Return to Video

เราจะยับยั้งวันสิ้นโลกได้หรือไม่?

  • 0:00 - 0:03
    เมื่อสิบปีก่อน ผมเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง
  • 0:03 - 0:06
    ชื่อว่า "ศตวรรษสุดท้าย?"
    ที่มีเครื่องหมายคำถามต่อท้าย
  • 0:06 - 0:09
    สำนักพิมพ์ของผมตัดเครื่องหมายคำถามออก
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:09 - 0:11
    ส่วนสำนักพิมพ์สัญชาติอเมริกันก็เปลี่ยนชื่อมันเป็น
  • 0:11 - 0:15
    "ชั่วโมงสุดท้าย"
  • 0:15 - 0:19
    ชาวอเมริกันชอบความสุขและทุกข์แบบเร่งด่วน
  • 0:19 - 0:20
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:20 - 0:22
    และแนวคิดของมันคือ
  • 0:22 - 0:24
    โลกเราดำรงอยู่มา 45 ล้านศตวรรษแล้ว
  • 0:26 - 0:28
    แต่ศตวรรษสุดท้ายนี้มีสิ่งพิเศษ
  • 0:28 - 0:31
    มันเป็นศตวรรษแรก ที่สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หนึ่ง
    ซึ่งคือมนุษย์เรา
  • 0:31 - 0:34
    กำชะตาของดาวเคราะห์ทั้งดวงไว้
  • 0:34 - 0:36
    ตลอดช่วงอายุของโลกนี้
  • 0:36 - 0:38
    ภัยคุกคามล้วนมาจากธรรมชาติ
  • 0:38 - 0:42
    โรคภัย แผ่นดินไหว อุกกาบาต และอื่นๆ
  • 0:42 - 0:47
    แต่นับจากนี้ อันตรายร้ายแรงที่สุดจะมาจากพวกเรา
  • 0:47 - 0:50
    และมันไม่ใช่แค่ภัยจากอาวุธนิวเคลียร์
  • 0:50 - 0:52
    ในโลกที่เชื่อมโยงถึงกันหมดนี้
  • 0:52 - 0:55
    การล่มของระบบสื่อสารอาจลุกลามไปทั่วโลก
  • 0:55 - 0:59
    การเดินทางโดยเครื่องบินอาจกระจายโรคติดต่อ
    ไปทั่วโลกภายในไม่กี่วัน
  • 0:59 - 1:03
    และสื่อสังคมออนไลน์สามารถกระจายข่าวลือ
    และสร้างความแตกตื่น
  • 1:03 - 1:06
    ด้วยความเร็วแสง
  • 1:06 - 1:09
    เรามัวแต่กลุ้มใจกับปัญหาเล็กน้อย
  • 1:09 - 1:13
    เครื่องบินตก ด้วยเหตุที่เป็นไปได้ยาก
    สารก่อมะเร็งในอาหาร
  • 1:13 - 1:15
    กัมมันตภาพรังสีในระดับต่ำ และอื่นๆ
  • 1:15 - 1:18
    แต่เรา และผู้นำทางการเมืองของเรา
  • 1:18 - 1:22
    กลับอยู่ในภาวะปฏิเสธที่จะเชื่อเรื่องสถานการณ์หายนะ
  • 1:22 - 1:25
    นับว่าโชคดีที่สิ่งเลวร้ายที่สุดยังไม่เกิด
  • 1:25 - 1:28
    จริงๆ แล้วมันอาจจะไม่เกิดขึ้น
  • 1:28 - 1:31
    แต่ถ้าอุบัติการณ์นั้นส่งผลร้ายแรง
  • 1:31 - 1:34
    มันก็ควรได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
  • 1:34 - 1:38
    เพื่อหาทางป้องกัน แม้ว่าโอกาสเกิดขึ้นอาจมีน้อย
  • 1:38 - 1:42
    เช่นเดียวกับที่เราซื้อประกันอัคคีภัย สำหรับบ้านเรา
  • 1:42 - 1:47
    และเมื่อวิทยาศาสตร์ให้อำนาจ
    และความหวัง มากยิ่งขึ้น
  • 1:47 - 1:51
    ผลเสียก็น่ากลัวขึ้นด้วย
  • 1:51 - 1:53
    เราอ่อนแอลงเรื่อยๆ
  • 1:53 - 1:55
    อีกไม่กี่ทศวรรษ
  • 1:55 - 1:57
    ผู้คนนับล้านจะสามารถ
  • 1:57 - 2:00
    ใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
    ไปในทางที่ผิด
  • 2:00 - 2:04
    เช่นเดียวกับที่พวกเขาใช้เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์
    ไปในทางที่ผิด
  • 2:04 - 2:07
    ฟรีแมน เดย์สัน (Freeman Dayson)
    เคยบรรยายใน TED
  • 2:07 - 2:11
    เขาคาดว่า เด็กๆ จะออกแบบ
    และสร้างสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่
  • 2:11 - 2:15
    จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา
    เช่นเดียวกับที่ คนรุ่นเขาเล่นชุดทดลองเคมี
  • 2:15 - 2:18
    นี่อาจฟังเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์สุดโต่ง
  • 2:18 - 2:21
    แต่หากเพียงบางส่วนของสิ่งที่เขาคาดไว้ เกิดเป็นจริงขึ้นมา
  • 2:21 - 2:24
    ระบบนิเวศวิทยาของเรา หรือแม้แต่สายพันธุ์ของเรา
  • 2:24 - 2:28
    คงปลอดภัยได้อีกไม่นาน
  • 2:28 - 2:31
    ยกตัวอย่างเช่น มีนักอนุรักษ์ธรรมชาติหัวรุนแรงบางคน
  • 2:31 - 2:34
    ที่คิดว่าโลกใบนี้คงจะดีกว่านี้
  • 2:34 - 2:37
    ถ้ามีมนุษย์น้อยลงกว่านี้มากๆ
  • 2:37 - 2:40
    อะไรจะเกิดขึ้นถ้าคนพวกนี้
  • 2:40 - 2:42
    เชี่ยวชาญในเรื่อง ชีวภาพสังเคราะห์
  • 2:42 - 2:45
    ซึ่งจะเป็นเรื่องที่แพร่หลายในปี 2050
  • 2:45 - 2:48
    เมื่อถึงตอนนั้น ฝันร้ายอื่นๆ จากนิยายวิทยาศาสตร์
  • 2:48 - 2:50
    อาจเริ่มกลายมาเป็นเรื่องจริง
  • 2:50 - 2:52
    หุ่นยนต์ทึ่มๆ หลุดพ้นจากการควบคุม
  • 2:52 - 2:54
    หรือระบบเครือข่ายที่มีชีวิตจิตใจขึ้นได้เอง
  • 2:54 - 2:57
    และเป็นภัยต่อมวลมนุษย์
  • 2:57 - 3:00
    เราสามารถป้องกันความเสี่ยงเหล่านั้นได้โดยสร้างกฏเกณฑ์
  • 3:00 - 3:03
    ซึ่งเราต้องทำเช่นนั้นแน่ แต่องค์กรเหล่านี้
  • 3:03 - 3:06
    แข่งขันกันรุนแรง มีสาขาทั่วโลก
  • 3:06 - 3:08
    และถูกกดดันด้วยปัจจัยเชิงพาณิชย์
  • 3:08 - 3:11
    จนถึงขั้นที่ ถ้าสิ่งใดก็ตามสามารถทำได้
    มันจะถูกทำที่ไหนสักแห่ง
  • 3:11 - 3:13
    โดยไม่สนใจกฏเกณฑ์
  • 3:13 - 3:17
    เช่นเดียวกับกฏหมายยาเสพติด
    เราพยายามควบคุม แต่ก็ไม่สำเร็จ
  • 3:17 - 3:20
    และโลกเราก็จะมีคนโง่ที่ขาดความยั้งคิด
  • 3:20 - 3:23
    ในระดับที่ไม่ธรรมดา
  • 3:23 - 3:26
    และเช่นเดียวกับที่ผมกล่าวไว้ในหนังสือ
  • 3:26 - 3:29
    เราจะผ่านศตวรรษนี้ไปอย่างยากลำบาก
  • 3:29 - 3:32
    อาจเกิดการถดถอยในสังคมของเรา
  • 3:32 - 3:36
    จริงๆ แล้ว มีโอกาสถึง 50% ที่จะเกิดการถดถอยรุนแรง
  • 3:36 - 3:39
    แต่ เป็นไปได้หรือไม่
    ที่จะมีเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
  • 3:39 - 3:41
    ที่อาจเลวร้ายกว่านั้น
  • 3:41 - 3:45
    เหตุการณ์ที่จะทำลายทุกชีวิตบนโลกนี้
  • 3:45 - 3:48
    เมื่อตอนที่เครื่องเร่งอนุภาคเครื่องใหม่พร้อมใช้งาน
  • 3:48 - 3:49
    บางคนถามอย่างกังวลว่า
  • 3:49 - 3:52
    มันจะทำลายโลกนี้ หรือที่แย่กว่านั้น
  • 3:52 - 3:54
    มันจะฉีกอวกาศออกเป็นเสี่ยงๆ หรือเปล่า
  • 3:54 - 3:58
    โชคดีที่มันได้รับการยืนยันแล้ว
  • 3:58 - 4:00
    ผมและคนอื่นๆ ได้อธิบายว่า
  • 4:00 - 4:02
    ธรรมชาติได้ทำการทดลองนี้
  • 4:02 - 4:04
    มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน
  • 4:04 - 4:06
    โดยการชนกันของรังสีคอสมิก
  • 4:06 - 4:09
    แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ควรต้องระมัดระวัง
  • 4:09 - 4:11
    เมื่อทำการทดลองที่จะสร้างสภาวะ
  • 4:11 - 4:14
    ที่ไม่เคยมีมาก่อนในธรรมชาติ
  • 4:14 - 4:17
    นักชีววิทยาควรหลีกเลี่ยง
    การแพร่กระจายของเชื้อโรค
  • 4:17 - 4:20
    ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม และมีอันตรายรุนแรง
  • 4:20 - 4:24
    อ้อ และอีกอย่าง การที่เราจะหลีกเลี่ยง
  • 4:24 - 4:27
    ความเสี่ยงต่อมหาวิบัติขั้นทำลายล้างนั้น
  • 4:27 - 4:30
    ขึ้นอยู่กับคำถามด้านปรัชญาและศีลธรรม คำถามหนึ่ง
  • 4:30 - 4:32
    ซึ่งก็คือ
  • 4:32 - 4:34
    ลองพิจารณาสองเหตุการณ์
  • 4:34 - 4:40
    เหตุการณ์แรก ทำลาย 90 เปอร์เซนต์ของมนุษยชาติ
  • 4:40 - 4:43
    เหตุการณ์ที่สอง ทำลาย 100 เปอร์เซนต์
  • 4:43 - 4:46
    เหตุการณ์ที่สอง แย่กว่าเหตุการณ์แรก แค่ไหน
  • 4:46 - 4:49
    บางคนจะบอกว่าแย่กว่าแค่ 10 เปอร์เซนต์
  • 4:49 - 4:53
    จำนวนคนตายมีสูงกว่า 10 เปอร์เซนต์
  • 4:53 - 4:55
    แต่ผมเชื่อว่า เหตุการณ์ที่สอง นั้นแย่กว่าแบบเทียบกันไม่ได้
  • 4:55 - 4:58
    ในฐานะนักดาราศาสตร์ ผมไม่เชื่อว่า
  • 4:58 - 5:01
    มนุษย์คือจุดสิ้นสุดของเรื่องนี้
  • 5:01 - 5:04
    ยังมีเวลาอีกห้าพันล้านปี ก่อนดวงอาทิตย์จะขยายตัว
  • 5:04 - 5:07
    และเอกภพคงดำรงอยู่ไปเรื่อยๆ
  • 5:07 - 5:09
    วิวัฒนาการหลังยุคของมนุษย์
  • 5:09 - 5:11
    บนโลกใบนี้ และไกลออกไป
  • 5:11 - 5:14
    อาจจะยืดยาว เช่นเดียวกับวิวัฒนาการของดาร์วิน
  • 5:14 - 5:17
    ที่สร้างเราขึ้นมา และอาจสวยงามยิ่งกว่านั้น
  • 5:17 - 5:20
    จริงๆ แล้ว วิวัฒนาการในอนาคต
    จะเกิดขึ้นเร็วมาก
  • 5:20 - 5:22
    ด้วยตัวช่วยด้านเทคโนโลยี
  • 5:22 - 5:24
    มันจะไม่ช้าในแบบการคัดเลือกทางธรรมชาติ
  • 5:24 - 5:28
    ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงเดิมพันอันยิ่งใหญ่แล้ว
  • 5:28 - 5:32
    เราไม่ควรจะยอมรับความเสี่ยง
    แม้เพียงหนึ่งในพันล้าน
  • 5:32 - 5:34
    ที่จะทำให้มนุษยชาติสูญพันธุ์
  • 5:34 - 5:36
    และทำลายโอกาสอันยิ่งใหญ่นี้
  • 5:36 - 5:38
    เหตุการณ์บางอย่าง ถูกมองว่า
  • 5:38 - 5:40
    เป็นนิยายวิทยาศาสตร์
  • 5:40 - 5:43
    แต่บางเหตุการณ์ก็เป็นจริงได้อย่างน่ากลัว
  • 5:43 - 5:46
    สิ่งสำคัญที่เราควรระลึกไว้ก็คือ สิ่งที่ไม่คุ้นเคย
  • 5:46 - 5:49
    นั้นแตกต่างกับ สิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้นได้
  • 5:49 - 5:51
    อันที่จริง นั่นคือเหตุผลที่พวกเราที่ เคมบริดจ์
  • 5:51 - 5:55
    ก่อตั้งศูนย์ศึกษาขึ้นมา เพื่อที่จะจัดการ
  • 5:55 - 5:57
    ความเสี่ยงต่อการดำรงเผ่าพันธุ์
  • 5:57 - 6:00
    ดูเหมือนว่ามันคุ้มค่าสำหรับคนไม่กี่คน
  • 6:00 - 6:02
    ที่จะมาใคร่ครวญกับหายนะที่อาจเกิดขึ้นได้เหล่านี้
  • 6:02 - 6:05
    และเราก็ต้องการความช่วยเหลือเท่าที่จะหาได้จากคนอื่นๆ
  • 6:05 - 6:08
    เพราะเราคือผู้ปกป้องสิ่งล้ำค้า ซึ่งนั่นก็คือ
  • 6:08 - 6:11
    จุดเล็กๆ สีฟ้า ในห้วงอวกาศอันกว้างใหญ่
  • 6:11 - 6:14
    ดาวเคราะห์ที่ยังมีอนาคตอีก 50 ล้านศตวรรษรออยู่
  • 6:14 - 6:17
    ดังนั้นจงอย่าทำลายอนาคตนั้น
  • 6:17 - 6:19
    และผมจะขอจบด้วยคำกล่าว
  • 6:19 - 6:22
    ของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่
    ปีเตอร์ เมดาวาร์ (Peter Medawar)
  • 6:22 - 6:26
    ซึ่งกล่าวไว้ว่า " ระฆังที่ดังกังวาลสำหรับมนุษยชาติ
  • 6:26 - 6:28
    เปรียบได้ดังกระพรวนของฝูงวัวจากเทือกเขาอัลไพน์
  • 6:28 - 6:30
    มันคล้องอยู่กับคอของเรา
  • 6:30 - 6:33
    และมันคงเป็นความผิดของเรา
  • 6:33 - 6:35
    ที่มันไม่สร้างเสียง และท่วงทำนองอันไพเราะ"
  • 6:35 - 6:38
    ขอบคุณมากครับ
  • 6:38 - 6:40
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เราจะยับยั้งวันสิ้นโลกได้หรือไม่?
Speaker:
เซอร์ มาร์ติน รีส (Sir Martin Rees)
Description:

โลกยุคหลังภัยพิบัติอันไร้ซึ่งมนุษย์ ฟังดูแล้วเหมือนเรื่องจากหนังวิทยาศาสตร์ แต่การบรรยายสั้นๆ และน่าประหลาดใจนี้ ลอร์ด มาร์ติน รีส ขอให้เราลองคิดถึงความเสี่ยงต่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์เรา ภัยอันเกิดจากทั้งเราเอง และธรรมชาติ ที่จะทำลายล้างมนุษยชาติ ในฐานะสมาชิกผู้เป็นห่วงต่อสวัสดิภาพของมนุษยชาติ เขาตั้งคำถามว่า อะไรคือสิ่งเลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้?

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
06:52
Kanawat Senanan approved Thai subtitles for Can we prevent the end of the world?
Pattapon Kasemtanakul edited Thai subtitles for Can we prevent the end of the world?
Pattapon Kasemtanakul edited Thai subtitles for Can we prevent the end of the world?
Pattapon Kasemtanakul edited Thai subtitles for Can we prevent the end of the world?
Pattapon Kasemtanakul accepted Thai subtitles for Can we prevent the end of the world?
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Can we prevent the end of the world?
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Can we prevent the end of the world?
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Can we prevent the end of the world?
Show all

Thai subtitles

Revisions