Return to Video

พลังของปรากฏการณ์ยาหลอก - เอ็มม่า ไบรซ์ (Emma Bryce)

  • 0:07 - 0:11
    ในปีค.ศ. 1996 อาสาสมัคร 56 คน
    เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
  • 0:11 - 0:15
    เพื่อทดสอบยาแก้ปวดตัวใหม่
    ที่เรียกว่า Trivaricain
  • 0:15 - 0:19
    นิ้วชี้ของอาสาสมัครแต่ละคน
    จะถูกทาไว้ด้วยยาแก้ปวดตัวใหม่นี้
  • 0:19 - 0:22
    โดยที่นิ้วชี้อีกข้างไม่ได้ถูกทาด้วยอะไร
  • 0:22 - 0:25
    จากนั้น นิ้วทั้งสองจะถูกหนีบด้วยคีมให้เจ็บ
  • 0:25 - 0:30
    อาสาสมัครรายงานว่านิ้วชี้ที่ทายาเอาไว้
    เจ็บน้อยกว่านิ้วที่ไม่ได้ทา
  • 0:30 - 0:31
    นี่ก็ไม่น่าแปลกใจอะไร
  • 0:31 - 0:35
    เว้นเสียแต่ว่าจริง ๆ แล้ว
    Trivaricaine ไม่ใช่ยาแก้ปวด
  • 0:35 - 0:39
    แต่เป็นแค่ส่วนผสมปลอม
    ที่ไม่มีคุณสมบัติในการลดปวดเลย
  • 0:39 - 0:43
    อะไรทำให้อาสาสมัครเชื่อว่ายาหลอกนี้มีผล
  • 0:43 - 0:46
    คำตอบก็คือ ปรากฏการณ์ยาหลอก
  • 0:46 - 0:47
    ปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถอธิบายได้
  • 0:47 - 0:52
    เวลาที่ยา การรักษา การบำบัด
    ที่ไม่น่าจะมีผลอะไร
  • 0:52 - 0:53
    และส่วนใหญ่เป็นของปลอม
  • 0:53 - 0:56
    ทำให้คนรู้สึกดีขึ้นได้อย่างน่าฉงน
  • 0:56 - 1:00
    แพทย์ได้ใช้คำว่ายาหลอกมาตั้งแต่ ค.ศ. 1700
  • 1:00 - 1:05
    เมื่อพวกเขาตระหนักถึงพลังของยาหลอก
    ที่ทำให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้น
  • 1:05 - 1:08
    มันถูกใช้ตอนที่หายาที่เหมาะสมไม่ได้
  • 1:08 - 1:11
    หรือเวลาที่คนทึกทักไปเองว่าตัวเองป่วย
  • 1:11 - 1:16
    ที่จริงแล้ว คำว่า "Placebo"
    แปลว่า "ฉันจะพอใจ" ในภาษาละติน
  • 1:16 - 1:19
    เป็นนัยบอกถึงประวัติศาสตร์
    ของการบรรเทาให้ผู้ป่วยที่มีปัญหา
  • 1:19 - 1:23
    ยากหลอกนั้นต้องเลียนแบบยาจริง
    เพื่อที่จะให้ดูน่าเชื่อ
  • 1:23 - 1:25
    มันจึงมีในรูปแบบของยาเม็ดทีทำจากน้ำตาล
  • 1:25 - 1:27
    ยาฉีดที่เป็นน้ำเปล่า
  • 1:27 - 1:29
    หรือแม้กระทั่งการผ่าตัดแบบปลอม ๆ
  • 1:29 - 1:34
    ไม่นานนัก แพทย์ก็ตระหนักว่า
    การหลอกคนในลักษณะยังมีประโยชน์อื่นอีก
  • 1:34 - 1:36
    ซึ่งก็คือ การทดลองทางคลินิค
  • 1:36 - 1:40
    ในช่วงยุค 1950 นักวิจัยได้ใช้ยาหลอก
    เป็นเครื่องมือมาตรฐาน
  • 1:40 - 1:42
    ในการทดสอบการรักษาใหม่ ๆ
  • 1:42 - 1:44
    เพื่อที่จะประเมินยาตัวใหม่
    ตัวอย่างเช่น
  • 1:44 - 1:47
    ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งในการทดลองจะได้รับยาจริง
  • 1:47 - 1:50
    อีกครึ่งหนึ่งที่เหลือจะได้รับยาหลอก
    ที่่ลักษณะเหมือนยาจริง
  • 1:50 - 1:54
    เนื่องจากผู้ป่วยไม่ทราบว่า
    พวกเขาได้รับยาจริงหรือยาหลอก
  • 1:54 - 1:56
    ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่มีความลำเอียง
  • 1:56 - 1:58
    นักวิจัยเชื่อว่าอย่างนั้น
  • 1:58 - 2:02
    ดังนั้น ถ้ายาใหม่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์
    อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับยาหลอก
  • 2:02 - 2:04
    นั่นพิสูจน์ว่ายาใหม่มีประสิทธิภาพ
  • 2:04 - 2:10
    ในปัจจุบัน ไม่ค่อยมีการใช้ยาหลอกแบบนี้แล้ว
    เพราะว่ามีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรม
  • 2:10 - 2:13
    ถ้าเป็นไปได้
    การเปรียบเทียบยาตัวใหม่กับยาตัวเก่า
  • 2:13 - 2:15
    หรือกับยาตัวอื่นที่มีอยู่
  • 2:15 - 2:19
    เป็นวิธีที่ดีกว่าการไม่ให้การรักษาอะไรเลย
  • 2:19 - 2:21
    โดยเฉพาะถ้าพวกเขามีอาการป่วยที่รุนแรง
  • 2:21 - 2:26
    ในกรณีเหล่านี้ ยาหลอกมักจะถูกใช้
    เป็นตัวควบคุมในการปรับปรุงการทดสอบ
  • 2:26 - 2:30
    เพื่อที่ประสิทธิภาพของยาตัวใหม่
    กับยาตัวเก่า หรือยาทางเลือก
  • 2:30 - 2:33
    สามารถถูกเปรียบเทียบกันได้อย่างเที่ยงตรง
  • 2:33 - 2:38
    แต่แน่นอน เรารู้ว่ายาหลอกก็มีผล
    ที่มาจากตัวมันเองเช่นกัน
  • 2:38 - 2:39
    ต้องขอบคุณปรากฏการณ์ยาหลอก
  • 2:39 - 2:42
    ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกบรรเทาจากความเจ็บป่วยต่าง ๆ
  • 2:42 - 2:43
    รวมไปถึง โรคหัวใจ
  • 2:43 - 2:44
    โรคหอบหืด
  • 2:44 - 2:46
    และความเจ็บปวดอย่างรุนแรง
  • 2:46 - 2:50
    ถึงแม้ว่าพวกเขาจะได้รับแค่ยาปลอม
    หรือ การผ่าตัดหลอก ๆ ก็ตาม
  • 2:50 - 2:53
    เรายังพยายามที่จะเข้าใจ
    ว่ามันทำอย่างนั้นได้อย่างไร
  • 2:53 - 2:55
    บางคนเชื่อว่าแทนที่จะเป็นของจริง
  • 2:55 - 2:59
    ปรากฏการณ์ยาหลอกเป็นเพียงแค่ความสับสน
    ต่อปัจจัยอื่น ๆ
  • 2:59 - 3:03
    เช่น ผู้ป่วยอยากจะเอาใจแพทย์
    โดยการหลออกว่าอาการป่วยดีขึ้น
  • 3:03 - 3:04
    ในอีกแง่มุมหนึ่ง
  • 3:04 - 3:08
    นักวิจัยคิดว่า ถ้าคนเชื่อว่า
    การรักษาหลอก ๆ นั้นคือของจริง
  • 3:08 - 3:12
    ความคาดหวังของคนไข้ที่จะฟื้นตัว
    จะกระตุ้นปัจจัยทางสรีรวิทยา
  • 3:12 - 3:14
    ที่ทำให้อาการของพวกเขาดีขึ้น
  • 3:14 - 3:18
    ยากหลอกดูเหมือนจะสามารถ
    ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต
  • 3:18 - 3:19
    อัตราการเต้นของหัวใจ
  • 3:19 - 3:23
    และการหลั่งของสารเคมี
    ที่ช่วยลดอาการเจ็บปวด เช่น เอนโดรฟิน
  • 3:23 - 3:29
    นั่นอธิบายว่าทำไมผู้ได้รับยาหลอกในการศึกษา
    จึงมักจะบอกว่าอาการปวดของพวกเขาลดลง
  • 3:29 - 3:31
    ยากหลอกอาจจะลดระดับฮอร์โมนความเครียด
  • 3:31 - 3:33
    เช่น อะดรีนาลีน
  • 3:33 - 3:36
    ซึ่งสามารถชะลอผลที่เป็นอันตรายจากโรคได้
  • 3:36 - 3:40
    เช่นนี้แล้ว พวกเราไม่ควรจะฉลองให้กับ
    ผลประโยชน์แปลก ๆ ของยากหลอกหรอกหรือ
  • 3:40 - 3:41
    ไม่จำเป็น
  • 3:41 - 3:44
    ถ้าบางคนเชื่อว่าการรักษาปลอม ๆ นั้น
    รักษาพวกเขาได้
  • 3:44 - 3:49
    พวกเขาอาจพลาดโอกาสในการใช้ยา
    หรือการรักษาที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริง
  • 3:49 - 3:52
    นอกจากนั้น ผลเชิงบวกจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
  • 3:52 - 3:54
    และมักจะเป็นอย่างนั้น
  • 3:54 - 3:56
    ยาหลอกยังรบกวนผลวิจัยทางคลินิค
  • 3:56 - 3:59
    ทำให้นักวิจัยยิ่งมีแรงจูงใจมากขึ้น
    ที่จะหาคำตอบ
  • 3:59 - 4:01
    ว่าทำไมพวกมันถึงมีอิทธิพลต่อเราขนาดนี้
  • 4:01 - 4:04
    นอกเหนือจากความรู้ของเราทุกอย่าง
    ที่เกี่ยวกับร่างกายมนุษย์แล้ว
  • 4:04 - 4:07
    มันก็ยังมีปริศนาที่แปลกประหลาด
    และยังคงไม่มีคำตอบ
  • 4:07 - 4:09
    อย่างเช่นปรากฏการณ์ยาหลอก
  • 4:09 - 4:13
    แล้วนี่ยังมีสิ่งมหัศจรรย์ใดอีก
    ที่ยังไม่ได้รับการเปิดเผย
  • 4:13 - 4:16
    มันง่ายที่จะสำรวจโลกรอบ ๆ ตัวเรา
  • 4:16 - 4:19
    และลืมไปว่าหนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจมากที่สุด
  • 4:19 - 4:21
    อาจเป็นเหมือนเส้นผมบังภูเขา
Title:
พลังของปรากฏการณ์ยาหลอก - เอ็มม่า ไบรซ์ (Emma Bryce)
Speaker:
Emma Bryce
Description:

ดูบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/the-power-of-the-placebo-effect-emma-bryce

ปรากฏการ์ยาหลอกเป็นปรากฏการณ์ที่อธิบายไม่ได้ ในประเด็นทีว่า ยา การรักษา และการบำบัด ที่ไม่ควรจะมีผลใด ๆ -- และส่วนใหญ่จะเป็นของปลอม -- ทำให้คนรู้สึกดีขึ้นได้อย่างน่าฉงน มันเกิดอะไรขึ้น เอ็มม่า ไบรซ์จะพาเราดำไปสู่ความลึกลับของประโยชน์ที่แปลกประหลาดของยาหลอกนี้

บทเรียนโดย เอ็มม่า ไบรซ์ (Emma Bryce), แอนิเมชั่น โดย Globizco

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
04:38
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for The power of the placebo effect
Kelwalin Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for The power of the placebo effect
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for The power of the placebo effect
Kelwalin Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for The power of the placebo effect
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for The power of the placebo effect
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for The power of the placebo effect
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for The power of the placebo effect
Pitipa Chongwatpol edited Thai subtitles for The power of the placebo effect
Show all

Thai subtitles

Revisions