Return to Video

สภาพของภูมิอากาศ — และสิ่งที่เราอาจจะทำเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้

  • 0:00 - 0:04
    เราอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่ธรรมดา
  • 0:04 - 0:07
    กว่าสองทศวรรษข้างหน้า เราเผชิญกับ
  • 0:07 - 0:09
    การปฏิรูปพื้นฐานสองอย่าง
  • 0:09 - 0:12
    ซึ่งจะตัดสินได้ว่าในอีก 100 ปีข้างหน้านั้น
  • 0:12 - 0:17
    จะเป็นศตวรรษที่ดีที่สุด หรือ เลวที่สุดมั๊ย
  • 0:17 - 0:19
    ขอให้ผมขยายความ ด้วยตัวอย่างหนึ่ง
  • 0:19 - 0:23
    ครั้งแรกที่ผมไปเยือนปักกิ่ง
    เมื่อ 25 ปีก่อน
  • 0:23 - 0:26
    เพื่อไปสอนที่มหาวิทยาลัยประชาชน
    ของจีนนั้น
  • 0:26 - 0:28
    จีนกำลังเอาจริงเอาจังกับ
    เศรษฐศาสตร์แบบตลาด
  • 0:28 - 0:31
    และกับเรื่องการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
  • 0:31 - 0:35
    จีนจึงตัดสินใจเชิญ
    ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติมาช่วย
  • 0:35 - 0:37
    ก็เหมือน ๆ กับผู้คนส่วนมาก
  • 0:37 - 0:40
    ผมเดินทางไปรอบ ๆ กรุงปักกิ่ง ด้วยจักรยาน
  • 0:40 - 0:42
    เว้นแต่ต้องหลบหลีกยานพาหนะ
    เป็นครั้งคราว
  • 0:42 - 0:45
    มันเป็นวิธีการง่าย ๆ และปลอดภัย
    ในการเดินทาง
  • 0:45 - 0:47
    การขี่จักรยานในปักกิ่งขณะนี้
  • 0:47 - 0:49
    เป็นภาพที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
  • 0:49 - 0:53
    ถนนนั้นอัดแน่นไปด้วย รถยนต์และรถบรรทุก
  • 0:53 - 0:54
    อากาศนั้นก็เป็นมลพิษที่อันตราย
  • 0:54 - 0:58
    จากการเผาไหม้ของถ่านหิน และนํ้ามันดีเซล
  • 0:58 - 1:00
    ตอนที่ผมอยู่ที่นั่น ครั้งสุดท้าย
    ในฤดูใบไม้ผลิ
  • 1:00 - 1:03
    มีคำแนะนำ ให้คนอายุรุ่นเดียวกับผม
  • 1:03 - 1:05
    คือ เกินกว่า 65 ปี
  • 1:05 - 1:08
    ให้อยู่ภายในบ้าน และอย่าออกไปไหนมากนัก
  • 1:08 - 1:10
    เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
  • 1:10 - 1:13
    มันมาจากวิธีที่
  • 1:13 - 1:15
    ปักกิ่งเติบโต เป็นเมืองใหญ่ขึ้นมา
  • 1:15 - 1:17
    ถึงสองเท่าของกว่า 25 ปีนั้น
    เกินกว่าสองเท่า
  • 1:17 - 1:19
    จาก 10 ล้าน เป็น 20 ล้าน
  • 1:19 - 1:21
    กลายเป็นเขตเมือง ที่ขยายแผ่ออกไป
  • 1:21 - 1:25
    ที่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงสกปรก
    พลังงานสกปรก
  • 1:25 - 1:27
    โดยเฉพาะถ่านหิน
  • 1:27 - 1:32
    จีนเผาครึ่งหนึ่งของถ่านหินโลก ในแต่ละปี
  • 1:32 - 1:36
    และนั่นคือ สาเหตุว่าทำไม
    เหตุผลสำคัญว่า เพราะอะไร
  • 1:36 - 1:38
    จีนจึงเป็นแหล่งแผ่กระจายใหญ่ที่สุด
  • 1:38 - 1:40
    ของก๊าซเรือนกระจกของโลก
  • 1:40 - 1:43
    ในเวลาเดียวกัน เราต้องยอมรับ
  • 1:43 - 1:46
    ว่า ในช่วงเวลานั้น จีนเติบโตขึ้นมา
    อย่างน่าทึ่ง
  • 1:46 - 1:48
    กลายเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด
    อันดับสองของโลก
  • 1:48 - 1:50
    คนหลายร้อยล้านคน
  • 1:50 - 1:52
    ถูกยกระดับขึ้นมา จากความยากจน
  • 1:52 - 1:54
    นั่นเป็นเรื่องสำคัญอย่างแท้จริง
  • 1:54 - 1:56
    แต่ในเวลาเดียวกัน ผู้คนของจีน
  • 1:56 - 1:58
    กำลังตั้งคำถามว่า
  • 1:58 - 1:59
    คุณค่าของการเติบโตขึ้นนี้ คืออะไร
  • 1:59 - 2:02
    ถ้าหากว่าเมืองของเรานั้น อยู่อาศัยไม่ได้
  • 2:02 - 2:04
    พวกเขาได้วิเคราะห์, วินิจฉัย
  • 2:04 - 2:07
    ว่า สิ่งนี้เป็นเส้นทาง ของการเติบโต
  • 2:07 - 2:09
    และการพัฒนา ที่ไม่ยั่งยืน
  • 2:09 - 2:12
    จีนกำลังวางแผน ที่จะลดปริมาณถ่านหินลง
  • 2:12 - 2:17
    กำลังหาวิธีสร้างเมืองของจีน
    ในแบบที่ต่างออกไป
  • 2:17 - 2:19
    ปัจจุบัน การเติบโตของจีน
  • 2:19 - 2:23
    เป็นส่วนของ การเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นเต้น
    การเปลี่ยนแปลงที่เป็นพื้นฐานสำคัญ
  • 2:23 - 2:26
    ในโครงสร้างของเศรษฐกิจโลก
  • 2:26 - 2:29
    ในอดีต แค่ 25 ปีที่แล้ว
    ประเทศกำลังพัฒนานั้น
  • 2:29 - 2:30
    หรือ ประเทศที่ยากจนกว่าใครในโลกนั้น
  • 2:30 - 2:34
    ถ้าไม่คำนึงถึงว่า เป็นผู้คนส่วนใหญ่แล้ว
  • 2:34 - 2:36
    พวกเขาทำได้ ก็เพียงประมาณหนึ่งในสาม
  • 2:36 - 2:38
    ของผลผลิตที่ออกมาสู่โลก
  • 2:38 - 2:40
    แต่ปัจจุบัน มันมากกว่าครึ่ง
  • 2:40 - 2:43
    อีก 25 จากนี้ไป อาจจะเป็นสองในสามก็ได้
  • 2:43 - 2:46
    จากประเทศที่เราเห็นเมื่อ 25 ปี ในอดีต
  • 2:46 - 2:47
    ว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา
  • 2:47 - 2:49
    นั่นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่น
  • 2:49 - 2:51
    มันหมายความว่า ประเทศต่าง ๆ
    ส่วนใหญ่ทั่วโลก
  • 2:51 - 2:53
    ไม่ว่าจะรวยหรือจน, กำลังจะเผชิญกับ
  • 2:53 - 2:55
    การปฏิรูประดับพื้นฐาน สองประการ
  • 2:55 - 2:58
    ซึ่งผมต้องการจะพูดถึง และเน้นความสำคัญ
  • 2:58 - 3:01
    ครับ อันดับแรก ของการปฏิรูปเหล่านี้
  • 3:01 - 3:03
    คือ การเปลี่ยนโครงสร้าง ขั้นพื้นฐาน
  • 3:03 - 3:05
    ในเรื่อง เศรษฐกิจและสังคม
  • 3:05 - 3:07
    ซึ่งผมได้เริ่มต้น ขยายความไปแล้ว
  • 3:07 - 3:10
    ด้วยการอธิบาย เรื่องของกรุงปักกิ่ง
  • 3:10 - 3:13
    50 เปอร์เซ็นต์ ขณะนี้ อยู่ในพื้นที่เมือง
  • 3:13 - 3:17
    กำลังจะไปเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2050
  • 3:17 - 3:19
    ไปอีกสองทศวรรษข้างหน้า เราก็จะเห็น
  • 3:19 - 3:22
    ความต้องการพลังงาน สูงขึ้น
    ไปถึง 40 เปอร์เซ็นต์
  • 3:22 - 3:26
    และการเติบโต ในเศรษฐกิจ และประชากร
  • 3:26 - 3:29
    กำลังเพิ่มความกดดัน ต่อพื้นแผ่นดินของเรา
  • 3:29 - 3:33
    ต่อนํ้าของเรา และต่อป่าของเรา
  • 3:33 - 3:36
    นี่เป็น การเปลี่ยนโครงสร้างที่ลํ้าลึก
  • 3:36 - 3:38
    ถ้าเราจัดการมัน แบบละเลยไม่ใส่ใจ
  • 3:38 - 3:40
    หรือในแบบมองระยะสั้น ๆ
  • 3:40 - 3:44
    เราก็จะสร้าง ของเสีย มลพิษ การแออัด
  • 3:44 - 3:48
    การทำลาย ต่อแผ่นดินและป่า
  • 3:48 - 3:50
    ถ้าเราคิดถึงทั้ง 3 เรื่อง
    ที่ผมยกตัวอย่างไป
  • 3:50 - 3:54
    พร้อมกับตัวเลขของผม --
    เมือง, พลังงาน, แผ่นดิน --
  • 3:54 - 3:56
    ถ้าเราจัดการกับทั้งหมดนั้น ไม่ดีแล้ว
  • 3:56 - 3:58
    อนาคตที่คาดหวัง สำหรับชีวิต
    และความเป็นอยู่
  • 3:58 - 4:00
    ของผู้คนทั่วทั้งโลก
  • 4:00 - 4:03
    จะยากแค้น และถูกทำลายเสียหาย
  • 4:03 - 4:04
    และยิ่งกว่านี้อีก
  • 4:04 - 4:08
    ก๊าซเรือนกระจกที่ออกมา ก็จะเพิ่มขึ้น
  • 4:08 - 4:12
    พร้อมกับความเสี่ยงอย่างมาก
    ต่อภูมิอากาศของเรา
  • 4:12 - 4:14
    ความหนาแน่นของ ก๊าซเรือนกระจก
  • 4:14 - 4:17
    ในบรรยากาศในปัจจุบันนั้น สูงกว่า
  • 4:17 - 4:20
    สูงกว่า ที่มันเคยเป็นอยู่
    เมื่อหลายล้านปีมาแล้ว
  • 4:20 - 4:24
    ถ้าเรายังคง เพิ่มความหนาแน่นเหล่านั้น
    ต่อไปอีก
  • 4:24 - 4:27
    เราก็จะเสี่ยงกับอุณหภูมิ ในศตวรรษหน้า
    หรือ ประมาณนั้น
  • 4:27 - 4:29
    ที่เราไม่เคยได้เห็นมาก่อน บนโลกนี้
  • 4:29 - 4:32
    นานเป็นหลายสิบล้านปี
  • 4:32 - 4:34
    เราอยู่มานาน ในฐานะ มนุษย์ --
  • 4:34 - 4:37
    นั่นเป็น คำจำกัดความ
    ที่ค่อนข้างจะกว้างสักหน่อย, มนุษย์--
  • 4:37 - 4:40
    บางทีอาจจะสองแสนห้าหมื่นปี,
    สองแสนห้าหมื่นปี
  • 4:40 - 4:41
    เราเสี่ยงกับอุณหภูมิ
  • 4:41 - 4:46
    ที่ไม่เคยพบเห็น ในเป็นหลายสิบล้านปี
    ในแค่เพียงหนึ่งศตวรรษ
  • 4:46 - 4:48
    นั่นจะเปลี่ยนความสัมพันธ์
  • 4:48 - 4:52
    ระหว่างมนุษย์ กับโลกนี้ไป
  • 4:52 - 4:57
    มันอาจนำไปสู่ การเปลี่ยนทะเลทราย
  • 4:57 - 5:00
    การเปลี่ยนแม่นํ้า
    การเปลี่ยนรูปแบบพายุเฮอริเคน
  • 5:00 - 5:02
    เปลี่ยนแปลงระดับนํ้าทะเล
  • 5:02 - 5:04
    ผู้คนหลายร้อยล้านคน,
  • 5:04 - 5:07
    อาจจะเป็น หลายพันล้านคน
    ที่อาจจะต้องโยกย้ายถิ่น
  • 5:07 - 5:09
    และถ้าเราได้เรียนรู้ใด ๆ
    จากประวัติศาสตร์
  • 5:09 - 5:12
    นั่นก็หมายถึง ความขัดแย้งที่รุนแรง
    และแผ่ขยายไป
  • 5:12 - 5:14
    และเราไม่สามารถ แม้แค่จะหยุดมันได้
  • 5:14 - 5:16
    คุณไม่สามารถทำสนธิสัญญาสงบศึก กับโลก
  • 5:16 - 5:18
    คุณไม่สามารถเจรจาต่อรอง กับกฎทางฟิสิกส์
  • 5:18 - 5:20
    คุณอยู่ในนั้น และคุณก็ติดค้างอยู่
  • 5:20 - 5:22
    เหล่านั้นคือ เดิมพันที่เรากำลังเล่น
  • 5:22 - 5:24
    และนั่นคือ เหตุที่ทำให้เราต้องทำการปฏิรูป
    อย่างที่สองนี้
  • 5:24 - 5:26
    คือ การปฏิรูปภูมิอากาศ
  • 5:26 - 5:28
    และก็ เลื่อนไปที่ เศรษฐกิจคาร์บอนตํ่า
  • 5:28 - 5:31
    ครับ เริ่มแรกของการปฏิรูปเหล่านี้
  • 5:31 - 5:32
    กำลังเกิดขึ้นอยู่แล้ว
  • 5:32 - 5:34
    เราต้องตัดสินใจว่า จะทำมันให้ดี
    หรือเลว
  • 5:34 - 5:36
    เศรษฐกิจ, โครงสร้าง, การปฏิรูปนั้น
  • 5:36 - 5:38
    แต่ขั้นสองของการปฏิรูป คือ
  • 5:38 - 5:42
    ปฏิรูปภูมิอากาศนั้น เราต้องตัดสินใจทำมัน
  • 5:42 - 5:45
    การปฏิรูปทั้งสองนั้น เผชิญหน้าเราอยู่
  • 5:45 - 5:47
    ในสองทศวรรษข้างหน้า
  • 5:47 - 5:50
    ในสองทศวรรษหน้านั้น
    เป็นการตัดสินใจชี้ขาด
  • 5:50 - 5:53
    ในสิ่งที่เราต้องทำ
  • 5:53 - 5:54
    ยิ่งผมคิดเรื่องนี้ มากเท่าใด
  • 5:54 - 5:56
    การปฏิรูปทั้งสองนั้นมาด้วยกัน
  • 5:56 - 5:58
    เราก็ยิ่งตระหนักมากขึ้น
  • 5:58 - 6:01
    ว่า นี่เป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่
  • 6:01 - 6:03
    เป็นโอกาส ที่เราจะสามารถใช้ประโยชน์
  • 6:03 - 6:07
    หรือเป็นโอกาส ที่เราอาจสูญเสียไปก็ได้
  • 6:07 - 6:09
    และขอผมอธิบาย ในพื้นที่สำคัญ
    ทั้งสามนั้น
  • 6:09 - 6:12
    ที่ผมได้ระบุไว้ คิอ
    เมืองใหญ่, พลังงาน, และแผ่นดิน
  • 6:12 - 6:14
    และขอให้ผมเริ่มต้นด้วย เมืองใหญ่
  • 6:14 - 6:18
    ผมอธิบายไปแล้ว เรื่องปัญหาของกรุงปักกิ่ง
  • 6:18 - 6:21
    มลพิษ ความแออัด ของเสีย และอื่น ๆ
  • 6:21 - 6:25
    แน่นอนครับ เราเห็นปัญหานั้น
    ในเมืองใหญ่ ๆ ของเรามากมาย
  • 6:25 - 6:26
    ทั่วโลก
  • 6:26 - 6:29
    กับเมืองใหญ่ ๆ, ก็เหมือนกับชีวิต
    แต่เฉพาะเมืองใหญ่ ๆ
  • 6:29 - 6:32
    คุณต้องคิดไปข้างหน้า
  • 6:32 - 6:33
    เมืองใหญ่ ๆ ที่เรากำลังจะสร้าง
  • 6:33 - 6:35
    คือ มีมากมาย, เมืองใหญ่ ๆ มากมาย
  • 6:35 - 6:37
    เราต้องคิดว่า จะออกแบบมันอย่างไร
  • 6:37 - 6:38
    ในแบบที่กระชับ เพื่อให้เรา
  • 6:38 - 6:42
    เพื่อให้เราสามารถประหยัด
    เวลาในการเดินทาง และพลังงานได้
  • 6:42 - 6:46
    เมืองใหญ่ที่มีอยู่แล้ว
    ก่อตั้งมาอย่างดีแล้ว
  • 6:46 - 6:49
    เราต้องคิดถึงมัน ในด้านการฟื้นฟู
    และการลงทุน
  • 6:49 - 6:51
    เพื่อให้เราสามารถเชื่อมต่อถึงกัน
  • 6:51 - 6:54
    ภายในตัวเมืองเหล่านั้น ให้ดีมากขึ้น
    และให้ง่ายขึ้น
  • 6:54 - 6:57
    สนับสนุนให้ผู้คน อยู่อาศัย
    ใกล้ๆศูนย์กลางมากขึ้น
  • 6:57 - 7:00
    เรามีตัวอย่างอาคาร สร้างอยู่ทั่วโลก
  • 7:00 - 7:02
    ตัวอย่างของวิธี ที่เราสามารถทำแบบนั้นได้
  • 7:02 - 7:06
    ระบบขนส่งรถเมล์เร็ว ในกรุงโบโกต้า
    โคลัมเบีย
  • 7:06 - 7:09
    เป็นกรณีสำคัญมากเรื่อง วิธีการเดินทาง
  • 7:09 - 7:11
    อย่างปลอดภัยและรวดเร็ว ในแบบไร้มลพิษ
  • 7:11 - 7:15
    ในเมืองใหญ่ ที่มีรถประจำทางวิ่งบ่อยมาก
  • 7:15 - 7:17
    เส้นทางที่ปกป้องไว้อย่างดี
    ให้บริการเหมือนกับ, จริง ๆ แล้ว
  • 7:17 - 7:20
    เหมือนกับระบบรถไฟใต้ดิน
  • 7:20 - 7:21
    แต่ถูกกว่าอย่างมาก ๆ
  • 7:21 - 7:24
    และสามารถวิ่งได้ อย่างรวดเร็วกว่ามาก ๆ
  • 7:24 - 7:26
    เป็นแนวคิดที่ฉลาดมาก ในเมืองใหญ่ ๆ อีกมาก
  • 7:26 - 7:28
    ทั่วโลกที่กำลังพัฒนา
  • 7:28 - 7:30
    ทีนี้, บางอย่างในเมืองใหญ่ ๆ ต้องใช้เวลา
  • 7:30 - 7:33
    บางสิ่งบางอย่างในเมืองใหญ่ ๆ
    เกิดขึ้นได้เร็วกว่ามาก
  • 7:33 - 7:35
    ตัวอย่างเช่น บ้านเกิดของผม กรุงลอนดอน
  • 7:35 - 7:40
    ในปี 1952 หมอกควันในลอนดอน
    ทำให้คนตายไป 4,000 คน
  • 7:40 - 7:43
    และก่อความเสียหายอย่างมาก
    ต่อหลาย ๆ ชีวิตอีกมากมาย
  • 7:43 - 7:44
    และมันเกิดขึ้นแล้ว ตลอดเวลา
  • 7:44 - 7:47
    สำหรับท่านที่อาศัยอยู่นอกกรุงลอนดอน
    ในอังกฤษ
  • 7:47 - 7:49
    จะจำได้ว่า เคยเรียกมันว่า เดอะสโมก
  • 7:49 - 7:50
    และนั่นคือวิถี ที่กรุงลอนดอนเคยเป็น
  • 7:50 - 7:53
    โดยการควบคุมถ่านหิน ภายในไม่กี่ปี
  • 7:53 - 7:56
    ปัญหาของหมอกควัน ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว
  • 7:56 - 7:57
    ผมจำหมอกควันนั้น ได้อย่างดี
  • 7:57 - 8:00
    เมื่อความสามารถในการมองเห็น ลดลง
  • 8:00 - 8:02
    เหลือน้อยกว่า ไม่กี่เมตร
  • 8:02 - 8:04
    พวกเขาหยุดเดินรถเมล์ และผมก็ต้องเดิน
  • 8:04 - 8:06
    นั่นเป็นช่วงปี 1950-1959
  • 8:06 - 8:10
    ผมต้องเดินกลับบ้าน สามไมล์จากโรงเรียน
  • 8:10 - 8:13
    อีกนั่นแหละ การหายใจ
    เป็นกิจกรรมที่อันตราย
  • 8:13 - 8:16
    แต่มันถูกเปลี่ยนไปแล้ว มันเปลี่ยนไป
    จากการตัดสินใจ
  • 8:16 - 8:19
    การตัดสินใจที่ดี
    สามารถนำผลลัพท์ที่ดีมาได้
  • 8:19 - 8:22
    ผลลัพท์ที่โดดเด่น, ได้มาอย่างรวดเร็ว
  • 8:22 - 8:24
    เราเห็นมากกว่านี้: ในลอนดอน
    เรานำการเก็บค่าธรรมเนียมแออัด มาใช้
  • 8:24 - 8:27
    จริง ๆ แล้ว รวดเร็วและได้ผลดีทีเดียว
  • 8:27 - 8:29
    เราได้เห็นการปรับปรุงที่ยิ่งใหญ่
  • 8:29 - 8:33
    ในระบบรถเมล์ และขจัดสิ่งไม่ถูกต้อง
    ออกไปจากระบบรถเมล์
  • 8:33 - 8:36
    คุณจะเห็นได้ว่า การปฏิรูปทั้งสองอย่าง
    ที่ผมได้อธิบายไป
  • 8:36 - 8:38
    คือ โครงสร้างและภูมิอากาศ
  • 8:38 - 8:40
    ยิ่งเข้ามาอยู่ด้วยกันมากขึ้น
  • 8:40 - 8:43
    แต่เราต้องลงทุน เราต้องลงทุน
    ในเมืองใหญ่ๆของเรา
  • 8:43 - 8:46
    และเราต้องลงทุนอย่างฉลาด
    และถ้าเราลงทุน
  • 8:46 - 8:50
    เราก็จะเห็นเมืองที่สะอาดขึ้น เงียบสงบขึ้น
    ปลอดภัยยิ่งขึ้น
  • 8:50 - 8:53
    เมืองที่สวยงามยิ่งขึ้น
    เมืองที่มีผลิตภาพยิ่งขึ้น
  • 8:53 - 8:56
    และชุมชนที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ในเมืองนั้น ๆ--
  • 8:56 - 8:58
    ด้านขนส่งสาธารณะ, การรีไซเคิล,
    การนำกลับมาใช้,
  • 8:58 - 9:02
    ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่นำชุมชนมารวมกัน
  • 9:02 - 9:04
    เราสามารถทำสิ่งนั้นได้ แต่เราต้องคิด
  • 9:04 - 9:06
    เราต้องลงทุน, เราต้องวางแผน
  • 9:06 - 9:09
    ขอกลับไปที่ เรื่องพลังงาน
  • 9:09 - 9:12
    ครับ พลังงานในช่วง 25 ปีที่ผ่านมานั้น
  • 9:12 - 9:14
    ได้เพิ่มขึ้นถึงราว 50 เปอร์เซ็นต์
  • 9:14 - 9:17
    80 เปอร์เซ็นต์ในนั้น มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
  • 9:17 - 9:18
    กว่า 20 ปีต่อจากนี้ไป
  • 9:18 - 9:22
    บางทีอาจจะเพิ่มขึ้นถึง
    อีก 40 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณนั้น
  • 9:22 - 9:25
    เราต้องลงทุนให้มากขึ้นอีก ในด้านพลังงาน
  • 9:25 - 9:28
    เราต้องใช้พลังงาน
    อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • 9:28 - 9:30
    และเราต้องทำให้สะอาด
  • 9:30 - 9:31
    เราเห็นวิธีที่จะทำได้
  • 9:31 - 9:33
    ยกตัวอย่างของ แคลิฟอร์เนีย
  • 9:33 - 9:35
    น่าจะอยู่ใน 10 ประเทศแรกในโลก
  • 9:35 - 9:38
    ถ้ามันเป็นประเทศอิสระ
  • 9:38 - 9:40
    ผมไม่ได้อยากจะเริ่มต้นอะไรหรอกครับ--
  • 9:40 - 9:44
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:44 - 9:46
    แคลิฟอร์เนีย เป็นที่ใหญ่
  • 9:46 - 9:48
    (เสียงหัวเราะ)
  • 9:48 - 9:51
    ในอีก 5 หรือ 6 ปีข้างหน้า
  • 9:51 - 9:53
    พวกเขาน่าจะเปลี่ยนไป จากราว 20 เปอร์เซ็นต์
  • 9:53 - 9:56
    ในด้านพลังงานทดแทน ซึ่งได้แก่
  • 9:56 - 9:57
    ลม, แสงอาทิตย์ และอื่นๆ
  • 9:57 - 10:00
    ไปเป็น กว่า 33 เปอร์เซ็นต์
  • 10:00 - 10:02
    และนั่นจะนำ แคลิฟอร์เนีย กลับไปสู่
  • 10:02 - 10:05
    การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2020
  • 10:05 - 10:07
    เหมือนที่พวกเขาเป็น ในปี 1990
  • 10:07 - 10:08
    คือ ช่วงที่เศรษฐกิจ ในแคลิฟอร์เนีย
  • 10:08 - 10:10
    น่าจะเป็นสองเท่า ไม่มากก็น้อย
  • 10:10 - 10:11
    นั่นเป็นความสำเร็จที่โดดเด่น
  • 10:11 - 10:13
    แสดงถึง สิ่งที่เราสามารถทำได้
  • 10:13 - 10:16
    มิใช่แค่แคลิฟอร์เนียเท่านั้น--
    รัฐบาลของอินเดีย ที่กำลังจะเข้ามา
  • 10:16 - 10:19
    ก็กำลังวางแผน จะเอาเทคโนโลยีแสงอาทิตย์
  • 10:19 - 10:21
    มาใช้เป็นแสงสว่างในบ้าน
  • 10:21 - 10:22
    ของคน 400 ล้านคน
  • 10:22 - 10:24
    ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ในอินเดีย
  • 10:24 - 10:27
    พวกเขาตั้งเป้าตัวเองไว้ ห้าปี
  • 10:27 - 10:30
    ผมคิดว่า พวกเขามีโอกาสดี
    ที่จะทำสิ่งนั้นได้
  • 10:30 - 10:33
    เราจะคอยดูกัน แต่สิ่งที่คุณเห็นอยู่
    ในปัจจุบัน
  • 10:33 - 10:35
    คือ ผู้คนเคลื่อนไปได้ รวดเร็วขึ้นมาก
  • 10:35 - 10:37
    สี่ร้อยล้าน มากกว่าประชากร
  • 10:37 - 10:39
    ของสหรัฐ
  • 10:39 - 10:41
    นั่นคือ รูปแบบของเป้าหมาย ในขณะนี้
  • 10:41 - 10:43
    ผู้คนกำลังให้ตัวเองทำงาน
  • 10:43 - 10:47
    ในเรื่องของ ความรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลง
  • 10:47 - 10:49
    อีกนั่นแหละ คุณจะเห็นได้ว่า
  • 10:49 - 10:51
    การตัดสินใจที่ดี นำผลลัพท์มาได้เร็ว
  • 10:51 - 10:54
    และการปฏิรูปทั้งสองนั้น:
    เศรษฐกิจกับโครงสร้าง
  • 10:54 - 10:56
    และภูมิอากาศกับคาร์บอนตํ่านั้น
  • 10:56 - 10:58
    สานสัมพัมธ์กันอย่างใกล้ชิด
  • 10:58 - 11:00
    ถ้าทำสิ่งแรก คือ โครงสร้าง ได้ดี
  • 11:00 - 11:02
    สิ่งที่สอง เกี่ยวกับภูมิอากาศ
  • 11:02 - 11:05
    ก็จะง่ายยิ่งขึ้น
  • 11:05 - 11:07
    มาดูที่ เรื่องแผ่นดินกัน
  • 11:07 - 11:10
    พื้นแผ่นดิน และโดยเฉพาะป่านั้น
  • 11:10 - 11:13
    ป่าเป็น ที่อาศัยของ สายพันธ์ุ
  • 11:13 - 11:15
    สัตว์และพืช ที่มีคุณค่า
  • 11:15 - 11:18
    พวกมันอุ้มนํ้าไว้ในดิน
  • 11:18 - 11:21
    และเอาคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ออกไป
    จากบรรยากาศ
  • 11:21 - 11:24
    เป็นพื้นฐานที่จะจัดการ
    กับการเปลี่ยนภูมิอากาศ
  • 11:24 - 11:26
    แต่เรากำลังสูญเสียป่าของเราไป
  • 11:26 - 11:29
    ในทศวรรษที่ผ่านมา เราได้เสียเนื้อที่ป่าไป
  • 11:29 - 11:31
    ขนาดเท่าประเทศโปรตุเกส
  • 11:31 - 11:33
    และอีกเป็นจำนวนมาก ได้ถูกทำให้
    เสื่อมสภาพไป
  • 11:33 - 11:35
    แต่เราก็ได้เห็นกันแล้ว
  • 11:35 - 11:38
    ว่า เราก็สามารถทำได้มากมาย
    เกี่ยวกับเรื่องนั้น
  • 11:38 - 11:40
    เราสามารถเห็นปัญหา แต่เราก็ยังสามารถ
  • 11:40 - 11:42
    เข้าใจอีกด้วยได้ว่า จะจัดการกับมันอย่างไร
  • 11:42 - 11:44
    ในบราซิล อัตราการตัดไม้ทำลายป่า
  • 11:44 - 11:46
    ถูกทำให้ลดลงได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์
  • 11:46 - 11:49
    ตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา
  • 11:49 - 11:52
    ทำได้อย่างไรหรือ? ก็โดยการ
    เข้ามาร่วมของชุมชนท้องถิ่น
  • 11:52 - 11:55
    โดยการลงทุน ในการกสิกรรมของพวกเขา
    และเศรษฐกิจของพวกเขา
  • 11:55 - 11:57
    โดยการเฝ้าสังเกต อย่างรอบคอบยิ่งขึ้น
  • 11:57 - 12:00
    โดยการบังคับใช้กฎหมาย อย่างเข้มงวดขึ้น
  • 12:00 - 12:02
    และไม่ใช่แค่หยุด การทำลายป่าเท่านั้น
  • 12:02 - 12:05
    สิ่งนั้นแน่นอน เป็นความสำคัญพื้นฐาน
    อันดับแรก
  • 12:05 - 12:08
    แต่ก็ยังรวมถึง จัดเกรดใหม่
    ให้กับแผ่นดินที่เสื่อมสภาพ
  • 12:08 - 12:13
    ให้ชีวิตใหม่, ฟื้นฟูแผ่นดินที่เสื่อมสภาพ
    ให้กลับสู่สภาพเดิม
  • 12:13 - 12:17
    ผมไปเอธิโอเปีย ครั้งแรกในปี 1967
  • 12:17 - 12:19
    เป็นประเทศยากจนอย่างที่สุด
    และในปีต่อๆมา
  • 12:19 - 12:21
    ก็ทนทุกข์กับความอดอยาก ที่ร้ายแรง
  • 12:21 - 12:25
    ความขัดแย้งทางสังคม
    ที่เป็นภัยอย่างลึกซึ้ง
  • 12:25 - 12:28
    กว่าสองสามปีที่ผ่านมา
    จริงๆ, นานกว่านั้น
  • 12:28 - 12:31
    เอธิโอเปียได้เติบโตขึ้น อย่างรวดเร็วมาก
  • 12:31 - 12:32
    มีเป้าหมาย จะเป็นประเทศรายได้ปานกลาง
  • 12:32 - 12:35
    ในอีก 15 ปี จากนี้ไป
  • 12:35 - 12:37
    และก็จะเป็น "คาร์บอน นิวทรัล"
  • 12:37 - 12:40
    อีกครั้งที่ผมคิดว่า เป็นเป้าหมายที่แรงกล้า
  • 12:40 - 12:43
    แต่มันก็เป็นเป้าหมาย ที่เป็นไปได้
  • 12:43 - 12:44
    คุณกำลังเห็น พันธสัญญานั้น
  • 12:44 - 12:45
    คุณกำลังเห็น สิ่งที่ทำได้
  • 12:45 - 12:48
    เอธิโอเปียกำลังลงทุน ในพลังงานที่สะอาด
  • 12:48 - 12:51
    มันใช้การได้ ในการฟื้นฟูแผ่นดินนั้น
    ให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
  • 12:51 - 12:54
    ในเมืองฮัมโบ ทางตะวันตกเฉียงใต้
    ของเอธิโอเปีย
  • 12:54 - 12:55
    เป็นโครงการที่ดีเยี่ยม
  • 12:55 - 12:57
    เพื่อปลูกต้นไม้ บนดินที่เสื่อมสภาพ
  • 12:57 - 12:59
    และทำงานร่วมกับชุมชน ในท้องถิ่น
  • 12:59 - 13:02
    ในเรื่องการจัดการป่าแบบยั่งยืน ได้นำไปสู่
  • 13:02 - 13:05
    โครงการได้นำไปสู่ การเพิ่มขึ้นอย่างมาก
    ด้านมาตรฐานการครองชีพ
  • 13:05 - 13:08
    เราจึงสามารถเห็นได้, จากกรุงปักกิ่ง
    ถึงลอนดอน
  • 13:08 - 13:11
    จากแคลิฟอร์เนีย ถึงอินเดีย
  • 13:11 - 13:14
    จากบราซิล ถึงเอธิโอเปีย
  • 13:14 - 13:15
    เราเข้าใจจริง ๆ
  • 13:15 - 13:18
    ถึงวิธีจัดการ การปฏิรูปทั้งสองนั้น
  • 13:18 - 13:20
    คือ โครงสร้าง และภูมิอากาศ
  • 13:20 - 13:24
    เราเข้าใจจริง ๆ ถึงวิธีจัดการกับสิ่งเหล่านั้น
    เป็นอย่างดี
  • 13:24 - 13:27
    เมื่อเทคโนโลยี่ กำลังเปลี่ยนแปลง
    อย่างเร็วมาก
  • 13:27 - 13:29
    ผมไม่ต้องบอก รายการของสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด
  • 13:29 - 13:31
    กับท่านผู้ชม อย่างที่เห็นอยู่นี้
  • 13:31 - 13:33
    แต่คุณสามารถมองเห็น รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า
  • 13:33 - 13:36
    สามารถมองเห็น แบตเตอรี่
    ที่ใช้วัสดุแบบใหม่
  • 13:36 - 13:39
    สามารถเห็นได้ว่า ขณะนี้เราควบคุม
    เครื่องใช้ในบ้าน
  • 13:39 - 13:42
    จากทางไกล โดยใช้มือถือ
    เมื่อเราไม่อยู่บ้าน
  • 13:42 - 13:44
    คุณสามารถเห็น ฉนวนป้องกันที่ดีกว่า
  • 13:44 - 13:46
    และมีอีกมากมายกว่านี้ ที่กำลังจะมา
  • 13:46 - 13:48
    แต่, และมันเป็น แต่ ที่ใหญ่
  • 13:48 - 13:50
    โลกโดยรวมนั้น
  • 13:50 - 13:53
    เคลื่อนไปได้ ช้าเกินไป
  • 13:53 - 13:55
    เราไม่ได้ตัดทอน การปล่อยก๊าซ
    ในแบบที่ควรจะเป็น
  • 13:55 - 13:58
    เราไม่ได้จัดการปฏิรูปโครงสร้างพวกนั้น
  • 13:58 - 14:00
    ขณะที่เราสามารถทำได้
  • 14:00 - 14:03
    ความลึกซึ้งในความเข้าใจ ความเสี่ยงที่ใหญ่
    ของการเปลี่ยนภูมิอากาศ
  • 14:03 - 14:07
    ยังไม่ได้อยู่ตรงนั้น
  • 14:07 - 14:09
    ความลึกซึ้งในความเข้าใจ
  • 14:09 - 14:12
    สเน่ห์ ของสิ่งที่เราสามารถทำได้
  • 14:12 - 14:15
    ยังไม่ได้อยู่ตรงนั้น
  • 14:15 - 14:19
    เราต้องการแรงกดดันทางการเมือง
    เพื่อที่จะสร้าง
  • 14:19 - 14:22
    เราต้องการผู้นำ เพื่อจะก้าวขึ้นไป
  • 14:22 - 14:26
    เราสามารถมีการเติบโต ที่ดีกว่านี้
  • 14:26 - 14:30
    สภาพอากาศที่ดีกว่านี้, โลกที่ดีกว่านี้
  • 14:30 - 14:32
    เราสามารถทำขึ้นมาได้
  • 14:32 - 14:35
    โดยการจัดการกับ การปฏิรูปทั้งสองอย่างนั้น
    อย่างดี
  • 14:35 - 14:39
    100 ปีต่อไปนี้ จะเป็นศตวรรษที่ดีที่สุด
  • 14:39 - 14:40
    ถ้าเราทำให้มันยุ่งเหยิง
  • 14:40 - 14:43
    เรา คือ คุณและผม ถ้าเราทำให้มันยุ่งเหยิง
  • 14:43 - 14:46
    ถ้าเราไม่จัดการปฏิรูปเหล่านั้น
    อย่างถูกต้องเหมาะสม
  • 14:46 - 14:49
    มันก็จะเป็น, ในอีก 100 ปี ต่อจากนี้ไป
  • 14:49 - 14:51
    จะเป็นศตวรรษ ที่เลวร้ายที่สุด
  • 14:51 - 14:53
    นั่นเป็นข้อสรุปที่สำคัญ
  • 14:53 - 14:56
    ของการรายงาน เรื่องเศรษฐกิจและภูมิอากาศ
  • 14:56 - 15:00
    โดยมี ฟิลิปเป คาลเดรอน
    อดีตประธานาธิบดีเม็กซิโก เป็นประธาน
  • 15:00 - 15:02
    และผม เป็นประธานร่วมกับท่าน
  • 15:02 - 15:04
    และเราได้ส่งรายงานนั้นไป เมื่อวานนี้
  • 15:04 - 15:07
    ที่นี่ กรุงนิวยอร์ค ในอาคารสหประชาชาติ
  • 15:07 - 15:09
    ส่งให้กับเลขาธิการสหประชาชาติ
  • 15:09 - 15:10
    บัน คิมูน
  • 15:10 - 15:14
    เรารู้ว่า เราสามารถทำสิ่งนี้ได้
  • 15:14 - 15:18
    ครับ เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว
  • 15:18 - 15:21
    ผมกลายเป็นคุณตา เป็นครั้งที่สี่
  • 15:21 - 15:23
    ลูกสาวของเรา--
  • 15:23 - 15:34
    (เสียงเด็กทารกร้อง) (เสียงหัวเราะ)
    (เสียงปรบมือ)--
  • 15:34 - 15:37
    ลูกสาวของเราคลอด โรซ่า
    ที่นี่ ในนิวยอร์ค
  • 15:37 - 15:40
    เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว นี่คือ เฮเลน และโรซ่า
  • 15:40 - 15:44
    (เสียงปรบมือ)
  • 15:47 - 15:50
    อายุได้สองสัปดาห์
  • 15:50 - 15:56
    เราจะอายลูกหลานของเรามั๊ยครับ?
  • 15:56 - 15:59
    และกล้าบอกพวกเขาว่า เราเข้าใจปัญหา
  • 15:59 - 16:03
    บอกเขาว่า เราก็เห็นถึงอันตราย
    และโอกาสที่จะทำได้สำเร็จ
  • 16:03 - 16:07
    แต่เราก็ยังคงไม่ทำอะไร
  • 16:07 - 16:10
    ไม่ใช่อย่างนั้นแน่ ขอให้เรา
    ทำให้อีก 100 ปี ต่อจากนี้นั้น
  • 16:10 - 16:12
    เป็นศตวรรษที่ดีที่สุด
  • 16:12 - 16:16
    (เสียงปรบมือ)
Title:
สภาพของภูมิอากาศ — และสิ่งที่เราอาจจะทำเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้
Speaker:
ลอร์ด นิโคลัส สเติร์น
Description:

เราจะเริ่มจัดการกับปัญหาที่ซ่อนเงื่อนระดับโลก เรื่องการเปลี่ยนภูมิอากาศได้อย่างไร เป็นปัญหาทีใหญ่เกินกว่าประเทศใดประเทศหนึ่งจะแก้ไขได้ นักเศรษฐศาสตร์ นิโคลัส สเติร์น จัดวางแผนงาน นำเสนอต่อการประชุมสุดยอดของสหประชาชาติ ปี 2014 เรื่องภูมิอากาศ
แสดงให้เห็นวิธีที่ประเทศต่างๆในโลก สามารถทำงานร่วมกันได้ในเรื่องภูมิอากาศ สิ่งนี้เป็นวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่สำหรับการร่วมมือกัน พร้อมกับผลได้ที่จะตามมา ซึ่งจะไปไกลเกินกว่าการปัดเป่าความหายนะ เขาตั้งคำถามว่า เราจะสามารถใช้วิกฤตินี้ เพื่อเร่งกระตุ้นชีวิตที่ดีกว่า สำหรับทุกคนได้อย่างไร

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:33

Thai subtitles

Revisions