Return to Video

การโจมตีของสาหร่ายนักฆ่า - อิริค โนเอล มูโญซ (Eric Noel Muñoz)

  • 0:07 - 0:09
    เราทุกคนต่างเคยเห็นภาพยนตร์
  • 0:09 - 0:11
    ที่สัตว์ประหลาดที่ถูกสร้างขึ้นในห้องทดลอง
    โดยนักวิทยาศาสตร์
  • 0:11 - 0:14
    หนีออกมาและก่อหายนะให้กับโลกภายนอก
  • 0:14 - 0:16
    แต่ถ้าหากสัตว์ประหลาดที่ว่าไม่ได้เป็น
    อสูรกายยักษ์ที่ย่ำเท้าไปทั่ว
  • 0:16 - 0:19
    ที่ทำลายบ้านเมือง
    แต่เป็นแค่สาหร่ายที่มีปริมาณไม่มาก
  • 0:19 - 0:22
    ที่มีความสามารถในการทำลาย
    ระบบนิเวศน์ชายฝั่งทั้งระบบล่ะ
  • 0:22 - 0:25
    นี่เป็นเรื่องราวของ Caulerpa taxifolia
  • 0:25 - 0:27
    สาหร่ายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
  • 0:27 - 0:28
    ที่มีแหล่งดั้งเดิมอยู่ในแหล่งน้ำเขตร้อน
  • 0:28 - 0:32
    ในยุค 1980 สายพันธุ์หนึ่งของมัน
    ถูกพบในสิ่งแวดล้อมที่หนาวกว่า
  • 0:32 - 0:35
    ลักษณะดังกล่าว รวมถึงสีเขียวสดใส
    ที่สวยงามของมัน
  • 0:35 - 0:38
    และความสามารถในการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
    โดยไม่ต้องได้รับการดูแล
  • 0:38 - 0:40
    ทำให้มันเป็นพืชน้ำที่เหมาะสม
    ที่ช่วยทำให้ตู้เลี้ยงปลาสะอาด
  • 0:40 - 0:43
    โดยการบริโภคสารอาหารและสารเคมีในน้ำ
  • 0:43 - 0:45
    การคัดพันธุ์ต่อมาทำให้มันทนทานมากขึ้น
  • 0:45 - 0:48
    และไม่นานมันก็ถูกใช้ในตู้ปลาทั่วโลก
  • 0:48 - 0:50
    แต่ไม่นานนักก่อนที่พวกมัน
  • 0:50 - 0:51
    สุดยอดสาหร่ายที่ถูกพัฒนาในตู้ปลาเหล่านี้
  • 0:51 - 0:53
    จะปรากฏตัวขึ้นในทะเลแถบเมนิเตอเรเนียน
  • 0:53 - 0:56
    ใกล้กับพิพิธภัณฑ์ทางทะเลของโมนาโค
    ที่โด่งดัง
  • 0:56 - 0:58
    นักชีววิทยาทางทะเลผู้พบมันเชื่อว่า
  • 0:58 - 1:00
    พิพิธภัณฑ์ปล่อยมันลงทะเลโดยบังเอิญ
  • 1:00 - 1:01
    พร้อมกับน้ำจากตู้ปลา
  • 1:01 - 1:03
    ในขณะที่ผู้บริหารพิพิธภัณฑ์อ้างว่า
  • 1:03 - 1:06
    มันถูกพัดพามายังบริเวณดังกล่าว
    โดยคลื่นในมหาสมุทร
  • 1:06 - 1:07
    ไม่ว่ามันจะมาถึงที่นั่นด้วยวิธีใด
  • 1:07 - 1:09
    Caulerpa ที่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตประจำถิ่น
    เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • 1:09 - 1:11
    มันไม่มีผู้ล่าตามธรรมชาติ
  • 1:11 - 1:13
    เนื่องจากการปล่อยสารพิษ
    ทำให้ปลาไม่อยู่ในบริเวณนั้น
  • 1:13 - 1:16
    และเช่นเดียวกับสัตว์ประหลาดในตำนาน
    แม้กระทั่งชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่แยกออกมา
  • 1:16 - 1:19
    ก็สามารถเติบโตเป็นโคโลนีใหม่ได้
  • 1:19 - 1:21
    ด้วยกระแสน้ำและการสัมผัสกับสมอเรือ
    และแนวการตกปลา
  • 1:21 - 1:25
    มันแยกออกและกระจายออกไป
    ทั่วเมืองตามชายฝั่งทะเลเมนิเตอเรเนียน
  • 1:25 - 1:26
    ปกคลุมปะการัง
  • 1:26 - 1:29
    แล้วผลจากการบุกรุกคืออะไรกันล่ะ
  • 1:29 - 1:30
    มันขึ้นอยู่กับว่าคุณไปถามใคร
  • 1:30 - 1:33
    นักวิทยาศาสตร์มากมายเตือนว่า
    การแพร่กระจายของ Caulerpa
  • 1:33 - 1:36
    ลดความหลากหลายทางชีวภาพ
    จากลดจำนวนของกลุ่มสาหร่ายประจำถิ่น
  • 1:36 - 1:37
    ที่เป็นอาหารของปลา
  • 1:37 - 1:40
    นักชีววิทยาที่ค้นพบมันเป็นคนแรก
    และคนทั่วไปเรียกมันว่า
  • 1:40 - 1:41
    สาหร่ายนักฆ่า
  • 1:41 - 1:43
    การศึกษาอื่น ๆ รายงานผลที่ตรงข้าม
  • 1:43 - 1:45
    ว่าอันที่จริงสาหร่ายให้ผลดี
  • 1:45 - 1:47
    ต่อการดูดซับมลพิษเคมี --
  • 1:47 - 1:49
    เหตุผลหนึ่งที่สายพันธุ์ในตู้ปลา
    ถูกพัฒนาขึ้น
  • 1:49 - 1:51
    แต่การบุกรุกระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ
  • 1:51 - 1:53
    โดยการนำสายพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามา
  • 1:53 - 1:55
    อาจทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่อาจคาดเดา
    และไม่อาจควบคุมได้
  • 1:55 - 1:57
    ที่อาจไม่สามารถเห็นได้ในทันที
  • 1:57 - 1:59
    ฉะนั้น เมื่อ Culerpa taxifolia ถูกค้นพบ
  • 1:59 - 2:02
    ที่ทะเลสาบ อากัว เฮดิออนดา
    ของ คาร์ลส์บัด
  • 2:02 - 2:03
    ใกล้กับ ซานดิเอโก ในปี ค.ศ. 2000
  • 2:03 - 2:05
    ที่น่าจะมาจากการทิ้ง
  • 2:05 - 2:08
    จากตู้ปลาในบ้านลงไปในท่อน้ำทิ้ง
  • 2:08 - 2:10
    พวกเขาคิดว่าจะต้องหยุดยั้งมัน
    ก่อนที่มันจะแพร่กระจายออกไป
  • 2:10 - 2:13
    ตัวดักจับถูกวางเอาไว้เหนือโคโลนีของ Culerpa
  • 2:13 - 2:15
    และคลอรีนก็ถูกปล่อยลงไป
  • 2:15 - 2:16
    แม้ว่าวิธีการนี้จะฆ่า
  • 2:16 - 2:18
    สิ่งมีชีวิตในน้ำอื่น ๆ ก็ติดอยู่ใต้ตัวดักจับด้วย
  • 2:18 - 2:20
    มันช่วยกำจัดสาหร่ายดังกล่าวได้สำเร็จ
  • 2:20 - 2:23
    และพืชน้ำประจำถิ่นอื่น ๆ ก็สามารถเติบโต
    ขึ้นในที่ของมันได้
  • 2:23 - 2:26
    ด้วยการตอบสนองที่รวดเร็ว
    ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในแคลิฟอร์เนีย
  • 2:26 - 2:28
    สามารถที่จะป้องกัน Culerpa
    จากการแพร่กระจายออกไปได้
  • 2:28 - 2:30
    แต่อีกสายพันธุ์หนึ่งที่เกิดขึ้น
  • 2:30 - 2:32
    ทางชายฝังพื้นที่ชุ่มน้ำทางตะวันออกเฉียงใต้
    ของออสเตรเลีย
  • 2:32 - 2:34
    กำลังไม่ได้รับการดูและถูกปล่อยปะละเลย
    ให้แพร่กระจายออกไป
  • 2:34 - 2:37
    และโชคร้ายที่ตัวดักจับไม่สามารถปกคลุม
    ทะเลเมนิเตอเรเนียน
  • 2:37 - 2:39
    หรือชายฝั่งออสเตรเลียได้
  • 2:39 - 2:41
    สายพันธุ์ที่บุกรุกเข้ามานี้ไม่ใช่ปัญหาใหม่
  • 2:41 - 2:43
    และสามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ
  • 2:43 - 2:45
    แต่เมื่อสายพันธุ์เช่นนี้ที่เป็นผลจาก
  • 2:45 - 2:48
    การคัดพันธุ์โดยตรงโดยมนุษย์
    หรือการตัดต่อพันธุกรรม
  • 2:48 - 2:50
    ถูกปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
  • 2:50 - 2:51
    ผลกระทบของพวกมันที่มีต่อระบบนิเวศน์
  • 2:51 - 2:54
    อาจมีมากกว่าและไม่อาจย้อนกลับได้
  • 2:54 - 2:56
    ด้วยการเกิดขึ้นใหม่ของเทคโนโลยี
  • 2:56 - 2:58
    และการคุกคามมากมายต่อสิ่งแวดล้อม
  • 2:58 - 3:00
    มันสำคัญยิ่งกว่าครั้งไหน ๆ ที่นักวิทยาศาสตร์
  • 3:00 - 3:03
    จะติดตามและประเมินความเสี่ยงและอันตราย
  • 3:03 - 3:04
    และสำหรับพวกเราที่เหลือที่จะจดจำ
  • 3:04 - 3:06
    ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในสนามหญ้าของเรา
  • 3:06 - 3:08
    สามารถที่จะส่งผลต่อระบบนิเวศน์
    ที่อยู่ห่างออกไปครึ่งโลกได้
Title:
การโจมตีของสาหร่ายนักฆ่า - อิริค โนเอล มูโญซ (Eric Noel Muñoz)
Description:

ชมบทเรียนเต็มที่: http://ed.ted.com/lessons/attack-of-the-killer-algae-eric-noel-munoz

สาหร่าย Caulerpa taxifolia เล็ก ๆ ที่ดูใกล้ ๆ แล้วก็เหมือนว่ามันไม่มีพิษภัยใด ๆ สามารถทำให้เกิดหายนะในระบบริเวศน์ชายฝั่งได้ไม่เบา สุดยอดสาหร่ายนี้ปรับตัวได้เก่งมาก มันยังเติบโตได้อย่างรวดเร็วและเพร่พันธุ์ออกไปได้อย่างง่ายดาย Eric Noel Muñoz ให้รายละเอียดของการบุกรุกที่น่าทึ่งของพืชชนิดนี้ และให้ความกระจ่างถึงความเสี่ยงของการนำสายพันธุ์บุกรุกเข้าไปยังระบบนิเวศน์ใหม่

บทเรียนโดย Eric Noel Muñoz, แอนิเมชันโดย Eli Enigenburg

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
03:24

Thai subtitles

Revisions