตามขนและผิวหนังของพวกเรา
  • 1:27 - 1:30
    แต่ในขนนก เมลานินไม่ได้เป็นแค่สี
  • 1:30 - 1:34
    มันทำให้เกิดโครงสร้างกลวงระดับนาโน
    ที่เรียกว่า เมลาโนโซม
  • 1:34 - 1:37
    ซึ่งสามารถให้แสงสีใดก็ได้ในเฉดสีรุ้ง
  • 1:37 - 1:39
    เพื่อที่จะเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร
  • 1:39 - 1:42
    มันช่วยจดจำสิ่งที่เกี่ยวกับแสง
  • 1:42 - 1:47
    แสงคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเล็ก ๆ
    ที่เดินทางผ่านอากาศ
  • 1:47 - 1:49
    จุดสูงสุดของคลื่นเรียกว่ายอดคลื่น
  • 1:49 - 1:53
    และระยะห่างระหว่างสองยอดคลื่น
    เรียกว่าความยาวคลื่น
  • 1:53 - 1:58
    ยอดคลื่นในแสงสีแดง
    อยู่ห่างกันประมาณหนึ่งใน 7 แสนล้านเมตร
  • 1:58 - 2:01
    และความยาวคลื่นแสงสีม่วง
    มีความยาวที่น้อยกว่า
  • 2:01 - 2:06
    คือประมาณหนึ่งใน 4 แสนล้านเมตร
    หรือ 400 นาโนเมตร
  • 2:06 - 2:10
    เมื่อแสงตกกระทบผิวด้านหน้า
    ของเมลาโนโซมกลวง ๆ ของนก
  • 2:10 - 2:14
    แสงบางส่วนถูกสะท้อนออก
    และบางส่วนก็ผ่านไป
  • 2:14 - 2:18
    สัดส่วนของแสงที่ถูกส่งผ่าน
    จะสะท้อนออกมาทางผิวด้านหลัง
  • 2:18 - 2:21
    คลื่นทั้งสองที่ถูกสะท้อนออกมา
    จะเกิดการแทรกสอดกัน
  • 2:21 - 2:22
    โดยปกติแล้วมักจะลบล้างกันไป
  • 2:22 - 2:25
    แต่เมื่อความยาวคลื่นของแสงที่ถูกสะท้อน
  • 2:25 - 2:28
    พอดีกันกับระยะระหว่างการสะท้อนทั้งสอง
  • 2:28 - 2:30
    พวกมันเสริมกันและกัน
  • 2:30 - 2:33
    แสงสีเขียวมีความยาวคลื่นประมาณ
    500 นาโนเมตร
  • 2:33 - 2:36
    ฉะนั้น เมลาโนโซมที่มีขนาดประมาณ
    500 นาโนเมตร
  • 2:36 - 2:38
    จึงให้แสงสีเขียว
  • 2:38 - 2:41
    เมลาโนโซมที่บางกว่าให้แสงสีม่วง
  • 2:41 - 2:44
    และที่หนากว่าให้แสงสีแดง
  • 2:44 - 2:46
    แน่นอน มันซับซ้อนกว่านี้
  • 2:46 - 2:50
    เมลาโนโซมอัดตัวอยู่ด้วยกัน
    ภายในเซลล์ และไหนจะยังมีปัจจัยอื่นอีก
  • 2:50 - 2:54
    อย่างเช่น การเรียงตัวของเมลาโนโซม
    ภายในขนนก ก็มีความสำคัญเช่นกัน
  • 2:54 - 2:57
    ลองกลับมาดู
    ที่ฟอสซิลของไมโครแรปเตอร์กัน
  • 2:57 - 3:01
    เมื่อนักวิทยาศาสตร์สำรวจรอยขนของมัน
    ด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังสูง
  • 3:01 - 3:04
    พวกเขาพบโครงสร้างระดับนาโน
    ที่ดูเหมือนเมลาโนโซม
  • 3:04 - 3:09
    การวิเคราะห์เมลาโนโซมด้วยเอ็กซ์เรย์
    ยังให้การสนับสนุนทฤษฎีนี้มากขึ้น
  • 3:09 - 3:13
    พวกมันมีแร่ที่อาจเป็นผลจากการสลาย
    ของเมลานิน
  • 3:13 - 3:17
    นักวิทยาศาสตร์เลือกเอาขนนก
    20 อันจากฟอสซิลหนึ่ง
  • 3:17 - 3:21
    และพบว่า เมลาโนโซมจากทั้ง 20 ตัวอย่าง
    มีลักษณะคล้ายกัน
  • 3:21 - 3:25
    ฉะนั้น พวกเขาค่อนข้างมั่นใจว่า
    ไดโนเสาร์เป็นสีเดียวกันทั้งตัว
  • 3:25 - 3:29
    พวกเขาเปรียบเทียบเมลาโนโซม
    จากไมโครแรปเตอร์กับนกในปัจจุบัน
  • 3:29 - 3:33
    และแม้ว่าจะไม่พบสิ่งที่เหมือนกันทุกประการ
    แต่พบสิ่งที่ใกล้เคียงที่สุด
  • 3:33 - 3:37
    เป็นขนนกเป็ดน้ำสีเหลือบ
    ที่อยู่บนปีกของเป็ด
  • 3:37 - 3:41
    และด้วยการตรวจสอบขนาดและการเรียงตัว
    ของเมลาโนโซมอย่างแม่นยำ
  • 3:41 - 3:46
    นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ขนนกมีสีดำเหลือบ
  • 3:46 - 3:49
    ตอนนี้ เราสามารถรู้ได้แล้วว่า
    ขนนกของฟอสซิลเป็นสีอะไร
  • 3:49 - 3:54
    นักบรรพชีวินวิทยากำลังมองหาฟอสซิล
    ที่มีเมลาโนโซมที่ถูกรักษาไว้เป็นอย่างดี
  • 3:54 - 3:58
    พวกเขาพบว่าไดโนเสาร์จำนวนมาก
    รวมถึง วีโลซิแรปเตอร์
  • 3:58 - 4:00
    อาจมีขน
  • 4:00 - 4:05
    ซึ่งอาจหมายความว่าภาพยนตร์หลายเรื่อง
    อาจไม่ถูกต้องตามหลักชีววิทยา
  • 4:05 - 4:07
    ฉลาดมาก สาวน้อย
Title:
เรารู้ได้อย่างไรว่าไดโนเสาร์มีสีอะไร - เลน บลอค (Len Bloch)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/how-do-we-know-what-color-dinosaurs-were-len-bloch

ไมโครแรปเตอร์เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อสี่ปีกที่มีขนสีดำเหลือบ แต่ถ้าข้อมูลของเราเกี่ยวกับไดโนเสาร์ชนิดนี้มาจากฟอสซิล เราแน่ใจได้อย่างไรเกี่ยวกับสีของพวกมัน เบน บลอค แสดงให้เห็นว่าการตีความหลักฐานต้องการความรอบคอบของการตรวจสอบฟอสซิลและความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับฟิสิกส์ของแสงและสีอย่างไร

บทเรียนโดย Len Bloch, แอนิเมชันโดย Paul Newell

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:24

Thai subtitles

Revisions