Return to Video

ทำไมสัตว์ต่าง ๆ จึงมีอายุขัยแตกต่างกัน - ฮวน เพโดร เดอร์ เมกาลเอส (Joao Pedro de Magalhaes)

  • 0:08 - 0:11
    สำหรับหนอนตัวเล็ก ๆ อย่าง C. elegans
    ที่ถูกใช้ในห้องทดลอง
  • 0:11 - 0:15
    ช่วงชีวิตนั้นก็ยาวนาน
    เพียงสองสามสัปดาห์บนโลก
  • 0:15 - 0:20
    เมื่อเทียบกับเต่าบก
    ซึ่งมีอายุได้ยืนยาวกว่า 100 ปี
  • 0:20 - 0:24
    หนูขาวและหนูถึงแก่อายุขัย
    เมื่อย่างเข้าสี่ปี
  • 0:24 - 0:28
    ในขณะที่ วาฬหัวธนู
    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อายุยืนที่สุดในโลก
  • 0:28 - 0:32
    ความตายจะมาเยือน
    ก็ต่อเมื่อมันใช้ชีวิตผ่านไป 200 ปี
  • 0:32 - 0:33
    เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่
  • 0:33 - 0:38
    ร่ายกายของสัตว์ส่วนใหญ่ค่อย ๆ เสื่อมลง
    เมื่อพ้นวัยเจริญพันธุ์
  • 0:38 - 0:41
    ในกระบวนการที่เรียกว่า การแก่ตัว
  • 0:41 - 0:44
    แต่การแก่ตัวมากขึ้นนั้น
    หมายความว่าอย่างไรกันแน่
  • 0:44 - 0:48
    ตัวขับที่อยู่เบื้องหลังกระบวนการนี้
    แตกต่างกันไปและมีความซับซ้อน
  • 0:48 - 0:53
    แต่การแก่ตัวนั้นสุดท้ายแล้วจะก่อให้เกิด
    การตายของเซลล์และการเสื่อมการทำงาน
  • 0:53 - 0:56
    เมื่อเรายังเป็นหนุ่มสาว
    เราสร้างเซลล์ขึ้นใหม่เรื่อย ๆ
  • 0:56 - 0:59
    เพื่อที่จะทดแทนเซลล์ที่ตายและกำลังจะตาย
  • 0:59 - 1:02
    แต่เมื่อเราแก่ตัวมากขึ้น
    กระบวนการดังกล่าวนี้ก็ช้าลง
  • 1:02 - 1:07
    นอกจากนี้ เซลล์ที่แก่ก็ไม่ได้ทำหน้าที่
    ได้ดีเท่ากับเซลล์ที่เด็กกว่า
  • 1:07 - 1:10
    นั่นทำให้ร่างกายของเรา
    เข้าสู่ช่วงการเสื่อมถอย
  • 1:10 - 1:13
    ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ส่งผลให้เกิด
    โรคภัยไข้เจ็บและความตาย
  • 1:13 - 1:16
    แต่ถ้านั่นเป็นความจริง
  • 1:16 - 1:21
    ทำไมจึงมีความแตกต่างอย่างมาก
    ในรูปแบบการแก่ตัวและอายุขัยของสัตว์ต่าง ๆ
  • 1:21 - 1:24
    คำตอบนั้น อยู่ที่ปัจจัยสองสามประการ
  • 1:24 - 1:25
    ที่รวมถึงสิ่งแวดล้อม
  • 1:25 - 1:27
    และขนาดของร่ายกาย
  • 1:27 - 1:31
    สิ่งเหล่านี้เป็นแรงกดดันทางวิวัฒนาการ
    ที่ผลักดันให้สัตว์ปรับตัว
  • 1:31 - 1:36
    ซึ่งในที่สุดจะทำให้กระบวนการการแก่ตัว
    แตกต่างกันไปแล้วแต่สายพันธุ์
  • 1:36 - 1:40
    ลองพิจารณามหาสมุทรแอตแลนติก
    และอาร์คติกที่ลึกและหนาวเย็น
  • 1:40 - 1:43
    ที่ซึ่งฉลามกรีนแลนด์
    สามารถมีอายุได้กว่า 400 ปี
  • 1:43 - 1:48
    และหอยกาบเปลือกหนาที่อาร์คติก
    สามารถมีอายุได้มากถึง 500 ปี
  • 1:48 - 1:51
    บางที สัตว์ดึกดำบรรพ์
    ในมหาสมุทรที่น่าทึ่งที่สุด
  • 1:51 - 1:54
    ก็คือ ฟองน้ำแก้วแอนตาร์คติก
  • 1:54 - 1:58
    ซึ่งสามารถมีชีวิตอยู่ได้ยาวนาน
    10,000 ปี ในน้ำเย็นเยือก
  • 1:58 - 2:04
    ในสิ่งแวดล้อมที่หนาวเย็นเช่นนี้
    อัตราการเต้นของหัวใจและเมตาบอลิซึมต่ำลง
  • 2:04 - 2:09
    นักวิจัยตั้งทฤษฎีว่า นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง
    ที่ทำให้กระบวนการแก่ตัวช้าลง
  • 2:09 - 2:13
    เช่นนี้เอง
    สิ่งแวดล้อมจึงเป็นตัวกำหนดอายุขัย
  • 2:13 - 2:16
    ถ้าพิจารณาเรื่องของขนาด
    สายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่กว่า
  • 2:16 - 2:21
    มักจะมีอายุที่ยืนยาวกว่า
    แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป
  • 2:21 - 2:24
    ยกตัวอย่างเช่น ช้างหรือวาฬ
    จะมีอายุยืนยาวกว่า
  • 2:24 - 2:26
    หนูขาว หนู หรือหนูนา
  • 2:26 - 2:31
    ซึ่งมีอายุยืนยาวกว่าแมลงและหนอน
  • 2:31 - 2:34
    สัตว์ตัวเล็ก ๆ บางชนิด เช่น หนอนหรือแมลง
  • 2:34 - 2:38
    ยังถูกจำกัดด้วยกลไกการแบ่งเซลล์ของพวกมัน
  • 2:38 - 2:42
    พวกมันประกอบด้วยเซลล์ที่ส่วนใหญ่
    ไม่สามารถแบ่งตัวหรือสร้างทดแทนได้เมื่อเสียหาย
  • 2:42 - 2:45
    ฉะนั้น ร่ายกายของพวกมัน
    จึงเสื่อมอย่างรวดเร็ว
  • 2:45 - 2:49
    และขนาดก็เป็นตัวขับทางวิวัฒนาการ
    ที่ทรงพลังในสัตว์ต่าง ๆ
  • 2:49 - 2:52
    สัตว์ที่มีขนาดเล็ก
    จะตกเป็นเป้าของผู้ล่าได้ง่ายกว่า
  • 2:52 - 2:57
    ยกตัวอย่างเช่น หนูแทบจะไม่สามารถ
    มีชีวิตรอดได้มากกว่าปีตามธรรมชาติ
  • 2:57 - 3:01
    ฉะนั้น มันจะต้องมีวิวัฒนาการ
    ที่จะเติบโตและสืบพันธุ์อย่างรวดเร็ว
  • 3:01 - 3:06
    เป็นดังกลไลการตั้งรับทางวิวัฒนาการ
    ต่ออายุขัยที่ไม่ยืนยาวของมัน
  • 3:06 - 3:10
    ตรงข้าม สัตว์ที่ขนาดใหญ่กว่า
    สามารถสู้กับผู้ล่าได้ดีกว่า
  • 3:10 - 3:13
    ฉะนั้นพวกมันจึงมีเวลามากมาย
    ในการเติบโตจนมีขนาดใหญ่
  • 3:13 - 3:16
    และสืบพันธุ์ได้หลายครั้งในช่วงชีวิตของมัน
  • 3:16 - 3:23
    ค้างคาว นก ตุ่น และเต่า
    เป็นตัวอย่างข้อยกเว้นเรื่องกฎของขนาด
  • 3:23 - 3:26
    แต่สัตว์แต่ละชนิดเหล่านี้ มีการปรับตัว
  • 3:26 - 3:29
    ที่ทำให้พวกมันหลบหลีกผู้ล่าได้
  • 3:29 - 3:33
    แต่ก็ยังมีสัตว์ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน
  • 3:33 - 3:35
    เช่น มีขนาดและแหล่งที่อยู่คล้ายกัน
  • 3:35 - 3:38
    ที่มีอัตราการแก่ตัวที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
  • 3:38 - 3:40
    ในกรณีเหล่านี้ ความแตกต่างทางพันธุกรรม
  • 3:40 - 3:43
    เช่น การตอบสนองของเซลล์ต่อภัยคุกคาม
    ของสัตว์ชนิดนั้น ๆ
  • 3:43 - 3:48
    มักเป็นส่วนที่ทำให้เกิดความแตกต่าง
    ในเรื่องของอายุขัย
  • 3:48 - 3:50
    ฉะนั้น มันเป็นผลรวม
    ของปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้
  • 3:50 - 3:53
    ที่ส่งผลในระดับที่แตกต่างกันในสัตว์ต่าง ๆ
  • 3:53 - 3:58
    ที่อธิบายถึงความแตกต่าง
    ที่เราสังเกตได้ในอาณาจักรสัตว์
  • 3:58 - 4:00
    แล้วมนุษย์เราล่ะ
  • 4:00 - 4:04
    มนุษย์มีอายุขับเฉลี่ยประมาณ 71 ปี
  • 4:04 - 4:09
    นั่นหมายความว่า มันเทียบไม่ได้เลยว่า
    เราเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดบนโลก
  • 4:09 - 4:13
    แต่เรานั่นเก่งในเรื่องการยืดอายุขัยของเรา
  • 4:13 - 4:18
    ในยุค 1900 ตอนต้น
    มนุษย์มีอายุขับเฉลี่ยเพียง 50 ปี
  • 4:18 - 4:22
    ตั้งแต่นั้นเป็นตันมา เราเรียนรู้ที่จะปรับตัว
    โดยการจัดการกับหลาย ๆ ปัจจัย
  • 4:22 - 4:23
    ที่เป็นสาเหตุการตาย
  • 4:23 - 4:26
    เช่น การสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมและสารอาหาร
  • 4:26 - 4:29
    สิ่งเหล่านี้ และการเพิ่มขึ้นของอายุขัย
  • 4:29 - 4:32
    ทำให้เราอาจเป็นสายพันธุ์เดียวบนโลก
  • 4:32 - 4:35
    ที่สามารถควบคุม
    ชะตาชีวิตตามธรรมชาติของตัวเองได้
Title:
ทำไมสัตว์ต่าง ๆ จึงมีอายุขัยแตกต่างกัน - ฮวน เพโดร เดอร์ เมกาลเอส (Joao Pedro de Magalhaes)
Speaker:
Joao Pedro de Magalhaes
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/why-do-animals-have-such-different-lifespans-joao-pedro-de-magalhaes

สำหรับหนอนตัวเล็ก ๆ อย่าง C. elegans ที่ถูกใช้ในห้องทดลอง ช่วงชีวิตนั้นก็ยาวนานเพียงสองสามสัปดาห์บนโลก ในทางกลับกัน วาฬหัวธนู สามารถมีชีวิตอยู่ได้มากกว่าสองร้อยปี ทำไมช่วงชีวิตเหล่านี้ถึงแตกต่างกันอย่างมากเช่นนี้ และเอาเข้าจริง ๆ แล้ว คำว่า "อายุ" นั้น มีความหมายว่าอย่างไร ฮวน เพโดร เดอร์ เมกาลเอส อธิบายว่าทำไมจังหวะในการแก่ตัวถึงแตกต่างกันอย่างมากในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย

บทเรียนโดย Joao Pedro de Magalhaes, แอนิเมชันโดย Sharon Colman

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:57

Thai subtitles

Revisions