Problem connecting to Twitter. Please try again.
Problem connecting to Twitter. Please try again.
Problem connecting to Twitter. Please try again.
Problem connecting to Twitter. Please try again.
Problem connecting to Twitter. Please try again.

Return to Video

ห้าศาสนาหลักของโลก - จอห์น เบลไลมีย์ (John Bellaimey)

  • 0:07 - 0:09
    ไม่ว่าในยุคสมัยใดหรือที่ไหน
  • 0:09 - 0:11
    มนุษย์เราต่างสงสัย
  • 0:11 - 0:12
    "ว่าเรามาจากที่ใด
  • 0:12 - 0:14
    มาเพื่อทำสิ่งใดในโลก
  • 0:14 - 0:17
    เมื่อตายไปแล้วเราจะเป็นอย่างไร"
  • 0:17 - 0:19
    ศาสนาคือระบบความเชื่อ
  • 0:19 - 0:21
    ที่เจริญและมีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ
  • 0:21 - 0:22
    เพื่อตอบสนองต่อปริศนาเหล่านี้
  • 0:22 - 0:24
    และอื่น ๆ
  • 0:24 - 0:26
    ที่เรารู้สึกว่าบางคำถาม
  • 0:26 - 0:28
    จะได้รับการคลี่คลายได้
    ก็ด้วยเพียงศรัทธาเท่านั้น
  • 0:28 - 0:29
    และจากการตระหนักรู้ด้วยตนเอง
  • 0:29 - 0:31
    ว่ามีสิ่งที่ยิ่งใหญ่ว่าตัวของเรา
  • 0:31 - 0:34
    มีอำนาจที่อยู่เหนือกว่าเรา
    ที่เราจะต้องขานรับ
  • 0:34 - 0:36
    หรือมีแหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของเราทุกคน
  • 0:36 - 0:38
    และที่ซึ่งเราต้องย้อนกลับไป
  • 0:39 - 0:42
    ฮินดูหมายถึงศาสนาของอินเดีย
  • 0:42 - 0:43
    มันไม่ใช่ศาสนาเพียงศาสนาเดียว
  • 0:43 - 0:45
    แต่เป็นการรวมกลุ่มความเชื่อที่คล้ายกัน
  • 0:45 - 0:47
    และพิธีกรรมทางจิตวิญญาณต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน
  • 0:47 - 0:49
    ย้อนกับไปเมื่อห้าพันปีก่อน
  • 0:49 - 0:50
    ตั้งแต่ยุคของพระกฤษณะ
  • 0:50 - 0:52
    ผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรม
  • 0:52 - 0:54
    จนเป็นที่ถือกันว่า
    ท่านเป็นร่างอวตารของพระวิษณุ
  • 0:54 - 0:57
    เทพที่กลับชาติมาเกิดเป็นมนุษย์
  • 0:57 - 1:00
    ท่านทรงสอนว่าทุกชีวิตเป็นไปตามกรรม
  • 1:00 - 1:01
    ซึ่งก็คือคือกฎแห่งเหตุและผล
  • 1:01 - 1:05
    และเรานั้นต้องทำหน้าที่ของเรา
    ซึ่งก็คือการปฏิบัติธรรม
  • 1:05 - 1:06
    ตามฐานะของตนในสังคม
  • 1:06 - 1:09
    โดยไม่ต้องกังวลถึงผลลัพธ์
  • 1:09 - 1:12
    เมื่อตาย เราจะไปถือเกิดในร่างใหม่
  • 1:12 - 1:14
    หากเราทำตามธรรมของตน
  • 1:14 - 1:16
    และทำหน้าที่ในชาติก่อนได้อย่างเหมาะสม
  • 1:16 - 1:17
    เราจะได้รับกรรมดี
  • 1:17 - 1:20
    ซึ่งจะส่งให้วิญญาณของเรา
    อยู่ในระดับสังคมที่สูงขึ้น
  • 1:20 - 1:22
    ชีวิตในชาติหน้าของเรา
  • 1:22 - 1:25
    จึงขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราทำในชาตินี้
  • 1:25 - 1:28
    วัฎจักรการเกิดใหม่นี้เรียกว่า สังสาระ
  • 1:28 - 1:30
    มันเป็นไปได้สำหรับผู้ที่เคร่งศาสนามาก ๆ
  • 1:30 - 1:33
    ที่ตลอดชีวิตได้ทำกรรมดีเอาไว้มากพอ
  • 1:33 - 1:34
    ที่จะสามารถหลุดพ้นจากสังสารวัฏได้
  • 1:34 - 1:37
    การหลุดพ้นที่ว่านี้เรียกว่า โมกษะ
  • 1:37 - 1:40
    ฮินดูสอนว่าทุกสิ่งเป็นหนึ่งเดียว
  • 1:40 - 1:41
    ทั้งจักรวาล
  • 1:41 - 1:44
    คือสัจธรรมเดียวที่อยู่เหนืออื่นใด
    ที่เรียกว่า พรหม
  • 1:44 - 1:46
    และพรหมมีอยู่เพียงหนึ่งเดียว
  • 1:46 - 1:47
    แต่มีเทพอยู่ในพรหมมากมาย
  • 1:47 - 1:50
    แต่ละองค์มีบทบาท รูปลักษณะ
    และคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
  • 1:50 - 1:52
    ตามธรรมเนียมต่าง ๆ
  • 1:52 - 1:54
    พระพรหมคือผู้สร้าง
  • 1:54 - 1:56
    พระวิษณุคือผู้รักษา
  • 1:56 - 1:59
    ซึ่งบางครั้งทรงร่างมนุษย์
  • 1:59 - 2:01
    และพระศิวะคือผู้ทำลาย
  • 2:01 - 2:03
    หรือนาฏราช
  • 2:03 - 2:06
    ทุรคาคือพระมารดาผู้ปกป้องที่ดุดัน
  • 2:06 - 2:08
    พระคเณศมีเศียรเป็นช้าง
  • 2:08 - 2:11
    เป็นองค์อุปถัมภ์ความสำเร็จ
  • 2:11 - 2:15
    ฮินดูเป็นศาสนาที่ใหญ่เป็นลำดับสามของโลก
  • 2:15 - 2:17
    และถึงแม้ว่าชาวฮินดูส่วนมาก
    จะอยู่ในประเทศอินเดีย
  • 2:17 - 2:19
    แต่พวกเขาก็อาศัยอยู่ในทุกทวีป
  • 2:19 - 2:21
    ถึงหนึ่งพันล้านคน
  • 2:22 - 2:23
    เอาล่ะ ไปทางตะวันตกกันบ้าง
  • 2:23 - 2:25
    ข้ามทะเลทรายและภูเขา
  • 2:25 - 2:28
    ไปยังอู่ข้าวอู่น้ำเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน
  • 2:28 - 2:30
    ศาสนายูดาห์เกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าทรงเรียก
  • 2:30 - 2:33
    อับราฮัมและซาราห์
    ให้อพยพจากเมโสโปเตเมีย
  • 2:33 - 2:35
    ไปยังดินแดนแห่งคานาอัน
  • 2:35 - 2:38
    เพื่อตอบแทนศรัทธาของพวกเขา
    ที่มีต่อพระเจ้าองค์เดียวนั้น
  • 2:38 - 2:40
    ซึ่งนั่นเป็นแนวคิดใหม่
  • 2:40 - 2:42
    ในยุคพหุเทวนิยมในตอนนั้น
  • 2:42 - 2:46
    พระเจ้าสัญญาจะให้แผ่นดิน
    และทายาทกับพวกเขามากมาย
  • 2:46 - 2:48
    ด้วยพันธสัญญานี้
    จึงกำเนิดประเทศอิสราเอล
  • 2:48 - 2:49
    และผู้ที่พระเจ้าทรงเลือก
  • 2:49 - 2:51
    แต่การอาศัยในดินแดนนั้น
  • 2:51 - 2:52
    และการรวมให้ทุกคนอยู่ร่วมกัน
  • 2:52 - 2:54
    เป็นเรื่องยากมาก
  • 2:54 - 2:57
    ชาวอิสราเอลตกเป็นทาสในอียิปต์
  • 2:57 - 2:59
    แต่พระเจ้าทรงปลดปล่อยพวกเขา
  • 2:59 - 3:00
    ด้วยความช่วยเหลือ
    จากศาสดาโมเสส
  • 3:00 - 3:02
    ผู้ได้รับบัญญัติสิบประการ
  • 3:02 - 3:05
    และบัญญัติอีกหลายร้อยประการ
    ในเวลาต่อมา
  • 3:05 - 3:06
    พวกเขาพิชิตดินแดนแห่งพันธสัญญา
  • 3:06 - 3:09
    แต่รักษามันเอาไว้ได้เพียงไม่กี่ร้อยปี
  • 3:09 - 3:11
    อิสราเอลอยู่ในจุดตัดผ่าน
  • 3:11 - 3:13
    ของกองทัพมากมาย
  • 3:13 - 3:14
    ตลอดหลายศตวรรษ
  • 3:14 - 3:16
    ในปี ค.ศ. 70
  • 3:16 - 3:17
    พวกโรมันทำลายโบสถ์
  • 3:17 - 3:19
    ในนครเยรูซาเลม
    เมืองหลวงของพวกเขา
  • 3:19 - 3:21
    ฉะนั้น ศาสนาจึงเปลี่ยนแปลงไป
  • 3:21 - 3:22
    จากศาสนาที่มีโบสถ์
  • 3:22 - 3:24
    มีการบูชายัญและนักบวช
  • 3:24 - 3:26
    ไปเป็นศาสนายึดถือคัมภีร์แทน
  • 3:26 - 3:28
    ด้วยเหตุนี้ยูดาห์จึงเป็นศาสนา
  • 3:28 - 3:31
    แห่งสัญลักษณ์ ความยำเกรง
    และความหมายอันล้ำซึ้ง
  • 3:31 - 3:34
    ที่ผูกพันกับวรรณกรรม
    ที่เกี่ยวกับประวัติของมัน
  • 3:34 - 3:35
    คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์หลายเล่มคัมภีร์
    ประกอบรวมกัน
  • 3:35 - 3:37
    เป็นทานัคหรือไบเบิ้ลของฮีบรู
  • 3:37 - 3:40
    และบันทึกถึงการอภิปราย
    และการตีความมากมาย
  • 3:40 - 3:42
    ถูกรวบรวมเอาไว้เป็นประมวลบันทึก
  • 3:42 - 3:43
    แห่งความหมายเชิงลึก
  • 3:43 - 3:45
    ที่เรียกว่า ทัลมุด
  • 3:45 - 3:48
    ชาวยิวเสาะหาความหมายมากมาย
    ที่เปี่ยมไปด้วยสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน
  • 3:48 - 3:49
    ณ มื้ออาหารในวันปัสกา
  • 3:49 - 3:51
    ทุกสิ่งทุกอย่างในรายการอาหาร
    เป็นสัญลักษณ์ของ
  • 3:51 - 3:54
    มุมมองของการหลุดพ้น
    จากความเป็นทาส
  • 3:54 - 3:55
    ความสำคัญต่อการเติบโต
  • 3:55 - 3:57
    ถูกเน้นย้ำให้เมื่อเด็ก
  • 3:57 - 3:59
    มีอายุถึงบาร์และบัทมิซวาห์
  • 3:59 - 4:01
    ซึ่งคือการฉลองแห่งเจริญสู่วัย
    ที่ได้มาซึ่งความรับผิดชอบ
  • 4:01 - 4:02
    ต่อการกระทำของตน
  • 4:02 - 4:04
    และการฉลองการร้อยเรียง
  • 4:04 - 4:05
    ชีวิตของตน
  • 4:05 - 4:07
    ให้เข้าสู่ศรัทธา ประวัติศาสตร์
    และบันทึกอักษร
  • 4:07 - 4:08
    ของคัมภีร์ของชาวยิว
  • 4:08 - 4:11
    มีชาวยิว 14 ล้านคนทั่วโลกในปัจจุบัน
  • 4:11 - 4:13
    6 ล้านคนอยู่ในอิสราเอล
  • 4:13 - 4:14
    ซึ่งได้รับอิสระ
  • 4:14 - 4:17
    หลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
    ในสงครามโลกครั้งที่สอง
  • 4:17 - 4:20
    และอีก 5 ล้านคนอยู่ในสหรัฐฯ
  • 4:20 - 4:24
    แต่ตอนนี้ มาย้อนเวลากลับไป
    2,500 ปีก่อน และกลับไปที่อินเดีย
  • 4:24 - 4:25
    ที่ซึ่งศาสนาพุทธถือกำเนิดขึ้น
  • 4:25 - 4:28
    จากเจ้าชายหนุ่มนามว่า สิทธัตถะ
  • 4:28 - 4:29
    ในคืนที่ทรงมาจุติในครรภ์
    ของพระมารดา
  • 4:29 - 4:31
    พระนางมายา
  • 4:31 - 4:33
    พระมารดาของพระองค์ทรงพระสุบิน
  • 4:33 - 4:36
    ว่ามีช้างเผือกมาหาที่ข้างพระองค์
  • 4:36 - 4:38
    สิบเดือนต่อมา
    เจ้าชายสิทธัตถะก็ประสูติ
  • 4:38 - 4:40
    ท่ามกลางทรัพย์สมบัติมากมาย
  • 4:40 - 4:42
    เมื่อได้ทรงออกไปจากราชฐาน
  • 4:42 - 4:43
    ที่ทรงอาศัยอยู่เมื่อครั้งเป็นมาณพ
  • 4:43 - 4:45
    ก็ได้เสด็จไปเห็น
    ความทุกข์ทรมานของมนุษย์
  • 4:45 - 4:46
    ที่พระองค์ไม่เคยได้พบมาก่อน
  • 4:46 - 4:49
    จึงทรงออกไปค้นหา
    ต้นตอแห่งทุกข์ทันที
  • 4:49 - 4:52
    เหตุใดมนุษย์ต้องเผชิญทุกข์
  • 4:52 - 4:55
    เราต้องเวียนว่ายตายเกิด
    เป็นร้อยครั้งพันครั้งด้วยหรือ
  • 4:55 - 4:56
    แรกเริ่มทรงคิดว่าปัญหานั้น
  • 4:56 - 4:58
    เกิดจากการยึดติดวัตถุ
  • 4:58 - 5:00
    พระองค์จึงทรงสละสมบัติ
  • 5:00 - 5:02
    ทรงไปเป็นภิกขาจาร
  • 5:02 - 5:05
    ทว่า นั่นก็ไม่ได้ทำให้ทรงมีความสุข
    มากขึ้นแต่อย่างใด
  • 5:05 - 5:08
    จนเมื่อทรงได้ยินครูสอนดนตรี
    ที่บอกกับศิษย์ว่า
  • 5:08 - 5:10
    "อย่าขึ้นสายให้ตึงนัก มันจะขาดเอาได้
  • 5:10 - 5:12
    แต่ก็อย่าให้หย่อนยานจนเกินไป
  • 5:12 - 5:14
    เพราะเสียงจะไม่ดัง"
  • 5:14 - 5:15
    ทันใดนั้นเอง
    พระองค์ทรงตระหนักว่า
  • 5:15 - 5:17
    การทุ่มเทสุดโต่งเพื่อหาคำตอบนั้น
  • 5:17 - 5:18
    ไม่ถูกต้อง
  • 5:18 - 5:21
    "ทางสายกลางระหว่าง
    ความฟุ่มเฟือยกับความข้นแค้น"
  • 5:21 - 5:22
    น่าจะเหมาะสมที่สุด
  • 5:22 - 5:24
    และเมื่อทรงนั่งสมาธิที่ใต้ต้นโพธิ์
  • 5:24 - 5:27
    คำตอบอื่น ๆ ก็พรั่งพรูเข้ามา
  • 5:27 - 5:29
    ทุกชีวิตเต็มไปด้วยความทุกข์
  • 5:29 - 5:31
    ซึ่งเกิดจากความเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้
  • 5:31 - 5:35
    เพื่อตนเองโดยการเบียดเบียนผู้อื่น
  • 5:35 - 5:36
    การปฏิบัติตามหลักแปดประการ
  • 5:36 - 5:38
    จะสอนให้เราลดกิเลส
  • 5:38 - 5:41
    และจึงเป็นการลดความทุกข์ลงได้
  • 5:41 - 5:44
    วันนั้น เจ้าชายสิทธัตถะ
    ได้กลายเป็นพระพุทธเจ้า
  • 5:44 - 5:45
    ซึ่งหมายถึง ผู้รู้แจ้ง
  • 5:45 - 5:48
    ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว
    แต่ทรงเป็นองค์แรก
  • 5:48 - 5:49
    แนวทางของพระพุทธเจ้าเรียกว่า
  • 5:49 - 5:50
    อริยมรรค
  • 5:50 - 5:52
    และถึงแม้ว่าการปฏิบัติตามนั้น
    อาจไม่ได้ทำได้โดยง่าย
  • 5:52 - 5:53
    แต่มันก็ได้ชี้ทาง
  • 5:53 - 5:55
    ให้ผู้คนหลายล้านได้รู้แจ้ง
  • 5:55 - 5:57
    ซึ่งนั่นก็คือความหมายของศาสนาพุทธ
  • 5:57 - 5:58
    นั่นคือมีความกรุณา
  • 5:58 - 5:59
    รู้ตน
  • 5:59 - 6:00
    สงบ
  • 6:00 - 6:02
    และแน่วแน่
  • 6:02 - 6:04
    นับแต่พระองค์ตรัสรู้ใต้พระศรีมหาโพธิ์
  • 6:04 - 6:06
    จวบจนปรินิพพานเมื่อชรา
  • 6:06 - 6:08
    พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนวิธีสู่ความรู้แจ้ง
  • 6:08 - 6:09
    มีวาจาชอบ
  • 6:09 - 6:10
    มีเป้าหมายชอบ
  • 6:10 - 6:12
    จิตตั้งมั่นแต่ในความเป็นจริง
  • 6:12 - 6:15
    และมีใจมุ่งรักผู้อื่น
  • 6:15 - 6:17
    ชาวพุทธจำนวนมากเชื่อว่า
    มีพระเจ้าหรือเทพ
  • 6:17 - 6:20
    แต่การกระทำนั้นสำคัญกว่าความเชื่อ
  • 6:20 - 6:22
    มีชาวพุทธเกือบหนึ่งพันล้านคน
  • 6:22 - 6:23
    ในโลกของเราทุกวันนี้
  • 6:23 - 6:27
    ส่วนมากอยู่ในเอเชียตะวันออก
    ตะวันออกเฉียงใต้และใต้
  • 6:28 - 6:31
    เมื่อ 2,000 ปีก่อน
    ศาสนาคริสต์ถือกำเนิดขึ้น
  • 6:31 - 6:33
    ในดินแดนแห่งพันธสัญญาของยิว
  • 6:33 - 6:36
    เช่นเดียวกับที่ชาวฮินดูเชื่อว่า
    พระกฤษณะคือเทพในร่างมนุษย์
  • 6:36 - 6:39
    ชาวคริสต์ก็กล่าวถึงพระเยซูลักษณะนั้น
  • 6:39 - 6:40
    ศาสนาคริสต์แยกตัวออกมา
    จากศาสนายูดาห์
  • 6:40 - 6:43
    เช่นเดียวกับที่ศาสนาพุทธ
    แยกตัวออกมาจากศาสนาฮินดู
  • 6:43 - 6:46
    พระเจ้าของอับราฮัม
    ส่งเทวทูตกาเบรียล
  • 6:46 - 6:48
    ลงมาเพื่อมาขอให้หญิงสาวชื่อ แมรี
  • 6:48 - 6:50
    เป็นมารดาของพระบุตรของพระองค์
  • 6:50 - 6:52
    พระบุตรนั้นคือ พระเยซู
  • 6:52 - 6:53
    ผู้ถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัวของช่างไม้
  • 6:53 - 6:55
    โดยมีแมรีและโจเซฟผู้สามีเป็นพ่อแม่
  • 6:55 - 6:57
    จนกระทั่งอายุ 30 ปี
  • 6:57 - 6:59
    จึงทรงเริ่มรับใช้ประชาชน
  • 6:59 - 7:01
    ในฐานะผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า
  • 7:01 - 7:03
    ด้วยความที่ทรงให้ความสำคัญ
    ในเรื่องศาสนา
  • 7:03 - 7:04
    น้อยกว่าความยุติธรรมและเมตตา
  • 7:04 - 7:07
    พระเยซูทรงรักษาผู้ป่วยเพื่อดึงผู้คนเข้ามา
  • 7:07 - 7:10
    แล้วจึงสอนให้พวกเขารู้จักพระบิดาบนสวรรค์
  • 7:10 - 7:13
    ความรัก, การให้อภัย และการเอาใจใส่
  • 7:13 - 7:15
    จากนั้น พระองค์ทรงเชิญทุกคนนั่งร่วมโต๊ะกัน
  • 7:15 - 7:17
    เพื่อบรรยายถึงอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า
  • 7:17 - 7:22
    คนจรจัด คนบาป และนักบุญ
    ต่างกินร่วมโต๊ะรับประทานอาหารกัน
  • 7:22 - 7:23
    พระองค์มีเวลาเพียงสามปีเท่านั้น
  • 7:23 - 7:24
    ก่อนที่แนวคิดปรัชญาของพระองค์
    ที่ต่างจากคนทั่วไป
  • 7:24 - 7:26
    จะส่งผลร้ายต่อพระองค์
  • 7:26 - 7:27
    พระองค์ทรงถูกจับโดยศัตรู
  • 7:27 - 7:29
    และถูกตัดสินประหารชีวิตโดยกรุงโรม
  • 7:29 - 7:30
    ด้วยวิธีการตามโทษฐานความผิด
  • 7:30 - 7:33
    ข้อผู้ที่ปลุกปั่นประชาชน
  • 7:33 - 7:34
    ซึ่งก็คือการตรึงไม้กางเขน
    จนถึงแก่ความตาย
  • 7:34 - 7:36
    แต่ไม่นานหลังจากที่พระศพถูกฝัง
  • 7:36 - 7:38
    บรรดาหญิงกลุ่มหนึ่งก็พบว่า
    หลุมศพของพระองค์นั้นว่างเปล่า
  • 7:38 - 7:40
    และบอกต่อข่าวนั้นไปอย่างรวดเร็ว
  • 7:40 - 7:43
    ว่าพระองค์นั้นทรงฟื้นจากความตาย
  • 7:43 - 7:44
    ชาวคริสต์กลุ่มแรกบรรยายว่า
  • 7:44 - 7:46
    ทรงฟื้นคืนชีพของพระองค์
  • 7:46 - 7:49
    บันดาลใจคนให้เชื่อมั่นว่า
    ว่าสาส์นจากพระองค์นั้นเป็นความจริง
  • 7:49 - 7:53
    สาส์นนั้นคือ จงรักกันและกัน
    เหมือนดังที่เรารักท่าน
  • 7:53 - 7:55
    ชาวคริสต์ฉลองการประสูติของพระองค์
  • 7:55 - 7:57
    ในเดือนธันวาคม ในวันคริสต์มาส
  • 7:57 - 8:00
    ฉลองการทนทุกข์ ความตาย และคืนชีพ
    ของพระองค์
  • 8:00 - 8:02
    ในสัปดาห์ศักดิ์สิทธ์ช่วงฤดูใบไม้ผลิ
  • 8:02 - 8:03
    ในพิธีศีลล้างบาป
  • 8:03 - 8:05
    ซึ่งคือการชำระล้างขจัดบาป
  • 8:05 - 8:07
    และการต้อนรับเข้าสู่สังคมชาวคริสต์
  • 8:07 - 8:09
    ระลึกถึงการล้างบาปของพระเยซูเอง
  • 8:09 - 8:11
    เมื่อพระองค์สละชีวิตช่างไม้
  • 8:11 - 8:12
    ในพิธีศีลมหาสนิท
  • 8:12 - 8:14
    ชาวคริสต์กินขนมปังและดื่มไวน์
  • 8:14 - 8:17
    ซึ่งถือเสมือนร่างกายและพระโลหิต
    ของพระเยซู
  • 8:17 - 8:20
    ระลึกถึงอาหารมื้อสุดท้ายของพระองค์
  • 8:20 - 8:22
    ทั่วโลกมีชาวคริสต์อยู่สองพันล้านคน
  • 8:22 - 8:26
    เท่ากับเกือบหนึ่งในสามของประชากรโลก
  • 8:27 - 8:30
    ศาสนาอิสลามถือกำเนิดขึ้น
    เมื่อ 1,400 ปีที่แล้ว
  • 8:30 - 8:31
    เมื่อบุรุษผู้เปี่ยมคุณธรรม
  • 8:31 - 8:33
    ทำสมาธิอยู่ในถ้ำ
  • 8:33 - 8:35
    กลางทะเลทรายอาหรับ
  • 8:35 - 8:37
    พระองค์คือพระมูฮัมหมัด
  • 8:37 - 8:39
    ผู้ส่งสาส์นศักดิ์สิทธิ์ได้มาหาพระองค์
  • 8:39 - 8:41
    เช่นเดียวกันกับเทวทูตกาเบรียล
  • 8:41 - 8:43
    หรือที่เรียกในในภาษาอาหรับ ญิบรีล
  • 8:43 - 8:46
    เพื่อนำพระวจนะของพระอัลลอฮ์
  • 8:46 - 8:48
    หรือพระเจ้าองค์เดียวของอับราฮัม
    มาให้กับพระองค์
  • 8:48 - 8:49
    ในช่วงไม่กี่ปีต่อมา
  • 8:49 - 8:51
    สาสน์จากพระเจ้าก็ถูกส่งมาเรื่อย ๆ
  • 8:51 - 8:53
    และพระองค์ก็ทรงจดจำเอาไว้และสอนผู้คน
  • 8:53 - 8:56
    โคลงที่ทรงใช้สวดนั้น
    เต็มไปด้วยคำคม
  • 8:56 - 8:57
    คำคล้องจองที่สละสลวย
  • 8:57 - 8:59
    และอุปมาปริศนา
  • 8:59 - 9:02
    แต่พระมูฮัมหมัดเป็นพ่อค้า ไม่ใช่นักกวี
  • 9:02 - 9:03
    หลายคนจึงเชื่อว่าโคลงเหล่านั้น
  • 9:03 - 9:05
    เป็นพระวจนะจากพระเจ้าจริง ๆ
  • 9:05 - 9:08
    ผู้ที่มีความเชื่อเหล่านี้
    กลายเป็นชาวมุสลิมกลุ่มแรก
  • 9:08 - 9:11
    คำว่ามุสลิมแปลว่าผู้ภักดี
  • 9:11 - 9:14
    หมายถึงผู้ที่เชื่อฟังพระประสงค์
    ของพระผู้เป็นเจ้า
  • 9:14 - 9:16
    ฐานบัญญัติห้าประการ
  • 9:16 - 9:19
    หรือหน้าที่สำคัญของชาวมุสลิมได้แก่
  • 9:19 - 9:22
    ชาฮาดา
    คือการปฏิญาณตนของชาวมุสลิมที่ว่า
  • 9:22 - 9:25
    ไม่มีพระเจ้าอื่นใดอีกนอกจากพระอัลลอฮ์
  • 9:25 - 9:28
    และพระมูฮัมหมัด
    คือศาสดาองค์สุดท้ายของพระองค์
  • 9:28 - 9:31
    ซาลัต คือทำละหมาดวันละห้าครั้ง
    โดยหันหน้าไปทางกรุงเมกกะ
  • 9:31 - 9:34
    ซะกาต คือชาวมุสลิมทุกคน
  • 9:34 - 9:38
    ต้องบริจาครายได้สุทธิ
    ร้อยละ 2 ถึง 3 ให้กับผู้ยากไร้
  • 9:38 - 9:41
    เซาว์ คือพวกเขาต้องอดอาหาร
    ระหว่างช่วงเวลาที่ตะวันยังไม่ตกดิน
  • 9:41 - 9:43
    ในเดือนรอมฎอนตามปฏิทินจันทรคติ
  • 9:43 - 9:45
    เพื่อฝึกความยึดมั่นศรัทธา
  • 9:45 - 9:47
    และความไว้วางใจในพระเจ้า
  • 9:47 - 9:50
    และฮัจญ์ ซึ่งคือในชั่วชีวิตหนึ่ง
    ของชาวมุสลิม
  • 9:50 - 9:52
    หากเป็นไปได้
    พวกเขาต้องไปแสวงบุญ
  • 9:52 - 9:53
    ที่นครเมกกะอันศักดิ์สิทธิ
  • 9:53 - 9:54
    ฝึกตนให้พร้อมไว้
  • 9:54 - 9:56
    เมื่อถึงเวลาที่พวกเขา
    จะต้องยืนอยู่ต่อหน้าพระเจ้า
  • 9:56 - 9:58
    เพื่อรับการพิพากษาว่าควรหรือไม่
  • 9:58 - 10:00
    ที่พวกเขาจะมีชีวิตนิรันดร์
    อยู่กับพระองค์
  • 10:00 - 10:02
    พระวจนะของพระเจ้า
  • 10:02 - 10:04
    ที่ได้ถูกเผยแผ่ต่อพระศาสดา
    มาตลอด 23 ปี
  • 10:04 - 10:06
    ถูกรวบรวมเอาไว้ในพระคัมภีร์กุรอาน
  • 10:06 - 10:10
    ซึ่งแปลตามตรงได้ว่าว่า "การสวด"
  • 10:10 - 10:12
    ชาวมุสลิมเชื่อว่า
    นี่คือคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์เพียงเล่มเดียว
  • 10:12 - 10:14
    ที่ไร้ซึ่งทุจริตจากมนุษย์
  • 10:14 - 10:16
    หลายคนยังยกย่องอีกว่า
  • 10:16 - 10:17
    มันเป็นวรรณกรรมที่งดงามที่สุด
  • 10:17 - 10:19
    ในภาษาอาหรับ
  • 10:19 - 10:22
    ศาสนาอิสลามเป็นศาสนา
    ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก
  • 10:22 - 10:26
    นับถือโดยชาวมุสชิมทั่วโลก
    มากกว่าหนึ่งพันห้าร้อยล้านคน
  • 10:27 - 10:29
    ศาสนาได้ทำหน้าที่
    เป็นมุมมองหนึ่งของวัฒนธรรม
  • 10:29 - 10:31
    มานับตั้งแต่มันถือกำเนิดขึ้น
  • 10:31 - 10:34
    และมีรูปแบบต่าง ๆ มากมาย
  • 10:34 - 10:36
    แต่สิ่งที่ทุกศาสนามีร่วมกัน
  • 10:36 - 10:38
    ก็คือการแสวงหาความหมาย
  • 10:38 - 10:39
    ที่อยู่เหนือความทะนงตนอันว่างเปล่า
  • 10:39 - 10:42
    และการมีชีวิตอยู่
    โดยมิได้รู้ซึ้งถึงความเป็นจริง
  • 10:42 - 10:43
    เหนือกว่าบาป
  • 10:43 - 10:44
    ความทุกข์
  • 10:44 - 10:46
    และความตาย
  • 10:46 - 10:47
    เหนือความกลัว
  • 10:47 - 10:49
    และเหนือกว่าตัวเราเอง
Title:
ห้าศาสนาหลักของโลก - จอห์น เบลไลมีย์ (John Bellaimey)
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-five-major-world-religions-john-bellaimey

เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะพยายามหาคำตอบให้คำถามที่ว่า "เรามาจากไหน" และ "ฉันจะใช้ชีวิตให้มีความหมายได้อย่างไร" คำถามเกี่ยวกับการดำรงอยู่เช่นนี้เป็นแกนของห้าศาสนาหลักของโลก แต่ทั้งห้าศาสนาไม่ได้สัมพันธ์กันเพียงแค่นั้น จอห์น เบลไลมีย์ อธิบายประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เกี่ยวพันกันของศาสนาฮินดู, ศาสนายูดาห์, ศาสนาพุทธ, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม

บทเรียนโดย John Bellaimey, แอนิเมชันโดย TED-Ed

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
11:10
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Panaya Hasitabhan accepted Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Panaya Hasitabhan edited Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The five major world religions - John Bellaimey
Show all

Thai subtitles

Revisions