Return to Video

จุดสูงสุดและจุดตกต่ำของกำแพงเบอร์ลิน - คอนราด เอช, จารัวช์ (Konrad H. Jarausch)

  • 0:07 - 0:11
    เช้าตรู่ของวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ.1961
  • 0:11 - 0:15
    คนงานก่อสร้างจากเยอรมันตะวันออก
    ที่ถูกขนาบด้วยทหารและตำรวจ
  • 0:15 - 0:20
    เริ่มรื้อถอนถนนและสิ่งกีดขวาง
    ที่ตั้งอยู่ในกรุงเบอร์ลิน
  • 0:20 - 0:22
    และสิ่งที่อยู่รอบ ๆ
  • 0:22 - 0:26
    ค่ำคืนดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของ
    เส้นการแบ่งเขตแดนหนึ่งที่ฉาวที่สุดในประวัติศาสตร์
  • 0:26 - 0:28
    กำแพงเบอร์ลิน
  • 0:28 - 0:31
    การสร้างกำแพง
    ยังคงดำเนินไปเป็นเวลาอีกหนึ่งทศวรรษ
  • 0:31 - 0:32
    โดยที่มันพาดผ่านแหล่งชุมชน
  • 0:32 - 0:34
    ตัดญาติพี่น้อง
  • 0:34 - 0:37
    และไม่ได้แบ่งแยกเพียงแค่เยอรมันนี
    แต่ได้แบ่งแยกโลกของเราด้วย
  • 0:37 - 0:39
    เพื่อที่จะเข้าใจ
    ว่าเราไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร
  • 0:39 - 0:41
    เราจะต้องย้อนกลับไป
    เมื่อตอนสงครามโลกครั้งที่สอง
  • 0:41 - 0:43
    อเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส
  • 0:43 - 0:47
    รวมกำลังกับสหภาพโซเวียต
    ต้านอำนาจของฝ่ายอักษะ
  • 0:47 - 0:49
    หลังจากที่พวกเขาปราบนาซีเยอรมัน
  • 0:49 - 0:53
    แต่ละประเทศที่ชนะสงคราม
    ก็เข้าไปยึดครองภูมิภาคต่าง ๆ ของเยอรมันนี
  • 0:53 - 0:55
    จุดประสงค์การแบ่งแยก
    จงใจที่จะให้เป็นการชั่วคราว
  • 0:55 - 0:58
    แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรเดิม
    พบว่าพวกเขากำลังเป็นต่อ
  • 0:58 - 1:01
    ในด้านวิสัยทัศน์หลังสงครามในยุโรป
  • 1:01 - 1:03
    ในขณะที่มหาอำนาจฝั่งตะวันตก
    สนับสนุนตลาดเศรษฐกิจเสรี
  • 1:03 - 1:08
    สหภาพโซเวียตพยายาม
    ที่จะหาพรรคพวกที่เป็นคอมมูนิสต์
  • 1:08 - 1:10
    รวมถึงเยอรมันที่อ่อนแอลง
  • 1:10 - 1:12
    เมื่อความสัมพันธ์ทั้งสองเสื่อมคลายลง
  • 1:12 - 1:15
    สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
    ได้สถาปนาขึ้นในทางตะวันตก
  • 1:15 - 1:20
    ในขณะที่ทางตะวันออกโซเวียตได้ก่อตั้ง
    สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี
  • 1:20 - 1:24
    ประเทศบริวารของโซเวียตได้กีดกัน
    การค้าขายและเคลื่อนไหวกับทางตะวันตก
  • 1:24 - 1:27
    ดังนั้น ชายแดนที่ไม่อาจผ่านได้จึงเกิดขึ้น
  • 1:27 - 1:30
    มันเป็นที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่าม่านเหล็ก
  • 1:30 - 1:35
    ในกรุงเบอร์ลินเมืองหลวงเดิมของเยอรมัน
    สถานการณ์ดูสลับซับซ้อนเป็นพิเศษ
  • 1:35 - 1:39
    แม้ว่าเมืองนี้จะอยู่ในขอบเขต
    ของเยอรมันตะวันออก
  • 1:39 - 1:43
    สนธิสัญญาหลังสงครามให้อำนาจกับ
    ฝ่ายสัมพันธมิตรในการถือครองร่วม
  • 1:43 - 1:47
    ฉะนั้น อเมริกา สหราชอาณาจักร
    และฝรั่งเศส จึงก่อตั้งดินแดนแทรก
  • 1:47 - 1:49
    ในเขตทางตะวันตกของเบอร์ลิน
  • 1:49 - 1:53
    ในขณะที่เยอรมันตะวันออกถูกกีดกัน
    ไม่ให้ออกนอกประเทศอย่างเป็นทางการ
  • 1:53 - 1:56
    ในเบอร์ลิน มันยังคงถูกถือว่า
    เป็นแค่เรื่องของการเดินทาง
  • 1:56 - 1:58
    นั่งรถไฟใต้ดิน รถราง รถประจำทาง
  • 1:58 - 1:59
    ข้ามไปยังด้านตะวันตก
  • 1:59 - 2:03
    จากนั้นจึงการเดินทางไปยังเยอรมันตะวันตก
    และส่วนที่ถัดออกไป
  • 2:03 - 2:07
    ชายแดนเปิดนี้สร้างปัญหา
    ให้กับการปกครองเยอรมันตะวันออก
  • 2:07 - 2:11
    พวกเขาตั้งมั่นที่จะเป็นตัวแทน
    ของคอมมูนิสต์ที่ต่อต้านฮิตเลอร์
  • 2:11 - 2:15
    และให้ภาพลักษณ์เยอรมันตะวันตก
    ว่าเป็นลัทธินาซีที่ยังคงอยู่
  • 2:15 - 2:19
    ในขณะที่สหรัฐ และฝ่ายสัมพันธมิตร
    ทุ่มเงินให้กับการสร้างเยอรมันตะวันตก
  • 2:19 - 2:23
    สหภาพโซเวียตก็ตักตวงทรัพยากร
    จากเยอรมันตะวันออกไปเป็นค่าปฏิกรรมสงคราม
  • 2:23 - 2:27
    ทำให้เศรษฐกิจของชาติที่ถูกวางแผนเอาไว้
    เสื่อมศักยภาพลงไปอีก
  • 2:27 - 2:31
    ชีวิตในเยอรมันตะวันออก
    อยู่ภายใต้การจับตามองของสตาซิ
  • 2:31 - 2:35
    ตำรวจลับที่ดักฟังและรายงานประวัติ
    ของประชากรที่ถูกเฝ้าติดตาม
  • 2:35 - 2:38
    เกี่ยวกับเบาะแสใด ๆ
    ที่อาจสื่อถึงความไม่จงรักภักดี
  • 2:38 - 2:41
    ในขณะที่มีสาธารณสุขและการศึกษา
    แบบให้เปล่าในตะวันออก
  • 2:41 - 2:43
    ทางด้านตะวันตก
    อวดเฟื่องเรื่องเงินเดือนที่สูงกว่า
  • 2:43 - 2:45
    มีปัจจัยสำหรับผู้บริโภคที่มากกว่า
  • 2:45 - 2:47
    และมีเสรีภาพส่วนบุคคลมากกว่า
  • 2:47 - 2:53
    ถึงปี ค.ศ.1961 ประชากรประมาณ 3.5 ล้านคน
    เกือบ 20% ของประชากรเยอรมันตะวันออก
  • 2:53 - 2:56
    ซึ่งรวมถึงบรรดาผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่
    ได้อพยพย้ายถิ่นฐาน
  • 2:56 - 2:58
    เพื่อป้องกันการสูญเสียชนชั้นมันสมอง
  • 2:58 - 3:03
    เยอรมันตะวันออกตัดสินใจที่จะปิดชายแดน
    และกำแพงเบอร์ลินก็เกิดขึ้น
  • 3:03 - 3:05
    มันทอดตัวในเบอร์ลินยาว 43 กิโลเมตร
  • 3:05 - 3:08
    และยาวออกไปอีก 112 กิโลเมตร
    ในเยอรมันตะวันออก
  • 3:08 - 3:12
    ตอนแรก ปราการนี้มีลวดหนามและตาข่าย
  • 3:12 - 3:15
    ชาวเบอร์ลินบางคนหลบหนีออกมา
    โดยการกระโดดข้ามรั้วลวดหนาม
  • 3:15 - 3:17
    หรือปีนออกทางหน้าต่าง
  • 3:17 - 3:20
    แต่เมื่อกำแพงถูกขยายความยาวออกไป
    มันก็ยุ่งยากมากขึ้น
  • 3:20 - 3:27
    ถึงปี ค.ศ.1965 เครื่องกีดขวางคอนกรีต
    ยาว 106 กิโลเมตร สูง 3.6 เมตร ก็เข้ามา
  • 3:27 - 3:31
    ท่อกลมถูกวางทับด้านบนเพื่อป้องกันการปีนหนี
  • 3:31 - 3:34
    หลายปีต่อมา กำแพงถูกเสริมด้วยแท่งเหล็กแหลม
  • 3:34 - 3:35
    สุนัขยาม
  • 3:35 - 3:37
    และแม้กระทั่งทุ่นระเบิด
  • 3:37 - 3:41
    ด้วยกันกับหอสังเกตการณ์ 302 จุด
    และหลุมหลบภัยอีก 20 แห่ง
  • 3:41 - 3:46
    รั้วคู่ขนานทางด้านหลังกินพื้นที่ 100 เมตร
    เรียกว่าแถบมรณะ
  • 3:46 - 3:50
    ที่นั่น ตึกรามบ้านช่องถูกทำลาย
    และพื้นก็ถูกถมด้วยทราย
  • 3:50 - 3:54
    เพื่อให้ยามหลายร้อยคน
    ได้มองเห็นได้อย่างชัดเจน
  • 3:54 - 3:57
    เพื่อที่จะยิงใครก็ตามที่พยายามข้ามรั้ว
  • 3:57 - 4:03
    อย่างไรก็ตาม คนเกือบ 5,000 คน
    หนีออกจากเยอรมันตะวันออกได้สำเร็จ
  • 4:03 - 4:07
    ระหว่างปี ค.ศ.1961 และ 1989
  • 4:07 - 4:10
    บ้างก็เป็นทูตหรือนักกีฬา
    ที่ละทิ้งหน้าที่ไประหว่างอยู่ต่างประเทศ
  • 4:10 - 4:13
    แต่ก็มีคนอื่น ๆ ที่เป็นประชาชนธรรมดา
    ที่ขุดอุโมงค์
  • 4:13 - 4:15
    ว่ายน้ำข้ามคลอง
  • 4:15 - 4:17
    ใช้บอลลูนลมร้อน
  • 4:17 - 4:21
    หรือแม้กระทั่งขับรถถังที่ถูกขโมยมา
    ชนฝ่ากำแพง
  • 4:21 - 4:22
    แม้ว่าจะมีความเสี่ยงมาก
  • 4:22 - 4:26
    คนกว่า 138 คนเสียชีวิต
    ระหว่างที่พยายามหลบหนี
  • 4:26 - 4:31
    บ้างก็ถูกยิงทั้งที่เห็นได้อย่างชัดเจน
    โดยชาวเยอรมันตะวันตกผู้ไม่อาจยื่นมือเข้าช่วย
  • 4:31 - 4:36
    กำแพงสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจของ
    เยอรมันตะวันออกโดยป้องกันการรั่วไหลของแรงงาน
  • 4:36 - 4:38
    แต่ทำให้ชื่อเสียงของชาติเสื่อมทรามลง
  • 4:38 - 4:42
    กลายเป็นสัญลักษณ์สากล
    ของการกดขี่ของคอมมูนิสต์
  • 4:42 - 4:44
    ตามหลักการปรองดองกับทางตะวันออก
  • 4:44 - 4:49
    สนธิสัญญาพื้นฐาน ค.ศ.1972
    ยอมรับเยอรมันตะวันออกในทางปฏิบัติ
  • 4:49 - 4:54
    ในขณะที่เยอรมันตะวันตกยังคงหวัง
    ที่ในที่สุดจะได้กลับมารวมกัน
  • 4:54 - 4:57
    แม้ว่าระบอบการปกครองทางตะวันออก
    จะค่อย ๆ ยอมให้ครอบครัวไปมาหาสู่กัน
  • 4:57 - 5:01
    แต่ก็พยายามที่จะกีดกันไม่ให้คนใช้สิทธินี้
  • 5:01 - 5:05
    ด้วยขั้นตอนตามระบบราชการที่ยุ่งยาก
    และค่าดำเนินการที่สุดแพง
  • 5:05 - 5:08
    อย่างไรก็ตาม
    ก็ยังมีผู้ยื่นคำขอรับสิทธิอย่างถล่มทลาย
  • 5:08 - 5:10
    ในช่วงสิ้นยุค 1980
  • 5:10 - 5:13
    ระบบเสรีของประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มตะวันออก
  • 5:13 - 5:17
    ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออก
    ถึงความต้องการประชาธิปไตยและการเดินทางเสรี
  • 5:17 - 5:20
    ในช่วงเย็นของวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1989
  • 5:20 - 5:25
    เยอรมันตะวันออกพยายามที่จะลดความตึงเครียด
    โดยอนุญาตให้ผู้คนเดินทางไปมาได้สะดวกขึ้น
  • 5:25 - 5:29
    แต่การประกาศนี้นำชาวเบอร์ลินหลายพัน
  • 5:29 - 5:31
    ไปสู่จุดข้ามแดนที่กำแพงนั่น
  • 5:31 - 5:35
    บังคับกดดันให้ยามผู้อยู่ในความงงงัน
    เปิดรั้วให้กับพวกเขา
  • 5:35 - 5:38
    ฝูงชนที่เข้ามาสมทบหลั่งไหลสู่กำแพงเบอร์ลิน
  • 5:38 - 5:41
    ในขณะที่ผู้คนทั้งสองฝั่ง
    ต่างร้องรำทำเพลงกันเหนือกำแพง
  • 5:41 - 5:45
    และพวกเขาก็เริ่มทำลายมันลง
    ด้วยอะไรก็ตามที่พวกเขาหามาได้
  • 5:45 - 5:48
    แม้ว่าตอนแรกยามที่ชายแดน
    จะพยายามควบคุมสถานการณ์
  • 5:48 - 5:53
    มันชัดเจนในเวลาต่อมาว่า
    ช่วงเวลาแห่งการแบ่งแยกนั้นสิ้นสุดลงแล้ว
  • 5:53 - 5:58
    หลังจากสี่ทศวรรษ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1990
    เยอรมันก็ได้กลับมาเป็นหนึ่งเดียวกัน
  • 5:58 - 6:01
    สหภาพโซเวียตก็ล่มสลายไม่นานหลังจากนั้น
  • 6:01 - 6:04
    ทุกวันนี้ ส่วนที่เหลืออยู่ของกำแพงเบอร์ลิน
    ยังคงตั้งอยู่เป็นอนุสรณ์
  • 6:04 - 6:07
    ว่าไม่ว่าปราการใดที่เราสร้างขึ้นไว้
    เพื่อกีดขวางเสรีภาพ
  • 6:07 - 6:09
    เรานั้นสามารถทำลายมันลงได้เช่นกัน
Title:
จุดสูงสุดและจุดตกต่ำของกำแพงเบอร์ลิน - คอนราด เอช, จารัวช์ (Konrad H. Jarausch)
Speaker:
คอนราด เอช, จารัวช์ (Konrad H. Jarausch)
Description:

ชมวีดีโอของผู้สนับสนุนของเราได้ที่: https://www.patreon.com/teded

ชมบทเรียนเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/the-rise-and-fall-of-the-berlin-wall-konrad-h-jarausch

ในวันที่ 13 สิงหาคม, ค.ศ. 1961 คนงานก่อสร้างเริ่มที่จะรื้อถอนถนนและสิ่งกีดขวางที่ตั้งอยู่ในกรุงเบอร์ลิน ค่ำคืนดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นการแบ่งเขตแดนหนึ่งที่ฉาวที่สุดในประวัติศาสตร์: กำแพงเบอร์ลิน การสร้างดำเนินไปเป็นเวลาหนึ่งทศวรรษโดยที่กำแพงดังกล่าวพาดผ่านแหล่งชุมชน ตัดญาติพี่น้อง และไม่ได้แบ่งแยกเพียงแค่เยอรมันนี แต่ได้แบ่งแยกโลกของเราด้วย คอนราด เอช. จารัวช์ ให้รายละเอียดประวัติศาสตร์ของกำแพงเบอร์ลิน

บทเรียนโดย Konrad H. Jarausch, แอนิเมชันโดย Remus & Kiki

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
06:26

Thai subtitles

Revisions