Return to Video

ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของผม ให้ชุมชนมีส่วนร่วมสิ

  • 0:01 - 0:03
    หากมีพลังใดในการออกแบบ
  • 0:03 - 0:06
    นั่นก็คือพลังแห่งการสังเคราะห์
  • 0:06 - 0:07
    โจทย์ยิ่งซับซ้อนเท่าใด
  • 0:07 - 0:10
    ก็ยิ่งต้องการความเรียบง่ายเท่านั้น
  • 0:10 - 0:12
    ให้ผมเล่าให้ฟังสามกรณีนะครับ
  • 0:12 - 0:14
    ที่เราพยายามประยุกต์
  • 0:14 - 0:17
    พลังในการสังเคราะห์ของการออกแบบ
  • 0:17 - 0:21
    เริ่มที่ความท้าทายของโลก
    ในการสร้างพื้นที่เมือง
  • 0:21 - 0:25
    ความจริงก็คือ ผู้คนต่างอพยพเข้าเมือง
  • 0:25 - 0:28
    ถึงจะขัดกับความรู้สึกบ้าง
    แต่มันก็เป็นข่าวดีครับ
  • 0:28 - 0:32
    มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า
    ในเมืองผู้คนมีข้อได้เปรียบมากกว่า
  • 0:32 - 0:35
    แต่ก็มีปัญหา ที่ผมจะเรียกว่า
  • 0:35 - 0:37
    ภัยคุกคาม 3S
  • 0:37 - 0:40
    ขนาด ความเร็ว และการขาดแคลนรายได้
  • 0:40 - 0:43
    ซึ่งเราควรตระหนักถึงปรากฎการณ์เหล่านี้
  • 0:43 - 0:45
    ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์
  • 0:45 - 0:47
    เพื่อให้นึกภาพออกนะครับ
  • 0:47 - 0:50
    วันนี้ ในสามพันล้านคนที่อาศัยอยู่ในเมือง
  • 0:50 - 0:53
    มีหนึ่งล้านคนที่อยู่ใต้เส้นความยากจน
  • 0:53 - 0:57
    เมื่อถึงปี 2030 ในห้าพันล้านคน
  • 0:57 - 0:59
    ที่จะอยู่อาศัยในเมือง
  • 0:59 - 1:03
    สองพันล้านคนจะอยู่ใต้เส้นความยากจน
  • 1:03 - 1:07
    ซึ่งนั่นหมายความว่า เราจำเป็นต้องสร้าง
  • 1:10 - 1:16
    เมืองสำหรับคนหนึ่งล้านคนต่อสัปดาห์
  • 1:18 - 1:24
    ด้วยเงินหนึ่งหมื่นดอลลาร์ต่อครอบครัว
  • 1:24 - 1:25
    ในช่วง 15 ปีที่จะมาถึงนี้
  • 1:25 - 1:28
    เมืองสำหรับคนหนึ่งล้านคนต่อสัปดาห์
  • 1:28 - 1:30
    ด้วยเงินหนึ่งหมื่นดอลลาร์ต่อครอบครัว
  • 1:30 - 1:32
    ถ้าหากเราไม่แก้สมการนี้
  • 1:32 - 1:34
    ก็ไม่ได้แปลว่าผู้คนจะหยุดย้ายเข้ามาในเมือง
  • 1:34 - 1:36
    อย่างไรพวกเขาก็จะมาอยู่ดี
  • 1:36 - 1:39
    แต่พวกเขาจะอาศัยในสลัม ชุมชนแออัด
  • 1:39 - 1:40
    และที่อยู่อาศัยนอกระบบ
  • 1:40 - 1:43
    งั้นจะทำอย่างไรดี ครับ
    คำตอบนั้นอาจมา
  • 1:43 - 1:48
    จากชุมชนแออัดและสลัมนั่นเอง
  • 1:48 - 1:51
    คำใบ้อาจอยู่ในโจทย์ที่เราได้ตั้งไว้
  • 1:51 - 1:53
    10 ปีก่อน
  • 1:53 - 1:57
    เราได้ถูกขอให้ช่วยสร้างที่อยู่
    สำหรับ 100 ครอบครัว
  • 1:57 - 1:59
    ที่ยึดครองพื้นที่กันอย่างผิดกฏหมาย
  • 1:59 - 2:01
    ในที่ดินขนาดครึ่งเฮคเตอร์บริเวณใจกลางเมือง
  • 2:01 - 2:04
    ที่ชื่อว่าอิกิเก ทางตอนเหนือของชิลึ
  • 2:04 - 2:07
    โดยใช้เงินอุดหนุนหนึ่งหมื่นดอลลาร์
  • 2:07 - 2:10
    ซึ่งเราต้องใช้ซื้อที่ดิน
  • 2:10 - 2:12
    สร้างโครงสร้างพื้นฐาน
  • 2:12 - 2:15
    และสร้างบ้าน ซึ่งในกรณีที่ดีที่สุด
  • 2:15 - 2:19
    ควรจะมีพื้นที่ประมาณ 40 ตารางเมตร
  • 2:19 - 2:21
    นะครับ พวกเขาพูดว่า
  • 2:21 - 2:23
    ราคาที่ดิน
  • 2:23 - 2:25
    ด้วยเหตุที่อยู่ใจกลางเมือง
  • 2:25 - 2:27
    จึงแพงเป็นสามเท่า
  • 2:27 - 2:30
    ของราคาปกติที่ครัวเรือนทั่วไปสามารถจ่ายได้
  • 2:30 - 2:32
    ด้วยความที่โจทย์มันยากนะครับ
  • 2:32 - 2:35
    เราเลยตัดสินใจให้ครอบครัว
  • 2:35 - 2:39
    ได้ร่วมทำความเข้าใจในข้อจำกัดพวกนี้ด้วย
  • 2:39 - 2:41
    เราเกระบวนการออกแบบโดยให้พวกเขามีส่วนร่วม
  • 2:41 - 2:45
    และทดลอบดูว่ามีอะไรบ้างในตลาด
  • 2:45 - 2:47
    บ้านเดียว
  • 2:47 - 2:49
    พอสำหรับ 30 ครอบครัว
  • 2:49 - 2:53
    ตึกแถว พอสำหรับ 60 ครอบครัว
  • 2:53 - 2:57
    ["100 ครอบครัว"]
    ทางเดียวที่จะทำให้พออาศัยได้ทั้งหมด
  • 2:57 - 2:59
    คือการสร้างให้สูง
  • 2:59 - 3:01
    และพวกเขาขู่เราว่า
  • 3:01 - 3:03
    จะอดอาหารประท้วง
  • 3:03 - 3:05
    ถ้าเราริอาจจะสร้างแบบนั้นนะครับ
  • 3:05 - 3:07
    ทางออกก็คือ
  • 3:07 - 3:10
    เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถ
    จะทำให้อพาร์ทเมนต์เล็ก ๆ
  • 3:10 - 3:11
    ขยายได้
  • 3:11 - 3:14
    ฉะนั้น ข้อสรุปที่ได้จากครอบครัว
  • 3:14 - 3:16
    และนี่สำคัญนะครับ
    ไม่ใช่ข้อสรุปของพวกเรา
  • 3:16 - 3:18
    จากครอบครัวเหล่านี้ ก็คือ เรามีปัญหา
  • 3:18 - 3:20
    เราต้องคิดขึ้นใหม่
  • 3:20 - 3:23
    แล้วเราทำอย่างไรล่ะครับ
  • 3:24 - 3:28
    ก็คือ ครอบครัวชนชั้นกลาง
  • 3:28 - 3:30
    อาศัยอย่างดี สมเหตุสมผล
  • 3:30 - 3:33
    ในพื้นที่ประมาณ 80 ตารางเมตร
  • 3:33 - 3:35
    แต่ถ้าไม่มีเงิน
  • 3:35 - 3:36
    สื่งที่ตลาดทำ
  • 3:36 - 3:40
    ก็คือลดขนาดบ้านลง
  • 3:40 - 3:43
    เป็น 40 ตารางเมตร
  • 3:43 - 3:45
    เราก็เลยพูดว่า
  • 3:45 - 3:47
    ถ้างั้น
  • 3:49 - 3:53
    แทนที่จะคิดถึง 40 ตารางเมตร
  • 3:53 - 3:56
    ว่าเป็นบ้านเล็กๆ
  • 3:56 - 3:58
    ทำไมเราไม่ลองมองว่า
  • 3:58 - 4:01
    เป็นครึ่งหลังที่ดี
  • 4:01 - 4:03
    เมื่อคุณเปลี่ยนคำในโจทย์เสียใหม่
  • 4:03 - 4:06
    เป็นบ้านครึ่งหนึ่งที่ดี
  • 4:06 - 4:07
    แทนที่จะเป็นบ้านหลังเล็ก
  • 4:07 - 4:11
    คำถามที่สำคัญคือ
    แล้วเราจะสร้างส่วนของครึ่งไหนครับ
  • 4:11 - 4:13
    และเราคิดว่า เราต้องใช้เงินจากรัฐ
  • 4:13 - 4:19
    สำหรับครึ่งหนึ่งที่ครอบครัว
    ไม่สามารถสร้างได้ด้วยตัวเอง
  • 4:19 - 4:21
    เราระบุเงื่อนไขในการออกแบบไว้ 5 ประการ
  • 4:21 - 4:24
    ซึ่งเป็นส่วนที่ยากของบ้านครึ่งหลังนั้น
  • 4:24 - 4:27
    และเรากลับไปคุยกับครอบครัว
    เพื่อทำ 2 อย่าง
  • 4:27 - 4:31
    คือ ร่วมกันลงแรง และแบ่งหน้าที่ครับ
  • 4:31 - 4:34
    การออกแบบของเราเป็นกึ่ง ๆ
  • 4:34 - 4:36
    ระหว่างตึกกับบ้าน
  • 4:36 - 4:38
    ด้วยความเป็นตึก มันสามารถจ่ายเงิน
  • 4:38 - 4:41
    สำหรับที่ดินราคาแพงและตั้งอยู่ในย่านที่ดีได้
  • 4:41 - 4:45
    และด้วยความเป็นบ้าน
    มันสามารถขยายได้ครับ
  • 4:45 - 4:48
    ซึ่งในกรณีที่ไม่ถูกไล่ออกไป
  • 4:48 - 4:50
    ยังนอกพื้นที่ระหว่างสร้างบ้าน
  • 4:50 - 4:53
    ครอบครัวต่าง ๆ จะยังสามารถ
    ติดต่อกันได้และทำงานเดิม
  • 4:53 - 4:57
    พวกเรารู้ว่าบ้านจะเริ่มขยายออกได้ในทันที
  • 4:57 - 5:02
    เราเลยเริ่มจากบ้านต้นแบบของชุมชน
  • 5:02 - 5:06
    ไปเป็นบ้านชนชั้่นกลาง
    ที่ครอบครัวต่างสร้างขึ้นเอง
  • 5:06 - 5:09
    ภายในไม่กี่สัปดาห์
  • 5:09 - 5:10
    นี่คือโครงการแรกของเราครับ
  • 5:10 - 5:13
    ที่อิกิเก เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
  • 5:13 - 5:16
    นี่คือโครงการล่าสุดของพวกเราในชิลีครับ
  • 5:16 - 5:19
    ดีไซน์ต่าง หลักการเดิม
  • 5:19 - 5:21
    คุณสร้างกรอบ
  • 5:21 - 5:25
    และจากนั้น ครอบครัวก็รับช่วงต่อไป
  • 5:25 - 5:29
    ฉะนั้น จุดประสงค์ของการออกแบบ
  • 5:29 - 5:32
    คือการพยายามทำความเข้าใจ
    และพยายามให้คำตอบ
  • 5:32 - 5:33
    เรื่อง 3 ภัยคุกคาม
  • 5:33 - 5:35
    ขนาด ความเร็ว และความขาดแคลน
  • 5:35 - 5:38
    คือช่วยให้ผู้คนแสดงความสามารถ
    ในการสร้างเองได้
  • 5:38 - 5:43
    เราไม่สามารถแก้สมการ 1 ล้านคนต่อสัปดาห์ได้
  • 5:43 - 5:47
    จนกว่าเราจะใช้พลังในการก่อสร้างของผู้คน
  • 5:47 - 5:50
    ดังนั้น ด้วยการออกแบบที่เหมาะสม
  • 5:50 - 5:53
    สลัมและชุมชนแออัด ก็อาจไม่ใช่ปัญหา
  • 5:53 - 5:57
    แต่จะเป็นทางออกเพียงหนึ่งเดียวแทนครับ
  • 5:57 - 6:00
    กรณีที่สองคือ การออกแบบมีส่วนช่วย
  • 6:00 - 6:02
    ในเรื่องความยั่งยืนได้อย่างไร
  • 6:02 - 6:04
    ในปี 2012 เราได้ร่วมลงแข่งขัน
  • 6:04 - 6:07
    ออกแบบ แองเจลินี่ อินโนเวชั่น เซนเตอร์
  • 6:07 - 6:09
    ซึ่งจุดประสงค์คือ เพื่อสร้าง
  • 6:09 - 6:13
    สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
    สำหรับการสรรค์สร้างความรู้
  • 6:13 - 6:16
    เป็นที่ยอมรับว่า สำหรับจุดประสงค์เช่นนี้
  • 6:16 - 6:17
    การสรรค์สร้างความรู้
  • 6:17 - 6:20
    การปฏิสัมพันธ์ของผู้คนแบบซึ่งหน้า
  • 6:20 - 6:22
    เป็นเรื่องสำคัญ และเราเห็นด้วยครับ
  • 6:22 - 6:26
    แต่สำหรับเรา โจทย์ที่ว่า
    สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
  • 6:26 - 6:28
    เป็นโจทย์ที่ตีความตามตัวอักษรเลยครับ
  • 6:28 - 6:30
    เราต้องการพื้นที่สำหรับทำงาน
  • 6:30 - 6:33
    ที่มีแสงที่ดี มีอุณหภูมิเหมาะสม
  • 6:33 - 6:34
    และอากาศดี
  • 6:34 - 6:37
    เราก็เลยถามตัวเอง
  • 6:37 - 6:39
    ว่าตึกออฟฟิศทั่ว ๆ ไป
  • 6:39 - 6:41
    ช่วยเราให้รู้สึกเช่นนั้นหรือเปล่า
  • 6:41 - 6:45
    งั้น ตึกพวกนั้นเป็นอย่างไรบ้างครับ โดยทั่วไป
  • 6:45 - 6:47
    เป็นชั้น ๆ
  • 6:47 - 6:49
    ซ้อนกันขึ้นไป
  • 6:49 - 6:52
    ที่มีปล่องโครงสร้างแข็งแรงกลางอาคาร
  • 6:52 - 6:57
    มีลิฟท์ บันได ท่อน้ำ สายไฟ ทุก ๆ อย่าง
  • 6:57 - 7:01
    แล้วก็บุผิวนอกด้วยกระจก
  • 7:01 - 7:05
    เช่นนั้นครับ เมื่อแสงอาทิตย์ส่อง
  • 7:05 - 7:10
    ข้างในก็จะเกิดภาวะเรือนกระจกอย่างมาก
  • 7:10 - 7:12
    นอกจากนั้นนะครับ ลองคิดว่ามีคนหนึ่ง
  • 7:12 - 7:13
    ที่ทำงานอยู่บนชั้น 7
  • 7:13 - 7:16
    มาทำงาน เดินผ่านชั้น 3 ทุกวัน
  • 7:16 - 7:19
    โดยที่ไม่รู้เลยว่าคนในชั้นนั้น
  • 7:19 - 7:21
    ทำงานอะไรบ้าง
  • 7:21 - 7:24
    เราก็เลยคิดว่า ถ้าอย่างนั้น
    เราน่าจะเปลี่ยนแปลนนี้
  • 7:24 - 7:26
    กลับนอกออกใน
  • 7:26 - 7:28
    และสิ่งที่เราทำก็คือ
  • 7:28 - 7:32
    ทำโถงเปิดกันครับ
  • 7:32 - 7:34
    ทำแผ่นพื้นคอนกรีตอันแรงชนิดกลวง
  • 7:34 - 7:36
    พื้นรูปแบบเดิม
  • 7:36 - 7:40
    แต่มีผนังล้อมเป็นแนวเขต
  • 7:40 - 7:44
    เพราะฉะนั้น เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมา
  • 7:44 - 7:50
    จะไม่กระทบกระจกโดยตรง
    แต่ไปโดนกำแพงแทน
  • 7:50 - 7:53
    และเมื่อคุณมีโถงเปิดภายใน
  • 7:53 - 7:55
    คุณจะสามารถเห็นได้
    ว่าคนอื่นกำลังทำอะไร
  • 7:55 - 7:57
    จากภายในตึก และคุณจะได้
  • 7:57 - 7:59
    วิธีจัดการแสงที่ดีขึ้น
  • 7:59 - 8:03
    และเมื่อคุณกำหนดรูปทรงอาคารและผนัง
  • 8:03 - 8:04
    ให้เป็นขอบกั้น
  • 8:04 - 8:08
    คุณกำลังป้องกันรังสีจากดวงอาทิตย์ด้วย
  • 8:08 - 8:10
    คุณอาจจะเปิดหน้าต่าง
  • 8:10 - 8:13
    และได้การระบายอากาศ
  • 8:13 - 8:16
    เราทำช่องเปิดพวกนั้น
  • 8:16 - 8:18
    ในขนาดที่พวกมันสามารถทำหน้าที่
  • 8:18 - 8:20
    เหมือนกล่องสูง
  • 8:20 - 8:21
    พื้นที่ภายนอกอาคาร
  • 8:21 - 8:25
    ตลอดทั้งความสูงทั้งหมดของอาคาร
  • 8:25 - 8:27
    พวกนี้ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากซับซ้อนเลยครับ
  • 8:27 - 8:30
    คุณไม่ต้องใช้โปรแกรมละเอียดละออ
  • 8:30 - 8:31
    มันไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
  • 8:31 - 8:37
    นี่เป็นเพียงแค่สามัญสำนึกดั้งเดิมเก่าแก่
  • 8:37 - 8:39
    และเมื่อใช้สามัญสำนึก
  • 8:39 - 8:42
    เราลดลงจาก 120 กิโลวัตต์
  • 8:42 - 8:44
    ต่อตารางเมตร ต่อปี
  • 8:44 - 8:46
    ซึ่งเป็นปริมาณพลังงานที่ใช้ทั่วไป
  • 8:46 - 8:48
    ในการทำความเย็นของตึกบุกระจก
  • 8:48 - 8:53
    เป็นใช้ 40 กิโลวัตต์ ต่อตารางเมตร ต่อปี
  • 8:53 - 8:55
    ฉะนั้น ด้วยการออกแบบที่เหมาะสม
  • 8:55 - 8:57
    ความยั่งยืนก็ไม่ใช่อื่นใด นอกจาก
  • 8:57 - 9:01
    การใช้สามัญสำนึกอย่างแข็งขัน
  • 9:01 - 9:04
    กรณีสุดท้าย ผมอยากจะแบ่งปัน
    ว่าการออกแบบ
  • 9:04 - 9:06
    สามารถให้คำตอบที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น
  • 9:06 - 9:09
    เกี่ยวกับภัยธรรมชาติอย่างไร
  • 9:09 - 9:12
    คุณคงพอรู้ครับ
    ประเทศชิลี ในปี 2010
  • 9:12 - 9:16
    โดนถล่มด้วยความแรง 8.8 ริคเตอร์
  • 9:16 - 9:18
    จากแผ่นดินไหวและสึนามิ
  • 9:18 - 9:20
    และเราถูกเรียกให้ไปทำงาน
  • 9:20 - 9:22
    ในการก่อสร้างเมืองกอนสติตูซิออนขึ้นมาใหม่
  • 9:22 - 9:24
    ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ
  • 9:24 - 9:27
    เราได้รับเวลา 100 วัน หรือ 3 เดือน
  • 9:27 - 9:29
    ที่จะออกแบบเกือบทุกอย่าง
  • 9:29 - 9:32
    ตั้งแต่อาคารสาธารณะ จนถึงพื้นที่สาธารณะ
  • 9:32 - 9:34
    เส้นถนน การขนส่ง ที่อยู่อาศัย
  • 9:34 - 9:36
    และหลัก ๆ คือการปกป้องเมือง
  • 9:36 - 9:39
    จากซึนามิในอนาคต
  • 9:39 - 9:42
    นี่เป็นสิ่งใหม่สำหรับการออกแบบเมือง
    ในชิลีครับ
  • 9:42 - 9:45
    และมีอีกสองแบบที่คิด ๆ ไว้ครับ
  • 9:45 - 9:46
    อย่างแรก
  • 9:46 - 9:49
    ไม่สร้างอะไรเลยตรง กราวนด์ซีโร่
  • 9:49 - 9:51
    เงินสามสิบล้าน ใช้จ่ายหลัก ๆ
  • 9:51 - 9:54
    ในการเวนคืนที่ดิน
  • 9:54 - 9:57
    นี่เป็นสิ่งที่กำลังอภิปรายกันทุกวันนี้
    ในประเทศญี่ปุ่น
  • 9:57 - 9:59
    และหากคุณมีประชากรที่มีระเบียบมาก ๆ
  • 9:59 - 10:01
    เช่นคนญี่ปุ่น นี่อาจเป็นไปได้ครับ
  • 10:01 - 10:03
    แต่เราก็รู้ว่าในชิลี
  • 10:03 - 10:06
    ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม พื้นที่ตรงนี้จะต้องถูก
    ครอบครองอย่างผิดกฏหมายอยู่ดี
  • 10:06 - 10:11
    ฉะนั้นทางเลือกนี้จึงไม่ค่อยสมจริง
    และไม่เป็นที่ต้องการ
  • 10:11 - 10:14
    ทางเลือกที่สอง
    สร้างกำแพงใหญ่ ๆ
  • 10:14 - 10:16
    ใช้โครงสร้างหนักในการต้าน
  • 10:16 - 10:18
    พลังงานของคลื่น
  • 10:18 - 10:20
    ทางเลือกนี้โดนล็อบบี้อย่างง่าย
  • 10:20 - 10:22
    จากบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่
  • 10:22 - 10:26
    เพราะมันหมายถึงสัญญา
    ราคา 42 ล้านดอลลาร์
  • 10:26 - 10:28
    และเป็นที่ถูกใจทางการเมือง
  • 10:28 - 10:32
    เพราะไม่ต้องมีการเวนคืนที่ดิน
  • 10:32 - 10:35
    แต่ญี่ปุ่นก็ได้พิสูจน์แล้วว่า
    การพยายามต้าน
  • 10:35 - 10:38
    พลังของธรรมชาตินั้นสูญเปล่า
  • 10:38 - 10:42
    ดังนั้น ทางเลือกนี้จึงไม่ตอบโจทย์
  • 10:42 - 10:44
    และในกระบวนการสร้างที่อยู่อาศัยนั้น
  • 10:44 - 10:46
    เราต้องให้ชุมชนร่วม
  • 10:46 - 10:49
    หาทางออกสำหรับเรื่องนี้
  • 10:49 - 10:52
    และเราเริ่มทำการออกแบบ
    โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม
  • 10:52 - 10:54
    (วิดีโอ) [ภาษาสเปน] โทรโข่ง :
    พวกคุณต้องการเมืองแบบไหน
  • 10:54 - 10:56
    โหวตเพื่อชุมชน
  • 10:56 - 10:58
    ออกมาจากบ้านแล้วมาแสดงตัวเลือกของคุณ
  • 10:58 - 11:00
    มามีส่วนร่วม!
  • 11:00 - 11:03
    ชาวประมง : ผมเป็นชาวประมง
  • 11:03 - 11:05
    มีลูกน้องเป็นชาวประมง 25 คน
  • 11:05 - 11:07
    จะให้พาพวกเขาไปไหน
    ไปอยู่ป่า
  • 11:07 - 11:10
    ผู้ชาย : เรามีกำแพงคอนกรีตไม่ได้เหรอ
  • 11:10 - 11:12
    แน่นอน ต้องทำอย่างดี
  • 11:12 - 11:14
    ชายคนที่ 2:
  • 11:14 - 11:18
    และคุณมาที่นี่เพื่อบอกผมว่า
    ผมอยู่ที่นี่ไม่ได้น่ะเหรอ
  • 11:18 - 11:20
    ทั้งครอบครัวผมก็อยู่ที่นี่
  • 11:20 - 11:22
    ผมเลี้ยงลูกของผมที่นี่
  • 11:22 - 11:24
    และลูกของผมก็จะเลี้ยงลูก
    ของพวกเขาที่นี่ด้วย
  • 11:24 - 11:26
    หลานของผมด้วย
    และทุก ๆ คนก็ด้วย
  • 11:26 - 11:29
    และคุณมาทำอวดดีกับผม
  • 11:29 - 11:31
    คุณ คุณนั้นแหละ มาทำอวดดีกับผม
  • 11:31 - 11:33
    พื้นที่อันตราย
    ผมไม่ได้รับอนุญาตให้สร้าง
  • 11:33 - 11:34
    เขานั่นแหละเป็นคนพูด
  • 11:34 - 11:36
    ชายคนที่ 3: ไม่, ไม่, อย่า นิเอเบส
  • 11:39 - 11:41
    อเลฆานโดร อะราเบนา :
    ผมไม่ทราบว่าคุณอ่าน
  • 11:41 - 11:44
    ซับไตเติ้ลได้หรือเปล่า
    แต่คุณบอกได้ว่า
  • 11:44 - 11:45
    จากท่าทางของเขา
  • 11:45 - 11:46
    การออกแบบโดยมีส่วนร่วม
  • 11:46 - 11:49
    ไม่ได้ ฮิปปี้ โรแมนติก
  • 11:49 - 11:52
    เรามาช่วยกันวาดฝัน
    เมืองในอนาคตของเราด้วยกันเถอะนะ
  • 11:52 - 11:54
    อะไรประมาณนั้นครับ
  • 11:54 - 11:58
    อันที่จริง ~~ (ปรบมือ)
  • 11:58 - 12:00
    อันที่จริงครอบครัวไม่ได้
  • 12:00 - 12:03
    ช่วยกันหาทางคำตอบที่ใช่
  • 12:03 - 12:06
    แต่หลัก ๆ คือพยายามหาให้ถูกต้อง
  • 12:06 - 12:08
    ว่าอะไรคือโจทย์ที่เหมาะสม
  • 12:08 - 12:10
    ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการตอบคำถามที่ดีเยี่ยม
  • 12:10 - 12:12
    ต่อโจทย์ที่ผิด
  • 12:12 - 12:15
    ฉะนั้น จะเห็นได้ชัดเจนหลังจากกระบวนการนี้
  • 12:15 - 12:19
    ว่า เราพวกตื่นกลัว
  • 12:19 - 12:22
    และจะเลิกล้มเพราะมันเคร่งเครียดเกินไป
  • 12:22 - 12:24
    หรือเราจะเดินหน้าและถาม
  • 12:24 - 12:25
    มีอะไรอีกไหมที่กวนใจคุณ
  • 12:25 - 12:27
    คุณมีปัญหาอะไรอีกหรือเปล่า
  • 12:27 - 12:29
    และคุณต้องการให้เราช่วยเหลือ
    เพราะเมืองตอนนี้
  • 12:29 - 12:34
    ต้องคิดขึ้นใหม่จากซากปรักหักพัง
  • 12:34 - 12:36
    และพวกเขาพูดว่า
  • 12:36 - 12:39
    ได้ ดีมากที่ป้องกันเมืองจากซีนามิในอนาคต
  • 12:39 - 12:43
    เรารู้สึกประทับใจ แต่ลูกต่อไปที่จะมา
    อีกเมื่อไหร่ หืม อีก 20 ปี
  • 12:43 - 12:45
    แต่ทุก ๆ ปี เรามีปัญหา
  • 12:45 - 12:48
    น้ำท่วมจากฝนตก
  • 12:48 - 12:50
    ซ้ำร้าย เราอยู่บริเวณกลาง
  • 12:50 - 12:52
    พื้นที่ป่าของประเทศ
  • 12:52 - 12:55
    และพื้นที่สาธารณะของเราห่วยแตก
  • 12:55 - 12:59
    มันกิ๊กก๊อก และมีไม่เพียงพอ
  • 12:59 - 13:01
    และรกรากของเมือง อัตลักษณ์ของพวกเรา
  • 13:01 - 13:04
    ก็ไม่ค่อยเกี่ยวข้องเท่าไหร่กับตึกที่ถล่มไป
  • 13:04 - 13:06
    มันเกี่ยวข้องกับแม่น้ำ
  • 13:06 - 13:09
    แต่คนทั่วไปเข้าถึงแม่น้ำไม่ได้
  • 13:09 - 13:12
    เพราะริมฝั่งเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล
  • 13:12 - 13:17
    ฉะนั้น เราเลยคิดว่า
    เราต้องสร้างทางเลือกที่สามขึ้นมา
  • 13:17 - 13:22
    และเราเริ่มจากการคิดว่า
    ต้องต่อต้านภัยคุกคามทางภูมิศาสตร์
  • 13:22 - 13:25
    มีคำตอบทางภูมิศาสตร์ครับ
  • 13:25 - 13:29
    จะเป็นอย่างไรถ้าระหว่างเมือง
  • 13:32 - 13:34
    และทะเล
  • 13:37 - 13:40
    เรามีป่า
  • 13:40 - 13:42
    ป่าที่ไม่ได้พยายามต้านทาน
  • 13:42 - 13:44
    พลังของธรรมชาติ
  • 13:44 - 13:48
    แต่ทุเลาลงด้วยความเสียดทาน
  • 13:48 - 13:52
    ป่าที่สามารถชะลอน้ำ
  • 13:52 - 13:55
    และป้องกันน้ำท่วมได้
  • 13:55 - 14:00
    เป็นการจ่ายหนี้ทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่สาธารณะ
  • 14:00 - 14:02
    และอาจให้ ในที่สุด
  • 14:02 - 14:05
    ความเสมอภาคในการเข้าถึงแม่น้ำ
  • 14:05 - 14:08
    ครับ ข้อสรุปของการออกแบบโดยมีส่วนร่วม
  • 14:08 - 14:11
    ทางเลือกนี้ได้รับการยอมรับ
    ทั้งในทางการเมืองและทางสังคม
  • 14:11 - 14:14
    แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย
  • 14:14 - 14:17
    48 ล้านดอลลาร์
  • 14:17 - 14:19
    ฉะนั้น เราจึงทำการสำรวจ
  • 14:19 - 14:22
    ระบบการลงทุนเพื่อสาธารณะ
  • 14:22 - 14:24
    และพบว่ามี 3 กระทรวง
  • 14:24 - 14:27
    ซึ่งมี 3 โครงการในพื้นที่เดียวกันนี้
  • 14:27 - 14:30
    โดยที่ไม่ได้รู้ถึงการมีอยู่
    ของโครงการกระทรวงอื่นเลย
  • 14:30 - 14:35
    มูลค่ารวมทั้งหมด 52 ล้านดอลลาร์
  • 14:35 - 14:37
    ครับ พลังในการสังเคราะห์ของการออกแบบ
  • 14:37 - 14:39
    คือการพยายามใช้
  • 14:39 - 14:42
    ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดที่สุดในเมือง
    อย่างคุ้มค่า
  • 14:42 - 14:46
    ซึ่งไม่ใช่เงิน แต่เป็นการประสานงาน
  • 14:46 - 14:48
    และด้วยการทำเช่นนี้ เราก็ได้ประหยัด
  • 14:48 - 14:51
    ไป 4 ล้านดอลลาร์ และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทุกวันนี้
  • 14:51 - 14:55
    ป่ากำลังถูกสร้างขึ้น
  • 14:55 - 14:58
    (เสียงปรบมือ)
  • 14:58 - 15:01
    ดังนั้น จงเป็นพลังแห่งการสร้างขึ้นด้วยตัวเอง
  • 15:01 - 15:04
    พลังของสามัญสำนึก
  • 15:04 - 15:07
    หรือพลังของธรรมชาติ
    พลังทั้งหมดเหล่านี้
  • 15:07 - 15:11
    ต้องได้รับการแปลงเป็นรูปเป็นร่าง
  • 15:11 - 15:14
    และอะไรคือรูปร่าง หุ่น และรูปทรง
  • 15:14 - 15:18
    ไม่ใช่ซีเมนต์ อิฐ หรือ ไม้
  • 15:18 - 15:20
    แต่เป็นชีวิตนั่นเอง
  • 15:20 - 15:22
    พลังในการสังเคราะห์ของการออกแบบ
  • 15:22 - 15:25
    เป็นแค่ความพยายามในการนำเสนอ
  • 15:25 - 15:28
    แก่นแท้ที่สุดของสถาปัตยกรรม
  • 15:28 - 15:30
    พลังแห่งชีวิต
  • 15:30 - 15:33
    ขอบคุณมากครับ
  • 15:33 - 15:37
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของผม ให้ชุมชนมีส่วนร่วมสิ
Speaker:
อเลฆานโดร อะราเบนา (Alejandro Aravena)
Description:

เมื่อถูกขอให้ช่วยสร้างที่อยู่สำหรับ 100 ครอบครัว ในประเทศชิลีเมื่อ 10 ปีก่อน อเลฆานโดร อะราเบนา มองด้วยแรงบันดาลใจที่ไม่ธรรมดา นั่นคือภูมิปัญญาจากชุมชนแออัดและสลัม แทนที่จะสร้างตึกขนาดใหญ่และแบ่งเป็นหน่วยเล็กๆ เขาสร้างตึกกึ่งบ้านที่ครอบครัวจะสามารถต่อเติมขยายออกได้ มันคือโจทย์ที่ซับซ้อน แต่มีคำตอบที่เรียบง่าย ซึ่งเขาได้จากการทำงานร่วมกับครอบครัวทั้งหลายด้วยกระดานดำและรูปวาดออกแบบที่สวยงาม อะราเบนาพาเราไปพบกับ 3 โครงการ ที่การคิดใหม่อย่างแยบคายนำไปสู่การออกแบบที่งดงามและให้ผลดีเยี่ยม

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
15:49

Thai subtitles

Revisions