Return to Video

ใช้สถิติอย่างชาญฉลาดเพื่อสู้อาชญากรรม

  • 0:01 - 0:03
    ในปี 2007 ฉันได้เป็นอัยการสูงสุด
  • 0:03 - 0:05
    ของรัฐนิวเจอร์ซีย์
  • 0:05 - 0:07
    ก่อนหน้านั้น ฉันเป็นอัยการคดีอาญา
  • 0:07 - 0:10
    ตอนแรกในสำนักงานอัยการเขต แมนฮัตตัน
  • 0:10 - 0:13
    และจากนั้นก็ที่กระทรวงยุติธรรม
  • 0:13 - 0:15
    เมื่อฉันได้เป็นอัยการสูงสุด
  • 0:15 - 0:19
    มีสองสิ่งที่เกิดขึ้นซึ่งเปลี่ยนแนวคิดของฉัน
    เรื่องกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
  • 0:19 - 0:21
    สิ่งแรกคือ ฉันถามคำถามที่คิดว่า
  • 0:21 - 0:23
    เป็นคำถามพื้นๆ
  • 0:23 - 0:26
    ฉันต้องการเข้าใจคนที่เรากำลังจะจับกุม
  • 0:26 - 0:28
    ผู้ที่ถูกกล่าวหา
  • 0:28 - 0:30
    และผู้ที่เราจับเข้าไปขังในเรือนจำต่างๆ
  • 0:30 - 0:31
    ทั่วประเทศ
  • 0:31 - 0:33
    ฉันต้องการที่จะเข้าใจ
  • 0:33 - 0:34
    ว่าเราตัดสินใจถูก
  • 0:34 - 0:37
    เพื่อที่จะทำให้พวกเราปลอดภัยขึ้น
  • 0:37 - 0:40
    แต่ฉันไม่สามารถหาคำตอบนั้นได้
  • 0:40 - 0:43
    ปรากฏว่า โดยส่วนใหญ่ หน่วยงานใหญ่ๆ ด้านคดีอาญา
  • 0:43 - 0:45
    อย่างเช่นหน่วยงานของฉัน
  • 0:45 - 0:47
    ไม่ได้เก็บข้อมูลที่สำคัญ
  • 0:47 - 0:50
    หลังจากที่ฉันหัวเสียอยู่หนึ่งเดือน
  • 0:50 - 0:52
    ฉันก็เดินไปยังห้องประชุม
  • 0:52 - 0:54
    ที่เต็มไปด้วยนักสืบ
  • 0:54 - 0:57
    และกองแฟ้มคดีเป็นตั้งๆ
  • 0:57 - 0:58
    และพวกนักสืบก็นั่งอยู่ตรงนั้น
  • 0:58 - 1:00
    ด้วยสมุดจดโน้ต
  • 1:00 - 1:02
    พวกเขาพยายามจะหาข้อมูลเดียวกัน
  • 1:02 - 1:03
    กับที่ฉันหาอยู่
  • 1:03 - 1:05
    โดยการค้นดูทีละคดี
  • 1:05 - 1:07
    ย้อนหลังไปห้าปี
  • 1:07 - 1:09
    และคุณคงนึกภาพออก
  • 1:09 - 1:11
    ว่าเมื่อเราได้ผลลัพธ์ มันดูไม่ดีเอาเสียเลย
  • 1:11 - 1:13
    ปรากฏว่าเราทำคดีมากมาย
  • 1:13 - 1:15
    เกี่ยวกับพ่อค้ายาระดับหางแถว
  • 1:15 - 1:16
    ตามท้องถนน ที่ไม่ห่าง
  • 1:16 - 1:19
    จากออฟฟิศของเราในเทรนตัน
  • 1:19 - 1:20
    สิ่งที่สองที่เกิดขึ้น
  • 1:20 - 1:24
    คือฉันใช้เวลาวันหนึ่ง
    ในกรมตำรวจแคมเด็น นิวเจอร์ซีย์
  • 1:24 - 1:26
    ณ ตอนนั้น แคมเด็น นิวเจอร์ซีย์
  • 1:26 - 1:28
    คือเมืองที่อันตรายที่สุดในอเมริกา
  • 1:28 - 1:32
    นี่คือเหตุผลที่ฉันเข้ามาคุมกรมตำรวจแคมเด็น
  • 1:32 - 1:34
    ฉันใช้เวลาหนึ่งวันเต็มๆ ในกรม
  • 1:34 - 1:37
    ฉันถูกพาเข้าไปในห้อง
    พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโส
  • 1:37 - 1:39
    ซึ่งทุกคนต่างก็ทำงานหนัก
  • 1:39 - 1:42
    และพยายามที่จะลดอาชญากรรมใน แคมเด็น
  • 1:42 - 1:44
    ที่สิ่งที่ฉันเห็นในห้อง
  • 1:44 - 1:46
    ในขณะที่เราคุยกันเรื่องการลดอาชญากรรม
  • 1:46 - 1:50
    ก็คือเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคน
    ใช้กระดาษโน้ตเล็กๆ สีเหลือง
  • 1:50 - 1:53
    และพวกเขาจะเอากระดาษโน้ตนั้น
    มาเขียนบางอย่าง
  • 1:53 - 1:55
    และพวกเขาจะแปะมันไว้บนบอร์ด
  • 1:55 - 1:57
    และหนึ่งในนั้นพูดขึ้นว่า
    "เรามีคดีลักทรัพย์เมื่อสองอาทิตย์ก่อน
  • 1:57 - 1:59
    แต่ไม่มีผู้ต้องสงสัย"
  • 1:59 - 2:04
    อีกคนก็พูดขึ้นว่า "เรามีคดียิงกันในย่านนี้
    เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว แต่ไม่มีผู้ต้องสงสัย"
  • 2:04 - 2:06
    เราไม่ได้ใช้ข้อมูลในการทำงาน
  • 2:06 - 2:08
    เราเพียงแค่พยายามจะสู้กับอาชญากรรม
  • 2:08 - 2:11
    ด้วยกระดาษโน้ตสีเหลือง
  • 2:11 - 2:13
    ทั้งสองสิ่งนี้ทำให้ฉันตระหนักว่า
  • 2:13 - 2:16
    โดยพื้นฐานแล้ว เรากำลังล้มเหลว
  • 2:16 - 2:19
    เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใครเคยอยู่ในสารบบอาชญากรของเรา
  • 2:19 - 2:22
    เราไม่มีข้อมูลอะไรเลย สำหรับสิ่งที่จำเป็น
  • 2:22 - 2:25
    และเราก็ไม่ได้แบ่งปันข้อมูล หรือใช้เครื่องมือ
  • 2:25 - 2:27
    ในการวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้น
  • 2:27 - 2:29
    และเพื่อช่วยลดอาชญากรรม
  • 2:29 - 2:31
    และนั่นเป็นครั้งแรก ที่ฉันเริ่มคิด
  • 2:31 - 2:33
    เกี่ยวกับวิธีที่เราตัดสินใจ
  • 2:33 - 2:35
    เมื่อฉันทำงานเป็นอัยการผู้ช่วย
  • 2:35 - 2:37
    และเมื่อฉันเป็นอัยการรัฐบาลกลาง
  • 2:37 - 2:38
    ฉันมองดูคดีที่อยู่ตรงหน้าฉัน
  • 2:38 - 2:41
    และตัดสินใจโดยใช้สัญชาตญาณ
  • 2:41 - 2:43
    และประสบการณ์ของฉัน
  • 2:43 - 2:44
    เมื่อฉันเป็นอัยการสูงสุด
  • 2:44 - 2:46
    ฉันสามารถมองระบบทั้งหมดในภาพรวม
  • 2:46 - 2:48
    และมันก็ทำให้ฉันประหลาดใจ เมื่อพบว่า
  • 2:48 - 2:50
    นั่นคือสิ่งที่เราทุกคนกำลังทำอยู่
  • 2:50 - 2:52
    ทั่วทั้งระบบ
  • 2:52 - 2:54
    ในกรมตำรวจ ในสำนักงานอัยการ
  • 2:54 - 2:57
    ในศาล และในเรือนจำ
  • 2:57 - 2:59
    และฉันก็เรียนรู้อย่างรวดเร็วว่า
  • 2:59 - 3:03
    เราทำงานไม่ดีเท่าไรนัก
  • 3:03 - 3:05
    ฉันจึงอยากทำสิ่งที่แตกต่างออกไป
  • 3:05 - 3:07
    ฉันต้องการที่จะนำเอาข้อมูล และการวิเคราะห์
  • 3:07 - 3:09
    และการวิเคราะห์เชิงสถิติอย่างถี่ถ้วน
  • 3:09 - 3:11
    เข้ามาใช้ในงานของเรา
  • 3:11 - 3:14
    สั้นๆ ก็คือ ฉันต้องการใช้ มันนีบอล (Moneyball)
    กับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
  • 3:14 - 3:16
    บางคนอาจรู้จักว่า มันนีบอล คืออะไร
  • 3:16 - 3:17
    มันคือกลยุทธที่ ทีมเบสบอล โอคแลนด์แอธเลติค ใช้
  • 3:17 - 3:19
    โดยใช้ข้อมูล และการวิเคราะห์ทางสถิติอันชาญฉลาด
  • 3:19 - 3:21
    เพื่อหาวิธีเลือกนักกีฬา
  • 3:21 - 3:22
    ที่จะทำให้ทีมชนะ
  • 3:22 - 3:25
    พวกเขาเปลี่ยนจากระบบที่ต้องพึ่งแมวมอง
  • 3:25 - 3:27
    ที่ตระเวนไป และเฝ้าติดตามเหล่าผู้เล่น
  • 3:27 - 3:29
    และใช้สัญชาตญาณ และประสบการณ์
  • 3:29 - 3:31
    ประสบการณ์และสัญชาตญาณของแมวมอง
  • 3:31 - 3:32
    เพื่อใช้เลือกผู้เล่น เปลี่ยนมาใช้ระบบ
  • 3:32 - 3:35
    ที่พึ่งข้อมูล และการวิเคราะห์ทางสถิติอย่างถี่ถ้วน
  • 3:35 - 3:38
    เพื่อช่วยเลือกผู้เล่น ที่จะทำให้พวกเขาชนะในเกม
  • 3:38 - 3:40
    มันใช้ได้ผลสำหรับทีม โอคแลนด์ เอส์
  • 3:40 - 3:42
    และมันก็ใช้ได้ผลในรัฐนิวเจอร์ซีย์
  • 3:42 - 3:45
    เราทำให้แคมเด็นหลุดจากโผ
  • 3:45 - 3:47
    ของเมืองที่อันตรายที่สุดในอเมริกา
  • 3:47 - 3:50
    เราลดอัตราฆาตกรรมลง 41 เปอร์เซ็นต์
  • 3:50 - 3:53
    ซึ่งแปลว่า 37 ชีวิต ได้รับการช่วยเหลือ
  • 3:53 - 3:57
    และเราลดอาชญากรรมโดยรวม
    ให้ลดลง 26 เปอร์เซ็นต์ ในเมืองนั้น
  • 3:57 - 4:00
    เรายังได้เปลี่ยนวิธีการดำเนินคดีกับอาชญากร
  • 4:00 - 4:02
    เราเปลี่ยนจากการจับพ่อค้ายาหางแถว
  • 4:02 - 4:03
    ที่อยู่นอกออฟฟิศเรา
  • 4:03 - 4:06
    เปลี่ยนมาเป็น ทำคดีที่สำคัญในระดับรัฐ
  • 4:06 - 4:09
    อย่างเช่น ลดความรุนแรง
    ในกลุ่มผู้ทำผิด ที่มีพฤติกรรมรุนแรงสูง
  • 4:09 - 4:11
    ดำเนินคดีกับแก็งค์อันธพาล
  • 4:11 - 4:14
    การค้ายาและอาวุธ และการฉ้อฉลในกรมตำรวจ
  • 4:14 - 4:17
    สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมาก
  • 4:17 - 4:19
    เพราะสำหรับฉันแล้ว ความปลอดภัยของประชาชน
  • 4:19 - 4:21
    คือหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล
  • 4:21 - 4:24
    ถ้าเราไม่ปลอดภัย เราก็ไม่สามารถได้รับการศึกษา
  • 4:24 - 4:25
    เราจะไม่มีสุขภาพที่ดี
  • 4:25 - 4:28
    เราจะไม่สามารถทำสิ่งอื่นๆ ที่เราอยากทำ
    ในชีวิตของเราได้เลย
  • 4:28 - 4:30
    เราอาศัยอยู่ในประเทศ
  • 4:30 - 4:33
    ที่ซึ่งเราต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่หลวง
    ด้านกระบวนการยุติธรรมคดีอาญา
  • 4:33 - 4:36
    เรามีการจับกุมถึง 12 ล้านครั้งทุกๆ ปี
  • 4:36 - 4:38
    การจับกุมส่วนใหญ่
  • 4:38 - 4:41
    คืออาชญากรรมระดับล่าง ความผิดเล็กๆ น้อยๆ
  • 4:41 - 4:43
    ประมาณ 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์
  • 4:43 - 4:45
    น้อยกว่าห้าเปอร์เซ็นต์ ของการจับกุมทั้งหมด
  • 4:45 - 4:47
    เป็นอาชญากรรมรุนแรง
  • 4:47 - 4:49
    แต่เราต้องใช้ถึง 75,000 ล้านดอลลาร์
  • 4:49 - 4:50
    ระดับหมื่นล้านต่อปี เชียวนะคะ
  • 4:50 - 4:55
    รวมถึงต้นทุนของเรือนจำของแต่ละรัฐ
  • 4:55 - 4:57
    ณ วันนี้ เรามีนักโทษ 2.3 ล้านคน
  • 4:57 - 4:59
    อยู่ในเรือนจำของเรา
  • 4:59 - 5:02
    และเราต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่
    ด้านความปลอดภัยของประชาชน
  • 5:02 - 5:04
    เพราะเรากำลังอยู่ในสภาวะที่
  • 5:04 - 5:07
    สองในสามของผู้ต้องขังในเรือนจำ
  • 5:07 - 5:09
    กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินคดี
  • 5:09 - 5:11
    พวกเขาย้งไม่ถูกพิพากษาว่ามีความผิด
  • 5:11 - 5:13
    พวกเขาเพียงแค่รอวันที่จะขึ้นศาล
  • 5:13 - 5:17
    และ 67 เปอร์เซ็นต์ของคนเหล่านั้น ต้องกลับมาติดคุก
  • 5:17 - 5:20
    อัตราการกระทำผิดซ้ำของเรานั้น
    อยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียว
  • 5:20 - 5:22
    เกือบ 7 ใน 10 คนที่ได้รับการปล่อยตัว
  • 5:22 - 5:23
    จากเรือนจำ จะถูกจับกุมตัวอีก
  • 5:23 - 5:27
    อยู่ในวงจรอุบาทว์ของอาชญากรรม และการถูกคุมขัง
  • 5:27 - 5:30
    ดังนั้น เมื่อฉันเริ่มต้นทำงานในมูลนิธิ อาร์โนลด์
    (Arnold foundation)
  • 5:30 - 5:33
    ฉันมองย้อนกลับไปยังปัญหาเหล่านี้
  • 5:33 - 5:34
    และฉันย้อนกลับไปคิด
  • 5:34 - 5:37
    วิธีที่เราใช้การวิเคราะห์ข้อมูล
  • 5:37 - 5:39
    เพื่อเปลี่ยนโฉมการดำเนินคดีอาชญากรรมในนิวเจอร์ซีย์
  • 5:39 - 5:41
    และเมื่อฉันมองย้อนไปยัง
    กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
  • 5:41 - 5:43
    ในอเมริกาทุกวันนี้
  • 5:43 - 5:45
    ฉันรู้สึกเหมือนกับที่เคยรู้สึก
  • 5:45 - 5:47
    เมื่อตอนที่ฉันเริ่มทำงานที่รัฐนิวเจอร์ซีย์
  • 5:47 - 5:50
    ซึ่งนั่นก็คือเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ดีกว่านี้
  • 5:50 - 5:52
    และฉันรู้ว่าเราทำได้ดีกว่านี้
  • 5:52 - 5:54
    ดังนั้น ฉันจึงมุ่งมั่น
  • 5:54 - 5:56
    ที่จะใช้การวิเคราะห์ข้อมูล
  • 5:56 - 5:59
    เพื่อช่วยในการตัดสินใจสำคัญๆ
  • 5:59 - 6:00
    ในด้านความปลอดภัยของประชาชน
  • 6:00 - 6:02
    และการตัดสินใจนั้นคือ การตัดสินว่า
  • 6:02 - 6:05
    เมื่อใครสักคนถูกจับกุม
  • 6:05 - 6:07
    เขาจะเป็นภัยคุกคามต่อส่วนรวม
  • 6:07 - 6:08
    และควรถูกควบคุมตัว
  • 6:08 - 6:10
    หรือเขาไม่เป็นภัยต่อส่วนรวม
  • 6:10 - 6:12
    และควรได้รับการปล่อยตัว
  • 6:12 - 6:14
    ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในคดีอาญา
  • 6:14 - 6:16
    เกิดมาจากการตัดสินใจนี้
  • 6:16 - 6:17
    มันส่งผลกระทบต่อทุกสิ่ง
  • 6:17 - 6:19
    มันส่งผลต่อโทษที่จะได้รับ
  • 6:19 - 6:21
    มันส่งผลว่าใครควรจะได้รับการบำบัดการติดยาเสพติด
  • 6:21 - 6:23
    มันกระทบต่ออาชญากรรมและความรุนแรง
  • 6:23 - 6:25
    และเมื่อฉันได้คุยกับผู้พิพากษาทั่วอเมริกา
  • 6:25 - 6:27
    ซึ่งเป็นสิ่งที่ฉันทำอยู่ตลอด
  • 6:27 - 6:29
    พวกเขาพูดเหมือนกัน
  • 6:29 - 6:32
    คือ เราเอาคนที่เป็นอันตรายเข้าคุก
  • 6:32 - 6:35
    และเราปล่อยให้คนที่ไม่อันตราย
    คนที่ไม่มีพฤติกรรมรุนแรงออกมา
  • 6:35 - 6:37
    พวกเขาหมายความ และเชื่อเช่นนั้นจริงๆ
  • 6:37 - 6:39
    แต่เมื่อคุณดูข้อมูล
  • 6:39 - 6:42
    ซึ่งเหล่าผู้พิพากษาไม่เคยรู้ถึงข้อมูลเหล่านั้น
  • 6:42 - 6:43
    เมื่อเราเริ่มดูข้อมูล
  • 6:43 - 6:46
    เราพบว่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  • 6:46 - 6:48
    ที่มันไม่เป็นไปตามนั้น
  • 6:48 - 6:49
    เราพบว่า ผู้ทำผิดกฏหมายที่ไม่มีอันตราย
  • 6:49 - 6:53
    ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 50 เปอร์เซ็นต์
    ของผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
  • 6:53 - 6:55
    เราพบว่าเขาเหล่านั้นอยู่ในคุก
  • 6:55 - 6:58
    ลองดูตัวอย่างของ เลสลีย์ ชิว (Leslie Chew)
    ชายจากเท็กซัส
  • 6:58 - 7:01
    ผู้ขโมยผ้าห่มสี่ผืนในคืนอันหนาวเหน็บในฤดูหนาว
  • 7:01 - 7:03
    เขาถูกจับกุม และถูกคุมขังในคุก
  • 7:03 - 7:05
    เพราะไม่มีเงินพอ
  • 7:05 - 7:08
    จะจ่ายค่าประกันตัว 3,500 เหรียญ
  • 7:08 - 7:11
    เขาต้องอยู่ในคุกถึง 8 เดือน
  • 7:11 - 7:13
    จนกระทั่งคดีของเขาถึงวันขึ้นศาล
  • 7:13 - 7:17
    ซึ่งนั่นต้องใช้เงินของผู้เสียภาษีถึง 9,000 เหรียญ
  • 7:17 - 7:19
    และในอีกแง่หนึ่ง
  • 7:19 - 7:21
    เราทำงานแย่มาก
  • 7:21 - 7:23
    ผู้คนซึ่งเราพบว่า
  • 7:23 - 7:25
    เป็นผู้กระทำผิดที่มีความเสี่ยงสูง
  • 7:25 - 7:27
    ผู้ที่เราคิดว่ามีความเป็นไปได้สูง
  • 7:27 - 7:29
    ที่จะประกอบอาชญากรรมอีก ถ้าถูกปล่อยตัวไป
  • 7:29 - 7:32
    เราพบว่า ทั่วประเทศ 50 เปอร์เซ็นต์ ของผู้คนกลุ่มนี้
  • 7:32 - 7:34
    ถูกปล่อยตัว
  • 7:34 - 7:37
    สาเหตุของเรื่องนี้ เป็นเพราะวิธีที่เราตัดสินใจ
  • 7:37 - 7:39
    ผู้พิพากษามีเจตนาดี
  • 7:39 - 7:41
    เมื่อพวกเขาต้องตัดสินใจเรื่องความเสี่ยงนี้
  • 7:41 - 7:43
    แต่พวกเขา ตัดสินใจโดยใช้อารมณ์
  • 7:43 - 7:46
    พวกเขาเหมือนกับแมวมองนักเบสบอลเมื่อ 20 ปีก่อน
  • 7:46 - 7:48
    ที่ใช้สัญชาตญาณ และประสบการณ์
  • 7:48 - 7:50
    เพื่อช่วยตัดสินใจว่าใครที่มีความเสี่ยง
  • 7:50 - 7:52
    พวกเขาใช้อารมณ์
  • 7:52 - 7:55
    เรารู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราตัดสินใจโดยใช้อารมณ์
  • 7:55 - 7:58
    ซึ่งนั่นก็คือ เรามักตัดสินใจพลาด
  • 7:58 - 7:59
    สิ่งที่เราต้องการในงานด้านนี้
  • 7:59 - 8:02
    คือการวิเคราะห์ข้อมูลที่หนักแน่น
  • 8:02 - 8:03
    สิ่งที่ฉันตั้งใจมองหา
  • 8:03 - 8:06
    คือเครื่องมือประเมินความเสี่ยง ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล
  • 8:06 - 8:09
    บางสิ่งที่จะช่วยให้ผู้พิพากษาได้เข้าใจ
  • 8:09 - 8:11
    ในแบบที่เป็นวิทยาศาสตร์ และเป็นรูปธรรม
  • 8:11 - 8:13
    ว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
  • 8:13 - 8:14
    จากบางคนที่ยืนอยู่ตรงหน้าพวกเขา
  • 8:14 - 8:16
    ฉันมองดูไปทั่วทั้งประเทศ
  • 8:16 - 8:18
    ฉันพบว่ามีระหว่าง 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์
  • 8:18 - 8:19
    ในระบบศาลของสหรัฐอเมริกา
  • 8:19 - 8:22
    ที่ใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงอย่างจริงจัง
  • 8:22 - 8:24
    และเมื่อฉันศึกษาเครื่องมือเหล่านี้
  • 8:24 - 8:26
    ฉันตระหนักในเวลาอันสั้นว่าทำไม
  • 8:26 - 8:29
    การดูแลระบบ นั้นแพงอย่างไม่น่าเชื่อ
  • 8:29 - 8:30
    พวกมันต้องใช้เวลา
  • 8:30 - 8:32
    พวกมันจำกัดอยู่แค่ท้องถิ่น
  • 8:32 - 8:34
    ที่ซึ่งพวกมันถูกสร้างขึ้นมา
  • 8:34 - 8:35
    ง่ายๆ ก็คือ พวกมันไม่สามารถขยาย
  • 8:35 - 8:38
    หรือโอนย้ายไปยังที่อื่นๆ
  • 8:38 - 8:40
    ฉันจึงตั้งทีมอันเหลือเชื่อขึ้นทีมหนึ่ง
  • 8:40 - 8:42
    ซึ่งมีทั้งนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล นักวิจัย
  • 8:42 - 8:43
    และนักสถิติ
  • 8:43 - 8:46
    เพื่อสร้างเครื่องมือประเมินความเสี่ยง ที่เป็นสากล
  • 8:46 - 8:49
    เพื่อที่ผู้พิพากษาทุกคนในอเมริกา
  • 8:49 - 8:53
    จะได้มีวิธีวัดความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรม
    และเป็นวิทยาศาสตร์
  • 8:53 - 8:55
    เครื่องมือที่เราสร้างขึ้นนั้น
  • 8:55 - 8:58
    สิ่งที่เราทำคือเรารวบรวมคดีกว่า 1.5 ล้านคดี
  • 8:58 - 8:59
    จากทั่วทั้งประเทศ
  • 8:59 - 9:01
    หลายเมือง หลายมณฑล
  • 9:01 - 9:02
    จากทุกรัฐในประเทศ
  • 9:02 - 9:04
    เขตปกครองของรัฐต่างๆ
  • 9:04 - 9:06
    และด้วย 1.5 ล้านคดีนี้
  • 9:06 - 9:08
    ซึ่งคือชุดข้อมูลที่ใหญ่ที่สุด ในขั้นก่อนพิจารณาคดี
  • 9:08 - 9:10
    ในสหรัฐฯ จนถึงวันนี้
  • 9:10 - 9:12
    เราสามารถค้นพบว่ามีปัจจัยเสี่ยง
  • 9:12 - 9:15
    กว่า 900 ปัจจัย ที่เราต้องศึกษา
  • 9:15 - 9:18
    เพื่อหาว่าปัจจัยไหนสำคัญที่สุด
  • 9:18 - 9:20
    เราพบว่ามีปัจจัย 9 อย่าง
  • 9:20 - 9:22
    ที่สำคัญ จากทั่วทั้งประเทศ
  • 9:22 - 9:25
    และนั่นคือตัวทำนายความเสี่ยงที่แม่นยำ
  • 9:25 - 9:29
    และเราจึงสร้างเครื่องมือประเมินความเสี่ยงขึ้น
  • 9:29 - 9:31
    และมันก็หน้าตาแบบนี้
  • 9:31 - 9:33
    ตามที่คุณเห็น เราใส่ข้อมูลบางอย่างเข้าไป
  • 9:33 - 9:35
    แต่ส่วนใหญ่แล้ว มันง่ายมากทีเดียว
  • 9:35 - 9:37
    มันใช้งานง่าย
  • 9:37 - 9:40
    มันสนใจในเรื่องเช่น
    ประวัติการกระทำผิดของจำเลย
  • 9:40 - 9:42
    ว่าพวกเขาเคยถูกตัดสินจำคุกหรือไม่
  • 9:42 - 9:44
    ว่าพวกเขาเคยข้องเกี่ยวกับความรุนแรงมาก่อนหรือเปล่า
  • 9:44 - 9:46
    ว่าพวกเขาเคยผิดนัดศาล
  • 9:46 - 9:49
    และด้วยเครื่องมือเหล่านี้ เราสามารถทำนายได้สามอย่าง
  • 9:49 - 9:51
    สิ่งแรกคือ ทำนายว่าเขาจะออกไปก่อคดีใหม่
  • 9:51 - 9:52
    อีกหรือไม่ ถ้าได้รับการปล่อยตัว
  • 9:52 - 9:54
    สิ่งที่สอง นี่เป็นครั้งแรก
  • 9:54 - 9:56
    ซึ่งฉันคิดว่ามันสำคัญมาก
  • 9:56 - 9:58
    ที่เราสามารถทำนายได้ว่าเขาจะก่อคดี ที่เกี่ยวข้องกับ
  • 9:58 - 9:59
    ความรุนแรงหรือไม่ หากได้รับการปล่อยตัว
  • 9:59 - 10:01
    และนั่นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
  • 10:01 - 10:03
    ที่ผู้พิพากษาจะคำนึงถึง ถ้าคุณถามพวกเขา
  • 10:03 - 10:05
    สิ่งที่สาม เราสามารถทำนายได้ว่า
  • 10:05 - 10:07
    เขาจะกลับมาขึ้นศาลอีกหรือไม่
  • 10:07 - 10:10
    ผู้พิพากษาทุกคนในสหรัฐฯ สามารถใช้มัน
  • 10:10 - 10:14
    เพราะมันถูกสร้างขึ้นจากชุดข้อมูลที่เป็นสากล
  • 10:14 - 10:16
    สิ่งที่ผู้พิพากษาจะได้รับเมื่อพวกเขา
    ใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงนี้
  • 10:16 - 10:19
    คือ -- มันคือแป้นควบคุม
  • 10:19 - 10:21
    ทางด้านบน คุณจะเห็นคะแนนกิจกรรมอาชญากรใหม่
  • 10:21 - 10:23
    คะแนนสูงสุดคือหก
  • 10:23 - 10:26
    และที่ตรงกลาง คุณจะเห็น
    "ความเสี่ยงสูงที่จะใช้ความรุนแรง"
  • 10:26 - 10:27
    มันหมายถึงว่าคนคนนี้
  • 10:27 - 10:30
    เป็นคนที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะใช้ความรุนแรง
  • 10:30 - 10:31
    และผู้พิพากษาควรดูให้ถี่ถ้วน
  • 10:31 - 10:33
    และทางด้านล่าง
  • 10:33 - 10:35
    คุณจะเห็นคะแนนการผิดนัดศาล
  • 10:35 - 10:36
    ซึ่งก็คือความน่าจะเป็น
  • 10:36 - 10:39
    ที่คนคนนั้นจะกลับมาขึ้นศาล
  • 10:39 - 10:41
    ทีนี้ ฉันอยากจะบอกบางสิ่งที่สำคัญมาก
  • 10:41 - 10:44
    มันไม่ได้หมายความว่าเราควรเลิกเชื่อ
  • 10:44 - 10:46
    สัญชาตญาณ และประสบการณ์ของผู้พิพากษา
  • 10:46 - 10:48
    ในกระบวนการนี้
  • 10:48 - 10:49
    ฉันไม่ได้หมายความแบบนั้น
  • 10:49 - 10:51
    ฉันเชื่อว่า ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ทุกวันนี้
  • 10:51 - 10:54
    และสาเหตุที่เราเกิดความผิดพลาด
    อย่างรุนแรงในระบบยุติธรรมนี้
  • 10:54 - 10:57
    ซึ่งทำให้เราจำคุกอาชญากรระดับล่าง
    และผู้ไม่ก่อความรุนแรง
  • 10:57 - 11:00
    และปล่อยตัวอาชญากรอันตรายที่มีความเสี่ยงสูง
  • 11:00 - 11:03
    นั่นเป็นเพราะเราไม่มีเครื่องมือ
    วัดความเสี่ยงที่เป็นรูปธรรม
  • 11:03 - 11:04
    แต่สิ่งที่ฉันเชื่อว่าควรจะเกิดขึ้น
  • 11:04 - 11:07
    ก็คือ เราควรใช้การประเมินความเสี่ยงด้วยข้อมูล
  • 11:07 - 11:10
    เพื่อใช้ร่วมกันกับสัญชาตญาณ
    และประสบการณ์ของผู้พิพากษา
  • 11:10 - 11:13
    และช่วยให้เราได้ผลการตัดสินใจที่ดีขึ้น
  • 11:13 - 11:16
    เครื่องมือนี้ ถูกนำไปใช้ทั่วรัฐเคนตักกี้
    เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม
  • 11:16 - 11:20
    เรากำลังจะนำไปใช้อีกหลายเขต ทั่วทั้งประเทศ
  • 11:20 - 11:22
    เป้าหมายของเรานั้นง่ายมาก นั่นก็คือ ผู้พิพากษาทุกคน
  • 11:22 - 11:24
    ในสหรัฐฯ จะต้องใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงทางสถิติ
  • 11:24 - 11:26
    ภายในอีกห้าปีข้างหน้า
  • 11:26 - 11:28
    เรากำลังสร้างเครื่องมือประเมินความเสี่ยง
  • 11:28 - 11:31
    สำหรับอัยการ และเจ้าหน้าที่ตำรวจเช่นกัน
  • 11:31 - 11:34
    เพื่อพยายามปรับปรุงระบบที่ถูกใช้อยู่ทุกวันนี้
  • 11:34 - 11:37
    ซึ่งเหมือนกับที่เราใช้เมื่อ 50 ปีที่แล้ว
  • 11:37 - 11:39
    โดยใช้สัญชาตญาณและประสบการณ์
  • 11:39 - 11:41
    และเปลี่ยนให้เป็นระบบที่ทำงาน
  • 11:41 - 11:43
    ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล
  • 11:43 - 11:45
    ทีนี้ ข่าวดีสำหรับเรื่องนี้ก็คือ
  • 11:45 - 11:47
    เรายังมีงานต้องทำอีกมาก
  • 11:47 - 11:48
    มีวัฒนธรรมการทำงานอีกมากมายที่ต้องเปลี่ยน
  • 11:48 - 11:50
    แต่ข่าวที่มากสำหรับเรื่องนี้
  • 11:50 - 11:52
    ก็คือเรารู้ว่ามันได้ผล
  • 11:52 - 11:54
    นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไม กูเกิล ถึงเป็น กูเกิล
  • 11:54 - 11:57
    และนั่นคือเหตุผลที่ทำไมทุกทีมเบสบอลจึงใช้มันนีบอล
  • 11:57 - 11:58
    เพื่อชนะในเกมส์
  • 11:58 - 12:00
    ข่าวดีที่สุดสำหรับเราเช่นกัน
  • 12:00 - 12:02
    ที่มันเป็นวิธีที่เราจะเปลี่ยนโฉม
  • 12:02 - 12:04
    ระบบยุติธรรมของอเมริกา
  • 12:04 - 12:07
    มันคือวิธีที่เราจะทำให้ท้องถนนปลอดภัยขึ้น
  • 12:07 - 12:09
    เราจะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านเรือนจำ
  • 12:09 - 12:11
    และเราจะสามารถทำให้ระบบนี้ ยุติธรรมมากขึ้น
  • 12:11 - 12:13
    และเที่ยงตรงมากขึ้น
  • 12:13 - 12:15
    บางคนเรียกมันว่า วิทยาศาสตร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล
    (Data science)
  • 12:15 - 12:17
    แต่ฉันเรียกมันว่า ระบบยุติธรรมแบบมันนีบอล
  • 12:17 - 12:19
    ขอบคุณค่ะ
  • 12:19 - 12:23
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ใช้สถิติอย่างชาญฉลาดเพื่อสู้อาชญากรรม
Speaker:
แอนน์ มิลแกรม (Anne Milgram)
Description:

เมื่อเธอเข้ารับตำแหน่งอัยการสูงสุดของรัฐนิวเจอร์ซีย์ เมื่อปี 2007 แอนน์ มิลแกรม ค้นพบอย่างรวดเร็ว ถึงข้อเท็จจริงอันน่าตกใจ: ทีมของเธอไม่เพียงไม่รู้ว่ากำลังเอาใครเข้าคุก แต่พวกเขายังไม่รู้ว่าการตัดสินใจของพวกเขานั้น ทำให้ประชาชนปลอดภัยขึ้นหรือไม่ ดังนั้นเธอจึงเริ่มภารกิจ เพื่อนำเอาการวิเคราะห์ข้อมูล และการวิเคราะห์เชิงสถิติ เข้ามาใช้ในระบบกระบวนการยุติธรรมทางคดีอาญา

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
12:41

Thai subtitles

Revisions