Return to Video

คุณจับโกหกเด็ก ๆ ได้จริงหรือเปล่า

  • 0:01 - 0:02
    สวัสดีครับ
  • 0:02 - 0:05
    ผมขอถามคุณผู้ชมสักคำถามหนึ่งนะ
  • 0:05 - 0:07
    ตอนเด็ก ๆ คุณเคยโกหกไหมครับ
  • 0:07 - 0:10
    ถ้าเคย ช่วยยกมือหน่อยได้ไหมครับ
  • 0:11 - 0:15
    ว้าว! นี่เป็นกลุ่มที่ซื่อสัตย์ที่สุด
    ที่ผมเคยเจอเลย
  • 0:15 - 0:17
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:17 - 0:18
    20 ปีที่ผ่านมานี้
  • 0:18 - 0:22
    ผมศึกษาการโกหกของเด็ก ๆ
  • 0:22 - 0:24
    และวันนี้ ผมจะเล่าให้คุณฟัง
  • 0:24 - 0:26
    ถึงการค้นพบบางอย่างที่เราเจอ
  • 0:27 - 0:32
    เริ่มจาก ผมจะเล่าเรื่องของ ริชาร์ด เมสซินา
  • 0:32 - 0:35
    ซึ่งเป็นเพื่อนของผม
    และเป็นครูใหญ่โรงเรียนประถม
  • 0:35 - 0:37
    วันหนึ่งเขาได้รับโทรศัพท์
  • 0:39 - 0:40
    ปลายสายพูดว่า
  • 0:40 - 0:44
    "คุณเมสซินาครับ
    จอห์นนี่ ลูกชายผมจะไม่มาเรียนวันนี้
  • 0:44 - 0:46
    เพราะเขาป่วยน่ะครับ"
  • 0:46 - 0:48
    คุณเมสซิยาถามกลับว่า
  • 0:48 - 0:50
    "ผมกำลังคุยกับใครอยู่ครับเนี่ย"
  • 0:51 - 0:52
    ปลายสายตอบมาว่า
  • 0:52 - 0:54
    "ผมเป็นพ่อของผมครับ"
  • 0:54 - 0:57
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:58 - 1:00
    เรื่องนี้...
  • 1:00 - 1:01
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:01 - 1:06
    เป็นการสรุปความเชื่อสามอย่างของเรา
  • 1:06 - 1:08
    เกี่ยวกับเด็กและการโกหกได้ดีมาก
  • 1:08 - 1:13
    ข้อแรก คือ เด็ก ๆ เริ่มโกหก
  • 1:13 - 1:15
    หลังจากเข้าโรงเรียนประถม
  • 1:16 - 1:18
    ข้อสอง เด็ก ๆ โกหกไม่เก่งเลย
  • 1:18 - 1:21
    ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ จับโกหกเด็กได้ง่ายมาก
  • 1:21 - 1:25
    และข้อสาม ถ้าเด็ก ๆ โกหกตั้งแต่เล็ก
  • 1:25 - 1:28
    เขาต้องมีลักษณะนิสัยที่บกพร่อง
  • 1:28 - 1:32
    และเขาจะกลายเป็นคนขี้โกหกไปตลอดชีวิต
  • 1:33 - 1:35
    แต่ปรากฎว่า
  • 1:35 - 1:37
    ความเชื่อทั้งสามอย่างนี้ผิดหมด
  • 1:39 - 1:41
    เราเล่นเกมทายคำตอบ
  • 1:41 - 1:43
    กับเด็ก ๆ ทั่วโลก
  • 1:43 - 1:45
    นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง
  • 1:45 - 1:49
    ในเกมนี้ เราให้เด็ก ๆ ทายตัวเลขบนบัตร
  • 1:50 - 1:53
    และบอกเขาว่า ถ้าชนะ
  • 1:53 - 1:55
    เขาจะได้รางวัลใหญ่
  • 1:56 - 1:57
    แต่พอเล่นไปได้ครึ่งทาง
  • 1:57 - 2:00
    เราบอกเด็ก ๆ ว่าขอออกไปข้างนอกสักครู่
  • 2:02 - 2:04
    และก่อนที่เราจะออกไปจากห้อง
  • 2:04 - 2:07
    เราบอกเด็ก ๆ ว่าอย่าแอบดูคำตอบในบัตรนะ
  • 2:08 - 2:09
    แน่นอนล่ะ
  • 2:09 - 2:11
    เรามีกล้องซ่อนอยู่ในห้อง
  • 2:11 - 2:13
    เพื่อสังเกตทุกการเคลื่อนไหวของเด็ก
  • 2:14 - 2:18
    เพราะความปรารถนาอยากชนะนั้นแรงกล้ามาก
  • 2:18 - 2:21
    เด็ก ๆ มากกว่าร้อยละ 90 แอบดูบัตร
  • 2:21 - 2:23
    ทันทีที่เราออกจากห้อง
  • 2:23 - 2:25
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:25 - 2:27
    แต่คำถามที่สำคัญคือ
  • 2:27 - 2:30
    เมื่อเรากลับมาแล้วถาม
  • 2:30 - 2:32
    ว่าเขาแอบดูหรือเปล่า
  • 2:32 - 2:35
    เด็ก ๆ ที่แอบดูจะสารภาพ
  • 2:35 - 2:38
    หรือจะโกหกเรื่องการละเมิดกติกา
  • 2:40 - 2:44
    เราพบว่า ไม่ว่าจะเพศ ประเทศ ศาสนาไหน
  • 2:45 - 2:47
    เด็กอายุสองขวบ
  • 2:47 - 2:49
    ร้อยละ 30 โกหก
  • 2:49 - 2:53
    ร้อยละ 70 พูดความจริงว่าตนละเมิดกติกา
  • 2:53 - 2:55
    เด็กอายุสามขวบ
  • 2:55 - 2:59
    ร้อยละ 50 โกหก
    ร้อยละ 50 พูดความจริง
  • 2:59 - 3:01
    เด็กอายุสี่ขวบ
  • 3:01 - 3:03
    มากกว่าร้อยละ 80 โกหก
  • 3:04 - 3:07
    และสี่ขวบขึ้นไป
  • 3:07 - 3:08
    เด็ก ๆ ส่วนมากโกหก
  • 3:09 - 3:11
    คุณคงเห็นแล้วว่า
  • 3:11 - 3:14
    การโกหกเป็นส่วนหนึ่ง
    ของพัฒนาการตามปกติ
  • 3:14 - 3:17
    เด็กบางคนเริ่มโกหก
  • 3:17 - 3:19
    ตั้งแต่อายุสองขวบ
  • 3:20 - 3:24
    ทีนี้ มาดูรายละเอียดในเด็กเล็ก ๆ กัน
  • 3:25 - 3:29
    ทำไมมีแค่บางคน ไม่ใช่ทุกคนที่โกหก
  • 3:30 - 3:34
    ในการทำอาหาร คุณต้องการส่วนผสมที่ดี
  • 3:34 - 3:35
    เพื่อปรุงอาหารที่ดี
  • 3:36 - 3:40
    การโกหกที่ดี ต้องมีส่วนผสมหลักสองอย่าง
  • 3:41 - 3:45
    ส่วนผสมแรกคือ ทฤษฎีว่าด้วยจิตใจ
  • 3:45 - 3:47
    หรือความสามารถในการอ่านใจผู้อื่น
  • 3:48 - 3:50
    การอ่านใจผู้อื่นคือความสามารถที่จะรู้ว่า
  • 3:50 - 3:54
    ต่างคนต่างมีความรู้
    เกี่ยวกับสถานการณ์หนึ่งไม่เหมือนกัน
  • 3:55 - 3:58
    และความสามารถที่จะแยกแยะ
    ระหว่างสิ่งที่ฉันรู้
  • 3:58 - 4:00
    กับสิ่งที่เธอรู้
  • 4:00 - 4:02
    การอ่านใจสำคัญสำหรับการโกหก
  • 4:02 - 4:06
    เพราะพื้นฐานของการโกหกนั้นคือการรู้ว่า
  • 4:06 - 4:07
    คุณไม่รู้
  • 4:07 - 4:08
    ว่าผมรู้อะไร
  • 4:08 - 4:10
    ดังนั้น ผมจึงโกหกคุณได้
  • 4:11 - 4:16
    ส่วนผสมหลักอย่างที่สองของการโกหก
    คือการควบคุมตนเอง
  • 4:16 - 4:20
    นั่นคือ ความสามารถในการ
    ควบคุมคำพูด สีหน้า
  • 4:20 - 4:22
    และภาษากาย
  • 4:22 - 4:24
    เพื่อให้โกหกได้เนียน
  • 4:25 - 4:29
    และเราพบว่าเด็กเล็ก ๆ
  • 4:29 - 4:34
    ที่มีความสามารถในการอ่านใจคน
    และการควบคุมตนเองสูง
  • 4:34 - 4:36
    เริ่มโกหกได้เร็วกว่า
  • 4:36 - 4:38
    และโกหกได้เนียนกว่า
  • 4:40 - 4:46
    เห็นได้ว่า ความสามารถสองอย่างนี้
    ยังมีความสำคัญสำหรับเราทุกคน
  • 4:46 - 4:48
    ในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี
  • 4:49 - 4:53
    อันที่จริง ความบกพร่อง
    ในการอ่านใจและควบคุมตนเองนั้น
  • 4:53 - 4:57
    สัมพันธ์กับปัญหาทางพัฒนาการที่ร้ายแรง
  • 4:57 - 5:00
    เช่น โรคสมาธิสั้น และออทิสซึม
  • 5:02 - 5:07
    ดังนั้น ถ้าคุณจับได้ว่า
    ลูกอายุสองขวบของคุณโกหกเป็นครั้งแรก
  • 5:07 - 5:09
    แทนที่จะตื่นตกใจ
  • 5:09 - 5:11
    คุณควรจะฉลองมากกว่านะ
  • 5:11 - 5:12
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:12 - 5:18
    เพราะมันคือสัญญาณว่า
    ลูกของคุณมาถึงหลักชัยที่สำคัญอีกขั้นหนึ่ง
  • 5:18 - 5:20
    ของพัฒนาการตามปกติแล้ว
  • 5:21 - 5:24
    ทีนี้ เด็ก ๆ นี่โกหกไม่เก่งหรอก ใช่ไหม
  • 5:25 - 5:28
    คุณคิดว่าคุณจับโกหกของเด็ก ๆ
    ได้อย่างง่ายดายใช่ไหมครับ
  • 5:29 - 5:30
    ลองดูหน่อยไหมครับ
  • 5:31 - 5:32
    นะ โอเค
  • 5:32 - 5:35
    ผมจะฉายวิดีโอให้คุณดูสองคลิป
  • 5:35 - 5:36
    ในวิดีโอนี้
  • 5:36 - 5:39
    เด็ก ๆ กำลังจะตอบคำถามผู้วิจัย
  • 5:39 - 5:41
    "หนูแอบดูหรือเปล่า"
  • 5:41 - 5:42
    คุณลองบอกผมนะ
  • 5:42 - 5:44
    ว่าเด็กคนไหนโกหก
  • 5:44 - 5:46
    และเด็กคนไหนพูดความจริง
  • 5:46 - 5:48
    นี่คือเด็กคนแรก
  • 5:49 - 5:50
    พร้อมไหมครับ
  • 5:51 - 5:53
    (วิดีโอ) ผู้ใหญ่: หนูแอบดูหรือเปล่า
    เด็ก: เปล่า
  • 5:54 - 5:56
    คัง ลี: และนี่คือเด็กคนที่สอง
  • 5:58 - 6:00
    (วิดีโอ) ผู้ใหญ่: หนูแอบดูหรือเปล่า
    เด็ก: เปล่า
  • 6:01 - 6:05
    คัง ลี: โอเค ถ้าคุณคิดว่าเด็กคนแรกโกหก
  • 6:05 - 6:07
    ยกมือขึ้นครับ
  • 6:08 - 6:12
    ถ้าคุณคิดว่าเด็กคนที่สองโกหก
    ยกมือขึ้นครับ
  • 6:14 - 6:16
    โอเค ที่จริงแล้ว
  • 6:16 - 6:19
    เด็กคนแรกพูดจริง
  • 6:19 - 6:21
    และเด็กคนที่สองโกหก
  • 6:22 - 6:25
    ดูเหมือนพวกคุณหลายคน
    จับโกหกเด็กไม่เก่งเลยนะครับเนี่ย
  • 6:25 - 6:28
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:28 - 6:31
    ทีนี้ เราเล่มเกมแบบเดียวกันนี้
  • 6:31 - 6:36
    กับผู้ใหญ่จากทุกสาขาอาชีพ
  • 6:37 - 6:39
    เราให้เขาดูวิดีโอมากมาย
  • 6:39 - 6:42
    ครึ่งหนึ่ง เด็ก ๆ ในวิดีโอโกหก
  • 6:42 - 6:45
    อีกครึ่งหนึ่งเด็ก ๆ พูดความจริง
  • 6:47 - 6:49
    มาดูกันว่าผู้ใหญ่เหล่านี้ทำได้ดีแค่ไหน
  • 6:50 - 6:54
    เนื่องจากมีเด็กที่โกหก
    เท่ากับเด็กที่พูดความจริง
  • 6:54 - 6:57
    ถ้าคุณเดาสุ่ม
  • 6:57 - 7:01
    คุณจะมีโอกาสถูก 50%
  • 7:01 - 7:04
    ถ้าคุณตอบถูก 50%
  • 7:04 - 7:08
    แปลว่าคุณจับโกหกไม่เก่งเลยนะ
  • 7:08 - 7:13
    เอาล่ะ เริ่มจากนักศึกษาปริญญาตรี
    และนักศึกษาคณะนิติศาสตร์
  • 7:13 - 7:17
    ที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์กับเด็ก ๆ
  • 7:18 - 7:20
    ไม่เลย กลุ่มนี้ไม่สามารถจับโกหกเด็ก ๆ ได้
  • 7:20 - 7:22
    เขาตอบถูกพอ ๆ กับการเดาสุ่ม
  • 7:22 - 7:27
    ทีนี้ แล้วพวกนักสังคมสงเคราะห์
    และทนายความของศูนย์คุ้มครองเด็ก
  • 7:28 - 7:30
    ที่ทำงานกับเด็กอยู่ทุกวันล่ะ
  • 7:30 - 7:32
    กลุ่มนี้จะจับโกหกเด็กได้ไหม
  • 7:34 - 7:35
    ก็ไม่
  • 7:35 - 7:36
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:36 - 7:37
    แล้วผู้พิพากษา
  • 7:37 - 7:39
    เจ้าหน้าที่ศุลกากร
  • 7:39 - 7:41
    และตำรวจ
  • 7:41 - 7:44
    ที่ต้องเจอคนโกหกทุกวันล่ะ
  • 7:44 - 7:46
    เขาจะจับโกหกเด็กได้ไหม
  • 7:47 - 7:48
    ก็ไม่
  • 7:48 - 7:50
    แล้วคนเป็นพ่อแม่ล่ะ
  • 7:50 - 7:53
    จะจับโกหกเด็กได้ไหม
  • 7:54 - 7:55
    ก็ไม่
  • 7:56 - 7:59
    แล้วถ้าพ่อแม่จับโกหกลูกของตัวเองล่ะ
  • 8:01 - 8:02
    ก็ไม่ได้อีกล่ะครับ
  • 8:02 - 8:06
    (เสียงหัวเราะ) (เสียงปรบมือ)
  • 8:06 - 8:07
    ทีนี้ คุณอาจจะตั้งคำถามว่า
  • 8:09 - 8:12
    ทำไมการโกหกของเด็กจึงจับได้ยากนัก
  • 8:13 - 8:16
    ผมจะแสดงให้ดูโดยใช้เนธัน
    ลูกชายของผมเป็นตัวอย่าง
  • 8:16 - 8:18
    นี่คือสีหน้าของเขา
  • 8:18 - 8:20
    เมื่อโกหก
  • 8:20 - 8:22
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:22 - 8:23
    เมื่อเด็ก ๆ โกหก
  • 8:23 - 8:27
    การแสดงออกทางสีหน้าของพวกเขา
    มักดูเป็นปกติธรรมชาติ
  • 8:27 - 8:31
    แต่เบื้องหลังสีหน้านิ่งเฉยนี้
  • 8:31 - 8:34
    เด็ก ๆ เกิดอารมณ์มากมาย
  • 8:34 - 8:38
    เช่น กลัว รู้สึกผิด ละอาย
  • 8:38 - 8:41
    และอาจจะลิงโลดใจนิดหน่อยที่โกหกได้
  • 8:41 - 8:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:44 - 8:49
    น่าเสียดายที่อารมณ์เหล่านี้
    หายไปไวมาก หรือถูกซ่อนไว้
  • 8:49 - 8:52
    เราจึงแทบมองไม่เห็น
  • 8:52 - 8:53
    ในห้าปีที่ผ่านมา
  • 8:53 - 8:57
    เราได้พยายามหาทาง
    เผยอารมณ์ที่ซ่อนเร้นเหล่านี้ออกมา
  • 8:57 - 8:58
    แล้วเราก็ค้นพบ
  • 8:59 - 9:02
    เรารู้ว่า ภายใต้ผิวหน้าของเรา
  • 9:02 - 9:06
    มีเครือข่ายเส้นเลือดเต็มไปหมด
  • 9:06 - 9:08
    เมื่อเราเกิดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ
  • 9:08 - 9:11
    การไหลเวียนของเลือดบนใบหน้า
    จะเปลี่ยนไปเล็กน้อย
  • 9:12 - 9:16
    การเปลี่ยนแปลงนี้ถูกควบคุม
    ด้วยระบบอัตโนมัติ
  • 9:16 - 9:18
    ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา
  • 9:18 - 9:22
    เมื่อดูการเปลี่ยนแปลง
    ของการไหลเวียนเลือดนี้
  • 9:22 - 9:25
    เราสามารถเผยให้เห็น
    อารมณ์ที่ซ่อนอยู่ของผู้คนได้
  • 9:25 - 9:30
    แต่แย่หน่อยที่การเปลี่ยนแปลงการไหลเวียน
    เลือดบนใบหน้าที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์นี้
  • 9:30 - 9:33
    น้อยมากเสียจนเราไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
  • 9:34 - 9:37
    เพื่อที่จะเผยให้เห็นอารมณ์
    ที่อยู่บนใบหน้าผู้คน
  • 9:37 - 9:40
    เราจึงพัฒนาเทคโนโลยี
    การถ่ายภาพแบบใหม่ขึ้น
  • 9:40 - 9:44
    ที่เราเรียกว่า
    "การถ่ายภาพผ่านผิวหนัง"
  • 9:45 - 9:49
    เราใช้กล้องวิดีโอบันทึกภาพสีหน้าของคน
  • 9:49 - 9:52
    เมื่อเขาเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่
  • 9:52 - 9:56
    จากนั้นก็ใช้เทคโนโลยี
    การประมวลผลภาพถ่ายของเรา
  • 9:57 - 10:02
    สกัดภาพการเปลี่ยนแปลง
    การไหลเวียนเลือดใต้ผิวหนัง
  • 10:04 - 10:09
    เมื่อดูภาพวิดีโอที่ถ่ายผ่านผิวหนัง
  • 10:09 - 10:11
    เราเห็นได้ชัดเลยว่า
  • 10:12 - 10:17
    การไหลเวียนเลือดใต้ผิวหนัง
    สัมพันธ์กับอารมณ์ที่ซ่อนเร้น
  • 10:18 - 10:20
    และด้วยเทคโนโลยีนี้
  • 10:20 - 10:24
    ตอนนี้เราสามารถเผยอารมณ์ที่ซ่อนเร้น
    ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโกหกได้
  • 10:24 - 10:27
    ดังนั้นเราจึงจับโกหกได้
  • 10:27 - 10:30
    โดยไม่ต้องรุกล้ำร่างกาย
  • 10:30 - 10:32
    ทำจากระยะไกลได้ ไม่แพง
  • 10:32 - 10:36
    ด้วยความแม่นยำประมาณ 85%
  • 10:36 - 10:38
    ซึ่งดีกว่าการเดาสุ่มมาก
  • 10:39 - 10:43
    นอกจากนี้ เรายังค้นพบ
    ปรากฏการณ์พิน็อคคิโอ
  • 10:44 - 10:46
    ไม่ใช่แบบนี้นะครับ
  • 10:46 - 10:47
    (เสียงหัวเราะ)
  • 10:47 - 10:50
    นี่คือปรากฏการณ์พิน็อคคิโอของจริง
  • 10:50 - 10:51
    เมื่อคนโกหก
  • 10:51 - 10:55
    การไหลเวียนเลือดไปที่แก้มจะลดลง
  • 10:55 - 10:58
    แต่การไหลเวียนเลือดไปที่จมูกจะเพิ่มขึ้น
  • 10:59 - 11:03
    แน่นอนว่า การโกหกไม่ใช่สถานการณ์เดียว
  • 11:03 - 11:06
    ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ที่ซ่อนเร้น
  • 11:06 - 11:08
    เราจึงตั้งคำถามกับตัวเองว่า
  • 11:08 - 11:10
    นอกจากจับโกหกแล้ว
  • 11:10 - 11:12
    เราจะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้อะไรได้บ้าง
  • 11:13 - 11:17
    การประยุกต์ใช้ด้านหนึ่งคือ
    ในวงการการศึกษา
  • 11:17 - 11:21
    เช่น เทคโนโลยีนี้
    อาจช่วยคุณครูคณิตศาสตร์
  • 11:21 - 11:24
    ระบุว่านักเรียนในชั้นเรียน
  • 11:24 - 11:29
    คนไหนที่กำลังวิตกกังวลสูง
    เกี่ยวกับหัวข้อที่ครูกำลังสอน
  • 11:29 - 11:30
    ครูจะได้ไปช่วยได้
  • 11:31 - 11:34
    เรายังสามารถนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพ
  • 11:34 - 11:37
    เช่น ทุก ๆ วันผมสไกป์หาพ่อแม่ของผม
  • 11:37 - 11:40
    ที่อยู่ห่างไกลออกไปหลายพันไมล์
  • 11:40 - 11:42
    และด้วยเทคโนโลยีนี้
  • 11:42 - 11:46
    ผมไม่เพียงแต่รู้สารทุกข์สุขดิบ
    ของพ่อแม่เท่านั้น
  • 11:46 - 11:52
    แต่ยังเฝ้าติดตามดูอัตราการเต้นของหัวใจ
    ระดับความเครียด
  • 11:52 - 11:55
    อารมณ์ของเขา
    ดูว่าเขาเจ็บปวดอะไรหรือเปล่า
  • 11:56 - 11:58
    บางที ในอนาคต
  • 11:58 - 12:01
    มันอาจจะประเมินความเสี่ยงการเกิดหัวใจวาย
    หรือความดันโลหิตสูงได้ด้วย
  • 12:02 - 12:03
    คุณอาจจะถามว่า
  • 12:03 - 12:09
    เราใช้มันเพื่อเปิดเผยอารมณ์
    ของนักการเมืองด้วยได้ไหม
  • 12:09 - 12:11
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:11 - 12:12
    ตัวอย่างเช่น ระหว่างการอภิปรายโต้แย้ง
  • 12:13 - 12:15
    อืม คำตอบคือ ได้ครับ
  • 12:15 - 12:17
    โดยใช้ภาพจากทีวี
  • 12:17 - 12:21
    เราสามารถตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ
  • 12:21 - 12:23
    อารมณ์ และความเครียดของนักการเมือง
  • 12:23 - 12:27
    และบางที ในอนาคต
    อาจจะบอกได้ว่าเขาโกหกหรือเปล่า
  • 12:27 - 12:30
    เรายังใช้มันในการวิจัยทางการตลาด
  • 12:31 - 12:32
    เช่น เพื่อค้นหาว่า
  • 12:32 - 12:37
    คนชอบสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ หรือเปล่า
  • 12:37 - 12:39
    เรายังอาจใช้มันในการนัดเดท
  • 12:40 - 12:41
    เช่น
  • 12:41 - 12:44
    เมื่อคู่เดทของคุณยิ้ม
  • 12:44 - 12:46
    เทคโนโลยีนี้ช่วยให้คุณบอกได้ว่า
  • 12:47 - 12:49
    เขาชอบคุณจริง ๆ หรือเปล่า
  • 12:49 - 12:51
    หรือแต่พยายามรักษามารยาท
  • 12:52 - 12:54
    และในกรณีนี้
  • 12:54 - 12:55
    เธอแค่พยายามรักษามารยาท
  • 12:55 - 12:58
    (เสียงหัวเราะ)
  • 12:59 - 13:03
    เทคโนโลยีการถ่ายภาพผ่านผิวหนัง
  • 13:03 - 13:06
    ยังเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น
  • 13:06 - 13:10
    คงมีการประยุกต์ใช้ในเรื่องใหม่ ๆ
    ที่ในวันนี้เรายังไม่รู้
  • 13:10 - 13:13
    อย่างไรก็ตาม
    อย่างหนึ่งที่ผมมั่นใจ
  • 13:13 - 13:17
    คือ การโกหกจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
  • 13:17 - 13:18
    ขอบคุณมากครับ
  • 13:18 - 13:19
    เซี่ย เซี่ย [ขอบคุณครับ]
  • 13:19 - 13:23
    (เสียงปรบมือ)
Title:
คุณจับโกหกเด็ก ๆ ได้จริงหรือเปล่า
Speaker:
คัง ลี (Kang Lee)
Description:

เด็ก ๆ โกหกไม่เก่งหรอก ใช่ไหม คุณคิดว่าคุณจับโกหกเด็ก ๆ ได้อย่างง่ายดายใช่หรือเปล่า นักวิจัยด้านพัฒนาการมนุษย์ศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นในทางสรีรวิทยาเมื่อเด็ก ๆ โกหก เด็ก ๆ นั้นโกหกกันมาก เริ่มตั้งแต่อายุสองขวบ แล้วก็ทำได้ดีทีเดียว ลีอธิบายว่าทำไมเราจึงควรเฉลิมฉลองเมื่อลูกเริ่มโกหก และนำเสนอเทคโนโลยีการจับโกหกแบบใหม่ ที่วันหนึ่งอาจช่วยเผยให้เห็นอารมณ์ที่เราซ่อนเร้นไว้ได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
13:36
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Can you really tell if a kid is lying?
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Can you really tell if a kid is lying?
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for Can you really tell if a kid is lying?
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Can you really tell if a kid is lying?
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for Can you really tell if a kid is lying?
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for Can you really tell if a kid is lying?
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for Can you really tell if a kid is lying?
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for Can you really tell if a kid is lying?
Show all

Thai subtitles

Revisions