Return to Video

คู่มือแนะนำเรื่องพลังงานโลก - โจชัว เอ็ม สเนดแมน

  • 0:07 - 0:10
    พลังงานมีอยู่รอบตัวเรา
  • 0:10 - 0:14
    มันมีปริมาณทางกายภาพที่เป็นไป
    ตามกฎที่แน่นอนของธรรมชาติ
  • 0:14 - 0:16
    จักรวาลของเรามีปริมาณพลังงานที่จำกัด;
  • 0:17 - 0:19
    ไม่มีการสร้างพลังงานขึ้นใหม่
    หรือทำลายมันไปได้
  • 0:19 - 0:20
    แต่มันสามารถสามารถเปลี่ยนรูปได้
  • 0:20 - 0:23
    อย่างพลังงานจลน์หรือศักย์
  • 0:23 - 0:26
    ที่มีคุณสมบัติต่าง ๆ กันและสูตรต่าง ๆ กัน
    ให้เราจดจำ
  • 0:26 - 0:27
    อย่างเช่น
  • 0:27 - 0:30
    โคมไฟตั้งโต๊ะหลอดแอลอีดีขนาด 6 วัตต์
  • 0:30 - 0:33
    ให้พลังงานแสงสว่าง 6 จูลส์ต่อวินาที
  • 0:34 - 0:36
    แต่ เรามากระโดดกลับไปยังห้วงอวกาศกันเถอะ
  • 0:36 - 0:39
    เพื่อที่จะมาดูโลกของเรา ระบบของมัน
    และการถ่ายเทของพลังงาน
  • 0:40 - 0:42
    ระบบทางกายภาพของโลกนั้นประกอบไปด้วย
  • 0:42 - 0:44
    อากาศภาค อุทกภาค
  • 0:44 - 0:47
    ธรณีภาค และชีวภาค
  • 0:47 - 0:50
    พลังงานเคลื่อนที่เข้าและออกจากระบบเหล่านี้
  • 0:50 - 0:52
    และในระหว่างการถ่ายเทพลังงานระหว่างระบบ
  • 0:52 - 0:55
    พลังงานบางส่วนจะสูญเสียไปให้แก่สิ่งแวดล้อม
  • 0:55 - 0:57
    ในรูปของความร้อน แสงสว่าง เสียง
  • 0:57 - 0:59
    การสั่นสะเทือน หรือการเคลื่อนไหว
  • 1:00 - 1:03
    พลังงานของโลกของเรานั้นมาจาก
    แหล่งพลังงานภายในและภายนอก
  • 1:03 - 1:07
    พลังงานความร้อนใต้พิภพ
    จากไอโซโทปกัมมันตรังสี
  • 1:07 - 1:10
    และพลังงานการหมุนจากการหมุนรอบตัวของโลก
  • 1:10 - 1:12
    เป็นแหล่งพลังงานภายใน
  • 1:12 - 1:15
    ในขณะที่ดวงอาทิตย์
    เป็นแหล่งพลังงานภายนอกหลัก
  • 1:15 - 1:18
    ที่ขับเคลื่อนระบบบางระบบ
    เช่น สภาพอากาศ และ สภาพภูมิอากาศ
  • 1:18 - 1:22
    แสงอาทิตย์ให้ความร้อนแก่ผิวโลก
    และบรรยากาศในปริมาณที่ต่างกันไป
  • 1:22 - 1:24
    และนี่ก็ทำให้เกิดการนำพาความร้อน
  • 1:24 - 1:26
    ทำให้เกิดกระแสลมพัด
    และมีอิทธิพลกับกระแสน้ำในมหาสมุทร
  • 1:27 - 1:32
    การแผ่รังสีอินฟราเรดที่
    แผ่ออกจากพื้นผิวโลกที่อมความร้อนไว้
  • 1:32 - 1:36
    ถูกกักไว้โดยก๊าซเรือนกระจก
    และส่งผลต่อการไหลเวียนของพลังงานเข้าไปอีก
  • 1:37 - 1:40
    ดวงอาทิตย์ยังเป็นแหล่งพลังงานหลัก
    ให้แก่สิ่งมีชีวิตอีกด้วย
  • 1:41 - 1:43
    พืช สาหร่ายและไซยาโนแบคทีเรีย
  • 1:43 - 1:46
    ใช้แสงอาทิตย์ในการผลิตอินทรียวัตถุ
  • 1:46 - 1:48
    จากคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ
  • 1:48 - 1:51
    เป็นพลังให้กับห่วงโซ่อาหาร
    ในโลกของสิ่งมีชีวิต
  • 1:51 - 1:54
    เราปล่อยพลังงานจากอาหารนี้
    โดยใช้ปฏิกิริยาทางเคมี
  • 1:54 - 1:57
    อย่างการสันดาปและกระบวนการหายใจ
  • 1:57 - 2:00
    ในห่วงโซ่อาหารแต่ละระดับ
    มีการเก็บสะสมพลังงานอยู่บ้าง
  • 2:00 - 2:02
    ในรูปโครงสร้างทางเคมีที่สร้างขึ้นใหม่
  • 2:02 - 2:05
    แต่ส่วนใหญ่จะสูญเสียให้กับสิ่งแวดล้อม
  • 2:05 - 2:07
    ในรูปความร้อน อย่างความร้อนจากร่างกายคุณ
  • 2:07 - 2:09
    ที่ได้มาจากการที่คุณย่อยอาหาร
  • 2:09 - 2:12
    ตอนนี้ เนื่องจากพืชถูกผู้บริโภครายแรกกิน
  • 2:12 - 2:17
    มีเพียง 10% ของพลังงานจากพืชทั้งหมดนั้น
    ที่ถูกส่งต่อไปยังผู้บริโภคในลำดับถัดไป
  • 2:17 - 2:21
    เนื่องจากพลังงานสามารถไหลไปได้
    ในทิศทางเดียวเท่านั้นในห่วงโซ่อาหาร
  • 2:21 - 2:24
    จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค
    และผู้บริโภคซากอินทรีย์
  • 2:24 - 2:27
    สิ่งมีชีวิตที่บริโภคในระดับแรก ๆ
    ของห่วงโซ่อาหาร
  • 2:27 - 2:29
    จึงมีประสิทธิภาพดีกว่า
    ที่บริโภคในระดับท้าย ๆ
  • 2:30 - 2:32
    ดังนั้นการกินผู้ผลิตจึงเป็นระดับ
    ที่ประสิทธิภาพสูงสุด
  • 2:32 - 2:35
    ที่สัตว์ตัวหนึ่งจะได้รับพลังงาน
  • 2:35 - 2:39
    แต่หากไม่มีพลังงานขาเข้าอย่างต่อเนื่อง
    ให้แก่ผู้ผลิตเหล่านั้น
  • 2:39 - 2:40
    ซึ่งส่วนมากได้จากแสงอาทิตย์
  • 2:40 - 2:43
    ชีวิตบนโลกใบนี้อย่างที่เราคุ้นเคยนี้
    คงไม่สามารถดำรงอยู่ได้
  • 2:43 - 2:47
    แน่นอนว่า มนุษย์เราใช้พลังงานในการทำ
    สิ่งต่าง ๆ มากมายนอกเหนือไปจากการกินแล้ว
  • 2:47 - 2:52
    เราเดินทาง เราก่อสร้าง
    เราใช้พลังงานไปกับเทคโนโลยีต่าง ๆ
  • 2:52 - 2:53
    เพื่อการทำสิ่งเหล่านี้
  • 2:53 - 2:55
    เราใช้แหล่งเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์:
  • 2:55 - 2:58
    ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ
  • 2:58 - 3:00
    ซึ่งบรรจุพลังงาน
  • 3:00 - 3:02
    ที่พืชกักจากแสงอาทิตย์เมื่อนานมาแล้ว
  • 3:02 - 3:05
    และเก็บไว้ในรูปของคาร์บอน
  • 3:05 - 3:07
    เมื่อเราเผาเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์นี้
    ในโรงไฟฟ้า
  • 3:07 - 3:09
    เราก็ปลดปล่อยพลังงานที่ถูกกักไว้นี้
  • 3:09 - 3:11
    เพื่อผลิตไฟฟ้า
  • 3:12 - 3:13
    ในการผลิตไฟฟ้า
  • 3:13 - 3:17
    ความร้อนจากการเผาเชื้อเพลิง
    ซากดึกดำบรรพ์ถูกใช้ในการขับเคลื่อนใบพัด
  • 3:17 - 3:19
    ที่หมุนแม่เหล็ก
  • 3:19 - 3:21
    ที่สร้างการสลับของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
  • 3:21 - 3:24
    ไปตามขดลวด
  • 3:24 - 3:28
    ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำอิเลคตรอน
    ให้ไหลไปตามสายไฟ
  • 3:28 - 3:31
    อารยธรรมสมัยใหม่ต้องอาศัยความสามารถของเรา
  • 3:31 - 3:34
    ในการขับเคลื่อนพลังการไหลของอิเลคตรอนนี้
  • 3:34 - 3:38
    โชคดีที่เราไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียง
    การเผาผลาญเชื้อเพลิงสิ้นเปลืองเท่านั้น
  • 3:38 - 3:40
    ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
  • 3:40 - 3:42
    อิเลคตรอนยังสามารถถูกเหนี่ยวนำให้ไหลได้
  • 3:42 - 3:45
    ด้วยการทำปฏิกิริยาโดยตรงกับอนุภาคแสง
  • 3:45 - 3:47
    ซึ่งก็เป็นวิธีทำงานของแผงพลังงานสงอาทิตย์
  • 3:48 - 3:49
    แหล่งพลังงานทดแทนอื่น
  • 3:49 - 3:51
    เช่น พลังงานลม น้ำ
  • 3:51 - 3:54
    พลังงานความร้อนใต้พิภพ และ ชีวภาค
  • 3:54 - 3:56
    ก็สามารถนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้ด้วย
  • 3:57 - 4:00
    ความต้องการพลังงานของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • 4:00 - 4:02
    แต่โลกมีแหล่งพลังงานที่จำกัด
  • 4:02 - 4:05
    ที่เราเข้าถึงได้ผ่านโครงสร้างพื้นฐาน
    ทางพลังงานอันซับซ้อน
  • 4:05 - 4:07
    เนื่องจากประชากรโลกเพิ่มขึ้น
  • 4:07 - 4:10
    พร้อมกับอัตราการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรม
    และการพัฒนา
  • 4:10 - 4:13
    การตัดสินใจด้านพลังงาน
    จึงมีความสำคัญที่มากขึ้นทุกที
  • 4:13 - 4:17
    การเข้าถึงพลังงาน
    ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การศึกษา,
  • 4:17 - 4:20
    อำนาจทางการเมือง และสถานะทางสังคมเศรษฐกิจ
  • 4:20 - 4:22
    หากเราเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน
  • 4:22 - 4:25
    เราจะสามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
    ได้อย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น
  • 4:25 - 4:28
    และจะสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ทุกคนได้
Title:
คู่มือแนะนำเรื่องพลังงานโลก - โจชัว เอ็ม สเนดแมน
Description:

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/a-guide-to-the-energy-of-the-earth-joshua-m-sneideman
พลังงานไม่มีการสร้างใหม่หรือถูกทำลาย - แต่ความต้องการพลังงานของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วพลังงานนั้นมาจากไหนและไปที่ใด โจชัว เอ็ม สเนดแมน ได้สำรวจหลายวงจรที่พลังงานถ่ายเทผ่านโลกของเรา จากดวงอาทิตย์สู่ห่วงโซ่อาหารของเรา สู่กระแสไฟฟ้าและไปไกลกว่านั้น
บทเรียนโดย Joshua M. Sneideman อะนิแมชั่นโดย Marc Christoforidis.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:44

Thai subtitles

Revisions